#

อสีติมหาสาวก

อสีติมหาสาวก คือ พระภิกษุสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้า

ความหมายของคำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ ตามรูปศัพท์ คำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ เป็นคำสมาสประกอบด้วยคำ ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ คำว่า ‘อสีติ’ เป็นปกติสังขยา คือ จำนวนนับตามปกติ แปลว่า ‘๘๐’ ส่วน ‘มหาสาวก’ ประกอบด้วยคำว่า ‘มหา’ ซึ่งเป็นคุณศัพท์แปลว่า ใหญ่,มาก, สำคัญ และคำว่า ‘สาวก’ ซึ่งเป็น คำนามกิตก์ ประกอบรูปมาจากธาตุ ‘สุ’ (ในความหมายว่าฟัง) +ปัจจัย ณฺวุ มีรูปศัพท์ ว่า ‘สาวก’ แปลว่า ผู้ฟัง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุผู้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดคืออรหัตผล

ดังนั้นคำว่า ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ เมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็นคำสมาส เป็น ‘อสีติมหาสาวก’ จึงแปลว่า พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป

วักกลิ (พระวักกลิเถระ)

วักกลิ (พระวักกลิเถระ)

"วักกลิ ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยมองรูปกายอันเปื่อยเน่านี้ที่ท่านเห็น วักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม วักกลิ เห็นธรรมจึงจะชื่อว่าเห็นเรา"

วังคีส (พระวังคีสเถระ)

วังคีส (พระวังคีสเถระ)

วิตกทั้งหลายเป็นเหตุให้คะนอง (เกิดมา) แต่ฝ่ายธรรมดำเหล่านี้ ย่อมวิ่งเข้ามาสู่เราผู้ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือนแล้ว

วัปปะเถระ

วัปปะเถระ

พระวัปปะเป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก ในตอนปฐมโพธิกาลได้ช่วยเป็นกำลัง ประกาศพระศาสนาในที่ต่างๆ

วิมล (พระวิมลเถระ)

วิมล (พระวิมลเถระ)

 “นี่เพื่อน ท่านจงดูศพนี้ มีหนังลอกแล้วในที่นั้น ๆ ดุจรูปโคด่าง ไม่สะอาด เหม็น น่าเกลียด ”

สภิย (พระสภิยเถระ)

สภิย (พระสภิยเถระ)

คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเป็นผู้ไกลจากสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม เหมือนพระจันทร์ข้างแรมฉะนั้น คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมเหี่ยวแห้งในสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อยฉะนั้น คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดจะยกโทษ ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม เหมือนพืชเน่าในไร่นาฉะนั้น ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของท่านผู้ชนะมาร ผู้นั้นทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบ พึงบรรลุความสงบอย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน

<<  5 6 7 8 9 [1011 12 13 14  >>  
48585101
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
52247
74766
52247
48264582
798857
1272582
48585101

Your IP: 18.119.135.67
2024-12-22 21:23
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search