หลักการแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.4-9

1.บทที่ ๑ ประโยคและส่วนของประโยค

บทที่ ๑  ประโยคและส่วนของประโยค

        “ประโยค” หมายถึง คำพูดที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่งๆ สามารถ ทำให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ซัดเจนตามต้องการ เช่น คำพูดในภาษา ไทยว่า “ฉันไปเดินเล่น” หรือ “เขามาเมื่อเช้า”  เป็นต้น จะเห็นไต้ว่าเนื้อ ความของประโยคคำพูดนั้นๆ มีความบริบูรณ์ชัดเจนในตัว เข้าใจได้ทันที      

        ในภาษาบาลีก็มีลักษณะเดียวกันนี้ ข้อความต่างๆ จะหมายรู้ได้ ก็ต่อเมื่อผู้พูดหรือผู้เขียน พูดหรือเขียนจบประโยคแล้ว ประโยคในภาษาบาลีก็ได้แก่ข้อความที่รู้กันว่า “วาจก” นั่นเอง แต่ละวาจกนั้นก็เป็น ประโยคหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราอาจแบ่งประโยคภาษาบาลีตามลักษณะ ไวยากรณ์ไต้เป็น ๖ ชนิด คือ

2.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (วิภัตติ ทั้ง ๗)

บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค

      ในบทก่อนได้กล่าวไว้ว่า การวางโครงสร้างประโยคบาลี ต้องเรียงศัพท์ให้ถูกหน้าที่ โดยให้บทขยายอยู่ข้างหน้าบทที่ถูกขยาย นี้เป็นกฎตายตัว แต่บทนี้จักกล่าวถึงรายละเอียดแห่งกฎเกณฑ์การเรียงประโยค โดยจะชี้แจงว่าควรจะวางศัพท์ต่างๆ ไว้ตรงไหนของประโยค และมีข้อยกเว้นอย่างไร เป็นต้น

      การวางศัพท์ในประโยคบาลีนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าหากวางผิดที่หรือสับหน้าสับหลังกัน นอกจากจะผิดความนิยมแห่งภาษา แล้วยังอาจทำให้ผิดความมุ่งหมาย หรือเกิดความคลุมเครือได้

      ยกตัวอย่างเช่น ความไทยว่า “ภิกษุให้จีวรแก่สามเณร”

      กลับเป็นมคธว่า “ภิกขุ สามเณรสฺส จีวรํ เทติ”

      เรียงอย่างนี้มองดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะผิดตรงไหน แต่ถ้าเอากฎเกณฑ์เข้าจับแล้ว จะเห็นได้ว่าประโยคบาลีที่แต่งไว้นั้นคลุมเครือ คือ นอกจากจะแปลว่า ภิกษุให้จีวรแก่สามเณรแล้ว อาจแปลว่า ภิกษุให้จีวรของสามเณร คือ ภิกษุเอาจีวรของสามเณรไปให้แก่ผู้อื่น ดังนี้ก็ได้ เพราะตามประโยคและการสัมพันธ์ น่าจะเป็นได้มากกว่าคำแปลแรก

      ดังนั้น จึงต้องเรียงเสียใหม่ว่า “ภิกฺขุ จีวรํ สามเณรสฺส เทติ” ดังนี้เป็นอันชัดเจน ดิ้นไม่ได้ ไม่ คลุมเครือเหมือนตัวอย่างแรก

      หรืออย่างความไทยว่า “ครรภ์ตั้งขึ้นในท้องของภริยาของเศรษฐี นั้นแล้ว”

      กลับเป็นมคธว่า “อถสฺส ภริยาย กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาสิ ฯ

      อย่างนี้ถูกต้องทั้งทางความหมายทั้งทางสัมพันธ์ เพราะ อสฺส สัมพันธ์เข้ากับ ภริยาย เรียงไว้หน้าภริยาย ภริยาย สัมพันธ์เข้ากับ กุจฺฉิยํ เรียงไว้หน้า กุจฺฉิยํ กุจฺฉิยํ สัมพันธ์เข้ากับ คพฺโภ ก็ได้ เข้ากับ ปติฏฺฐาสิ ก็ได้ เป็นอันถูกต้องทุกศัพท์

      แต่ถ้าเรียงเสียใหม่ว่า อถสฺส คพฺโภ ภริยาย กุจฺฉิยํ ปติฏฺฐาสิ อย่างนี้ตามหลักการเรียง และหลักไวยากรณ์ ดูเหมือนจะไม่น่าผิด แต่ ลองคิดทางสัมพันธ์ และแปลดูประโยคนี้ อสฺส อาจสัมพันธ์เข้ากับ คพฺโภ ก็ได้ เพราะวางไว้ตรงหน้า

      เมื่อเป็นดังนี้ จึงต้องแปลว่า ครรภ์ของเศรษฐีนั้น ตั้งขึ้นใน ท้องของภรรยา แปลดังนี้ ก็อาจถูกค้านว่าแปลเข้าไปได้อย่างไร แต่ ลองพิจารณาดูเถิด ก็รูปศัพท์และรูปประโยคบังคับให้แปลอย่างนั้นก็ได้ ขอให้นักศึกษาจำไว้อย่างหนึ่งว่า การเขียนหนังสือภาษาไทยก็ตาม ภาษาบาลีก็ตาม โดยเฉพาะเขียนเวลาสอบ ต้องนึกว่าเขียนให้คนที่ไม่รู้เรื่อง อ่าน และไม่รู้เรื่องราวมาก่อน จึงต้องเขียนให้ชัดเจนชนิดดิ้นไม่ได้ อย่า คิดว่ากรรมการมีความรู้ดีกว่าเรา ท่านรู้มาแล้วท่านคงแปลของเราได้ ต้องคิดว่า กรรมการนั้นมีหน้าที่คอยจับผิดและคอยจับผิดความรู้ของเรา แม้จะรู้ว่าเราเข้าใจผิด ก็ต้องปรับเป็นผิดอยู่นั่นเอง

      ดังนั้น การเรียงศัพท์เข้าประโยคให้ถูกต้อง ตามหลักแห่ง ความนิยมทางภาษา และให้ชัดเจนไม่คลุมเครือว่าอย่างนี้ก็ได้ อย่าง นั้นก็ได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อมีความเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ของการ เรียงศัพท์แต่ละศัพท์ไปตามหน้าที่อย่างถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถสร้าง ประโยคภาษาบาลีได้เองตามต้องการโดยไม่ยากนัก และจะเป็นอุปการะในการศึกษาในชั้นสูงๆ ขึ้นไปอีกด้วย

