วิธีเรียงวิกติกตฺตา
บทวิกติกตฺตาหรือบทที่นิยมแปลกันว่า “เป็น” และสัมพันธ์ เข้ากับกิริยาที่มาจาก ภู ทุ อสฺ ชนฺ ธาตุ เป็นบทที่มาจากนามบ้าง คุณนามบ้าง กิริยาบ้าง มีข้อควรทราบและวิธีการเรียง ดังนี้
๑. วิกติกตฺตาที่มาจากนาม คือ เป็นนามโดยกำเนิดใช้เป็นบท ประธานได้ เมื่อมาทำหน้าที่เป็นวิกติกตฺตาไม่ต้องเปลี่ยนไปตามนาม เจ้าของ คือให้คงรูปลิงค์ และวจนะเติมของตนไว้ เช่น
๒. วิกติกตฺตาที่เป็นคุณนามแท้ ต้องเปลี่ยนลิงค์ วจนะ วิภัตติ ไปตามรูปนามเจ้าของ คือ มีคติเหมือนเป็นวิเสสนะของนามนั้น เช่น
๓. วิกติกตฺตาที่มาจากกิริยากิตก์ซึ่งแจกด้วยวิภัตติได้ มีคติ เหมือนคุณนาม จึงต้องเปลี่ยนรูปไปตามนามเจ้าของ เช่น
๔. วิกติกตฺตาที่มีบทเดียว ให้เรียงไว้หลังตัวประธานหน้ากิริยา ที่ตนสัมพันธ์เข้าด้วย เช่น
๕. วิกติกตฺตาที่มีมาร่วมกันตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป มีนามเจ้าของบท เดียวกัน นิยมเรียงไว้หน้ากิริยาเพียงตัวเดียว นอกนั้นให้เรียงไว้หลังกิริยา เช่น
๖. วิกติกตฺตา ที่มีบทประธานเป็นเอกวจนะหลายๆ บท และควบ ด้วย จ หรือ ปิ ศัพท์ นิยมประกอบเป็นพหุวจนะ รวมทั้งกิริยาด้วย เช่น
๗. วิกติกตฺตาที่เป็นอุปมา นิยมใช้กับ วิย ศัพท์ ไม่นิยมใช้กับ อิว ศัพท์ เช่น
๘. วิกติกตฺตา ในประโยค กัมมวาจก และ ภาววาจก มีรูปเป็น ตติยาวิภัตติเท่านั้น และมีวิธีการเรียงเหมือนที่กล่าวแล้ว เช่น
๙. วิกติกตฺตา ตามปกติจะพบในรูปปฐมาวิภัตติ แต่วิกติกตฺตา ที่มาในรูปวิภัตติอื่นก็มี เช่น
ในรูปทุติยาวิภัตติ : อถ นํ สา ฯเปฯ อาลิงฺคิตฺวา ปมตฺตํ หุตฺวา ปพฺพตนฺเต ฐิตํ
ปิฏฺฐิปสฺเส ฐตฺวา เอเกน หตฺเถน ขนฺเธ คเตฺวา.... (๔/๑๐๒)
ในรูปตติยาวิภัตติ : ปุพฺพงฺคมาติ เตน ปฐมคามินา หุตฺวา สมนฺนาคตา ฯ (๑/๒๐)
: อกุสีเตน ภวิตพฺพํ อารทฺธวิริเยนฯ (๑/๖๓)
ในรูปฉัฏฐีวิภัตติ : สกฺกสฺส มหาลิ เทวานมินฺทสฺส ปุพฺเพ มนุสฺสภูตสฺส
สมานสฺส สตฺต วตฺตปทานิ สมตฺตานิ สมาทินฺนานิ อเหสุํ ฯ
(๒/๙๖)
วิธีเรียงวิกติกตฺตาดังกล่าวมานี้ เป็นแบบหลักทั่วไป แต่ในปกรณ์ แบบเรียนอาจมีนอกเหนือจากกฎนี้บ้าง ถ้าจำไม่ได้ ก็ขอให้ยึดวิธีที่ว่านี้ เข้าไว้ก่อน เป็นไม่ผิดแบบที่ว่านั้น เช่น
: สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏมฺพิโก อโหสิ อฑฺโฒ มหทฺธโน
มหาโภโค อปุตฺตโก ฯ (๑/๓)
จะเรียงว่า : สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏมฺพิโก อฑฺโฒ อโหสิ มหทฺธโน ฯเป ดังนี้ก็ได้
: ตสฺเสกปุตฺตโก อโหสิ ปิโย มนาโป ฯ (๑/๒๓)
จะเรียงว่า : ตสฺเสกปุตฺตโก ปิโย อโหสิ มนาโป ฯ ดังนี้ก็ได้
วิธีเรียงกิริยา
ดังกล่าวมาแล้วในบทก่อนว่า กิริยาถือว่าเป็นส่วนสำคัญของ ประโยคคู่กับประธาน และกิริยานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ
