ทศวรรษแรก... โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย
ดังนั้นนอกเหนือจากการเน้นหนักในการเจริญสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายแล้วหลวงพ่อยังได้ตระหนักในคุณค่าของการศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง นับตั้งแต่อุปสมบท ปีพ.ศ.2512 เป็นต้นมา ท่านได้ให้ความสำคัญในด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก
ในจุดเริ่มต้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ปีต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมที่จังหวัดปทุมธานี คณะผู้บุกเบิกในการสร้างวัดก็ได้ทยอยอุปสมบทมาเป็นลำดับๆ อาทิเช่น พระพิพัฒน์ ฐิตสุทฺโธ พระเผด็จ ทตฺตชีโว ในยุคแรกๆ ของการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ยังคงเดินทางไปเรียนกันที่ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
ต่อมาในปีพ.ศ. 2515 ขณะที่โครงการก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมยังคงดำเนินต่อไปนั้น โครงการอบรมธรรมทายาทระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อนให้กับนิสิตนักศึกษาก็ได้บังเกิดขึ้น ในระยะแรกให้ชื่อว่า โครงการฝึกสมาธิภาคฤดูร้อน โดยจะใช้เวลาอบรม 15 วัน มีการรักษาศีล 8 และนั่งสมาธิเท่านั้น ยังไม่มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมและปลุกฝังคุณธรรมพื้นฐาน อันนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมี หลวงพ่อทัตตชีโว เป็นพระอาจารย์ผู้ให้อบรมมาโดยตลอด และดำเนินต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า โครงการอบรมธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ ใช้ระยะเวลาอบรมประมาณ 2 เดือน
ในระยะเริ่มต้นของการก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม พระภิกษุที่ช่วยงานยังคงแบ่งเวลาได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดปากน้ำ และทำงานสร้างวัดควบคู่ไปด้วย บางครั้งก็ดูหนังสือกันเองแล้วไปสอบ หากมีข้อสงสัยติดขัดประการใดก็ไปกราบเรียนถามพระอุปัชฌาย์อาจารย์อยู่เสมอๆ
ต่อมาในปีพ.ศ.2518 พระภิกษุรุ่นแรกๆ ผู้ร่วมกันบุกเบิกก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมได้ย้ายจากวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ตามหลวงพ่อธัมมชโย และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง มาจำพรรษาอยู่ที่ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม แต่ยังคงเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดปากน้ำเช่นเดิม โดยเฉาะการศึกษาพระวินัย ได้มีการเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดปากน้ำเช่นเดิม โดยเฉพาะการศึกษาพระวินัย ได้มีการเดินทางไปมาเป็นระยะๆ รวมทั้งการไปสอบนักธรรมสนามหลวง ไปลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์ เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา การอบรมธรรมทายาทภาคฤดูร้อน ได้จัดให้มีการศึกษาพระธรรมวินัย โดยได้รับความเมตตาจาก พระเดชพระคุณพระราชวิสุทธิโมลี(ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9)เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมกิตติวงศ์) พระมหายุทธนาปริชาโน ป.