34.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 2

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 2)

          (๓) ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบเป็นประโยคอุปมาอุปไมย ซึ่งมี สำนวนไทยว่า “เปรียบเหมือน, เหมือน, ดังเช่น, เปรียบดัง” เป็นต้น มีข้อความที่ควรศึกษาและคำนึงถึงหลายประการ เช่น

๓.๑ จะใช้ศัพท์อะไรให้ตรงกับสำนวนไทยนั้น ในบรรดาศัพท์ เหล่านี้ คือ อิว วิย ยถา ยถาตํ ยถา-ตถา เสยฺยถาปิ

๓.๒ ต้องเข้าใจความหมายในประโยคว่า เป็นการเปรียบเทียบอะไร เปรียบทำนองไหน เปรียบกับบทไหนในประโยค

๓.๓ ต้องประกอบกับศัพท์อย่างไร แล้ววางไว้ตรงไหนใน ประโยค

๓.๔ จะต้องใส่ศัพท์เต็มประโยคหรือควรละศัพท์ใดไว้ ไม่ต้องใส่เข้าไป แต่สามารถรู้ได้ว่าได้ละศัพท์ใดไว้

          ในปกรณ์ทั้งหลาย ที่มีการเปรียบเทียบเช่นนี้ท่านมีวิธีใช้ศัพท์และ วางศัพท์ไม่แน่นอนตายตัวว่าจะต้องเป็นศัพท์นี้เท่านั้น หรือจะต้องวางไว้ ตรงนั้นเท่านั้น ใช้อย่างอื่นเป็นผิด แต่เมื่อท่านใช้ไว้แล้ว ก็สามารถรู้ ความหมายได้ทันที ดังนั้น จึงไม่อาจวางกฎระเบียบที่ตายตัวลงไปได้ใน เรื่องนี้ แต่ก็พอชี้แจงเป็นแนวทางได้ ดังต่อไปนี้

 

๑. ในประโยคเดินเรื่องหรืออธิบายความธรรมดา...

          ถ้ามีการเปรียบ เทียบในระหว่างประโยค และศัพท์ที่เปรียบนั้น มีลักษณะเป็นวิเสสนะ ของบทประธานในประโยคนั่นเอง มิได้เป็นศัพท์นามที่เป็นตัวประธานใหม่ ลักษณะเช่นนี้พึงปฏิบัติดังนี้

- เรียงบทเปรียบเทียบไว้ตามลำดับเนื้อความ โดยประกอบศัพท์ให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนบทประธาน หรือนาม เจ้าของ

- เรียง วิย ศัพท์ คุมไว้ท้ายบทเปรียบเทียบนั้น ไม่นิยมใช้ศัพท์อื่น เช่น อิว หรือ ยถา

- จะใส่กิริยา หุตฺวา เข้ามาคุมหรือไม่ก็ได้ หากสุดประโยค ควรใส่กิริยา “ว่ามี ว่าเป็น” คุมประโยคไว้ด้วย เช่น

ความไทย

: พระเถระนั้น เหมือนถูกสายฟ้าฟาดที่กระหม่อม

 

  พูดว่า อาวุโส คุณอย่าให้ผมฉิบหายเลย ไม่มีหรอก

 

  กรรมรูปนี้ของผม ฯ

เป็น

: โส อสนิยา มตฺถเก อาตฺถโฏ วิย มา มํ อาวุโส

 

  นาเสหิ, นตฺเถว มยฺหํ เอวรูปนฺติ ฯ (๕/๔๙)

ความไทย   

: พราหมณ์พวกนั้นได้ยินเสียงนั้นเท่านั้น เป็นประดุจ

 

  ลูกฆ้อนเท่าภูเขาพระสุเมรุทุบลงบนศีรษะ

 

  เป็น ประดุจลูกหลาวแทงที่หูทั้งสอง ถึงความไม่สบาย

 

  กาย และเสียใจ ฯลฯ (สนามหลวง ป.ธ.๗/๒๕๒๖)

เป็น

: เต ตํ สทฺทํ สุตฺวา ว สิเนรุมตฺเตน มุคฺคเรน

 

  สีเส ปหฏา วิย กณฺเณสุ สูเลน วิทฺธา วิย

 

  ทุกฺขโทมนสฺสปฺปตฺตา ฯเปฯ (มงฺคล ๑/๑๒๐)

ความไทย

: สรีระของพระเถระได้เป็นเหมือนถูกคบไฟสุมแล้ว

เป็น

: เถรสฺส สรีรํ อุกฺกาหิ อาทิตฺตํ วิย อโหสิ ฯ (๕/๓๐)