3.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (อาลปนะ, วิเสสนะ)

วิธีเรียงอาลปนะ

       บทอาลปนะ มีหลักแน่นอนอยู่ คือต้องเรียงไว้ในประโยคเลขใน เท่านั้นห้ามเรียงไว้นอกเลขในเด็ดขาด แต่วิธีการเรียงในประโยคเลขในนั้นไม่แน่นอน อาจเรียงไว้เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ที่ ๓ ในประโยค หรือเรียงไว้ท้ายประโยคก็ได้ ทั้งนี้สุดแต่เนื้อความในประโยคหรือศัพท์ประกอบ ในประโยค เช่น นิบาตต้นข้อความ และกาลสัตตมี เป็นต้น ซึ่งพอมีหลักสังเกต ดังนี้

4.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (วิกติกตฺตา, กิริยา)

 

วิธีเรียงวิกติกตฺตา

       บทวิกติกตฺตาหรือบทที่นิยมแปลกันว่า “เป็น” และสัมพันธ์ เข้ากับกิริยาที่มาจาก ภู ทุ อสฺ ชนฺ ธาตุ เป็นบทที่มาจากนามบ้าง คุณนามบ้าง กิริยาบ้าง มีข้อควรทราบและวิธีการเรียง ดังนี้

5.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (กิริยาปธานนัย, กิริยาวิเสสนะ, ประโยค สกฺกา)

 

วิธีเรียงกิริยาปธานนัย

       กิริยาปธานนัย คือ กิริยาที่ประกอบด้วยตูนาทิปัจจัย ตามปกติ ก็เป็น ตฺวา ปัจจัยทำหน้าที่เป็นกิริยาคุมพากย์ในประโยค ซึ่งปกติเป็นไม่ได้ ที่ต้องใช้กิริยาปธานนัย เพราะขณะที่เนื้อความกำลังดำเนินไปตาม ปกตินั้น เกิดมีประธานของประโยคบางส่วนแยกไปทำกิริยาอื่น แต่ ประธานบางส่วนมีได้ทำด้วย แต่ประโยคจำต้องดำเนินเรื่อยไปดังนี้ จึงนิยมใช้กิริยาปธานนัย เพื่อให้ประโยคเป็นไปไม่ขาดสาย เท่าที่สังเกดดู วิธีใช้กิริยาปธานนัยในปกรณ์ต่างๆ สรุปแล้วมี ๓ ลักษณะ คือ

 

ลักษณะที่ ๑

       ตอนแรกประธานของประโยคจะเป็นบุคคลก็ตาม เป็นสิ่งของก็ ตามอยู่รวมกันเป็นหมวดเป็นหมู่ และทำกิริยาอาการร่วมกันเรื่อยมา แต่ตอนหลังประธานเหล่านั้น มีบางส่วนแยกไปทำกิริยาอย่างอื่น กิริยาที่ทำร่วมกันของประธานจึงต้องหยุดลงกระทันหัน ต่อไปก็เป็นกิริยา เฉพาะของประธานที่แยกตัวออกมา

        ยกตัวอย่างเช่น แม่นํ้าสายหนึ่งไหลมาจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ผ่าน เกาะแก่งเรื่อยมา ภายหลังมาแยกเป็น ๒ สาย สายหนึ่งไหลไปทาง ทิศได้เรื่อยไป อีกสายหนึ่งแยกไหลไปทางทิศตะวันออก จะเห็นได้ว่า ตอนแรกมาด้วยกัน ตอนหลังจึงแยกกัน กิริยาสุดท้ายแม่นั้าไหลมา ก่อนแยกกันนั้นจัดเป็นกิริยาปธานนัย

       ขอให้พิจารณาประโยคต่อไปนื้

  • : อุโภปิ (ตาปสา) สาราณียํ กถํ กเกตฺวา, สยนกาเล นารโท เทวลสฺส นิปชฺชนฏฺฐานญฺจ ทฺวารญฺจ สลฺลกฺเขตฺวา นิปชฺชิ ฯ (๑/๓๘)

       ในประโยคนี้ กเถตฺวา เป็นกิริยาปธานนัย เพราะเป็นกิริยา สุดท้ายที่ประธาน คือ ตาปสา ทำร่วมกัน ภายหลังประธานส่วนหนึ่ง ข้างต้น คือ นารโท แยกไปทำกิริยาอย่างหนึ่งต่างหาก ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยประธานทั้งหมดข้างต้น

 

ขอให้ดูประโยคอื่นเทียบเคียง

: สาวตฺถีวาสิโน หิ เทฺว กุลปุตฺตา สหายกา วิหารํ คนฺตฺวา ฯเปฯ สาสเน ธุรํ ปุจฺฉิตฺวา วิปสฺสนาธุรญฺจ คนฺถธุรญฺจ วิตฺถารโต สุตฺวา, เอโก ตาว อหํ ภนฺเต ฯเปฯ อรหตฺตํ ปาปุณิ ฯ (๑/๑๔๔)

: สรีรํ มชฺเฌ ภิชฺชิตฺวา, เอโก ภาโค โอริมตีเร ปติ, เอโก ปาริมตีเร ฯ (๓/๑๘๗)

: เหฏฺฐาคงคาย จ เทฺว อิตฺถิโย  นหายมานา ตํ ภาชนํ อุทเกนา หริยมานํ ทิสฺวา,  เอกา  อิตฺถี  มยฺหเมตํ ภาชนนฺติ อาห ฯ (๘/๑๗๒)

        ความจริง ประโยคเหล่านี้อาจแยกเป็น ๒ ประโยค โดยตัด ทอนกิริยาปธานนัยเป็นกิริยาคุมพากย์เสีย เช่นเป็นว่า

: อุโภปิ (ตาปสา) สาราณียํ กถํ กเถสุ, สยนกาเล นารโท ฯเปฯ หรือ

: สรีรํ มชฺเฌ ภิชฺชิ, เอโก ภาโค ฯเปฯ

       อย่างนี้ย่อมใช้ได้เช่นกัน แต่ประโยคเนื้อความจะไม่สละสลวย เพราะใจความของประโยคมิได้หยุดลงแค่นั้น ยังดำเนินต่อไปอีก แต่ดำเนินไป เพียงบางส่วนเท่านั้น