ธ.9 วัดปากน้ำ และพระอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ มาช่วยให้การอบรมเป็นพิเศษด้วย ด้านการศึกษาภาษาบาลี เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2526 คณะสงฆ์เห็นสมควรว่าจะเปิดให้ มีการเรียนการสอนภาษาบาลีขึ้นในวัดพระธรรมกาย ซึ่งได้นิมนต์ พระมหายุทธนา ปริชาโน ป.ธ.9 (ซึ่งเมื่อครั้งยังเป็นสามเณร ได้เคยอุปัฏฐาก หลวงพ่อธัมมชโยและหลวงพ่อทัตตชีโวมาก่อน) มาช่วยสอนวิชาไวยากรณ์ และแปลธรรมบทเริ่มต้นเปิดเรียนเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2526 ผู้เรียนในยุคนั้นมี หลวงพ่อทัตตชีโว พระดิลก กิตฺติติลโก พระมหาชาติชาย ตกฺกสรโณ และ พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก เป็นต้น ตอนนั้นการเรียนการสอนยังไม่เป็นทางการนัก เพราะผู้เรียนและผู้สอนต่างมีภารกิจมากมาย ต้องใช้เวลาว่างที่พอจะหาได้มาเรียนกัน และส่งสอบบาลีสนามหลวงปีพ.ศ.2527 เป็นปีแรก
จนกระทั่งปี พ.ศ.2528
ระหว่างฤดูกาลเข้าพรรษานั้นเอง พระภิกษุธรรมทายาทบวชใหม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยโดยเปิดชั้นเรียนนักธรรมตรีขึ้น หลวงพ่อทัตตชีโว รองเจ้าอาวาส ได้เมตตาสอนวิชานวโกวาทให้เป็นส่วนใหญ่ มีพระอาจารย์ผู้ช่วยสอน เช่น พระดิลก กิตฺติติลโก พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก พระมหากิจจา กิจฺจปุณฺโณ เป็นต้นเนื่องจากเปิดให้มีการเรียนการสอนเป็นครั้งแรก จึงสอนเฉพาะนักธรรมตรี และส่งพระภิกษุเข้าสอบสนามหลวง 50 รูป สอบได้ถึง 44 รูป ส่วนอาคารสถานที่เรียนได้ใช้เต็นท์ผ้าใบอาศัยกันแดดกันฝนไปก่อนนอกจากนี้ยังได้จัดสอนธรรมศึกษาตรีให้กับญาติโยมอุบาสกอุบาสิกาเป็นครั้งแรกด้วย
การศึกษาภาษาบาลียังคงดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมา โดยอาศัยอาจารย์ฆราวาสคือ อาจารย์ จวน คงแก้ว จากกรมราชทัณฑ์ อาจารย์ฉลองช่วยธานี อาจารย์ชานนท์ สืบศักดิ์ จากกรมการศาสนา ใช้เวลาหลังจากเลิกงานประจำแล้วมาช่วยสอนในวันจันทร์ – พุธ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 18.30 – 20.30 น. ส่วนสถานที่เรียนยังไม่เป็นที่เป็นทางนัก แต่นักเรียนทุกคนต่างมีความตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่
ปลายปีพ.ศ.2528 มีการเปิดรับสามเณรเข้ามาอยู่ในวัดพระธรรมกายเป็นครั้งแรก จำนวน 5 รูป และให้เรียนบาลีไวยากรณ์ควบคู่ไปด้วยโดยเปิดชั้นเรียนที่อาคารปุโรหิต นัดเป็นจุดเริ่มต้นการศึกษาพระปริยัติธรรมของวัดพระธรรมกายอย่างจริงจัง
ปีการศึกษา 2530 - 2531
ส่วนการสอนธรรมศึกษา จะเปิดเรียน เฉพาะวันอาทิตย์ในภาคบ่าย โดยใช้สถานที่เรียนที่อาคารปุโรหิตา พระอาจารย์สอนในปีนั้น คือ พระดิลก กิตฺติติลโก พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก และพระมหากิจจา กิจฺจปุณฺโณ
ปีการศึกษา 2531 - 2532
