วิธีเรียงกิริยาปธานนัย
กิริยาปธานนัย คือ กิริยาที่ประกอบด้วยตูนาทิปัจจัย ตามปกติ ก็เป็น ตฺวา ปัจจัยทำหน้าที่เป็นกิริยาคุมพากย์ในประโยค ซึ่งปกติเป็นไม่ได้ ที่ต้องใช้กิริยาปธานนัย เพราะขณะที่เนื้อความกำลังดำเนินไปตาม ปกตินั้น เกิดมีประธานของประโยคบางส่วนแยกไปทำกิริยาอื่น แต่ ประธานบางส่วนมีได้ทำด้วย แต่ประโยคจำต้องดำเนินเรื่อยไปดังนี้ จึงนิยมใช้กิริยาปธานนัย เพื่อให้ประโยคเป็นไปไม่ขาดสาย เท่าที่สังเกดดู วิธีใช้กิริยาปธานนัยในปกรณ์ต่างๆ สรุปแล้วมี ๓ ลักษณะ คือ
ลักษณะที่ ๑
ตอนแรกประธานของประโยคจะเป็นบุคคลก็ตาม เป็นสิ่งของก็ ตามอยู่รวมกันเป็นหมวดเป็นหมู่ และทำกิริยาอาการร่วมกันเรื่อยมา แต่ตอนหลังประธานเหล่านั้น มีบางส่วนแยกไปทำกิริยาอย่างอื่น กิริยาที่ทำร่วมกันของประธานจึงต้องหยุดลงกระทันหัน ต่อไปก็เป็นกิริยา เฉพาะของประธานที่แยกตัวออกมา
ยกตัวอย่างเช่น แม่นํ้าสายหนึ่งไหลมาจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ผ่าน เกาะแก่งเรื่อยมา ภายหลังมาแยกเป็น ๒ สาย สายหนึ่งไหลไปทาง ทิศได้เรื่อยไป อีกสายหนึ่งแยกไหลไปทางทิศตะวันออก จะเห็นได้ว่า ตอนแรกมาด้วยกัน ตอนหลังจึงแยกกัน กิริยาสุดท้ายแม่นั้าไหลมา ก่อนแยกกันนั้นจัดเป็นกิริยาปธานนัย
ขอให้พิจารณาประโยคต่อไปนื้
ในประโยคนี้ กเถตฺวา เป็นกิริยาปธานนัย เพราะเป็นกิริยา สุดท้ายที่ประธาน คือ ตาปสา ทำร่วมกัน ภายหลังประธานส่วนหนึ่ง ข้างต้น คือ นารโท แยกไปทำกิริยาอย่างหนึ่งต่างหาก ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยประธานทั้งหมดข้างต้น
ขอให้ดูประโยคอื่นเทียบเคียง
: สาวตฺถีวาสิโน หิ เทฺว กุลปุตฺตา สหายกา วิหารํ คนฺตฺวา ฯเปฯ สาสเน ธุรํ ปุจฺฉิตฺวา วิปสฺสนาธุรญฺจ คนฺถธุรญฺจ วิตฺถารโต สุตฺวา, เอโก ตาว อหํ ภนฺเต ฯเปฯ อรหตฺตํ ปาปุณิ ฯ (๑/๑๔๔)
: สรีรํ มชฺเฌ ภิชฺชิตฺวา, เอโก ภาโค โอริมตีเร ปติ, เอโก ปาริมตีเร ฯ (๓/๑๘๗)
: เหฏฺฐาคงคาย จ เทฺว อิตฺถิโย นหายมานา ตํ ภาชนํ อุทเกนา หริยมานํ ทิสฺวา, เอกา อิตฺถี มยฺหเมตํ ภาชนนฺติ อาห ฯ (๘/๑๗๒)
ความจริง ประโยคเหล่านี้อาจแยกเป็น ๒ ประโยค โดยตัด ทอนกิริยาปธานนัยเป็นกิริยาคุมพากย์เสีย เช่นเป็นว่า
: อุโภปิ (ตาปสา) สาราณียํ กถํ กเถสุ, สยนกาเล นารโท ฯเปฯ หรือ
: สรีรํ มชฺเฌ ภิชฺชิ, เอโก ภาโค ฯเปฯ
อย่างนี้ย่อมใช้ได้เช่นกัน แต่ประโยคเนื้อความจะไม่สละสลวย เพราะใจความของประโยคมิได้หยุดลงแค่นั้น ยังดำเนินต่อไปอีก แต่ดำเนินไป เพียงบางส่วนเท่านั้น
ลักษณะที่ ๒
