ข้อความหรือคำพูดต่างๆ จะรู้กันได้ชัดเจนว่า หมายความว่า อย่างไรต้องอาศัย “วาจก” เป็นหลักใหญ่ การประกอบศัพท์ขึ้นเป็น วาจกหรือเป็นประโยคจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หากประกอบศัพท์ผิดวาจก หรือใช้วาจกผิดแล้ว จะทำให้ไม่รู้ความหมายของข้อความหรือคำพูดนั้นๆ หรือทำให้ความหมายผิดวัตถุประสงค์ไปเลย
ยกตัวอย่างเช่น ภาษาไทยว่า เขาทำงาน ต้องเรียงเป็นมคธ ว่า โส กมฺมนฺตํ กโรติ ฯ แต่ประกอบศัพท์ผิดไปว่า โส กมฺมนฺตํ กโต หรือเป็นว่า ตํ กมฺมนฺโต กโรติ เป็นอันผิดทั้งนั้น เพราะไม่ได้ความ ชัดเจนบ้าง แปลไม่ได้บ้าง
ดังนั้น เรื่องวาจกจึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงให้มากอย่างหนึ่งและ พยายามใช้ให้ถูกต้องด้วย หากประกอบวาจกผิดแล้ว อาจถึงทำให้ เสียคะแนน ถูกปรับตก หรือปรับผิดเป็นประโยคได้ จึงต้องระวังให้ดี
เท่าที่สังเกตมา ได้พบว่านักศึกษาประกอบวาจกผิดบ่อยๆ อาจ เพราะไม่รู้ว่าผิดบ้าง นึกว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นได้บ้าง เผลอไปบ้าง โดยมากก็ใช้กิริยาในประโยคผิด ทำให้เสียความทันที คือ ในประโยคกัตตุวาจก แทนที่จะใช้กิริยาในหมวดกัตตุวาจก กลับไปประกอบกิริยาเป็น กัมมวาจก หรือเหตุกัตตุวาจกไปเสีย ส่วนในประโยคกัมมวาจก กลับไปใช้กิริยาในกัตตุวาจก หรือภาววาจกไป กลับกันเสียอย่างนี้
ดังเช่นตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น ความไทย ว่า “เขาทำงาน” แต่ง ว่า โส กมฺมนฺตํ กโต อย่างนี้ชื่อว่าใช้กิริยาผิด เพราะประโยคนี้ โส เป็นประธาน เป็นรูปกัตตุวาจก กโต เป็นกิริยากัมมวาจก อย่างเดียว ใช้เป็นกัตตุวาจก ไม่ได้
เพราะมีหลักอยู่ว่า สกัมมธาตุซึ่งประกอบด้วย ต ปัจจัย เป็น กัตตุวาจก ไม่ได้ จึงถือว่าผิดวาจก แต่ถ้าแต่งว่า เตน กมฺมนฺโต กโต อย่างนี้ใช้ได้ เพราะได้ลักษณะกัมมวาจกแท้ทีเดียว
อนึ่ง ในการประกอบวาจกนี้ให้ยึดถือแบบเป็นเกณฑ์ รวมทั้งการวางศัพท์ในประโยคด้วย ศัพท์ไหนท่านวางตรงไหน ประกอบด้วย วิภัตติอะไร ต้องให้ถูกหลักเข้าไว้ก่อน เป็นไม่ผิด แม้บางทีจะทำให้เสีย อรรถรส ก็ยังดีกว่าใช้ผิดหลัก
มีปัญหาอย่างหนึ่งที่ทําความหนักใจให้แก่นักศึกษาใหม่ไม่น้อย คือ เมื่อพบความไทยอย่างนี้แล้วจะแต่งเป็นวาจกอะไรดี หรือว่าในกรณีไหน จึงแต่งเป็นกัตตุวาจก ในกรณีไหนจึงแต่งเป็นกัมมวาจก หรือเป็นวาจก อื่นนอกจากนี้
ในเรื่องนี้ เป็นเรื่องยากเหมือนกันที่จะตัดสินใจว่าต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ เพราะมีข้อยกเว้นมากมาย แต่เท่าที่สังเกตดูมา พอมีข้อกำหนด ในการใช้วาจกต่างๆ ทั้ง ๕ วาจก ดังต่อไปนี้