พระภิกษุผู้ทำหน้าที่บริหารการศึกษาได้เปลี่ยนจาก พระดิลก กิตฺติติลโก เป็นพระมหากิจจา กิจฺจปุณโณ และเป็นที่น่ายินดีว่า อาจารย์ผู้สอนทั้งนักธรรมและบาลีมีเพียงพอ โดยเฉพาะด้านนักธรรม มีพระภิกษุช่วยสอนถึง 31 รูป แผนกบาลีมีพระอาจารย์ 3 รูป อาจารย์ฆราวาส 10 ท่าน และอาจารย์พิเศษ 2 ท่าน
ปีการศึกษา 2532 - 2533
พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย ( หลวงพ่อธัมมชโย ) เจ้าสำนักศาสนศึกษาได้มอบหมายให้ พระสุวิทย์ วิชฺเชสโก รับผิดชอบและบริหารงานด้านการศึกษาพระปริยัติโดยตรง พระมหากิจจา กิจฺจปุณโณ เป็นผู้ช่วยการดำเนินงาน รูปแบบของโรงเรียนได้รับการปรับเปลี่ยนให้สมบูรณ์ขึ้น มีครูใหญ่คือ พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก ผู้ช่วยครูใหญ่คือ พระมหากิจจา กิจฺจปุณโณ ฝ่ายปกครองคือ พระดุษฎี สิรินนฺโท ฝ่ายทะเบียน / วัดผลคือ พระชัยฟ้า ธญฺญกุโล และแผนกนักธรรม แผนกบาลีคือ พระมหากิจจา กิจฺจปุณโณ ได้เปิดสอนภาษาบาลีทั้งภาคปกติ (เวลากลางวัน ) ให้กับสามเณร และภาคค่ำ สำหรับพระภิกษุ และในปีนี้ อาจารย์เรืองศรี จันทะจิต มาช่วยสอนภาษาบาลีแทนอาจารย์ที่ลาออกไป 1 ท่าน
เวลาเรียนภาษาบาลีจะใช้เวลาในภาคเช้า ส่วนภาคบ่ายจะเรียนนักธรรม ปีนี้ส่งสอบบาลี สนามหลวงมากถึง 60 รูป คณะพระอาจารย์สอนนักธรรมมีจำนวน 26 รูป เป็นชุดเดียวกับปีที่แล้ว
งานด้านวิชาการ คณะพระอาจารย์และคณะอาจารย์ฆราวาสได้ช่วยกันจัดทำ และปรับปรุงหนังสือแบบเรียนบาลีให้สะดวกกับการเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น หนังสือท่องแบบบาลีไวยากรณ์ (ฉบับกระเป๋า) จำนวน 200 เล่ม คาถาและคำแปลโดยพยัญชนะ ประโยค 1 – 2 จำนวน 200 เล่ม สมุดบันทึกการสอน เตรียมการสอน เป็นต้น
ปีการศึกษา 2533 - 2534
ในระยะนี้ได้มีการปรับปรุงการจัดการศึกษาและการบริหารงานของโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้คล่องตัวขึ้นตามลำดับ เช่น ในด้านวิชาการก็สรรหาอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถสูงๆ มาทำการสอน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความส่งพระภิกษุสามเณรสอบสนามหลวงเกือบ 300 รูป ส่งสอบบาลีสนามหลวงเพิ่มขึ้นมาเป็น 81 รูป
โดยมีการบริหารงานควบคุมดูแลแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบออกเป็นส่วนงานต่างๆ 4 ฝ่ายด้วยกัน คือ
1. ฝ่ายธุรการ ดูแลด้านการเงิน งานทะเบียน ประชาสัมพันธ์ ห้องสมุดและการประสานงาน
2. ฝ่ายปกครอง ดูแลด้านบุคลากร การอบรมครู และสวัสดิการ
3. ฝ่ายวิชาการ วางแผนงาน จัดทำตำราเรียนและสื่อการเรียนการสอนต่างๆ
4. ฝ่ายการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 แผนก คือ แผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกธรรมศึกษา
บุคลกรผู้บริหารงานมีทั้งพระภิกษุและฆราวาสช่วยดำเนินงานถึง 23 รูป ท่าน เป็นพระภิกษุ 13 รูป อาจารย์ฆราวาส 9 ท่าน และอุบาสิกา 1 ท่าน อีกทั้งยังได้รับความเมตตาจาก พระอาจารย์มหาสมเจตต์ อธิจิตฺโต (ปัจจุบันเป็นพระสุธีรัตนาภรณ์) ป.ธ.9 จากวัดสุทัศนเทพวราราม มาช่วยสอน
กาเรียนการสอน