ตอนแรกประธานทำกิริยาอาการร่วมกันมา แล้วแยกกันเหมือน ในลักษณะแรก ส่วนหนึ่งของประธานที่แยกมาไปทำกิริยาอาการอย่าง หนึ่งต่างหาก ไม่เกี่ยวด้วยประธานทั้งหมด แต่เมื่อทำเสร็จแล้วกลับไป ร่วมทำกิริยาอาการกับตัวประธานทั้งหมดในประโยคตามเดิมอีกเช่นนี้ กิริยาที่ทำรวมกันสิ้นสุดลงตอนแรก ไม่จัดเป็นกิริยาปธานนัยเหมือนใน ลักษณะแรก แต่กิริยาปธานนัยในลักษณะนี้ ได้แก่กิริยาตัวสุดท้าย ของตัวประธานที่แยกตัวออกไปทำ เท่ากับเป็นประโยคเล็กๆ แทรกอยู่ ในประโยคใหญ่นั่นเอง
เปรียบเหมือนชายสองคนเดินทางไปด้วยกัน พอถึงกลางทาง ชายคนหนึ่งแวะลงซื้อของข้างทาง แล้วเดินทางร่วมกันต่อไปใหม่ กิริยา ที่ชายคนที่แวะลงทำเป็นสุดท้ายนั่นแหละ จัดเป็นกิริยาปธานนัย
ความจริง น่าจะทอนประโยคให้เล็กลง โดยขึ้นประโยคใหม่ ย่อมทำได้ แต่จะไม่สละสลวย และประโยคจะยับเยินเกินไป ต้องขึ้นประธานใหม่อยู่เรื่อย จึงไม่นิยมทอนประโยค
ตัวอย่าง กิริยาปธานนัยในลักษณะนี้ คือ
: เตปิ เทวโลกโต จวิตฺวา พนธมติยํ เอกสฺมึ กุลเคเห เซฏฺโฐ เชฏฺโฐ ว หุตฺวา กนิฏฺโฐ กนิฏฺโฐ ว หุตฺวา ปฏิสนฺธึ คณฺหึสุ ฯ (๘/๑๖๐)
ลักษณะที่ ๓
ลักษณะกิริยาปธานนัยอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งแปลกจากลักษณะทั้ง สองข้างต้น คือตอนแรกประธานทำกิริยาร่วมกันมา และหยุดลง ตอนหลัง ประธานเหล่านั้นต่างก็แยกไปทำกิริยาของตนต่างหาก แต่ไม่ได้กลับมาทำกิริยาร่วมกัน เหมือนลักษณะที่ ๒ ประโยคสิ้นสุดลงตรง กิริยาของใครของมัน เหมือนในลักษณะที่ ๑ แต่แทนที่กิริยาปธานนัย จะอยู่ตรงกิริยาสุดท้ายก่อนแยกกันเหมือนในลักษณะที่ ๑ กลับเป็นตัว กิริยาสุดท้ายของประธานที่แยกตัวออกมาแต่ละตัวเหมือนในลักษณะที่ ๒
ลักษณะที่ ๓ นี้เป็นที่ตั้งแห่งความฉงนอยู่ พบตัวอย่างมีอยู่ใน เรื่อง อุโปสถกมฺม ภาค ๕ ดังนี้
: วิสาเข อิเมสํ สตฺตานํ ชาติอาทโย นาม ทณฺฑหตฺถโคปาลกสทิสา, ชาติ ชราย สนติกํ เปเสตฺวา, ชรา พยาธิโน สนฺติกํ, ฯเปฯ (๕/๕๔)
เรื่องกิริยาปธานนัยนี้ นักศึกษาพึงทำความเข้าใจให้ดีเป็นพิเศษ เพราะเป็นกิริยาพิเศษมีไม่มากนัก แต่ควรได้ศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่ออรรถรส ของภาษา
หากมีความสงสัยว่าจะทราบได้อย่างไรว่า ประโยคไหนเป็นประโยคกิริยาปธานนัย มีหลักสังเกตอยู่ ๒ ประการ คือ
๑. ในวิชาแปลมคธเป็นไทย ให้สังเกตดูการวางรูปประโยคประโยคมักจะสะดุด หยุดลงกระทันหัน และใจความจะเป็นดังกล่าวมา แล้วในลักษณะนั้นๆ
๒.ในวิชาแปลไทยเป็นมคธ ให้สังเกตดูที่การแปลในพากย์ไทย ถ้าแปลไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเครื่องหมาย “ ฯ ” คั่นระหว่าง แต่กลับ มีประธานเพิ่มขึ้นมาใหม่อีก อย่างนี้ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ความตอน นั้นน่าจะเป็นประโยคกิริยาปธานนัย ฯ