 

ลักษณะที่ ๒

       ตอนแรกประธานทำกิริยาอาการร่วมกันมา แล้วแยกกันเหมือน ในลักษณะแรก ส่วนหนึ่งของประธานที่แยกมาไปทำกิริยาอาการอย่าง หนึ่งต่างหาก ไม่เกี่ยวด้วยประธานทั้งหมด แต่เมื่อทำเสร็จแล้วกลับไป ร่วมทำกิริยาอาการกับตัวประธานทั้งหมดในประโยคตามเดิมอีกเช่นนี้ กิริยาที่ทำรวมกันสิ้นสุดลงตอนแรก ไม่จัดเป็นกิริยาปธานนัยเหมือนใน ลักษณะแรก แต่กิริยาปธานนัยในลักษณะนี้ ได้แก่กิริยาตัวสุดท้าย ของตัวประธานที่แยกตัวออกไปทำ เท่ากับเป็นประโยคเล็กๆ แทรกอยู่ ในประโยคใหญ่นั่นเอง

      เปรียบเหมือนชายสองคนเดินทางไปด้วยกัน พอถึงกลางทาง ชายคนหนึ่งแวะลงซื้อของข้างทาง แล้วเดินทางร่วมกันต่อไปใหม่ กิริยา ที่ชายคนที่แวะลงทำเป็นสุดท้ายนั่นแหละ จัดเป็นกิริยาปธานนัย

       ความจริง น่าจะทอนประโยคให้เล็กลง โดยขึ้นประโยคใหม่ ย่อมทำได้ แต่จะไม่สละสลวย และประโยคจะยับเยินเกินไป ต้องขึ้นประธานใหม่อยู่เรื่อย จึงไม่นิยมทอนประโยค

       ตัวอย่าง กิริยาปธานนัยในลักษณะนี้ คือ

: เตปิ เทวโลกโต จวิตฺวา พนธมติยํ เอกสฺมึ กุลเคเห เซฏฺโฐ เชฏฺโฐ ว หุตฺวา กนิฏฺโฐ กนิฏฺโฐ ว หุตฺวา ปฏิสนฺธึ คณฺหึสุ ฯ (๘/๑๖๐)

 

ลักษณะที่  ๓

       ลักษณะกิริยาปธานนัยอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งแปลกจากลักษณะทั้ง สองข้างต้น คือตอนแรกประธานทำกิริยาร่วมกันมา และหยุดลง ตอนหลัง ประธานเหล่านั้นต่างก็แยกไปทำกิริยาของตนต่างหาก แต่ไม่ได้กลับมาทำกิริยาร่วมกัน เหมือนลักษณะที่ ๒ ประโยคสิ้นสุดลงตรง กิริยาของใครของมัน เหมือนในลักษณะที่ ๑ แต่แทนที่กิริยาปธานนัย จะอยู่ตรงกิริยาสุดท้ายก่อนแยกกันเหมือนในลักษณะที่ ๑ กลับเป็นตัว กิริยาสุดท้ายของประธานที่แยกตัวออกมาแต่ละตัวเหมือนในลักษณะที่ ๒

       ลักษณะที่ ๓ นี้เป็นที่ตั้งแห่งความฉงนอยู่ พบตัวอย่างมีอยู่ใน เรื่อง อุโปสถกมฺม ภาค ๕ ดังนี้

: วิสาเข อิเมสํ สตฺตานํ ชาติอาทโย นาม ทณฺฑหตฺถโคปาลกสทิสา, ชาติ ชราย สนติกํ เปเสตฺวา, ชรา พยาธิโน สนฺติกํ, ฯเปฯ (๕/๕๔)

       เรื่องกิริยาปธานนัยนี้ นักศึกษาพึงทำความเข้าใจให้ดีเป็นพิเศษ เพราะเป็นกิริยาพิเศษมีไม่มากนัก แต่ควรได้ศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่ออรรถรส ของภาษา

       หากมีความสงสัยว่าจะทราบได้อย่างไรว่า ประโยคไหนเป็นประโยคกิริยาปธานนัย มีหลักสังเกตอยู่ ๒ ประการ คือ

       ๑. ในวิชาแปลมคธเป็นไทย  ให้สังเกตดูการวางรูปประโยคประโยคมักจะสะดุด หยุดลงกระทันหัน และใจความจะเป็นดังกล่าวมา แล้วในลักษณะนั้นๆ

       ๒.ในวิชาแปลไทยเป็นมคธ ให้สังเกตดูที่การแปลในพากย์ไทย ถ้าแปลไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเครื่องหมาย “ ฯ ” คั่นระหว่าง แต่กลับ มีประธานเพิ่มขึ้นมาใหม่อีก อย่างนี้ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ความตอน นั้นน่าจะเป็นประโยคกิริยาปธานนัย ฯ

 

 

วิธีเรียงกิริยาวิเสสนะ

       บทกิริยาวิเสสนะ คือ ศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยายบทกิริยาโดยตรง เหมือนคุณศัพท์ขยายนาม ฉะนั้นกิริยาวิเสสนะนี้จะต้องมีรูปเป็นทุติยาวิภัตติ เอกวจนะเท่านั้น เป็นวิภัตติและวจนะอื่นไม่ได้ แต่ถ้าเป็นอัพยยศพท์ ซึ่งแจกไม่ได้ ก็ให้คงรูปเดิมไว้ เช่น ตถา เอวํ เป็นต้น

       บทกิริยาวิเสสนะ มีวิธีเรียง ดังนี้

       ๑. กิริยาวิเสสนะของกิริยาที่เป็นอกัมมธาตุ คือ กิริยาที่ไม่มีบท อวุตฺตกมฺม อยู่ด้วย ให้เรียงไว้ข้างหน้าชิดกิริยา เช่น

  • : ธมุมจารี สุขํ เสติ ฯ
  • : เกน นุ โข อุปาเยน สพฺเพ สพฺรหฺมจารี ผาสุํ วิหเรยฺยุํ ฯ

       ๒. กิริยาวิเสสนะของกิริยาสกัมมธาตุ มีบทอวุตฺตกมฺมอยู่ด้วย จะเรียงไว้หน้า หรือหลังบทอวุตฺตกมุม ก็ได้ เช่น

เรียงหน้า : เอวํ จิกฺขลมคฺเคน คจฺฉนฺโต วิย ทนฺธํ ปุญฺญํ กโรติ ฯ (๕/๔)