1.แผนกบาลี ระดับประโยค 1-2 จัดสอบเพื่อคัดคะแนนสำหรับแบ่งห้องเรียนก่อนเพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน ใช้เวลาเรียนประมาณ 10 เดือน เรียนทุกวัน เว้นอาทิตย์และวันพระ ขึ้น แรม 14, 15 ค่ำ เพราะเป็นวันที่พระภิกษุลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์ ด้านอาจารย์ผู้สอนยังคงอาศัยอาจารย์ฆราวาสเป็นส่วนใหญ่พระภิกษุของโรงเรียนช่วยสอนบ้าง ปีนี้มีเพียง 3 รูป บางโอกาสได้ฝึกให้สามเณรที่เรียนในชั้นที่สูงกว่ามาช่วยสอนเป็นครั้งคราว มีการเปิดชั้นเรียนบาลีถึง ป.ธ. 4
2.แผนกนักธรรม ระดับชั้นตรีและโท เปิดสอนชั้นละ 2 ห้องเรียนพระภิกษุที่สอบผ่านนักธรรมเกแล้ว บ้างรูปก็มีหน้าที่ดูแลสามเณร หรือบางรูปเคยช่วยเป็นครูสอนบ้างประจำทุกปี จึงระดมกันมาช่วยสอน รวมทุกชั้นทุกวิชาแล้วมีพระอาจารย์ถึง 15 รูป ปัญหาการขาดแคลนผู้สอนในระยะแรกๆ จึงหมดไป
3.แผกธรรมศึกษา สาธุชนให้ความสนใจสมัคเรียนธรรมศึกษาเป็นจำนวนมากเกือบ 100 คน แต่เปิดสอนได้เพียงชั้นละห้อง เรียนกันเฉพาะวันอาทิตย์ในภาคบ่าย สถานที่เรียนก็ยังใช้เต็นท์ผ้าใบเช่นเดิม
ด้านอาคารสถานที่เนื่องจากใช้อาคารเรียนบริเวณเดียวกันกับที่พัก ระหว่างที่มีการเรียนการสอน ก่อให้เกิดเสียงรบกวนพระภิกษุที่กำลังจะปฏิบัติธรรมบ้างพอสมควร ต่อมาพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย มีดำริที่จะให้สถานที่เรียนเป็นสัดส่วนมากขึ้น จึงได้ย้ายโรงเรียนพระปริยัติธรรมออกไปอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของอาศรมบรรพชิต ติดต่อกับลานกัลปพฤกษ์ด้านทิศตะวันออก
ปีการศึกษา 2534 - 2535
หลวงพ่อทัตตชีโว รองเจ้าอาวาสวัดธรรมกายได้ปฏิบัติหน้าที่แทนหลวงพ่อธัมมชโยมาเป็นประธานในพิธีเปิด และได้ให้โอวาทแก่นักเรียน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นสามเณร มีใจความเป็นที่ประทับใจว่า…. “อาคารเรียนของเราแม้เป็นหลังคามุงจากแต่ขอให้ลูกๆ ตั้งความสำคัญอยู่ที่ว่า 1.ตัวเราตั้งใจเรียนไหม? 2.มีตำรับตำราที่ดีไหม? 3.ได้ครูบาอาจารย์ที่ดีหรือเปล่า?
ถ้าได้ครบอย่างนี้โบราณเขาเรียกว่า กระทะ 3 หู ตัวของเราตั้งใจเรียนดี ตำรับตำราดี และอาจารย์เคี่ยวเข็ญให้อย่างดี ถามีครบถ้วนบริบูรณ์อย่างนี้ ก็สามารถจะประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาได้อย่างแน่นนอน
ปีการศึกษา 2535 - 2536
การบริหารโรงเรียนมีการปรับใหม่เพื่อความเหมาะสมในการบริหารงานมากขึ้น โดยแบ่งหน้าที่ตามลักษณะงานออกเป็น 5 ฝ่าย คือ 1.แผนกเลขานุการ 2.แผนกบาลี 3.แผนกธรรม 4.ห้องสมุดและสื่อการสอน 5.การศึกษาพิเศษ การดำเนินงานตามโครงสร้างนี้ต้องใช้ บุคลกร ถึง 26 รูป/คน คือ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 10 รูป/คน พระอาจารย์ 10 รูป อาจารย์ฆราวาส 4 ท่าน พระอาจารย์พิเศษอีก 1 รูป คือ พระมหาสมเจตต์ อธิจิตฺโต (ปัจจุบันเป็นพระสุธีรัตนาภรณ์)ซึ่งได้เมตตามาสอนให้เป็นปีการศึกษาที่ 2
