ผู้ที่จะแต่งประโยคบาลีได้ดีจะต้องจำศัพท์ได้มากพอสมควร การจำศัพท์ได้ถือว่าเป็นอุปการะเบื้องต้น เหมือนมีวัตถุดิบอยู่ในมือพร้อมที่ จะประกอบหรือปรุงรูปเป็นภัณฑะต่างชนิดได้ ฉะนั้น เมื่อจำศัพท์ได้แล้ว ขั้นต่อไปก็จะต้องรู้ความหมายของศัพท์นั้นๆ ว่ามีเพียงใดแค่ไหน รู้จัก วิธีใช้ศัพท์เหล่านั้นว่าศัพท์นี้เขาใช้ในกรณีใด หรือในกรณีใดต้องใช้ศัพท์เช่นใด พร้อมทั้งรู้จักวิธีปรุงศัพท์เหล่านั้น ก่อนที่จะเรียงเข้าเป็นประโยคตามหลักการเรียง
นอกจากนั้น การใช้ศัพท์พลิกแพลงไปในรูปต่างๆ โดยถูกวิธี ก็จัดเป็นอุปการะอย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะบางทีเนื้อความอย่างเดียว กันนั้น อาจปรุงศัพท์เป็นรูปนั้นรูปนี้ก็ได้ โดยที่ความหมายยังคงเดิม แปล ได้เท่าเดิมดังนี้ เป็นทางออกสำหรับผู้จำศัพท์ไม่ค่อยแม่นยำนัก
ในบทนี้ จึงจะกล่าวถึงเรื่องศัพท์พร้อมทั้งกระบวนการต่างๆ อัน เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องศัพท์ เพื่อเป็นแนวทางให้รู้จักวิธีต่างๆ ที่กล่าวแล้วนั้น โดยจะแสดงไปเป็นข้อๆ ตามลำดับ ดังนี้
การประกอบศัพท์
การใช้ศัพท์ในประโยค
การใช้ศัพท์เป็นคู่กัน
การใช้ศัพท์แทนกัน
การใช้ศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายกัน
การแปลงศัพท์
ความหมายของศัพท์
ดังกล่าวมาบ้างแล้วในบทก่อนๆ ว่า ศัพท์ต่างๆ ก่อนที่จะนำไป เรียงเข้าประโยคจะต้องปรุงด้วยเครื่องปรุงให้ครบตามหลักไวยากรณ์ เสียก่อน มิใช่ใส่เข้าไปโดดๆ โดยปราศจากเครื่องประดับเลยและเมื่อปรุงศัพท์นั้นเล่า จำเป็นต้องรู้ด้วยว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์ประเภทใด เป็นศัพท์กิริยาและทำหน้าที่อะไรในประโยค คือ เป็นประธาน เป็นกิริยา หรือเป็นกรรม เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ปรุงศัพท์ให้ถูกหน้าที่และประการ สำคัญก็คือเป็นศัพท์เช่นใด ต้องปรุงตัวเครื่องปรุงตามแบบของศัพท์ เช่นนั้นให้ครบ จะขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ถือว่าผิดทันที เช่น
ถ้าเป็นศัพท์นาม ก็ต้องปรุงด้วยเครื่องปรุงนาม คือ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ครบ