เรียงหลัง : สาสนํ เม ขิปฺปํ เทหิ ฯ

       แต่เพื่อเคารพกฎที่ว่า บทอวุตฺตกมุม ควรเรียงไว้ชิดกิริยา จึง นิยมเรียงบทกิริยาวิเสสนะ ไว้หน้าบทอวุตฺตกมุม มากกว่า

       ๓. กิริยาวิเสสนะที่คลุมตลอดทั้งประโยค นิยมเรียงไว้ต้นประโยค เช่น

: เอวํ พาลปุคฺคโล โถกํ โถกมฺปิ ปาปํ อาจินนฺโต วฑฺเฒนฺโต ปาปสฺส ปูรติเยว ฯ (๕/๑๕)

 

 

วิธีเรียงประโยค สกฺกา

       สกฺกา เป็นศัพท์พิเศษ ทำหน้าที่คุมพากย์ได้ เรียกว่า ประโยค สกฺกา เป็นได้ทั้ง กมฺมวาจก และภาววาจก แล้วแต่ความจะบ่ง และ มักมี ตุํ ปัจจัยรวมอยู่ในประโยคด้วย ประโยคสกฺกา มีวิธีเรียง ดังนี้

       ๑. เรียง สกฺกา ไว้หน้า ตุํ ปัจจัย เช่น : น สกฺกา กาตุํ ฯ

: น สกฺกา เอเตน สทฺธึ เอกโต ภวิตุํ ฯ (๑/๑๒๙)

แบบนี้เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุดกว่าทุกๆ แบบ

๒. เรียง สกฺกา ไว้หลัง ตุํ ปัจจัย เช่น

: ปาลิเลยยฺก อิโต ปฏฺฐาย ตยา คนฺตุํ น สกฺกา ฯ (๑/๕๔)

: เอวํ เปเสตุํ น สกฺกา ฯ (๑/๑๓)

๓. บทอนภิหิตกตฺตา นิยมเรียงไว้หน้า ตุํ ปัจจัย ดังตัวอย่างข้างต้น

๔. บทประธานในประโยค กมฺมวาจก นิยมเรียงไว้หน้า สกฺกา เช่น

: พุทฺธา  จ นาม น สกฺกา สเฐน อาราเธตุํ ฯ (๑/๘)

: สมณธมฺโม นาม สรีเร ยาเปนฺเต สกฺกา กาตุํ ฯ (๑/๙)

ที่เรียงไว้หลังก็มีบ้าง เช่น

: น สกฺกา โส อคารมชฺเฌ ปูเรตุํฯ (๑/๑๓)

๕. สกฺกา ถ้ามีกิริยาว่ามี ว่าเป็นคุมพากย์อยู่ ก็ทำหน้าที่เป็น วิกติกตฺตา เข้ากับกิริยานั้น เช่น

: โลกุตฺตรธมฺโม นาม น สกฺกา โหติ เถเนตฺวา คณฺหิตุํ ฯ

๖. สกฺกา ทำหน้าที่เป็นบทประธานในประโยคได้บ้าง เช่น

: ตตฺถ นํ อาคตํ คเหตุํ สกฺกา ภวิสฺสติ ฯ (๒/๓๒)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

6.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (อนาทร, ลกฺขณ )

 

วิธีเรียงประโยคอนาทร

       ประโยคอนาทร คือ ประโยคที่แทรกเข้ามาในประโยคใหญ่

เป็นประโยคที่มีเนื้อความไม่เอื้อเฟื้อคล้อยตามประโยคที่ตนแทรกเข้ามา แต่ทำให้เนื้อความในประโยคใหญ่ชัดเจนขึ้น

       ประโยคอนาทรประกอบด้วย ส่วนประกอบใหญ่ ๒ ส่วน คือ ส่วนนาม กับ ส่วนกิริยา ตัวนามประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ ตัวกิริยา ประกอบด้วย ต อนฺต มาน ปัจจัย และเป็นฉัฏฐีวิภัตติเช่นเดียวกัน ทั้งต้องมีลิงค์ วจนะ เหมือนตัวนามด้วย ซึ่งก็คล้ายเป็นวิเสสนะนั่นเอง และจะมีบทขยายนาม หรือขยายกิริยาด้วยก็ได้แล้วแต่ความ ประโยคอนาทรมีวิธีเรียง ดังนี้

7.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (นิบาต)

 

วิธีเรียงนิบาต

       นิบาตทั้งหลาย เป็นส่วนสำคัญในประโยคที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ให้มีเนื้อความเกี่ยวเนื่องกัน ทำให้เนื้อความสละสลวยขึ้น ทั้งยังทำให้ เนื้อความชัดเจน แน่นอนอีกด้วย เพราะนิบาตบางอย่างสามารถเน้น ข้อความตอนนั้นๆ ได้

8.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (น ศัพท์, จ ศัพท์)

 

วิธีเรียง น ศัพท์

        ๑. เมื่อปฏิเสธกิริยาอาขยาตให้คงรูปไว้ ไม่นิยมแปลงเป็น หรือเป็น อน ถ้าแปลงถือว่าเป็นผิดร้ายแรง เช่น

  • : ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุตฺตธีตโร วา โภคา วา นานุคจฺฉนฺติ ฯ (ไม่ใช่ อนานุคจฺฉนฺติ) (๑/๖)
  • : สรีรํปิ อตฺตนา สทฺธึ น คจฺฉติ ฯ (ไม่ใช่ อคจฺฉติ) (๑/๖)

         ๒. เมื่อปฏิเสธกับกิริยาตูนาทิปัจจัย เช่น ตฺวา ปัจจัย เป็นต้น และปฏิเสธ อนฺต มาน ปัจจัย นิยมแปลงเป็น อ หรือเป็น อน เช่น

  • : โภ โคตม ตุมฺหากํ ทานํ อทตฺวา ปูชํ อกตฺวา  ธมฺมํ  อสฺสุตฺวา...  (๑/๓๑)
  • : โส ตสลา อนาจิกฺขิตฺวา ว อคมาสิ ฯ
  • : อุปาสโก ธมฺมสฺสวนนฺตรายํ อนิจฺฉนฺโต อาคเมถ อาคเมถาติ อาห ฯ (๑/๑๒๑)

