หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ

ความเริ่มต้น ในการแต่งฉันท์ภาษามคธ

"ฉันท์" เป็นวิชาใหม่ซึ่งทางสนามหลวงกำหนดเป็นหลักสูตรสำหรับชั้นประโยค ป.ธ.๘ เป็นวิชาที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น "สุดยอด" ของกระบวนวิชาภาษาบาลีทั้งหมด เป็นวิชาที่รวบรวมความรู้ด้านต่างๆ ในภาษาบาลีมาประมวลให้เป็นบทกวีที่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับค่อนข้างตายตัว สามารถนำไปสาธยายเป็นทำนองเสนาะหรือที่เรียกว่า "สวดเป็นทำนองสรภัญญะ" ได้ เป็นวิชาเดียวที่บ่งบอกว่า ผู้ใดจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษาบาลีอย่างแท้จริง

ความรู้เบื้องต้นในการแต่งฉันท์

๑. ความหมายขอคำว่า "ฉันท์"

คำว่า ฉันท์ แปลกันมาว่า "ปกปิดเสียซึ่งโทษ" (คือความไม่ไพเราะทางภาษา) มาจากคำวิเคราะห์ว่า ยชมานรวิโตยภูมิชลนโสมมารุตนภสงฺขาเตหิ ย ร ต ภ ช ส ม นาติ อิเมหิ อกฺขเรหิ นิยโม อุปลกฺขิโต วิธิวิเสโส อนวชฺชํ ฉาเทหีติ ฉนฺทํ ฯ

ปัฐยาวัตรฉันท์

ปัฐยาวัตร  แปลว่า คาถาที่สวดเป็นทำนองจตุราวัตร  คือ หยุดทุก ๔ คำ มีวิเคราะห์ว่า  ปฐิตพฺพโต  ปฐฺยา  จ  สา  จตุราวตฺเตน  ปริวตฺตพฺพโต  วตฺตญฺจาติ  ปฐฺยาวตฺตํ ฯ

อินทรวิเชียรฉันท์

อินทรวิเชียรฉันท์  แปลตามครูว่า "ฉันท์มีครุหนักมากเหมือนคทาเพชรของพระอินทร์ เพราะมี  ตะคณะ เรียงกัน ๒ คณะ"  ฉันท์ชนิดนี้ เป็น เอกาทสักขรฉันท์บาทหนี่งกำหนดให้มี ๑๑ อักษร (๑๑ คำ) เวลาเขียนกำหนดให้เขียนบรรทัดละ ๑ บาท เรียงลงไปจนครบ ๔ บาท จึงเป็นคาถาหนึ่ง และกำหนดคณะที่ใช้ ๓ คณะคือ ต, ต,​ ช  และมีครุลอย (ครุที่ไม่นับเข้าเป็นคณะ) ๒ อักษรสุดท้ายของทุกบาท มี ยติ ๕-๖ คือเวลาสวดทำนอง ให้หยุดที่อักษรที่ ๕ และหยุดครั้งต่อไปอีก ๖ อักษร คือตัวสุดท้ายบาท

อุเปนทรวิเชียรฉันท์

อุเปนทรวิเชียรฉันท์  ครูแปลว่า "ฉันท์มีคณะใกล้เคียงกับอินทรวิเชียร" ฉันท์นี้เป็นเอกาทสักขรฉันท์ คือ บาทหนึ่งมี ๑๑ อักษร (๑๑ คำ) ใช้คณะลง ๓ คณะ คือ ช, ต, ช  มีครุลอย ๒ อักษรสุดท้ายทุกบาท และมี ยติ ๕-๖ เช่นเดียวกับอินทรวิเชียรฉันท์

อินทรวงศ์ฉันท์

อินทรวงศ์ฉันท์  ครูแปลว่า "ฉันท์มีเสียงไพเราะเหมือนปี่พระอินทร์"  ฉันท์นี้เป็นทวาทสักขรฉันท์ ในแต่ละบาท กำหนดให้มี ๑๒ อักษร (๑๒ คำ) ใช้คณะลง ๔ คณะ คือ ต, ต, ช, ร  ฉันท์นี้ไม่มีครุลอย มี ยติ ๕-๗