ถ้าเป็นศัพท์อาขยาต ก็ต้องปรุงด้วยเครื่องปรุงในอาขยาต มี วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก และปัจจัย ครบทั้ง ๘ อย่าง
ถ้าเป็นศัพท์กิริยากิตก์ ก็ต้องปรุงด้วยเครื่องปรุงของกิตก์ มี วิภัตติ วจนะ กาล ธาตุ วาจก และปัจจัย ครบ
ถ้าประกอบศัพท์มีเครื่องปรุงไม่ครบ ศัพท์ทั้นก็ถือว่าบกพร่องและ จัดเป็นผิดไวยากรณ์ ทำให้เสียคะแนน และการประกอบศัพท์นั้นแม้จะ มีครบทุกศัพท์ แต่ประกอบผิดไปเป็นบางอย่าง เช่น ผิดวจนะบ้าง ผิด ลิงค์บ้าง ดังนี้ก็จัดเป็นผิดเหมือนกัน ดังกล่าวมาแล้วในเรื่องไวยากรณ์ ยกตัวอย่างเช่น
ธมฺม ผิด ต้องเป็น ธมฺมํ แม้จะตกเครื่องหมาย ˚ ไปจะด้วยความ พลั้งเผลอหรืออะไรก็ตาม จัดเป็นผิดทีเดียว เพราะ ธมฺม ยังเป็นศัพท์ เติมโดดๆ ยังไม่มีเครื่องปรุงอะไร คือ ยังขาดทั้งลิงค์ วจนะ และวิภัตติ
ในประโยคนี้ มเรติ ผิด ต้องเป็น มาเรติ เพราะลง เณ ปัจจัยใน เหตุกัตตุวาจก ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ ต้องทีฆะต้นธาตุ จึงเป็น มาเรติ มเรติ ยังไม่ได้ทีฆะ ฉะนั้นถือว่าในประโยคนี้กิริยาลง เอ ปัจจัย ในกัตตุวาจก ข้อนี้ผิดทั้งวาจกและปัจจัย
ยังมีอีกข้อหนึ่งที่มักผิดกันโดยมาก ก็คีอ ประกอบศัพท์ที่เป็น สมาสผิดหลักไวยากรณ์ เช่น
(๑) หลักมีว่า ศัพท์ อี อู การันต์ ใน ปุํ. เมื่อเข้าสมาส แล้ว ต้องรัสสะ เช่น เสฏฺฐิปุตฺโต วิญฺญุภาโว โยคิวตฺตํ เป็นต้น แต่นำมา ใช้โดยไม่ได้รัสสะ เป็นว่า เสฏฺฐิปุตฺโต ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่าผิดหลัก
(๒) ศัพท์ที่จะเข้าสมาสกัน แบบทวันทวสมาส นั้น จะต้องเป็น ศัพท์พวกเดียวกัน หรือเป็นหมวดเดียวกัน เช่น หมวดบริขาร, หมวดอวัยวะ, หมวดสัตว์บก, หมวดสิ่งมีชีวิต เป็นต้น
ไม่นิยมนำศัพท์ต่างหมวดกันมาสมาสกัน เพราะทำให้แปลยาก เวลาหาอัญญบท ถ้าต่างหมวดกันนิยมแยกเป็นศัพท์ๆ แล้วใช้ จ ศัพท์ ควบเสีย และไม่นิยมสมาสศัพท์ต่างๆ จนยาวเหยียดเป็นรถไฟ แม้จะอยู่ในหมวดเดียวกันก็ตาม เช่น
: สกลตณฺฑุเล ฐเปตฺวา ภินฺนตณฺฑุเล จ อุทฺธนกปลฺลานิ จ อาทาย โถกํ ขีรสปฺปิมธุผาณิตญฺจ คเหตฺวา ฯเปฯ (๓/๓๑)
ไม่ใช่... ฯเปฯ ภินฺนตณฺฑุลอุทฺธนกปลฺลานิ จ อาทาย ฯเปฯ เพราะ ข้าวสารกับกระเบื้องและเตา เป็นศัพท์คนละหมวดกัน
ส่วนท่อนว่า ขีรสปฺปิมธุผาณิตํ สมาสกันได้ เพราะเป็นประเภท เภสัชเหมือนกัน