นอกจากนี้ประมาณกลางปี พ.ศ.2535 ยังได้รับความเมตตาจาก พระมหาสนอง อาจารปาลี ป.ธ.9 วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม มาช่วยสอนอีกท่านหนึ่งด้วย ผลการศึกษาภาษาบาลีประจำปีนี้ ปรากฏว่า วัดพระธรรมกาย ซึ่งสังกัดอยู่ในสำนักเรียนคณะจังหวัดปทุมธานี มีพระภิกษุสามเณรสอบผ่านประโยค 1-2 ถึง เปรียญธรรม 9 ประโยค มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ รวมทั้งสิ้น 120 รูป และพระอาจารย์ใหญ่ พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโกส เรียน จบประโยค 9 เป็นรูปแรกของวัดธรรมกายในปีนี้เชนกัน
ปลายปี พ.ศ.2535 ทางโรงเรียนดำเนินการจัดสร้างอาคารเอนกประสงค์กึ่งถาวร ลักษณะประกอบด้วยโครงเหล็กยกพื้นคอนกรีตชั้นเดียวผนังบุด้วยกระเบื้องแผ่นเรียบ ขนาด 12 คูณ 36 เมตร จำนวน 1 หลัง
ปีการศึกษา 2536 - 2537
โดยแบ่งส่วนงานออกเป็น 4 กอง คือ 1.สำนักงานกองเลขานุการ 2.กองบาลีศึกษา 3. กองธรรมศึกษา 4.กองวิชาการ การบริหารงานได้ผ่านคณะกรรมการสำนักพระปริยัติธรรม ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนัก (พระอาจารย์ใหญ่) และหัวหน้ากองทั้ง 4 กอง (ดังโครงสร้างการบิหารงานด้านล่าง)
ระบบการเรียนการสอน
สำหรับปีการศึกษา 2537 ถึงปัจจุบันนักเรียนชั้นประโยคสูงเริ่มมีมากขึ้น พระมหาสมเจตต์ อธิจิตฺโต(ปัจจุบันเป็นพระสุธีรัตนาภรณ์) ป.ธ.9 ได้ให้ความเมตตาสอนชั้นประโยค 4 และยังได้รับความเมตตาจาก พระมหาคำนึง ชินวํโส ป.ธ. 9 วัดเบญจมบพิตรฯสอนชั้นประโยค 5 พระมหาสวอง ปญฺญาธโร (ปัจจุบันเป็นพระเมธีธรรมาภรณ์) ป.ธ.9 วัดสุทัศนเทพวราราม สอนชั้นประโยค 6
จำนวนนักเรียนบาลี ปี พ.ศ. 2537 มี 160 รูป แบ่งเป็น -ชั้นบาลีไวยากรณ์ จำนวน 40 รูป -ชั้นประโยค 1-2 จำนวน 15 รูป -ชั้นประโยค 3 จำนวน 29 รูป -ชั้นประโยค 4 จำนวน 19 รูป -ชั้นประโยค 5 จำนวน 21 รูป -ชั้นประโยค 6 จำนวน 25 รูป -ชั้นประโยค 7 จำนวน 9 รูป -ชั้นประโยค 8 จำนวน 2 รูป
จำนวนนักเรียนที่เรียนนักธรรม 330 รูป/ท่าน (สถิติปีพ.ศ.2535) แบ่งเป็น 1.นักเรียนนักธรรม 206 รูป -ชั้นตรี 114 รูป -ชั้นโท 65 รูป -ชั้นเอก 27 รูป 2.นักธรรมศึกษา 182 คน -ชั้นตรี 102 คน -ชั้นโท 36 รูป -ชั้นเอก 44 รูป
ยอดพระภิกษุสามเณรเปรียญธรรมของโรงเรียนตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน มีทั้งหมด 105 รูป
นอกจากนี้ได้มีการปรับหลักสูตรวิชาเสริมต่างๆ ควบคู่ไปกับการเรียนพระปริยัติธรรมดังนี้
2.วิชาภาษาอังกฤษ ว่าด้วยการสนทนาและเพิ่มทักษะการฟัง การพูด เพราะปัจจุบันชาวต่างชาติจำนวนมากได้หันมาปฏิบัติธรรมกันมากดังนั้นการสื่อความเพื่อถ่ายทอดภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ
3.วิชาคอมพิวเตอร์ เป็นการก้าวตามวิทยาการสมัยใหม่ เนื่องด้วยคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิต รวมถึงด้านการศึกษาด้วย เพื่อให้การสร้างสรรค์งานพระศาสนามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนวิธีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการเขียนโปรแกรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานพระพุทธศาสนาต่อไป
4.วิชาความรู้ทั่วไป เป็นการเปิดโลกทรรศน์ให้กับสามเณรได้รู้ในเรื่องรอบตัวทั่วๆไปให้กว้างขวางขึ้น อันจะสามารถนำมาปรับใช้ในการสร้างบารมีได้สูงสุด