        ๓. เมื่อปฏิเสธกิริยากิตก์ที่คุมพากย์ได้ คือ อนิย ตพฺพ ต ปัจจัย จะแปลงหรือคงไว้ก็ได้ เช่น

  • : ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ
  • : อุฏฺฐาย เต ปจฺจุคฺคมนํ กตนฺติฯ กตํ ภนฺเตติ ฯ (๑/๓๖)

        ๔. เมื่อปฏิเสธศัพท์นามหรือศัพท์คุณ นิยมแปลงเป็น อ หรือ อน เช่น อพฺราหมฺโณ อภาโว อนริโย อกาตุํ เป็นต้น

  • : อโนกาโสติ อุฏฺฐายาสนา ปกฺกนฺตา ตาตาติ ฯ (๑/๑๒๒)

        ๕. เมื่อปฏิเสธกิริยาตัวใด ให้เรียงไว้หน้ากิริยาตัวนั้น เช่น

  • : คจฺฉนฺตา จ ฯเปฯ ตุจฺฉหตฺถา น คตปุพฺพา ฯ (๑/๔)
  • : น สกฺกา โส อคารมชฺเฌ ปูเรตุํ ฯ (๑/๖)
  • : อหํ ตุมฺหากํ เอวํ นิปนฺนภาวํ น ชานามิ ฯ (๑/๓๘)

      ๖. เมื่อปฏิเสธทั้งประโยค นิยมเรียงไว้ต้นประโยค เช่น

  • : นาหํ คนุถธุรํ ปูเรตุํ สกฺขิสฺสามิ ฯ (๑/๗)
  • : มยฺหํ ปุตฺโต โพธึ อปฺปตฺวา กาลํ กโรติ ฯ (๑/๑๐๘)
  • :  ภิกฺขเว โส อิเม สตฺต ทิวเส สูกเร มาเรติ ฯ (๑/๑๑๙)

       ๗. เมื่อปฏิเสธกิริยาตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป น ตัวแรกนิยมสนธิกับ เอว ศัพท์เป็น เนว เช่น

  • : อมฺม ตยา กตํ สสฺสํ เนว อจฺโจทเกน นสฺสติ, อโนทเกน นสฺสติ ฯ (๑/๔๘)
  • : อญฺเญ ภิกฺขู เตหิ สทฺธึ เนว เอกโต นิสิทนฺติ น ติฏฺฐนฺติ ฯ (๑/๔๙)
  • : สเจ อิมํ  สาฏกํ ทสฺสามิ, เนว พฺราหฺมณิยา มยฺหํ ปารุปนํ ภวิสฺสติ ฯ (๔/๑)

        ๘. เมื่อมาคู่กับกิริยาอาขยาตที่ขึ้นต้นด้วย “สระ” หรือที่มีอักษร “อ” นำหน้า เช่น อกาสิ อโหสิ อาคจฺฉติ เป็นต้น นิยมสนธิกับ กิริยานั้นเลย หรือเมื่อมาคู่กับกิริยากิตก์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ หากไม่แปลง เป็น อน ก็นิยมสนธิเข้าด้วยกัน เช่น

  • : น อโหสิ เป็น นาโหสิ
  • : น อาคจฺฉติ เป็น นาคจฺฉติ
  • : น อาปุจฺฉิตํ เป็น นาปุจฺฉิตํ

9.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (วา ศัพท์, ปิ ศัพท์, การใช้นิบาตต้นข้อความในประโยค ย ต)

 

วิธีเรียง วา ศัพท์

       วา ศัพท์ ที่แปลว่า หรือ, บ้าง มีวิธีค่อนข้างสลับซับซ้อนเหมือน จ ศัพท์ แต่เมื่อศึกษาวิธีการเรียง จ ศัพท์ได้ดีแล้ว ก็อาจเรียง วา ศัพท์ได้โดยไม่ยาก จึงสรุปวิธีเรียง วา ศัพท์ได้ว่า

        ๑. เมื่อควบบท หรือ ควบพากย์ นิยมเรียงเหมือน จ ศัพท์เป็นพื้น คือ เมื่อควบศัพท์ไหนให้เรียงไว้หลังศัพท์นั้น และให้เรียงไว้เป็นที่ ๒ ของทุกตอนเป็นต้นเหมือน จ ศัพท์ เช่น

  • : เสสชเนหิ กตสสฺสํ อติอุทเกน วา อโนทเกน วา นสฺสติฯ (๑/๔๘)
  • : กํสิ ตฺวํ อาวุโส อุทฺทิสฺส ปพฺพชิโต, โก วา เต สตฺถา, กสฺส วา ตฺวํ ธมฺมํ โรเจสิ ฯ (๑/๘๓)

        ๒. เมื่อ วา ศัพท์ควบตัวประธานที่เป็นเอกพจน์ ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ ขึ้นไป ไม่ต้องเปลี่ยนกิริยาเป็นพหูพจน์เหมือน จ ศัพท์ เช่น

  • : เตสํ อิมินา ฯเปฯ หสิตพฺพฏฺฐาเน หาโส วา สํเวคฏฺฐาเน สํเวโค วา ทายํ ทาตุํ ยุตฺตฏฐาเน ทายํ วา นาโหสิ ฯ (๑/๘๑)

 

 

10.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (สทฺธึ และ สห, ปฏฺฐาย กับ ยาว )

 

วิธีเรียง สทฺธึ และ สห

        สทฺธึ และ สห ศัพท์ แปลอย่างเดียวกันว่า “กับ, ร่วม, พร้อม กับ, พร้อมด้วย, พร้อมทั้ง” มีข้อสังเกตและวิธีการเรียงดังนี้

        ๑. ศัพท์ที่ท์าหน้าที่ขยาย สทฺธึ ให้เรียงไร้หน้า สทฺธึ เช่น

  • : โส  ตาย สทฺธึ สีลวิปตฺตึ ปาปุณิฯ (๑/๑๔)
  • : กรชกาเยน ปน สทฺธึ มนฺเตนฺโต “วเทหิ ตาว อาวุโส ปาลิต ฯเปฯ (๑/๑๐)

        ๒. ศัพท์ที่ท์าหน้าที่ขยาย สห ให้เรียงไร้หลัง สห เช่น

  • : เต ภิกฺขู สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ ปาปุณึสุ ฯ

        วิธีที่ว่านี้เป็นวิธีที่นิยมกันโดยมาก แต่บางคราวท่านก็เรียงกลับ กันเสียบ้าง เช่น

  • : อถสฺส นครโต อวิทูเร ฐาเน เต โยธา สทฺธึ ปุตฺเตหิ  สีสํ ฉินฺทึสุ ฯ (๓/๑๘)
  • : มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม ฯ