: ตสฺส หตฺถปาทา จ อกฺขีนิ จ กณฺณา จ นาสา จ มุขญฺจ น ยถาฏฺฐาเน อเหสุํ ฯ (๓/๑๒๑)
ไม่ใช่... หตฺถปาทอกฺขิกณฺณนาสามุขํ เพราะแม้เป็นศัพท์หมวด เดียวกันก็ตาม แต่ว่าสมาสกันยาวเกินไป ทั้งความก็ไม่ชัดเจน คือไม่รู้ ว่ามือกี่ข้าง เท้ากี่ข้าง ตากี่ข้าง ที่เป็นอย่างนั้น ถ้าแยกศัพท์ออกตามแบบ จะทำให้มองเห็นชัดเจนกว่า
: เอโก เอกสฺส มิตฺตทุพฺภิโจโร ปุตฺตทารเขตฺตวตฺถุโคมหิสาทีสุ อปรชฺฌนฺโต (๒/๑๕๑)
ศัพท์สมาสในประโยคนี้ประกอบด้วยศัพท์ ๓ หมวด คือ คน สัตว์ ที่ดิน แต่ท่านนำมาสมาสเพราะความจำเป็นบังคับ คือ ศัพท์นี้เป็นศัพท์ ที่ต้องแปลถอน ถ้าหากเรียงไว้ ๓ ตอน จะยิ่งแปลลำบากขึ้นอีก ทั้งไม่ มีที่ใช้ด้วย ท่านจึงเรียงอย่างนี้
นอกจากการประกอบศัพท์ผิดโดยวิธีดังกล่าวแล้ว ยังมีการกอบศัพท์ผิดหลักไวยากรณ์อีก เช่น
ความไทยว่า |
ซึ่งธิดา |
ประกอบว่า |
ธีตํ |
(ธีตรํ) |
ความไทยว่า |
ซึ่งบิดา |
ประกอบว่า |
ปิตํ |
(ปิตรํ) |
ความไทยว่า |
ซึ่งมารดา |
ประกอบว่า |
มาตํ |
(มาตรํ) |
ความไทยว่า |
ซึ่งตน |
ประกอบว่า |
อตฺตํ |
(อตฺตานํ) |
ความไทยว่า |
ด้ายใจ |
ประกอบว่า |
มเนน |
(มนสา) |
ความไทยว่า |
แก่พี่ชาย |
ประกอบว่า |
ภาตุสฺส |
(ภาตุ) |
ความไทยว่า |
ซึ่งพระราชา |
ประกอบว่า |
ราชํ |
(ราชานํ) |
ความไทยว่า |
ซึ่งพระพรหม |
ประกอบว่า |
พฺรหฺมํ |
(พรหฺมานํ) |
ฯลฯ |
การใช้ศัพท์ภาษามคธ ในประโยคจะต้องให้ตรงกับความหมาย ในความไทย เพราะศัพท์แต่ละศัพท์มีความลึกซึ้งต่างกัน แม้จะแปลเป็น ไทยอย่างเดียวกันก็ตาม เช่น ความไทยว่า “กิน” ต้องดูเจ้าของกิริยา ก่อนว่าใครกินกินอะไร แล้วใช้ศัพท์ไปตามความหมายนั้น เช่น
คนกินข้าว |
ต้องใช้ว่า |
มนุสฺโส โภชนํ ภุญฺชติ ฯ |
คนกินผลไม้ |
ต้องใช้ว่า |
มนุสฺโส ผลานิ ขาทติ ฯ |
คนกินนํ้า |
ต้องใช้ว่า |
มนุสฺโส อุทกํ ปิวติ ฯ |
โคกินหญ้า |
ต้องใช้ว่า |
โคโณ ติณานิ ขาทติ ฯ |
ประโยคเหล่านี้ถ้าใช้เป็นว่า มนุสฺโส โภชนํ ขาทติ, อุทกํ ภุญฺชติ หรือ โคโณ ติณานิ ภุญฺชติ ฯ ดังนี้ก็ผิด ผิดเพราะใช้ศัพท์ ผิดความหมายของศัพท์
ได้กล่าวมาบ้างแล้ว ในเรื่องไวยากรณ์เกี่ยวกับ การใช้ศัพท์ต่างๆ ในที่นี้ ขอกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ศัพท์บางศัพท์ที่น่ารู้ เพื่อเป็นแนวทาง คือ