ใช้ในกรณีที่ข้อความในประโยคนั้นเน้นผู้ทําเป็นหลักใหญ่ มุ่งแสดงความสำคัญของผู้ทำและกิริยาอาการของผู้ทำเป็นประมาณ โดยมิได้เน้นถึงว่าสิ่งที่ถูกทำเป็นอะไร ทำอย่างไร เป็นต้น ส่วนมาก ใช้ในข้อความที่เป็นท้องเรื่อง เดินเรื่องธรรมดา หรือเป็นความอธิบาย เป็นเลขนอก หรือเลขในที่เป็นความบอกเล่าธรรมดาๆ ที่ไม่ได้เน้นสิ่งอื่น นอกจากผู้ทำ
สรุปอีกทีก็คือ ประโยคที่เน้นผู้ทำ ใช้กัตตุวาจก และผู้ทำนั้น ต้องเป็นประธานในประโยค เช่น
: สูโท โอทนํ ปจติ ฯ | เน้นผู้ทำคือ สูโท พ่อครัว |
: ธมฺมจารี สุขํ เสติ ฯ | เน้นผู้อยู่เป็นสุข |
: ภควา เอตทโวจ ฯ | เน้นผู้กล่าว |
ประโยคกัมมวาจกนี้ ส่วนมากใช้ในข้อความที่ผู้พูด ผู้เขียนมุ่ง เน้นว่าสิ่งที่ถูกทำนั้นสำคัญที่สุด จึงเน้นไว้เป็นประธาน ส่วนมากจะใช้ ในประโยคเลขในและใช้กิริยากิตก์คุมพากย์
จำง่ายๆ ว่า “ประโยคใดเน้นที่สิ่งที่ถูกทำ ประโยคนั้นเป็น กัมมวาจก” ตัวอย่างเช่น
๑) ตาต มยา สตฺถุ ธมฺมเทสนา สุตา ฯ
ต้องการเน้นเทศนามากกว่า ผู้ฟัง (มยา) (๑/๖)
๒) สตฺถารา หิ สณฺหสุขุมํ ติลกฺขณํ อาโรเปตฺวา อาทิมชฺฌปริโยสานกลฺยาณธมฺโม เทสิโต ฯ
ต้องการเน้นสิ่งที่ถูกแสดง (ธรรม) มากกว่าผู้แสดง (สตฺถารา) (๑/๖)
๓) อิทาเนเวโก คีตสทฺโท สูยิตฺถ ฯ
ต้องการเน้นสิ่งที่ถูกได้ยินมากกว่าผู้ได้ยิน ถึงกับไม่ใส่เข้า มาในประโยค (๑/๑๕)
ทั้งสามประโยคนี้ หากเรียงเสียใหม่ว่า
๑) ตาต อหํ สตฺถุ ธมฺมเทสนํ สุณึ ฯ
๒) สตฺถา หิ สณฺหสุขุมํ ติลกฺขณํ ฯเปฯ อาทิมชฺฌปริโยสานกลฺยาณธมฺมํ เทเสสิ ฯ
๓) อิทาเนเวกํ คีตสทฺทํ สุณึ ฯ
ก็ถูกต้องใช้ได้เหมือนกัน แต่หย่อนอรรถรส เพราะทั้งสาม ประโยคนี้กลับเป็นการยก หรือเน้นตัวกัตตาไปเสีย
ขอให้ดูประโยคต่อไปนี้เพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจดียิ่งขึ้น
: เอวมฺเม สุตํ ฯ
: เตน วุตฺตํ
: อมฺมตาตา มยา ภิกฺขุสหสฺสํ นิมนฺติตํ ฯ (๑/๗๑)
: อถ กึ ทฺวีหตีหํ สทฺโท น สุยฺยติ ฯ (๒/๓๐)
อนึ่ง ยังมีประโยคที่เน้นสิ่งที่ถูกทำเหมือนกัน เนื้อความก็เป็น รูปกัมมวาจกอยู่ แต่กลับแต่งเป็นประโยคกัตตฺุวาจกไป ได้แก่ ประโยคที่เราเรียกว่า “กัต. นอก กัม. ใน” นั่นเอง ที่เป็นดังนี้เพราะต้องการ เน้นอีกต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่ถูกทำนั้นยังไม่ได้สูญหายไป ยังคง อยู่ เช่น
: ราชา นคเรหิ มานิโต โหติ ฯ
: อิทํ สิกฺขาปทํ ภควตา ภิกฺขูนํ ปญฺญตฺตํ โหติ
ใช้ในกรณีที่ข้อความนั้นมิได้เน้นผู้ทำ มิได้เน้นสิ่งที่ถูกทำ แต่เน้นกิริยาอาการของผู้ทำ (อนภิหิตกตฺตา) ว่าเป็นอะไร มีอย่างไร ประโยคภาววาจกมีที่ใช้น้อย ส่วนมากมักพบในรูปของปัจจัยในกิตก์ คือ ตพฺพ ปัจจัย เป็นพื้น ในรูปของอาขยาตมีน้อย เช่น