        แบบที่ว่านี้เป็นแบบเฉพาะของท่าน หากจะเรียงใหม่ให้ยึดแบบ นิยมเป็นดีที่สุด ไม่มีทางพลาด

        ๓. ศัพท์ที่นิยมใช้กับ สทฺธึ ต้องเป็นศัพท์รูปธรรม เป็นสิงมี ชีวิต มีรูปร่างปรากฏ เช่น คน สัตว์ เป็นต้น ดังตัวอย่างข้างต้นนี้

        ศัพท์ที่นิยมใช้กับ สห ต้องเป็นศัพท์นามธรรม เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีรูปร่างปรากฏ ดังตัวอย่างข้างต้นเช่นกัน

11.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (การใช้ วินา อญฺตฺร ฐเปตฺวา )

 

การใช้ วินา อญฺญตฺร  ฐเปตฺวา ศัพท์

        ในสำนวนไทยว่า “เว้น, นอก” นั้น อาจใช้ศัพท์ได้หลายศัพท์ และ บทตามก็ประกอบวิภัตติได้หลายวิภัตติ คือ “เว้นซึ่ง...”ก็มี “เว้นจาก...”ก็มี “เว้นด้วย...”ก็มี ในกรณีเช่นนี้ นักศึกษาพึงสังเกตที่ท่านใช้ในปกรณ์ ทั้งหลาย เท่าที่พอนำมาเป็นแนวทางศึกษาก็ได้ ดังนี้

12.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (อิฅิ ศัพท์, ปัจจัยในอัพยยศัพท์)

 

การเรียง อิติ ศัพท์

        อิติ ศัพท์ แปลได้หลายนัย เช่น “ว่า, คือ, ด้วยประการฉะนี้ ฯลฯ มีวิธีเรียงต่างกันออกไปตามคำแปล เช่น

        ๑. ที่แปลว่า “ด้วยประการฉะนี้, ด้วยอาการอย่างนี้” ให้เรียง ไว้ต้นประโยค มีคติคล้ายกับ เอวํ เป็นการสรุปเนื้อความที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่นิยมใช้ เอวํ มากกว่า อิติ เช่น

: อิติ อปฺปาทปปจฺจยตฺเถน มโน ปุพฺพงฺคโม เอเตสนฺติ มโน ปุพฺพงฺคมา ฯ (๑/๒๑)

: อิติห เตน ขเณน เตน มุหุตฺเตน ยาว พฺรหฺมโลกา สทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉิ ฯ

        ๒. ที่แปลว่า “คือ” เป็นไปตามสำนวนไทย ใช้ในกรณีที่มีเลข นอกเลขใน โดยเลขนอกได้บอกจำนวนเต็มไว้ ส่วนศัพท์เลขในภายใน อิติ บอกจำนวนย่อยไว้ เป็นการขยายความเลขนอกอีกทีหนึ่ง อิติ ศัพท์ ที่ใช้ในกรณีอย่างนี้ นิยมแปลว่า คือ เช่น

: ดูก่อนภิกษุ ธุระมี ๒ ประการเท่านั้น คือ ศันถธุระ วิปัสสนาธุระ

: คนฺถธุรํ วิปสฺสนาธุรนฺติ เทฺวเยว ธุรานิ ภิกฺขุ ฯ (๑/๗)

        ๓. ที่แปลว่า “ว่า” ทำหน้าที่ขยายบทนาม เช่น อตฺโถ ตอนแก้อรรถหรือขยายบทกิริยาที่ประกอบด้วยธาตุเกี่ยวกับการพูด การคิด เช่น อาห อาโรเจสิ จินฺเตสิ เป็นต้น มีวิธีเรียงดังนี้

๓.๑ ประโยคเลขในหรือประโยคคำพูด เมื่อเรียงจบประโยค ข้อความแล้วต้องใส่ อิติ คุมท้ายประโยคทุกครั้ง ถ้าไม่ใส่ถือว่าผิด เช่น

: อถ นํ สตฺถา “นตฺถิ เต โกจิ อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก ญาตีติ อาห ฯ (๑/๖)

: สาธุ ภนฺเต อปฺปมตฺตา โหถาติ ฯ (๑/๘)

๓.๒ ถ้าขยายนาม เช่น อตฺโถให้เรียง อตฺโถไว้หลัง อิติ เช่น

: ตตฺถ สุภานุปสฺสินฺติ สุภํ ฯเปฯ วิหรนฺตนฺติ อตฺโถฯ (๑/๖๗)

๓.๓ ถ้าขยายอนุกิริยาหรือกิริยาระหว่าง คือ กิริยาที่ประกอบ ด้วย อนฺต มาน ตฺวา ปัจจัย ต้องเรียงกิริยาเหล่านี้ไว้หลัง อิติ ทั้งหมด จะเรียงไว้หน้าไม่ได้เด็ดขาด เช่น

: อเถกทิวสํ มหาปาโล อริยสาวเก ฯเปฯ ทิสฺวา “อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉตีติ ปุจฺฉิตฺวา ธมฺมสฺสวนายาติ สุตฺวา ฯเปฯ (๑/๕)

จะเรียงว่า

: อเถกทิวสํ มหาปาโล อริยสาวเก ฯเปฯ ปุจฺฉิตฺวา อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉติติ สุตฺวา ธมฺมสฺสวนายาติ ฯเปฯ

        ไปตามลำดับเหมีอนความไทยไม่ได้ แม้เข้ากับกิริยา อนฺต มาน ปัจจัย ก็พึงเทียบเคียงนัยนี้

๓.๔ ถ้าขยายกิริยาคุมพากย์ จะเรียงกิริยานั้นไว้หน้าหรือ หลัง อิติ ก็ได้ แต่มีข้อสังเกตอยู่ว่า ในประโยคที่มีข้อความเลขในสั้นๆ นิยมเรียงกิริยาไว้หลัง ในประโยคที่มีข้อความเลขในยาว นิยมเรียง กิริยาไว้ข้างหน้า อิติ เพื่อให้สังเกตกิริยาได้ง่าย เช่น