กึ ศัพท์ มีวิธีใช้มากมายทั้งในรูปของ กึ ในรูปที่แปลงเป็น ก เช่น โก กา กํ ในรูปที่มีบทอื่นนําหน้าและตามหลัง เช่น โกจิ กาจิ เยเกจิ เป็นต้น แต่ละรูปนั้นนอกจากมีความหมายแปลกกันออกไปแล้ว ยังมีวิธีใช้ต่างกันออกไปด้วย ดังจะยกมาชี้แจงพอเป็นแนวทางดังนี้
(๑) ในประโยคคำถาม ที่มีสำนวนไทยว่า หรือ ไหม อยู่ด้วย และโดยมากจะเป็นประโยคเลขใน ให้เรียง กึ ไว้ต้นประโยค โดยไม่มีศัพท์อื่นขวางหน้า แต่ถ้าไม่เรียง กึ ไว้ด้วย ให้เรียงกิริยาคุมพากย์ไว้ต้นประโยคเลย กิริยาที่วางไว้ต้นประโยคทำหน้าที่แทน กึ ได้ เช่น
ความไทย |
: ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ข้อนั้นสมควรแก่พวกคุณ ละหรือ |
เป็น |
: กึ ปเนตํ อาวุโส ตุมฺหากํ ปฏิรูปํ ฯ |
ความไทย |
: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ไปกับพ่อค้าเงินมา ดอกหรือ |
เป็น |
: กึ ภิกฺขเว มหาธนวาณิเชน สทฺธึ น คมิตฺถ ฯ |
ความไทย |
: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็น ท้าวสักกะจอมเทพหรือหนอ |
เป็น |
: ทิฏโฐ โข ภนฺเต ภควตา สกฺโก เทวานมินฺโท ฯ |
(๒) ในประโยคคำถาม หากมีสำนวนไทยว่า อะไร อยู่ ให้ใช้ กึ ในรูปทุติยาวิภัตติ แล้วเรียง ไว้หน้ากิริยาที่ตนสัมพันธ์เข้าด้วย กึ ใน ที่นี้มีฐานะเป็นอวุตตกัมม เช่น
ความไทย |
: ทีนั้น นายช่างแก้วมณีเตะมัน แล้วเขี่ยออกไปด้วยพูดว่า มึงจะทำอะไร ด้วยกำลังความโกรธที่เกิดขึ้น ในพระเถระ (สนามหลวง ๖/๒๕๒๖) |
เป็น |
: อถ นํ มณิกาโร เถเร อุปฺปนฺนโกธเวเคน ตฺวํ กึ กโรสีติ ปาเทน ปหริตฺวา ขิปิ ฯ (๕/๓๔) |
ความไทย |
: เมื่อลูกชายเราบวชแล้ว บัดนี้เราจักทำอะไรในบ้าน ก็ได้ |
เป็น |
: มม ปุตฺเต ปพฺพชิเต อหํ อิทานิ เคเห กึ กริสฺสามิ (๖/๑๓๙) |
(๓) ในประโยคคำถาม ที่มีสำนวนไทยว่า เพราะเหตไร... เพราะอะไร อาจใช้ กสฺมา หรือ กึการณา อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเรียงไว้ต้นประโยคเหมือน ก ในประโยคคำถาม หากมีสำนวนไทยว่า เพราะเหตุไรหนอ หรือ เพราะเหตุไรหนอแล นิยมใช้ กึ นุ โข ไม่ใช้ กสฺมา นุ โข เช่น
ความไทย |
: เพราะเหตุไร พวกเธอจึงทำกันอย่างนี้ เพราะว่า นี่มิใช่การประกอบของพวกนักบวชเลย |
เป็น |