: เตน ภูยเต ฯ (เน้นความเป็นของเขา)
: (อยฺเยน) ทิวา น นิทฺทายิตพฺพํ ฯ (เน้นกิริยานอน) (๑/๖๓)
: (อยฺเยน) อกุสิเตน ภวิตพฺพํ อารทฺธวิริเยน ฯ (๑/๖๓) (เน้นความเป็น)
: (อยฺเยน) สายํ สพฺเพสุ สุตฺเตสุ วิหารโต อาคนฺตพฺพํ ปจฺจูสกาเล สพฺเพสุ อนุฏฐหิเตสุเยว วิหารํ คนฺตพฺพํ ฯ (เน้นกิริยาอาการ) (๑/๖๓)
มีข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ ประโยคภาววาจกนี้ กิริยาจะต้องเป็นอกัมมธาตุเท่านั้น บางครั้งนักศึกษาไปพบศัพท์กิริยาสกัมมธาตุมีรูป ร่าง เหมือนกิริยาภาววาจก เข้า และศัพท์นั้นท่านมิได้วางประธานหรือ กรรมไว้ให้เห็น ก็เหมาเอาว่าเป็นภาววาจก อย่างนี้เรียกว่าผิดสัมพันธ์ เช่น
: เย น เทนฺติ, เตสํ น ทาตพฺพํ ฯ (๓/๖๒)
: สุขํ ภุญฺชิตพฺพํ ฯ (๓/๖๓)
: ตตฺถ เวทิตพฺพํ (ดูใน มงฺคลตฺถทีปนี)
ใช้ในกรณีที่ข้อความประโยคนั้น เน้นผู้ใช้ให้ทำกิริยาอาการนั้น มีได้เน้นตัวผู้ทำหรือผู้ถูกใช้ให้ทำ หรือสิ่งที่ถูกทำแต่ประการใด ทั้งผู้ใช้ นั้นก็มิได้ทำกิริยานั้นเองด้วย
จำง่ายๆ ว่า ประโยคใดเน้นผู้ใช้ให้คนอื่นทำ ประโยคนั้นเป็น เหตุกัดตุวาจก ตัวอย่างเช่น
: สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ ฯ (เน้นนายซึ่งเป็นผู้ใช้)
: กลหํ นิสฺสาย หิ ลฏุกิกาปิ สกุณิกา หตฺถินาคํ ชีวิตกฺขยํ ปาเปสิ ฯ (เน้นนก ผู้ทำให้ถึง) (๑/๕๑)
ในบางกรณี ประโยคเหตุกัตตุวาจกนี้ จะไม่ต้องใส่ตัว การิตกมฺม (ผู้ถูกใช้ให้ทำ) หรือ กมฺม (สิ่งที่ถูกทำ) เข้ามาในประโยคก็ได้ เพราะไม่ได้เน้นถึง กระนั้นก็เป็นอันทราบกันได้โดยนัย เช่น
: ราชา ตถา กาเรติ ฯ (ขาด การิตกมฺม และ กมฺม) (๑/๔๐)
: โส สตฺถุ ทานํ ทตฺวา ตุมฺหากํ ปาเปสฺสติ ฯ (ขาด การิตกมฺม) (๑/๙๔)
: ราชา สกลวีถิยํ เภริญฺจาราเปสิ ฯ (ขาด การิตกมฺม)
ใช้ในกรณีที่ข้อความในประโยคนั้น เน้นสิ่งที่ถูกผู้ใช้ให้เขาทำ โดย ยกสิ่งนั้นขึ้นมาเป็นตัวประธานและครองกิริยาในประโยค เช่น
: สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต ฯ
: อยํ ถูโป ปติฏฺฐาปิโต ฯ
: สุนนฺทาย โปกฺขรณี การิตา ฯ (๒/๑๐๒)
: มยา ตสฺส ปณฺณสาสา ฌาปิตา ฯ (๓/๑๔๗)
รวมความว่า จะแต่งเป็นรูปประโยควาจกใด ให้อ่านความไทย ให้เข้าใจชัดเจนก่อนว่า ประโยคนั้นเขาเน้นประธาน หรือเน้นกรรม เป็นต้น แล้วแต่งประโยคเป็นวาจกนั้นๆ ดังกล่าามาโดยยึดแบบเป็นหลักเกณฑ์ และแต่งเป็นวาจกใด ต้องประกอบประธาน กิริยา กรรม เป็นต้น ให้ถูกต้องตามวิธีไวยากรณ์ด้วย ทั้งนี้ เพื่อจะไม่ทำให้เสียความหมายและเสียคะแนนดังกล่าวแล้วข้างต้น
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710