วิธีเรียงกิริยาวิเสสนะ
บทกิริยาวิเสสนะ คือ ศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยายบทกิริยาโดยตรง เหมือนคุณศัพท์ขยายนาม ฉะนั้นกิริยาวิเสสนะนี้จะต้องมีรูปเป็นทุติยาวิภัตติ เอกวจนะเท่านั้น เป็นวิภัตติและวจนะอื่นไม่ได้ แต่ถ้าเป็นอัพยยศพท์ ซึ่งแจกไม่ได้ ก็ให้คงรูปเดิมไว้ เช่น ตถา เอวํ เป็นต้น
บทกิริยาวิเสสนะ มีวิธีเรียง ดังนี้
๑. กิริยาวิเสสนะของกิริยาที่เป็นอกัมมธาตุ คือ กิริยาที่ไม่มีบท อวุตฺตกมฺม อยู่ด้วย ให้เรียงไว้ข้างหน้าชิดกิริยา เช่น
๒. กิริยาวิเสสนะของกิริยาสกัมมธาตุ มีบทอวุตฺตกมฺมอยู่ด้วย จะเรียงไว้หน้า หรือหลังบทอวุตฺตกมุม ก็ได้ เช่น
เรียงหน้า : เอวํ จิกฺขลมคฺเคน คจฺฉนฺโต วิย ทนฺธํ ปุญฺญํ กโรติ ฯ (๕/๔)
เรียงหลัง : สาสนํ เม ขิปฺปํ เทหิ ฯ
แต่เพื่อเคารพกฎที่ว่า บทอวุตฺตกมุม ควรเรียงไว้ชิดกิริยา จึง นิยมเรียงบทกิริยาวิเสสนะ ไว้หน้าบทอวุตฺตกมุม มากกว่า
๓. กิริยาวิเสสนะที่คลุมตลอดทั้งประโยค นิยมเรียงไว้ต้นประโยค เช่น
: เอวํ พาลปุคฺคโล โถกํ โถกมฺปิ ปาปํ อาจินนฺโต วฑฺเฒนฺโต ปาปสฺส ปูรติเยว ฯ (๕/๑๕)
วิธีเรียงประโยค สกฺกา
สกฺกา เป็นศัพท์พิเศษ ทำหน้าที่คุมพากย์ได้ เรียกว่า ประโยค สกฺกา เป็นได้ทั้ง กมฺมวาจก และภาววาจก แล้วแต่ความจะบ่ง และ มักมี ตุํ ปัจจัยรวมอยู่ในประโยคด้วย ประโยคสกฺกา มีวิธีเรียง ดังนี้
๑. เรียง สกฺกา ไว้หน้า ตุํ ปัจจัย เช่น : น สกฺกา กาตุํ ฯ
: น สกฺกา เอเตน สทฺธึ เอกโต ภวิตุํ ฯ (๑/๑๒๙)
แบบนี้เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุดกว่าทุกๆ แบบ
๒. เรียง สกฺกา ไว้หลัง ตุํ ปัจจัย เช่น
: ปาลิเลยยฺก อิโต ปฏฺฐาย ตยา คนฺตุํ น สกฺกา ฯ (๑/๕๔)
: เอวํ เปเสตุํ น สกฺกา ฯ (๑/๑๓)
๓. บทอนภิหิตกตฺตา นิยมเรียงไว้หน้า ตุํ ปัจจัย ดังตัวอย่างข้างต้น
๔. บทประธานในประโยค กมฺมวาจก นิยมเรียงไว้หน้า สกฺกา เช่น
: พุทฺธา จ นาม น สกฺกา สเฐน อาราเธตุํ ฯ (๑/๘)
: สมณธมฺโม นาม สรีเร ยาเปนฺเต สกฺกา กาตุํ ฯ (๑/๙)
ที่เรียงไว้หลังก็มีบ้าง เช่น
: น สกฺกา โส อคารมชฺเฌ ปูเรตุํฯ (๑/๑๓)
๕. สกฺกา ถ้ามีกิริยาว่ามี ว่าเป็นคุมพากย์อยู่ ก็ทำหน้าที่เป็น วิกติกตฺตา เข้ากับกิริยานั้น เช่น
: โลกุตฺตรธมฺโม นาม น สกฺกา โหติ เถเนตฺวา คณฺหิตุํ ฯ
๖. สกฺกา ทำหน้าที่เป็นบทประธานในประโยคได้บ้าง เช่น
: ตตฺถ นํ อาคตํ คเหตุํ สกฺกา ภวิสฺสติ ฯ (๒/๓๒)
อ้างอิง
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710