25.บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย (การใช้ อลํ, ปฐมํ และ ตาว)

 

การใช้ อลํ ศัพท์

          อลํ ศัพท์ ใช้ในความหมาย ๒ ประการ คือ ในความหมาย ปฏิเสธ แปลว่า “อย่าเลย, พอละ, พอที, พอกันที” และในความหมาย แห่ง อรห ศัพท์ แปลว่า “ควร, เพียงพอ, อาจ” มีวิธีใช้และหลัก การพอเป็นข้อสังเกตดังนี้

          (๑) ในประโยคที่ปฏิเสธเฉยๆ ว่า อย่าเลย แล้วขึ้นประโยคใหม่ ต่อไป ให้เรียงอลํ ไว้ต้นประโยคทีเดียว

ความไทย

: อย่าเลย พระคุณเจ้า คุณแม่ของผมจะดุเอา

เป็น

: อลํ อยฺย, มาตา เม ตชฺเชสฺสติ (๓/๓๘)

ความไทย

: พอทีเถอะ พวกคุณ พวกคุณอย่าเศร้าโศก อย่ารํ่าไรเลย

เป็น

: อลํ อาวุโส, มา โสจิตฺถ มา ปริเทวิตฺถ (สมนฺต. ๑/๕)

 

           (๒) ในประโยคปฏิเสธ ที่ระบุสิ่งที่ถูกปฏิเสธและผู้ปฏิเสธไว้ด้วย ให้เรียง อลํ ไว้ต้นประโยค เรียงผู้ปฏิเสธเป็นจตุตถีวิภัตติ (สมฺปทาน) ไว้ถัดไป และเรียงสิ่งที่ถูกปฏิเสธ (กรณ)ไว้สุดประโยค หากระบุอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เรียงไว้หลัง อลํ ตามปกติ เช่น

ความไทย

: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ให้พระนางบวชเถิด อย่าปรินิพพานเลย

เป็น

: ภนฺเต ปพฺพาเชถ นํ, อลํ ปรินิพฺพาเนน (๘/๒๒)

ความไทย

: สำหรับพวกเรา พอละด้วยคนมีประมาณเท่านี้

เป็น

: อลํ อมฺหากํเอตฺตเกหิ (๓/๘๘)

          (๓) ในประโยคที่มีสำนวนว่า “ควรจะ, พอที่จะ’’ หรือ “ควรเพื่อ” หากใช้ อลํ ศัพท์ จะต้องกำหนดว่า มีบทประธานหรือไม่ ถ้ามีบทประธานอยู่ด้วยนิยมเรียงบทประธานไว้หน้า อลํ และ เรียงคำว่า เพื่อ ไว้หลัง อลํ โดยคำว่า เพื่อ นั้น หากเป็นกิริยาอาการ นิยมมีรูปเป็น ตุํ หากเป็นนาม นิยมมีรูปเป็นจตุตถีวิภัตติ เช่น

ความไทย

: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ภิกษุไม่เข้าไป ควรที่จะเข้าไปและเข้าไปแล้ว ควรจะนั่งใกล้

เป็น

: นวหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคตํ กุลํ อนุปคนฺตฺวา จ อลํ อุปคนฺตุํ อุปคนฺตฺวา จ อลํ อุปนิสีทิตุํ (๓/๘) (ในประโยคนี้ อลํ เป็นกิริยาคุมพากย์ กัมมวาจก)

ความไทย

: ดูก่อนชาวกาลามะควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัย ควร ที่จะเคลือบแคลง

เป็น

: อลํ หิ โว กาลามา กงฺขิตุํ, อลํ วิจิกิจฺฉิตุํ (ในประโยคนี้ อลํ เป็นกิริยาคุมพากย์)

 

           (๔) อลํ ศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า พอ อาจ ที่เป็นวิเสสนะ ของบทประธาน จะเรียงไว้หน้าบทประธานหรือหลังบทประธานก็ได้ แล้วแต่ว่าจะเน้นความหรือไม่ และคำว่า เพื่อ ที่ตามมานั้น นิยมเรียง ไว้หลัง อลํ เช่นกัน เช่น

ความไทย

: แต่การบูชาพระศาสดา อาจที่จะเป็นประโยชน์แก่ เรา ในโกฏิกัปเป็นอเนก

เป็น

: สตฺถุ ปูชา ปน เม อเนกาสุ กปฺปโกฏิสุ อลํ หิตาย เจว สุขาย จ  (๓/๑๓๔)

ความไทย

: การกระทำเพียงเท่านั้น ก็พอเพื่อประโยชน์แก่พวกเรา

เป็น

: อลํ โน เอตฺตกํ หิตาย สุขาย

           (๕) อลํ ศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า พอละ อาจ ที่เป็นวิกติกัตตา นิยมเรียงไว้หน้ากิริยาว่ามีว่าเป็น หรือ เรียงแบบวิกติกัตตาทั่วๆไป เช่น

ความไทย

: พระโอวาทที่พระวิปิสสีสัมมาลัมพุทธเจ้านั้น  ทรง ประทานแล้วในวันเดียวเท่านั้น ได้เพียงพอไปถึง ๗ ปิ

เป็น

: เอกทิวสํ ทินฺโนวาโทเยว หิสฺส สตฺตนฺนํ สํวจฺฉรานํ อลํ อโหสิ (๖/๑๐๐)

ความไทย

: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกิจที่จะพึงช่วยกันทำ ถึงพร้อมด้วยปัญญาพิจารณาอันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำอาจจัดได้

