วิธีเรียงอาลปนะ
บทอาลปนะ มีหลักแน่นอนอยู่ คือต้องเรียงไว้ในประโยคเลขใน เท่านั้นห้ามเรียงไว้นอกเลขในเด็ดขาด แต่วิธีการเรียงในประโยคเลขในนั้นไม่แน่นอน อาจเรียงไว้เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ที่ ๓ ในประโยค หรือเรียงไว้ท้ายประโยคก็ได้ ทั้งนี้สุดแต่เนื้อความในประโยคหรือศัพท์ประกอบ ในประโยค เช่น นิบาตต้นข้อความ และกาลสัตตมี เป็นต้น ซึ่งพอมีหลักสังเกต ดังนี้
๑. ถ้าเป็นข้อความสั้นๆ เป็นแบบบอกเล่า นิยมเรียงไว้ต้นประโยค เช่น
: ภนฺเต อหํ มหลฺลกกาเล ปพฺพซิโต คนฺถธุรํ ปูเรตุํ น สกฺขิสฺสามิ ฯ (๑/๗)
๒. ถ้าเป็นข้อความแสดงความประสงค์ หรือตอบคำถาม หรือ ต้องการเน้นความในประโยคให้ชัด นิยมเรียงไว้สุดประโยค เพื่อไม่ให้ขวางศัพท์อื่น เช่น
๓. อาลปนะที่เป็นนิบาต เช่น ภนฺเต อาวุโส อมฺโภ เป็นต้น ถ้ามาคู่กับอาลปนะที่เป็นนาม คืออาลปนะที่แจกมาจากวิภัตติ นิยมเรียง อาลปนะนิบาตไว้หน้าอาลปนะนาม เช่น
การเรียงบทอาลปนะนี้มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง คือให้สังเกตดู ที่คำแปล ถ้าสำนวนไทยแปลขึ้นต้นก่อน ก็ให้เรียงไว้ต้นประโยค หรือที่ ๒ ที่ ๓ ในประโยค แล้วแต่ศัพท์ใกล้เคียงจะอำนวยให้หรือไม่
ถ้าสำนวนไทยแปลทีหลัง ก็เรียงไว้สุดประโยค ทั้งนี้เพราะบท อาลปนะเท่ากับคำไทยว่า ท่านครับ ท่านขา ขอรับ เจ้าค่ะ ครับ ค่ะ เป็นต้นนั่นเอง เมื่อแปลไว้ต้นก็แสดงว่าอยู่ต้น เมื่อแปลไว้หลังก็แสดง ว่าอยู่หลัง นี่ว่าโดยวิธีการแปลโดยสันทัด เช่น
วิธีเรียงวิเสสนะ
บทวิเสสนะ จัดเป็นบทขยายเนื้อความของบทที่ตนขยายให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น วิธีสังเกตว่าศัพท์ใดเป็นบทวิเสสนะ ให้สังเกตที่ความในภาษาไทย ส่วนมากจะนิยมแปลว่า “ผู้ ที่ ซึ่ง มี อัน” อย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อเห็นคำแปลอย่างนี้หน้าคำใด พึงสันนิษฐานไว้ก่อนว่าคำนั้นเป็นวิเสสนะ ส่วนศัพท์วิเสสน สัพพนาม และศัพท์สังขยาคุณไม่นิยม แปล เพราะบ่งชัดว่าเป็นวิเสสนะอยู่แล้ว บทวิเสสนะนี้มีวิธีการเรียง ไม่ยุ่งยากนัก ดังนี้
๑. ทำหน้าที่ขยายบทใด ต้องปรุงศัพท์วิเสสนะให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนกับบทนั้นเสมอไป
๒. สามัญวิเสสนะ คือ วิเสสนะทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นคุณนามบ้าง วิเสสนสัพพนามบ้าง เป็นศัพท์ที่ปรุงมาจาก ต อนฺต มาน ปัจจัยบ้าง ให้เรียงไว้หน้าบทที่ตนขยาย เช่น
๓. วิสามัญวิเสสนะ คือ วิเสสนะที่ไม่ทั่วไป เป็นวิเสสนะแสดง ยศ ตำแหน่ง ตระกูล หรือความพิเศษอื่นใดที่ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ให้เรียงไว้หลังบทที่ตนขยาย เช่น
๔. ถ้านามที่ตนจะขยายความมีหลายศัพท์ ให้ประกอบวิเสสนะ ให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนกับนามตัวที่อยู่ใกล้ที่สุด เช่น
๕. ถ้านามที่จะขยายมีหลายศัพท์ และประกอบด้วย จ หรือ ปิ ศัพท์ ให้ประกอบศัพท์วิเสสนะเป็นพหูพจน์เสมอ เช่น
๖. ถ้าในประโยคนั้นมีวิเสสนะหลายศัพท์ ให้เรียงลำดับก่อนหลัง ดังนี้ อนิยม-นิยม-คุณนาม-สังขยา-นาม
๗. วิเสสนะ ที่ประกอบด้วย ต อนฺต และมาน ปัจจัย ในวิภัตติ ต่างๆ เว้นปฐมาวิภัตติ จะเรียงไว้ข้างหน้าบทที่ตนขยายก็ได้ เรียงไว้หลังก็ได้ แต่นิยมเรียงไว้หลังพร้อมกับข้อความที่สัมพันธ์เข้ากับตนทั้งหมด เช่น
๘. วิเสสนะที่ประกอบด้วย อนฺต มาน ปัจจัย ที่ทำหน้าที่ ขยายบทประธานในประโยคกัตตุวาจก นิยมเรียงไว้หน้าบทประธาน ในประโยคกัมมวาจก นิยมเรียงหลังบทประธาน เช่น
อ้างอิง
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710