: กสฺมา เอวํ กโรถ น หิ เอส ปพฺพชิตานํ โยโค (๖/๑๓๙) |
ความไทย |
: เพราะเหตุไรหนอ ทั้งลูกชายทั้งสามี ของเราจึง โอ้เอ้กันอยู่ |
เป็น |
: กึ นุ โข เม ปุตฺโต จ ปติ จ จิรายนฺติ (๖/๑๓๙) |
(๔) หากข้อความในประโยค มีคำว่า อะไร หรือ ใด อยู่ด้วย แต่ไม่ใช่เป็นคำถามคลุมทั้งประโยคเป็นเพียงข้อความส่วนหนึ่งของ ประโยค นิยมใช้เรียง กึ ศัพท์ ในรูปที่แจกวิภัตติแล้ว และนิยมเป็น รูป วิเสสนะของศัพท์ที่ตนขยายนั้น แล้ววางไว้หน้าศัพท์ที่ตนขยายนั้น ซึ่งอาจจะอยู่ต้นประโยค หรือกลางประโยคก็ได้ แล้วแต่เนื้อความไม่ใช่ ต้องวางไว้ต้นประโยคเหมือน กึ ในประโยคคำถาม เช่น
ความไทย |
: พวกพราหมณ์เหล่านี้มีกำลังด้วย มีมากด้าย ถ้าเราพูดอะไรในที่สมาคม ทุกคนแม้ทั้งหมดก็จะลุก ขึ้นเป็นกลุ่ม |
เป็น |
: เอเต พลวนฺโต เจว พหู จ, สเจ สพฺเพสํ สมาคมฏฺฐาเน กิญฺจิ กเถสฺสามิ สพฺเพปิ วคฺควคฺเคน อุฏฺฐเหยฺยุํ (กิญฺจิ เป็นวิเสสนะของ วจนํ) (๖/๑๐๗) |
ความไทย |
: พระเถระคลี่ผ้าเก่าที่เขานุ่งตรวจดู ไม่เห็นส่วนใด ที่พอจะถือเอา แม้พอทำเป็นผ้ากรองนํ้าได้ จึงแขวนไว้ที่กิ่งไม้กิ่งหนึ่ง พร้อมทั้งกระเบื้อง |
เป็น |
: เตน ปน นิวตฺถปิโลติกขณฺฑํ โอโลเกนฺโต ปริสฺสาวน กรณมตฺตมฺปิ คยฺหูปคํ กญฺจิ ปเทสํ อทิสฺวา กปาเลน สทฺธึ เอกิสฺสา รุกฺขสาขาย ฐเปสิ |
(๕) กึ ศัพท์ในรูปของกึ ก็ดี กา ก็ดี โก ก็ดี ใช้ในประโยคคำถามเท่านั้น ไม่ได้ใช้ในประโยคบอกเล่าธรรมดา แม้ในประโยคธรรมดาจะมีสำนวนว่า ใคร อะไร อยู่ก็ตาม ต้องใช้ กึ ศัพท์ที่มี จิ ตาม เป็นโกจิ กาจิ กิญฺจิ ซึ่งแปลว่า ใครๆ อะไรๆ แต่สำนวน ไทยสันทัดแปลสั้น ๆ ว่า ใคร อะไร เฉยๆ เช่น
ความไทย |
: ก็อะไรอยู่ในห้องนั้น สามเณร |
เป็น |
: กึ ปเนตสฺมึ คพฺเภ โหติ สามเณร |
ความไทย |
: ไม่มีอะไรหรอกครับ |
เป็น |
: น กิญฺจิ ภนฺเต ไม่ใช่ น กึ ภนฺเต |
ความไทย |
: ในสามอย่างนั้น ที่ชื่อว่านิมิต ได้แก่ การที่เมื่อภิกษุ ทำกิจมีปรับพื้นที่เพื่อสร้างเสนาสนะอยู่ เมื่อพวกคฤหัสถ์ถามว่า ท่านทำอะไร ขอรับ ใครใช้ ให้ท่านทำ ให้คำตอบว่า ไม่มีใครให้อาตมาทำ |
เป็น |
: ตตฺถ นิมิตฺตํ นาม เสนาสนตฺถํ ภูมิปริกมฺมาทีนิ กโรนฺตสฺส กึ ภนฺเต กโรติ โก การาเปตีติ คิหีหิ วุตฺเต น โกจีติ ปฏิวจนํ (วิสุทธิ ๑/๕๐) |
ไม่ใช่ |