วังสัฏฐฉันท์

วังสัฏฐฉันท์  ครูแปลว่า "ฉันท์เป็นที่ตั้งแห่งคณะมีเสียงไม่สม่ำเสมอกันเหมือนดนตรีสุสิระคือปี่หรือขลุ่ย"  (วํส  ปี่, ขลุ่ย)

วสันตดิลกฉันท์

วสันตดิลกฉันท์  ครูแปลว่า  "ฉันท์มีคณะเหมือนเมฆที่มืดมนในเดือน ๕ เดือน ๖ อันเป็นส่วนของฤดูฝน" ฉันท์นี้เป็นจตุททสักขรฉันท์  บาทหนึ่งมี ๑๔ อักษร (๑๔ คำ) ยติ ๘-๖ กำหนดใช้ลงคณะ ๔ คณะคือ ต, ภ, ช, ช และมีครุลอย ๒ อักษรสุดท้าย เช่นเดียวกับอินทรวิเชียร

ความรู้ทั่วไปในการแต่งฉันท์

            ดังกล่าวมาแล้วในเบื้องต้นว่า วิชาฉันท์เป็นกระบวนวิชาที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับมากมาย นอกจากต้องอาศัยความรู้เบื้องต้นเป็นพื้นฐานในการแต่งแล้ว ยังต้องอาศัยความรู้ทั่วไปประกอบด้วย จึงจะสามารถแต่งฉันท์ได้ แม้จะไม่ดีถึงขนาด ก็อยู่ในขั้นพอกล่าวว่าดีได้ ความรู้ทั่วไปที่ว่านี้คือเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบความแต่ง ไม่ใช่หลักใหญ่เสียทีเดียว ส่วนมากจะมีไว้เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเวลาจำเป็นมากกว่า แม้ว่าจะเป็นเรื่องไม่สำคัญที่สุดแต่ก็สำคัญไม่น้อย เป็นการรู้ไว้ไม่มีเสียหาย การไม่รู้ในเรื่องนั้น ๆ แล้ว ใช้ไปในฉันท์ นอกจากจะทำให้เสียรสชาติ ทำให้ฉันท์ไม่มีน้ำหนักแล้ว ยังถือว่าเป็นผิดความนิยมอีกด้วย ผิดเช่นนี้ก็ไม่น่าผิดเหมือนกัน

ความรู้เบ็ดเตล็ดในการแต่งฉันท์

            นอกจากความรู้ทั่วไปดังที่กล่าว ซึ่งนักศึกษาวิชาแต่งฉันท์ภาษามคธพึงทำความเข้าใจ และใช้ให้ถูกต้องแล้ว นักศึกษาพึงทราบเกร็ดวิชาเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือความรู้เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นอีกเป็นการช่วยเหลือนักศึกษาในเวลาลงมือแต่งฉันท์ เป็นการให้ความสะดวก และสามารถแต่งได้เร็วขึ้น เพราะทราบข้อเบ็ดเตล็ดเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้แล้ว ความรู้ที่ว่านี้พอนำมาชี้แจงได้ ดังต่อไปนี้

ข้อสรุปในการแต่งฉันท์

            วิชาแต่งฉันท์  คือวิธีการที่ว่าด้วยกระบวนการ การเก็บใจความที่ท่านกำหนดให้มา ย่อลงให้สั้นด้วยวิธีการบังคับให้เข้าคณะพอดี เป็นวิชาย่อความอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นผู้แต่งฉันท์จำต้องเก็บใจความที่ถูกกำหนดนั้นให้ได้แล้วนำมาปรุงเป็นประโยคใหม่ที่กระทัดรัด แต่ได้ใจความที่ต้องการ

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search