เรื่องปัจจัย
ปัจจัยในอาขยาตเป็นเครื่องบ่งบอกวาจกได้ ส่วนปัจจัยในกิตก์ เป็นเครื่องบ่งบอกกาลได้ เพราะฉะนั้น การใช้ปัจจัยจึงต้องพิถีพิกัน พอสมควร โดยเฉพาะปัจจัยในอาขยาตซึ่งใช้ประกอบกับวาจก หาก นักศึกษาแต่งภาษามคธไม่เข้าใจใช้ปัจจัย หรือใช้สับกัน โดยนำปัจจัย ในกัตตุวาจกไปใช้ในกัมมวาจก เป็นต้น ก็จะทำให้ผิดวาจก ผิดความ และผิดประโยคในที่สุด
ดังนั้น นักศึกษาพึงทบทวนปัจจัยประจำในแต่ละวาจกให้ แม่นยำขึ้นใจ และใช้ประกอบให้ถูกต้อง คล่องแคล่ว ก็จะเป็นอุปการะมาก
ส่วนปัจจัยในกิตก์ซึ่งบ่งบอกกาลได้นั้น แม้บางอย่างจะไม่ถึงกับทำให้ผิดรุนแรง แต่ก็อาจถูกปรับเป็นผิดเหมือนกัน ทำให้เสียคะแนนโดยไม่จำเป็นอีก วิธีใช้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องกาล
ในเรื่องปัจจัยนี้ พอมีข้อสังเกตและข้อกำหนดหมายไว้ พอสรุปได้ดังนี้
(๑) ก่อนจะใช้ปัจจัยอะไร ประกอบเป็นศัพท์กิริยาในตอนนั้นๆ พึงอ่านความไทยและสังเกตให้ดีว่า ความไทยตอนนั้น บ่งกาลไว้บ้าง หรือไม่ เช่น คำว่า “อยู่, กำลัง, แล้ว, ได้แล้ว” เป็นต้น เมื่อเห็น ความไทยเช่นนั้น ก็พอจะมองออกได้ว่าควรแต่งในรูปไหน เช่น คำว่า อยู่ กำลัง เมื่อ ก็ใช้ อนฺต มาน ปัจจัย หรือถ้าเป็นกิริยาคุมพากย์ ก็ใช้วิภัตติหมวดวัตตมานา เป็นต้น แล้วแต่กรณี
(๒) สังเกตความตอนนั้นว่า จะแต่งเป็นรูปวาจกอะไรก่อน แล้ว จึงค่อยใช้ปัจจัยประจำวาจกนั้นๆ
(๓) ถ้าความไทยไม่มีคำเหล่านั้นอยู่ ให้สังเกตความตอนนั้นว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ใช้ปัจจัยที่ เป็นอดีต ถ้ากำลังเกิดขึ้น ก็ใช้ปัจจัยที่บ่งปัจจุบัน
(๔) สังเกตความตอนนั้นว่า จะแต่งเป็นรูปวาจกอะไรก่อน แล้ว จึงใช้ปัจจัยประจำวาจกนั้นๆ
(๕) อนฺต ปัจจัย ใช้ได้ ๓ วาจก เท่านั้น คือ กัตตุวาจก ภาววาจก และเหตุกัตตุวาจก มาน ต ปัจจัย ใช้ใน ๕ วาจก มักจะมีเผลอกันบ่อยๆ ที่ใช้ อนฺต ปัจจัย ประกอบเป็นรูปกัมมวาจก โดยลง ย ปัจจัย และ อิ อาคม หน้า ย ด้วย เช่น อุปฏฐิยนฺโต
ประโยคว่า |
: สตฺถา ปน เตน หตฺถินา อุปฏฺฐิยมาโน สุขํ วสิ ฯ (๑/๔๓) |
แต่งเสียว่า |
: สตฺถา ปน เตน หตฺถินา อุปฏฺฐิยนฺโต สุขํ วสิฯ (ผิด) |
ประโยคว่า |
: อตฺตโน ภาคิเนยฺยสฺส ทีฆนขปริพฺพาชกสฺส เวทนาปริคฺคหสุตฺตนฺเต เทสิยมาเน (๑/๘๗) |
แต่งเสียว่า |
: อตฺตโน ภาคิเนยฺยสฺส ฯเปฯ สุตฺตนฺเต เทสิยนฺเต (ผิด) |
(๖) อนฺต ปัจจัย เมื่อเป็นอิตถีลิงค์ ท่านให้ลง อี เป็น อนฺตี แต่ผู้ศึกษาไม่ได้ลง อี เช่น
: สา อตฺตโน กมฺมนฺตํ กโรนฺตา เถรํ อทฺทส ฯ (ที่ถูกต้องเป็น กโรนฺตี)
(๗) ต้องจำรูปศัพท์ให้แม่นยำว่า ถ้าเป็นกิริยาของวาจกอะไร ลงปัจจัยไหน จะได้รูปอย่างไร เช่น กรฺ ธาตุ เมื่อลงกับปัจจัยต่างๆ แล้ว จะมีรูปเป็นต่างๆ กัน เช่น ตัวอย่าง
กรฺ + อนฺต |
- กโรนฺโต กุพฺพนฺโต กุพฺพํ กรํ |
(กัตตุ.) |
กรฺ + มาน |
- กรมาโน กุรุมาโน |
(กัตตุ.) |
กรฺ + มาน |
- กริยมาโน |
(กัมม.) |
กรฺ + ตพฺพ |
- กาตพฺพํ กตฺตพฺพํ |
(กัมม.) |
กรฺ + ต |
- กโต |
(กัมม.) |
|
- การิโต การาปิโต |
(เหตุกัมม.) |
(๘)ปัจจัยที่ประกอบด้วยธาตุแล้วแปลงรูปไปต่างๆ และเป็นวาจกนั้น เป็นวาจกนี้ ต้องใช้ให้เป็นและจำให้ได้แม่นยำ เช่น
ฉนฺโน ชิณฺโณ ตุฏฺโฐ อาทาย นิสฺสาย นิกฺขมฺม อุปฺปชฺช ปคฺคยฺห เป็นต้น
รวมความว่า ปัจจัยในแต่ละวาจกรวมทั้งอาคมที่ลงกับปัจจัยนั้นๆ ต้องจำให้ได้แม่นยำจริงๆ ทั้งต้องประกอบขึ้นเป็นศัพท์ให้ถูกต้อง คล่องแคล่ว ขอให้จำไว้ว่า ใช้ปัจจัยผิดก็ทำให้ผิดวาจก เมื่อวาจกผิด ก็ทำให้ผิดประโยค