คณะกรรมการนักเรียน
เมื่อปี พ.ศ.2536 โรงเรียนพระปริยัติธรรม ได้เริ่มแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนขึ้น โดยให้นักเรียนบาลีแต่ละชั้นคัดเลือกตัวแทนนักเรียนขึ้นมา แล้วแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ
- 1. ฝึกการบริหารงาน การทำงานเป็นทีม และการแสดงออกของนักเรียนในทางสร้างสรรค์
- 2. ให้นักเรียนมีส่วนในการบริหารและจัดกิจกรรมของโรงเรียน
- 3. ให้นักเรียนมีระเบียบวินัยที่ดี และเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่กันได้
- 4. สร้างสำนึกในความเป็นเจ้าของโรงเรียน วัดและองค์กร
- 5.นำความรู้จากภาคปริยัติธรรมมาสร้างสรรค์ผลงานสู่สมาชิกองค์กรและสาธุชนทั่วไป
จากการประชุมสัมมนา “การปรับปรุงแนวทางพัฒนานักเรียนและโรงเรียนพระปริยัติธรรม” ของพระอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม เมื่อวันที่ 10-12 มีนาคมนั้น มีมติเห็นสมควรให้รับสมัครตัวแทนเพื่อคัดเลือกและแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม สำหรับปีการศึกษา 2537 ตามวัตถุประสงค์เดิม และจากการลงคะแนนเลือกตั้งของนักเรียน โดยความเห็นชอบของคณาจารย์โรงเรียนพระปริยัติธรรมและพระพี่เลี้ยง เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2537 จึงมีมติเห็นสมควรให้แต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม ประจำปี พ.ศ. 2537 จำนวน 20 รูป เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมของคณะกรรมการนักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงมีการแบ่งหน้าที่ และความรับผิดชอบเป็น 4 ส่วนดังนี้
ศูนย์สารพิชา (งานวิชาการ) -เป็นศูนย์รวมข้อมูลวิชาการด้านบาลีศึกษานักธรรม วิชาเสริม -ให้คำแนะนำด้านวิชาการ -จัดโครงการส่งเสริมนักเรียนดี -ผลิตสื่อการศึกษา -ประสานงานจัดหาอุปกรณ์การศึกษา -ประสานงานจัดหาความรู้พิเศษเปิดโลกทัศน์ -งานห้องสมุด เบิก-ยืมสื่อการศึกษา
ศูนย์นราภิวัฒน์ (งานพัฒนาบุคคล) -จัดกิจกรรมเน้นย้ำคุณธรรม -ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร -ประสานงานจัดหาสื่อธรรมและตัวอย่างที่ดีมาให้ดู -ปลูกฝังสมณสัญญา -จัดบอร์ดความรู้ธรรมะเพื่อส่งเสริมคุณค่าชีวิตในการสร้างบารมี
ศูนย์พัฒนาการ (งานพัฒนาสถานที่) -ประสานงานจัดสร้างและพัฒนาสถานที่ของโรงเรียนตามความเหมาะสม -ประสานงานจัดหาอุปกรณ์เครื่องอำนวยความสะดวกในโรงเรียน -จัดกิจกรรมส่งเสริม “เรารักโรงเรียน” เช่น ประกวดห้องเรียนสะอาด
ศูนย์สาส์นกิจกรรม (งานเลขานุการ) -งานธุรการ -เก็บรวบรวมข้อมูลผลงานของแต่ละศูนย์ ประสานงานและติดตามงานของแต่ละศูนย์ -นัดประชุมคณะกรรมการนักเรียน -กำหนดวาระและจัดทำรายงานการประชุม -ประชาสัมพันธ์รายงานมติที่ประชุม
บทสรุป
การศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นหน้าที่สำคัญของศาสนทายาท เพราะเป็นประดุจดวงประทีปที่จะชี้นำผู้ได้รับการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าสามารถจะนำความรู้ความสามารถหรือความดีงามทั้งปวง เผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่น