: ฯเปฯ น โกติ ปฏิวจนํ |
(๖)ในประโยคบอกเล่าธรรมดาที่มีเนื้อความปฏิเสธ และไม่ต้องการคำตอบ มีสำนวนไทยว่า “จะมีอะไร... จะมีประโยชน์อะไร... จะ ต้องการอะไร...” แล้วต่อด้วยสำนวนไทยว่า “ด้วย” หรือ “กับ” นิยมใช้ กึ ศัพท์วางไว้ต้นประโยค ต่อด้วยนิบาต (ถ้ามี) ต่อด้วยนาม เจ้าของซึ่งต้องเป็นจตุตถีวิภัตติ แล้วจึงตามด้วยบทที่ถูกปฏิเสธ ซึ่งประกอบเป็นตติยาวิภัตติเสมอ เช่น
ความไทย |
: เราจะมีประโยชน์อะไร ด้วยการเป็นอยู่ (เราจะอยู่ไปทำไม) |
เป็น |
: กึ เม ชีวิเตน (๖/๑๒๔) |
ความไทย |
: สำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทรามเช่นท่าน จะมีประโยชน์อะไรด้วยชฎา จะมีประโยชน์อะไรด้วยหนังเลือเหลืองอันมีเล็บ |
เป็น |
: กินฺตาทิสสฺส ทุปฺปญฺญสฺส ปุคฺคลสฺส ชฏาหิ, กึ สขุเรน อชินจมฺเมน (๘/๑๑๗) |
ความไทย |
: เราจะต้องการอะไรกับการเที่ยวบิณฑบาตในตระกูลของคนอื่นเป็นอยู่ |
เป็น |
: กึ เม ปรกูเลสุ ปิณฺฑาย ชีวิเตน (๖/๑๐๓) |
(๗) ในกรณีที่บทถูกปฏิเสธ (กรณะ ตติยาวิภัตติ) ตามข้อ (๖) นั้น มีวิเสสนะอยู่ด้วย หากเป็นวิเสสนะนามให้เรียงไว้หน้า หากเป็น วิเสสนะกิริยากิตก์ ให้เรียงไว้หลังกรณะนั้น เช่น
ความไทย |
: จะประโยชน์อะไรสำหรับฉัน ด้วยคุณ ซึ่งหนีไป แล้วหรือมาแล้ว |
เป็น |
: กึ ปน มยฺหํ ตยา ปลายิเตน วา อาคเตน วา (๘/๒๔) |
ความไทย |
: ดูก่อนวักกลิ ร่างกายเปื่อยเน่านี้อันเธอเห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอ |
เป็น |
: กึ เต วกฺกสิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน (๘/๘๓) |
(๘) ในประโยคบอกเล่าที่มีเนื้อความปฏิเสธเชิงถาม และไม่ต้องการคำตอบเช่นเดียวกับข้อ (๖) หากไม่แต่งเป็น กึ ดังกล่าว ให้ประกอบเป็นรูป โก อตฺโถ แทน โดยวางตัวกรณะ ไว้หน้า โก อตฺโถและต้องวาง โก ไว้หน้า อตฺโถเสมอ เช่น
ความไทย |
: จะประโยชน์อะไรกับปาฏิโมกข์ที่ท่านฟังหรือไม่ฟัง |
เป็น |
: ปาฏิโมกฺเขน สุเตน วา อสฺสุเตน วา โก อตฺโถ |
ความไทย |
: จะมีประโยชน์อะไร ด้วยคุณที่ลี้ลับ อันท่านแสดงแก่มหาชนเพราะเหตุบาตรไม้ผุๆ |
เป็น |
: ฉวสฺส ทารุมยปตฺตสฺส การณา ปฏิจฺฉนฺนคฺคุเณน มหาชนสฺส ทสฺสิเตน โก อตฺโถ(๖/๖๑) |
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710