 

๒. เมื่อพิจารณาโดยถ่องแท้แล้วว่าเปรียบเทียบอะไร เปรียบเทียบกับบทไหนในประโยค พึงปฏิบัติต่อไปดังนี้

- ประกอบบทอุปมา (บทเปรียบ) ให้มีวิภัตติเหมือนกับบท อุปไมย (บทถูกเปรียบ) แล้วเรียงไว้หน้าบทอุปไมยบ้าง หลังกิริยาบ้าง สุดแท้แต่ความ

- ใช้ วิย ศัพท์ หรือ อิว ศัพท์ วางไว้หลังบทอุปมานั้น โดยมากใช้ วิย ศัพท์มากกว่า

ข้อสำคัญที่สุดในลักษณะนี้ก็คือ “บทอุปมาจะต้องมีวิภัตติเดียวก้บบทอุปไมย” อันนี้ถือเป็นเคร่งครัด หากประกอบผิดวิภัตติกัน ทำให้ความ หมายคลาดเคลื่อน จนไม่อาจทราบได้ว่าเปรียบอะไรกับอะไร เปรียบ ลักษณะไหน ขอให้ดูตัวอย่างต่อไปนี้

ความไทย

: ก็ ธรรมดาเทวดาทั้งหลายอาศัยเหตุบางอย่างเท่านั้น

 

  จึงมายังโลกมนุษย์ ซึ่งเป็นดุจที่ (ถ่าย) เว็จ

 

  อัน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ฯ

เป็น

: เทวดา หิ กิญฺจิเทว การณํ ปฏิจฺจ อสุจิปูริตํ

 

  วจฺจฏฺฐานํ วิย มนุสฺสโลกํ อาคจฺฉนฺติ ฯ (มงฺคล ๑/๙)

ชี้แจ้ง

: วจฺจฏฺฐานํ ทำหน้าที่ขยาย มนุสฺสโลกํ คือ เปรียบ

 

  โลกมนุษย์เหม่อนกับที่ (ถ่าย) เว็จ จึงต้องประกอบศัพท์

 

  ให้มีวิภัตติเสมอกัน (ทุติยาวิภัตติ)

ความไทย

: ความหิวชื่อว่าความเดือดร้อน เพราะอรรถว่า เป็น

 

 

  เครื่องบีบคั้น ก็ภิกษุนั้นย่อมขบฉันบิณฑบาตเพื่อ

 

  ระงับความหิวนั้น เหมือนใช้ยาสมานแผล และเหมือน

 

  ใช้เครื่องป้องกันความร้อนเป็นต้นนั้น ในฤดูร้อน

 

  และฤดูหนาว เป็นต้น ฯ

เป็น

: วิหึสา นาม ชิคจฺฉา อาพาธนฏฺเฐน, อุปรมตฺถฌญฺเจส

 

  ปิณฺฑปาตํ ปฏิเสวติ วณาเลปนมิว อุณฺหสีตาทีสุ

 

  ตปฺปฏิการํ วิย จ ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๔๐)

ชี้แจง

: วณาเลปนํ ก็ดี ตปฺปฏิการํ ก็ดี ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน

 

  ปิณฺฑปาตํ คือ ถูกบริโภค (ปฏิเสวติ) เหมือนกัน

 

  เป็น การอุปมาขยายความบท ปิณฺฑปาตํ ให้ชัดขึ้น

ความไทย

: ก็ภิกษุผู้จะให้ป้จจัยสันนิสิตศีลบริบูรณ์ จะต้องเป็น

 

  เหมือนสามเณรสังฆรักขิตผู้เป็นหลาน ฯ

เป็น

: ปจฺจยสนฺนิสิตฺตสีลปริปูรเกน ปน ภาคิเนยฺยสงฆ-

 

  รกฺขิตสามเณเรน วิย ภวิตพฺพํ ฯ (มงฺคล ๑/๑๙๙)

ไมใช่

: ปจฺจยสนฺนิสิตฺตสีลปริปูรเกน ปน ภาคิเนยฺยสงฆ-

 

  รกฺขิตสามเณโร วิย ภวิตพฺพํ ฯ

ชี้แจง

: ศัพท์ว่า สามเณเรน เป็นข้อเปรียบเทียบ ปริปูรเกน

 

  จึงต้องมีวิภัตติเดียวกันหากใช้เป็น สามเณโร ก็ไม่รู้ว่า

 

  เปรียบกับบทไหนในประโยค แม้จะพอแปลได้

 

  ก็ผิดสัมพันธ์เสียอีก คือ ความบ่งว่า ภิกษุต้องเป็น

 