: ตํ สุตฺวา มหาปาโล กุฏมฺพิโก จินฺตสิ “ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุตฺตธีตโร วา โภคา วา นานุคจฺฉนฺติ ฯเปฯ ปพฺพชิสฺสามีติ ฯ (๑/๖)

: อถ นํ สตฺถา “นตฺถิ เต โกจิ อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก ญาตีติ อาห ฯ (๑/๖)

        อนึ่ง ขอให้สังเกตว่าศัพท์นาม หรือศัพท์กิริยาที่ทำหน้าที่คุม อิติ นี้แม้จะมีคำแปลในภาษาไทย บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องใส่เข้ามาใน เวลาแต่งเป็นมคธ แต่เวลาแปลจะต้องใส่เข้ามาเอง เรื่องนี้ผู้ศึกษาต้องสังเกตให้ดี

        เพราะฉะนั้นเวลาเรียงขอให้ดูความในประโยค หากไม่ใส่นามหรือ กิริยาเข้ามาคุม ผู้แปลก็พอมองออกว่าต้องใส่ศัพท์ใดเข้ามา เช่น ใส่ จินฺตเนน วจเนน ปุจฺฉิ อาห เป็นต้น เช่นนี้'จะไม่ใส่ก็ไม่ผิด แม้ใน แบบจะม่ใส่ไว้ก็ตาม หรีอในแบบเขาไม่มี เราไปเพิ่มเข้ามาก็ไม่ถือว่าผิด

         แต่บางกรณีใส่ไปก็ทำให้ประโยครุงรัง เช่น ในประโยคโต้ตอบ สนทนากัน เป็นต้น ซึ่งไม่นิยมใส่กิริยาคุม อิติ ที่ท่านใส,ไว้โดยมากเป็นประโยคที่ท่านต้องการเน้นกิริยานั้นว่าเป็นคำพูด หรือความคิดเป็นต้น เช่น

: โส กิร “ตถาคโต พุทธสุขุมาโล ขตฺติยสุขุมาโล ‘พหุปกาโร เม คหปตีติ (จินฺตเนน) มยฺหํ ธมฺมํ เทเสนฺโต กิลเมยฺยาติ (จินฺเตตฺวา) สตฺถริ อธิมตฺตสิเนเหน ปญฺหํ น ปุจฺฉติ ฯ (๑/๕)

: โส สาธูติ สมฺปฏิจฺฉิตฺวา ฯเปฯ ปฏิปชฺชาหิ นนฺติ (อาห) ฯ ตุมฺเห ปน สามีติ (ปุจฺฉิ) ฯ อหํ สตฺถุ สนฺติเก ปพฺพชิสฺสามีติ (อาห) ฯ (๑/๖)

        คำที่อยู่ในวงเล็บนั้น ไม่มีในแบบ แต่ใส่เข้ามาในเวลาแปล ถ้า เราใส่เข้ามาตามวงเล็บเองก็ไม่จัดเป็นผิด แต่ก็ทำให้รุงรังโดยใช่เหตุ เพราะไม่ใส่ก็อาจแปลและจับใจความได้ แต่ในการเว้นไม่ใส่นามหรือ กิริยาหลัง อิติ นี้ หาทำได้ในทุกกรณีไม่

        ในกรณีที่ประโยคเลขในมาซ้อนกันหลายๆ ประโยค และเป็นความย่อทั้งหมด หากไม่ใส่กิริยาคุมไว้บ้าง จะทำให้ไม่สละสลวย ขอให้ดูตัวอย่าง เช่น

: อเถกทิวสํ มหาปาโล อริยสาวเก คนฺธมาลาทิหตฺเถ วิหารํ คจฺฉนฺเต ทิสฺวา “อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉตีติ ปุจฺจิตฺวา ‘ธมฺมสฺสวนายาติ สุตฺวา  ‘อหํปิ คมิสฺสามีติ,  คนฺตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา ปริสปริยนุเต นิสีทิ ฯ (๑/๕)

เรียงใหม่ว่า

: อเถกทิวสํ มหาปาโล ฯเปฯ ทิสวา “อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉตีติ ธมฺมสฺสวนายาติ “อหํปิ คมิสฺสามีติ คนฺตฺวา ฯเปฯ

        ขอให้สังเกตว่า ประโยคที่เรียงใหม่ แม้จะไม่ผิด แต่ก็มองดูห้วนๆ ไม่สละสลวยเลย เพราะฉะนั้นในระหว่าง อิติ สองศัพท์ ควรจะมีกิริยา คั่นกลางอยู่

13.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์

บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์

         เรื่องไวยากรณ์และเรื่องสัมพันธ์ เป็นเรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่ง ในการเรียงภาษามคธ เป็นการแสดงภูมิปัญญาขั้นพื้นฐานว่าแน่นเพียง ใดและสูงแค่ไหน อาจจะให้ผ่านขั้นนั้นๆ ได้หรือไม่ เพราะไวยากรณ์ และสัมพันธ์เป็นหลักเบื้องต้นที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ ใช้ให้ ถูกต้องอยู่แล้ว

         การประกอบศัพท์ทุกศัพท์ ก่อนที่จะนําไปใช้ต้องให้ถูกหลัก ไวยากรณ์ ไม่ใช่จับเอาศัพท์เดิมที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งมาประกอบเป็นรูป ประโยคเลย เหมือนการแสดงละคร ก่อนที่ผู้แสดงจะออกมาแสดงนอก ฉาก จะต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยบริบูรณ์เสียก่อน มิใช่ปล่อยออกมาแสดงแบบล่อนจ้อน ไม่มีเครื่องทรงอะไรเลย และศัพท์นั้นจะต้อง ประกอบไวยากรณ์ให้ถูกกฎเกณฑ์ด้วย เช่น ถ้าเป็นศัพท์นาม ก็ต้อง ประกอบด้วยเครื่องปรุงของนาม คือ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ครบ ถ้า เป็นกิริยาอาขยาด ก็ต้องประกอบด้วยเครื่องปรุงของอาขยาด คือ วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย ครบทั้ง ๘ ประการ

         พูดอีกทีก็คือว่า ต้องให้ศัพท์นั้นๆ ผ่านโรงงานเข้าเครื่องปรุงเสีย ก่อน จึงค่อยนำออกมาใช้นั่นเอง และเข้าโรงงานไหนมาก็ต้องให้ถูกแบบ แผนของโรงงานนั้น เช่น โรงงานนาม โรงงานอาขยาต ก็ให้ถูกกฎเกณฑ์ ดังกล่าวมาแล้ว