๑. อนุกิริยา หมายถึงกิริยาที่ แทรกอยู่ในระหว่างประโยค ได้แก่ กิริยาที่ประกอบด้วย ต อนฺต มาน และ ตูนาทิ ปัจจัย
๒. มุขยกิริยา หมายถึงกิริยาใหญ่ที่ทำหน้าที่คุมประโยค ได้แก่ กิริยาอาขยาตทั้งหมด และกิริยากิตก์ที่ประกอบด้วย ต อนีย ตพฺพ ปัจจัย ในกิริยา ๒ ประเภทนี้ มีหลักการเรียง ดังนี้
วิธีเรียงอนุกิริยา
๑. เรียงไว้หลังประธาน ในประโยคธรรมดา โดยเรียงเป็นลำดับเรื่อยไป เช่น
๒. เรียงไว้หน้าประธาน โดยมากก็คือ ศัพท์ที่ประกอบด้วย “ตฺวา” ปัจจัย ที่แปลว่า “เพราะ, เว้น หรือ ครั้นแล้ว” เช่น สุตฺวา ทิสฺวา ฐเปตฺวา กตฺวา นิสฺสาย เป็นต้น เช่น
และคือ ศัพท์ที่ประกอบด้วย ต อนฺต มาน ปัจจัย เช่น
๓. เรียงไว้หลังกิริยาใหญ่ ในกรณีอนุกิริยาทำหน้าที่พร้อมกับ กิริยาใหญ่ หรือเป็นกิริยาอปรกาล แต่เป็นกิริยาที่รองไปจากกิริยาใหญ่ ซึ่งถืออิริยาบถใหญ่ เป็นประมาณ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น เช่น
๔. เรียงไว้หน้ากิริยาใหญ่ ในกรณีใช้แทนปุริสสัพพนาม คือ ทำหน้าที่คล้ายประธานในประโยค เพราะไม่เรียงประธานไว้ด้วย และ อนุกิริยาเช่นนี้ มักมีศัพท์ว่า นาม กำกับไว้ด้วย เช่น
วิธีเรียงมุขยกิริยา
๑.เรียงไว้ท้ายประโยค ในประโยคธรรมดาทั่วๆ ไป ดังตัวอย่าง ทั้งหลายที่แสดงมาแล้ว
๒. เรียงไว้ต้นประโยค ในกรณีพิเศษดังต่อไปนี้
๒.๑ ในประโยคคำถาม ซึ่งไม่มี กึ ศัพท์อยู่ด้วย มีคติใช้ แทน กึ เช่น
: ทิฏฺโฐ โข ภนฺเต ภควตา สกฺโก เทวานมินฺโท ฯ (๒/๙๔)
: อตฺถิ ปนายสฺมโต โกจิ เวยฺยาวจฺจกโร ฯ
๒.๒ ในประโยคบังคับ เช่น
: คจฺฉ ตฺวํ อาวุโส ฯ
: เอหิ ตาต ปิยปุตฺต ฯ
๒.๓ ในประโยคอ้อนวอน เช่น
๒.๔ ในประโยคเตือน – ชักชวน เช่น
๒.๔ ในประโยคสงสัยเชิงถาม เช่น
๒.๖ ในประโยคห้าม หรือ คัดค้าน เช่น
๒.๗ ในประโยคปลอบใจ เช่น
๒.๘ ในประโยคให้พร เช่น
๒.๙ ในประโยคเน้นความ เช่น
ความตั้งใจ : ปพฺพชิสฺสาเมวาหํ ตาต ฯ (๑/๗)
ความดีใจ : นิปฺผนฺนํ โน กิจฺจํ ฯ
: อญฺญาสิ วตโภ โกณฺฑญฺโญ ฯ
ความตกใจ : นตฺถิ เม อิทานิ ชีวิตํ ฯ
ความยืนยัน : ขีณา ชาติ, วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ, กตํ กรณียํ (๑/๑๑๑)
๒.๑๐ ในประโยคแสดงความมั่นใจ เช่น
ประโยคที่วางกิริยาไว้ข้างต้นนี้ ถ้าเป็นประโยคสั้นๆ และใน ประโยคนั้น จะต้องวาง ต สัพพนามในรูปทุติยาวิภัตติด้าย นิยมให้ ทุติยาวิภัตตินั้นมีรูปเป็น นํ หรือ เน แล้ววางไว้หลังกิริยา และเป็นตัวสุดท้ายในประโยค เช่น
จะเรียงว่า ตํ ปฏิปชฺชาหีติ ก็ได้แต่ไม่นิยม และไม่นิยมเรียง ว่า ปฏิปชฺชาหิ ตนฺติ ฯ
จะเรียงว่า ตํ ปสฺสิสฺสามาติ ก็ได้แต่ไม่นิยม และไม่นิยมเรียง ว่า ปสฺสิสฺสาม ตนฺติ ฯ
อ้างอิง
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710