  เหมือนสามเณรเป็น ฯ

ความไทย

: ภิกษุผู้บำเพ็ญเตจีวริกังคธุดงค์ ย่อมเป็นผู้สันโดษ

 

  ด้วยจีวรพอบริหารกายด้ายสันโดษนั้น เธอจึงถือ

 

  เอา (จีวร) เท่านั้นไปได้เหมือนนก

เป็น

: เตจีวริโก ภิกฺขุ สนฺตุฏโฐ โหติ กายปริหาริเกน

 

  จีวเรน, เตนสฺส ปกฺขิโน วิย สมาทาเยว คมนํฯ

 

  (วิสุทฺธิ ๑/๘)

ไมใช่

: ฯเปฯ เตนสฺส ปกขี วิย คมนํ

ชี้แจง

: ภิกษุกับนกเหมือนกันในการไป ท่านเปรียบภิกษุ

 

  เหมือนนก ภิกษุเป็นฉัฏฐีวิภัตติ บทอุปมาก็ต้องเป็น

 

  ฉัฏฐีวิภัตติด้วย จับใจความได้ว่า “การไปของนก”

 

  หากแต่งเป็น ปกฺขี วิย ก็จะกลายเป็นว่า

 

  “นกกับการไปเหมือนกัน” หรือเป็นว่า

 

  “การไปเหมือน นก” ซึ่งไม่รู้เปรียบใน แง่ใด

 

          เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างชัดเจน พึงดูประโยคต่อไปนี้เป็น แนวเทียบ และพึงทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ถึงหลักการประกอบศัพท์คู่ กับ วิย

 

เช่น

: ยถา จ มาตาปิดโร อุปฏฺฐาตุํ ลเภยฺย ตถา

 

  นนฺทปณฺฑิเตน วิย ปฏิปชฺชิตพฺพํ ฯ (มงฺคล ๑/๓๐๔)

 

   (ปุตฺเตหิ เปรียบกับ นนฺทปณฺฑิเตน)

ไมใช่

: ตถา  นนฺทปณฺฑิโต วิย ปฏิปชฺชิตพฺพํ ฯ

เช่น

: เอวํ ปจฺจเวกฺขิตฺวา ฐปิตานญฺหิ ปฏิลาภกาลโต

 

  อุทฺธํ ปริโภโค อนวชฺโช ว อธิฏฺฐหิตฺวา ฐปิตปตฺต-

 

  จีวรานํ วิย ฯ (มงคล ๑/๑๙๗) (การบริโภคจีวรที่

 

  พิจารณาแล้วเก็บไว้ไม่มีโทษ เหมือนจีวรที่

 

  อธิษฐานแล้วเก็บไว้)

ไม่ไใช่

: ฯเปฯ อธิฏฺฐหิตฺวา ฐปิตจีวรานิ วิย

เช่น

: ตตฺถ   วธกปจฺจุปฏฺฐานโตติ วธกสฺส วิย ปจฺจุปฏฺฐานโต ฯ

 

  (วิสุทฺธิ ๒/๓) (โดยการปรากฏเหมือนเพชฌฆาต)

เช่น

: อโยนิโส ปวตฺตยโต หิ อิฏฺฐชนมรณานุสฺสรเณ โสโก

 

  อุปฺปชฺชติ วิชาตมาตุยา ปิยปุตฺตมรณานุสฺสรเณ วิย

 

  ฯเปฯ (วิสุทฺธิ ๒/๒)

ไม่ใช่

: ฯเปฯ วิชาตมาตุยา ปิยปุตฺตมรณานุสฺสรณํ วิย

 

: ตสฺมา อาทาสตเล มุขนิมิตฺตํ ทสฺสินา วิย สเมน

 

  อากาเรน จกฺขูนิ อุมฺมีเลตฺวา นิมิตฺตํ คณฺหนฺเตน

 

  ภาเวตพฺพํ ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๑๕๙) (บุคคลเมื่อจะถือเอา

 

  นิมิตทั้งลืมตาขึ้นโดยอาการอันสมํ่าเสมอ

 

  เหมือนคนจ้องเงาหน้าในกระจก... )โดยเปรียบผู้ลืมตา

 

  ถือเอานิมิตเหมือนคนดูกระจก

ไม่ใช่

: ตสฺมา อาทาสตเล มุขนิมิตฺตํ ทสฺสี วิย

 

  (หรือ เปกฺขโก วิย) ฯเปฯ คณฺหนฺเตน...

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


47371132
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
36148
54808
235895
46849926
857470
1172714
47371132

Your IP: 3.133.139.28
2024-11-21 15:55
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search