วันสำคัญ ในแต่ละเดือน และปี
วันมาฆบูชา
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (หรือ ๔)
วันวิสาขบูชา
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
วันอัฏฐมีบูชา
วันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖)
วันอาสาฬหบูชา
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
วันเข้าพรรษา
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
วันออกพรรษา
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
วันพระ
วันขึ้น(และแรม) ๘ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ
วันโกน
ก่อนวันพระใหญ่ ๑ วัน
โอวาทปาติโมกข์
หลักปฏิบัติอันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา
อุดมการณ์ ๓
๑. ความอดทน คือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง ๒. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่าพระนิพพานเป็นเยี่ยม ๓. ผู้ล้างผลาญผู้อื่น ไม่ชื่อว่าพรรชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าผู้สมณะ
หลักการ ๓
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๓. การกลั่นจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
วิธีการ ๖
๑.การไม่กล่าวร้ายกัน ๒.การไม่ทำร้ายกัน ๓.ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๔.ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๕.การนั่งนอนในที่อันสงัด ๖.การประกอบความเพียรในอธิจิต
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (หรือเดือน ๔ ปีที่มีเดือน ๘ สองหน)
วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" เพราะเป็นวันที่พระพุทธองค์ประทานหลักโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระธรรม แก่พระอรหันตสาวกผู้เป็นเอหิภิกขุทั้ง ๑,๒๕๐ รูปที่มาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายในวันมาฆปุรณมี
เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา ๔ ประการ
- เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน ๓ )
- พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย
- ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ ทั้งหมด
- ภิกษุเหล่านั้นล้วนบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน ๖ นับเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง ๓ เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระพุทธเจ้า"
วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๓ เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล
ประสูติ
ตรัสรู้
ปรินิพพาน
วันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖)
วันอัฏฐมีบูชา
วันอัฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘ วัน
โดยมีการทำพิธี ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ประเทศอินเดีย ซึ่งเมื่อครั้งโบราณกาล วันอัฏฐมีบูชา นับเป็นวันที่ชาวพุทธมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี และทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และจัดว่าเป็น"วันพระรัตนตรัย" อีกด้วย
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น
หรือภาษาปากว่า จำพรรษา การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี (หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน)
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
วันออกพรรษา
วันออกพรรษา เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา
เรียกว่าอย่างหนึ่งว่า “วันปวารณา” หรือ “วันมหาปวารณา” คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ทั้งหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน
วันขึ้น ๘ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ, วันแรม ๘ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ
วันพระ
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม
วันขึ้น ๑๔ ค่ำ, วันแรม ๑๔ ค่ำ
วันโกน
วันโกน คือ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ และวันแรม ๑๔ ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม ๑๓ ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ ๑ วัน
ร่วมสวด ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
สูตรสำเร็จ ทั้งภายนอกและภายใน