         แม้เรื่องสัมพันธ์ก็สำคัญไม่น้อย ศัพท์ที่ถูกปรุงได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ดีแล้ว แต่นำไปวางในประโยคผิดที่ ทำให้ผิดหลักสัมพันธ์ ไป หรือวางถูกที่เหมีอนกัน แต่ผิดไวยากรณ์เสียอีก ทำให้สัมพันธ์เข้า กันไม่ได้ เช่นนี้ถือว่าผิดทั้งนั้น รวมความว่าทั้งไวยากรณ์และสัมพันธ์ ต้องให้เป็นไปถูกต้องคู่กันไปเสมอ

         ต่อไปนี้จะได้แสดงกฎเกณฑ์การใช้ไวยากรณ์และสัมพันธ์ที่ ปรากฏว่า นักศึกษาชอบใช้ผิดและทำให้เสียคะแนนบ่อยๆ บางครั้งถูกปรับถึงตก เพราะผิดไวยากรณ์และสัมพันธ์ในที่ไม่ควรผิดก็มี ซึ่งพอสรุปแยกกล่าวเป็นหัวข้อๆ ได้ดังนี้

๑. เรื่องลิงค์                    ๕. เรื่องวาจก
๒. เรื่องวจนะ                   ๖. เรื่องปัจจัย
๓. เรื่องวิภัตติ                  ๗. เรื่องสัมพันธ์
๔. เรื่องกาล                    ๘. เรื่องการเขียน

14.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่อง ลิงค์)

เรื่อง ลิงค์

         เรื่องลิงค์นี้ทำความยุ่งยากให้แก่นักศึกษาวิชาแปลไทยเป็นมคธไม่ น้อย ด้วยบางครั้งแม้จำศัพท์ได้แล้ว แต่ไม่อาจตัดสิ้นใจได้ว่า เป็น ลิงค์อะไร ฉะนั้นจึงจำเป็นอยู่เองที่ต้องใช้ความสังเกตให้มาก โดยสังเกตจากบทที่เป็นบริวารของศัพท์นั้น เช่น บทวิเสสนะ และอัพภันตรกิริยา เป็นต้น ซึ่งก็พอให้ทราบได้ ถ้าจำลิงค์ผิดหรือใช้ลิงค์ผิด แล้วก็อาจทำให้ปรุงบทวิเสสนะและบทอัพภันตรกิริยาผิดไปด้วย เช่น

: เทวดาเหล่านั้นเที่ยวไปในสวนนันทวันนั้นอยู่ ได้พบพระ เถระแล้ว

: เต เทวตา ตสฺมึ นนฺทวเน วิจรนฺตา เถรํ อปสฺสึสุ ฯ

: แก้วมณีที่วางอยู่บนเตียงนั้น กลิ้งตกลงบนพื้นแล้ว

: ตสฺมึ มญฺเจ ฐปิตํ มณิ ปริวตฺเตตฺวา ตเล ปติ ฯ

 

15.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่อง วจนะ)

เรื่อง วจนะ

         เรื่องวจนะนี้  ความจริงไม่น่ามีปัญหา  เพราะมีเพียง ๒ วจนะ เท่านั้น แตกมีปัญหาเกิดขึ้นบ่อยๆ ส่วนมากมักจะเกิดเพราะนักศึกษา “เผลอ” โดยไม่คิดหรือคิดไม่ถึง หรือโดยความประมาท หรือโดยวิธี ใดก็ตาม เมื่อเขียนลงไปแล้วก็จัดเป็นผิดทั้งสิ้น แม้จะผิดเพราะความ เข้าใจผิดก็ตาม เมื่อใช้วจนะผิดแล้วก็ทําให้ความหมายผิดตามไปด้วย ทั้งบางเรื่องก็ผิดหลักความจริงเสียด้วย เช่น

: อนาถปิณฑิกเศรษฐีก็ดี นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ดี เมื่อไปไม่เคยมีมือเปล่าไป ด้วยคิดว่า พระหนุ่มเณรน้อย ทั้งหลายจักแลดูมือเรา

เป็น   : อนาถปิณฺฑิกเสฏฺฐีปิ วิสาขาปิ มหาอุปาลิกา ฯเปฯ คจฺฉนฺตา จ “ทหรสาม
          เณรา  โน หตฺถํ โอโลเกสฺสนฺตีติ ตุจฺฉหตฺถา น คตปุพฺพา ฯ (๑/๔)

หรือ  : อนาถปิณฺฑิกเสฏฺฐีปิ ฯเปฯ “ทหรสามเณรา  มยฺหํ หตฺถํ โอโลเกสฺสนฺตีติ ฯเปฯ

คำที่ใช้ตัวเน้นใน ๒ ประโยคนี้ ผิดวจนะทั้งคู่

ประโยคแรก หตฺถํ จะเป็น เอก.ไม่ได้ เพราะผิดความจริงและ ค้านกับศัพท์ว่า โน ซึ่งเป็น พหุ. คือ คนหลายคน (โน) จะมีมือเพียงมือ เดียว (หตฺถํ) ไม่ได้

        ประโยคที่ ๒ ผิด เพราะผิดความนิยม คือ ในเลขนอก ประธาน คิดกันหลายคน เป็น พหุ. แต่ในเลขในเป็นเอก. (มยฺหํ) ซึ่งแสดงว่าคิด คนเดียว และ หตฺถํ ก็ผิดความจริงอีก ในแง่ที่ว่าพระหนุ่มเณรน้อย ตั้งหลายรูป จะมองดูคนตั้งหลายคนเห็นเพียงมือข้างเดียวไม่ได้

        ในประโยคอื่นพึง เทียบ เคียงประโยคข้างต้น เช่น

  • : บัดนี้ แม้มือของเราก็กระดิกกระเดี้ยไม่ได้
  • : อิทานิ เม หตฺโถปิ อวิเธยฺโย ฯ (ผิด)
  • : พวกมนุษย์เห็นเหล่าภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร มีจิตเลื่อม ใส จึงปูลาดอาสนะแล้วนิมนต์ให้นั่ง
    : มนุสฺสา วตฺตสมปนฺเน ภิกฺขู ทิสฺวา ปสนฺนจิตฺตา อาสนํ ปญฺญาเปตฺวา นิสีทาเปสุํ ฯ (ผิด)

 

[12 3  >>  
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search