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกายแห่งนี้ แม้จะยังขาดความพร้อมในอีกหลายด้าน แต่ก็เป็นที่หวังได้ว่า นับแต่นี้เป็นต้นไปทุกอย่างจะก้าวไปข้างหน้าด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย โรงเรียนจะเป็นแหล่งความรู้และจะเป็นแหล่งผลิตบุคลากรทางสายพระปริยัติธรรม ให้ศาสนทายาทเกิดความมั่นใจในการรักษาและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
สถิติแสดงผลการศึกษาแผนกบาลี
ปีการศึกษา | 2527 | 2529 | 2530 | 2531 | 2532 | 2533 | 2534 | 2535 | 2536 | 2537 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชั้น | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ |
ป.1-2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 6 | 1 | 11 | 5 | 47 | 5 | 68 | 31 | 98 | 40 | 120 | 76 | 66 | 14 | 55 | 12 |
ป.ธ.3 | - | - | 1 | 1 | 3 | 1 | 3 | 1 | 9 | 7 | 7 | 3 | 25 | 19 | 36 | 27 | 68 | 28 | 43 | 14 |
ป.ธ.4 | - | - | - | - | 2 | 1 | 2 | - | 3 | - | 9 | 2 | 6 | 1 | 22 | 13 | 34 | 25 | 32 | 17 |
ป.ธ.5 | - | - | - | - | - | - | 1 | 1 | - | - | - | - | 2 | 2 | 1 | 1 | 14 | 14 | 25 | 21 |
ป.ธ.6 | - | - | - | - | - | - | - | - | 1 | 1 | - | - | - | - | 2 | 2 | 1 | - | 13 | 9 |
ป.ธ.7 | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | 1 | 1 | - | - | - | - | 2 | 1 | 1 | 1 |
ป.ธ.8 | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | 1 | 1 | - | - | - | - | 1 | - |
ป.ธ.9 | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | 1 | 1 | - | - | - | - |
รวม | 2 | 2 | 3 | 3 | 11 | 3 | 17 | 7 | 60 | 13 | 85 | 37 | 132 | 63 | 182 | 120 | 185 | 82 | 170 | 74 |
สถิติแสดงผลการศึกษาแผนกธรรม
ปีการศึกษา | 2528 | 2529 | 2530 | 2531 | 2532 | 2533 | 2534 | 2535 | 2536 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชั้น | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ | สอบ | ได้ |
น.ธ.ตรี | 47 | 41 | 58 | 53 | 50 | 50 | 94 | 87 | 122 | 113 | 80 | 79 | 41 | 38 | 19 | 19 | 19 | 26 |
น.ธ.โท | - | - | 28 | 27 | 49 | 44 | 77 | 58 | 112 | 77 | 103 | 76 | 79 | 66 | 42 | 32 | 17 | 12 |
น.ธ.เอก | 3 | 2 | 3 | 2 | 25 | 25 | 40 | 36 | 60 | 40 | 82 | 74 | 71 | 65 | 63 | 26 | 58 | 43 |
รวม | 50 | 43 | 89 | 82 | 124 | 119 | 211 | 181 | 294 | 230 | 265 | 229 | 191 | 169 | 124 | 77 | 101 | 55 |
ธ.ศ.ตรี | 26 | 26 | 50 | 43 | 38 | 38 | 8 | 7 | 34 | 30 | 34 | 33 | 81 | 80 | 45 | 45 | 37 | 33 |
ธ.ศ.โท | - | - | 12 | 11 | 23 | 19 | 23 | 10 | 10 | 9 | 11 | 11 | 42 | 34 | 52 | 36 | 41 | 38 |
ธ.ศ.เอก | - | - | 1 | 1 | 7 | 5 | 17 | 11 | 8 | 7 | 6 | 6 | 14 | 13 | 27 | 21 | 41 | 34 |
รวม | 26 | 26 | 63 | 55 | 68 | 62 | 48 | 28 | 52 | 46 | 51 | 50 | 137 | 127 | 124 | 102 | 119 | 105 |