เป็น

: อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ฯเปฯ ตตฺถ ทกฺโข โหติ อนลโส

ตตฺรุปายาย วีมํสาย สมนฺนาคโต อลํ กาตุํ อลํ สํวิธาตุํ (มงคล. ๑/๑๕๕)

           

 

การใช้ ปฐมํ และ ตาว ศัพท์
                                 

          ศัพท์ คือ ปฐมํ และ ตาว ต่างก็แปลว่า ก่อน เหมือนกัน และเป็นกิริยาวิเสสนะเช่นกัน แต่มีวิธีใช้ต่างกันอยู่ ในที่นี้พอจะให้ หลักสังเกตตามที่ท่านใช้ในปกรณ์ทั้งหลายได้ดังนี้

          (๑) คำว่า ก่อน ในความหมายก่อนหลังตามปกติธรรมดา คือ ทีแรก ครั้งแรก ของกิริยาอาการอื่นๆ เช่น ไปก่อน พูดก่อน มาก่อน นอนก่อน เป็นต้น นิยมใช้ ปฐมํ ซึ่งเข้าได้ทั้งกิริยาในระหว่างและกิริยาคุมพากย์ เช่น

ความไทย

: เพราะโทษ คือ ฉาตกภัยในเมืองเวลาลีนั้นพวกคนตกยากได้ทำกาละก่อน

มคธ

: ตตฺถ ฉาตกโทเสน ปฐมํ ทุคฺคตมนุสฺสา กาลมกํสุ (๗/๘๗)

ความไทย

: ข้าแต่คุณพ่อทั้งหลาย ดิฉันจะไปก่อนเสียทีเดียว ตามคำของพ่อผัว ไม่สมควร แม้ก็จริง

 

มคธ

: ตาตา กิญฺจาปิ มยฺหํ สสุรสฺส วจเนน ปฐมเมว คมนํ น ยุตฺตํ (๓/๖๓)

ความไทย

: พระองค์ใดพูดก่อนว่า อาตมาชื่อจูฬปันถก จงจับมือพระองค์นั้นไว้

มคธ

: โย ปฐมํ อหํ จูฬปนฺถโกติ วทติ, ตํ หตฺเถ คณฺห (๒/๘๒)

          (๒) ในบางกรณีท่านใช้ศัพท์ว่า ปฐมตรํ หรือ ปุเรตรํ ที่แปลว่า ก่อนกว่า แทน ปฐมํ บ้าง เช่น

ความไทย

 : ก็ในที่ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงคุ้นเคย การที่ภิกษุรูป หนึ่ง ผู้จะบอก (วิธี) ปูอาสนะล่วงหน้าไปก่อนย่อมควร

มคธ

: พุทฺธานํ ปน อปริจิตฏฺฐาเน อาสนปญฺญตฺตึ อาจิกฺขนฺเตน เอเกน ภิกฺขุนา ปฐมตรํ คนฺตุํ วฏฺฏติ (๑/๖๕)

ความไทย

: (อันหญิงผู้อยู่ในตระกูลสามี)ไม่พึงขึ้นที่นอนนอน ก่อนแม่ผัว พ่อผัว และสามี

มคธ

: สสสุสสุรสามิเกหิ ปุเรตรํ สยนํ อารุยฺห น นิปชฺชิตพฺพํ (๓/๖๓)

          (๓) คำว่า ก่อน ในความหมายที่ตัดตอนข้อความอื่น ซึ่งไม่พึง ประสงค์ไว้ มุ่งเอาเฉพาะเรื่องเฉพาะกิจที่พึงประสงค์เท่านั้น เช่น ยกไว้ก่อน, พิจารณาดูก่อน, เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก่อน เป็นต้น นิยมใช้ ตาว เข้ามาตัดตอน เช่น

ความไทย

: อุบาสก ท่านจงกระทำเชือกพันศีรษะเราให้หย่อนก่อน แล้วตรวจดูนกกระเรียนนี้ มันตายแล้ว หรือ ยังไม่ตาย (สนามหลวง ป.ธ.๖/๒๕๒๖)

มคธ

: อุปาสก สีสเวจนํ ตาว เม สิถิลํ กตฺวา อิมํ โกญฺจํ โอโลเกหิ, มโต วา โน วา (๕/๓๓)

ความไทย

: เพื่อจะแสดงความพิสดารแห่งวิสุทธิมรรคนั้น จึงมีปัญหากรรมนี้ปรารภศีลก่อนว่า ศีลคืออะไร ฯลฯ

มคธ

: วิตฺถารมสฺส ทสฺเสตุํ สีลํ ตาว อารพฺภ อิทํ ปญฺหากมฺมํ โหติ กึ สีลํ ฯเปฯ (วิสุทธิ ๑/๑๗)

 พึงดูประโยคต่อไปนี้เปรียบเทียบ เพื่อเป็นแนวสังเกต

สพฺพเมว ตาว อิทํ สีลํ อตฺตโน สีลนลกฺขเณน เอกวิธํ (วิสุทธิ ๑/๑๒)

ปํสุกูสิกงฺคํ ตาว คหปติทานจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ ปํสุกูสิกงฺคํ สมาทิยามีติ อิเมสุ วจเนสุ อญฺญตเรน สมาทินฺนํ โหติ, อิทํ ตาเวตฺถ สมาทานั (วิสุทธิ ๑/๑๗)

อ้างอิง

 

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2025. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search