#

อสีติมหาสาวก

อสีติมหาสาวก คือ พระภิกษุสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้า

ความหมายของคำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ ตามรูปศัพท์ คำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ เป็นคำสมาสประกอบด้วยคำ ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ คำว่า ‘อสีติ’ เป็นปกติสังขยา คือ จำนวนนับตามปกติ แปลว่า ‘๘๐’ ส่วน ‘มหาสาวก’ ประกอบด้วยคำว่า ‘มหา’ ซึ่งเป็นคุณศัพท์แปลว่า ใหญ่,มาก, สำคัญ และคำว่า ‘สาวก’ ซึ่งเป็น คำนามกิตก์ ประกอบรูปมาจากธาตุ ‘สุ’ (ในความหมายว่าฟัง) +ปัจจัย ณฺวุ มีรูปศัพท์ ว่า ‘สาวก’ แปลว่า ผู้ฟัง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุผู้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดคืออรหัตผล

ดังนั้นคำว่า ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ เมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็นคำสมาส เป็น ‘อสีติมหาสาวก’ จึงแปลว่า พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป

ยโสช (พระยโสชเถระ)

ยโสช (พระยโสชเถระ)

ภิกษุใดชนะหนาม คือ กาม ชนะการด่า การฆ่า และการจองจำได้ แล้ว ภิกษุนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหวดุจภูเขา ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหวใน เพราะสุขและทุกข์ ฯ

รัฏฐปาล (พระรัฏฐปาลเถระ)

รัฏฐปาล (พระรัฏฐปาลเถระ)

พระรัฐปาลเถระผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้บวชด้วยศรัทธา ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน ท่านพระรัฐปาละนั้น เมื่อได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาที่จะบวช กระทำการรอดข้าวถึง ๗ วัน มารดาบิดาจึงยอมอนุญาตให้บวชได้ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป

ราธะ(พระราธเถระ)

ราธะ(พระราธเถระ)

การที่ท่านพระราธเถระ ท่านนี้ได้รับการสถาปนาจากพระบรมศาสดาให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลายผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง นั้นก็เนื่องด้วยเหตุ ๒ ประการคือ โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ คือพระมหาสาวกองค์นั้น ได้แสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏในเรื่องการเป็นผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง และอีกเหตุหนึ่งก็คือเนื่องด้วยท่านได้ตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นตลอดแสนกัป

ราหุลเถระภิกษุ

ราหุลเถระภิกษุ

พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช

ลกุณฏกภัททิยะ(พระลกุณฏกภัททิยเถระ)

ลกุณฏกภัททิยะ(พระลกุณฏกภัททิยเถระ)

พระเถระได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีเสียงไพเราะ ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป

<<  4 5 6 7 8 [910 11 12 13  >>  
40816629
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
10053
24879
153777
40477143
34932
832722
40816629

Your IP: 3.137.192.3
2024-05-02 10:21
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search