17.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่อง กาล)

เรื่อง กาล

         ความจริง เรื่องกาลนี้หากไม่สังเกตให้ดีหรือมองเผินๆแล้ว ก็อาจ จะเห็นว่าไม่เป็นเรื่องสัาคัญและไม่ร้ายแรงนัก แต่พอมาถึงวิชาแปลไทยเป็นมคธเข้า กลับเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมาทีเดียว เพราะเมื่อใช้กาล ผิด ก็อาจทำให้เสียอรรถรสของภาษาได้ แม้บางทีจะไม่ถึงกับทำให้เสียความก็ตาม

         เพราะฉะนั้น นักศึกษาจึงต้องสำเหนียกจดจำ และศึกษา เรื่องกาลให้ “เข้าถึง” จริงๆ จึงจะสามารถแต่งหรือเขียนภาษามคธ ได้ดี

         การสังเกตกาล หากสำนวนไทยออกกาลไว้ให้ชัดเจน เช่น “อยู่, ย่อม, กำลัง, แล้ว, ได้แล้ว” ก็มักจะไม่มีปัญหา ถ้าสำนวนไทยมิได้ แปลออกกาลไว้ให้ จำต้องศึกษาให้เข้าใจว่าเป็นกาลอะไรจึงจะใช้ถูก

         กาลที่ใช้ในภาษามคธ มีที่มา ๒ แห่ง คือ กาลในอาขยาต กับ กาลในกิตก์ กาลในอาขยาตรู้ได้ด้วยวิภัตติซึ่งประกอบกับธาตุในศัพท์ กิริยาคุมพากย์นั้นๆ กาลในกิตก์รู้ได้ด้วยปัจจัยซึ่งประกอบกับธาตุใน ศัพท์กิริยานั้นๆ ซึ่งขอแยกขี้แจงและวิธีใช้โดยละเอียด ดังนี้

 

 

 

กาลในอาขยาต

         กาลในอาขยาตไม่ค่อยซับซ้อนมากนัก เพราะวิภัตติที่บ่งกาล แต่ละหมวดได้บ่งไว้ชัดเจนดีแล้ว เพียงแต่นักศึกษาทบทวนแบบให้ดี และรู้จักใช้วิภัตติแต่ละหมวดให้ถูกต้องเท่านั้น ก็เป็นอันใช้ได้

         กิริยาคุมพากย์แต่ละประโยคนั้นมีหลักเกณฑ์การใข้อย่างไรจึงจะ ถูกกาล ข้อนี้พึงศึกษารายละเอียดจากวิภัตติแต่ละหมวด พร้อมตัวอย่าง ตังต่อไปนี้

วิภัตติหมวดวัตตมานา

         (๑) เรื่องนั้นเป็นเรื่องปัจจุบัน และกำลังดำเนินเป็นไปอยู่ ยังไม่หยุดชะงัก เช่น

: ตทา สาวตถิยํ สตฺต มนุสฺสโกฏิโย วสนฺติ ฯ (๑/๕)

(แสดงว่าในขณะที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น มนุษย์ ๗ โกฏิ กำลังอยู่ในเมืองสาวัตถี)

: อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉติ ฯ (๑/๕)

(แสดงว่า ขณะถามนั้น มหาชนกำลังเดินกันไป)

         (๒) เรื่องที่กำลังกล่าวถึงนั้นเป็นเรื่องที่มีจริงเป็นจริงตลอดเวลา ที่เจ้าของกิริยามีชีวิตอยู่ หรือเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริง มีจริง เป็นจริงอยู่ อย่างนั้นตลอดกาลเป็นนิจ ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต หรือเป็นสภาวะประจำธรรมดาของโลก อย่างนี้ใช้กิริยาเป็นวัตตมานาวิภัตติ เช่น

: ตสฺมึ สมเย สตฺถา ฯเปฯ เชตวนมหาวิหาเร วิหรติ มหาชนํ สคฺคมคฺเค จ โมกฺขมคฺเค จ ปติฏฺฐาปยมาโน ฯ (๑/๔)

(แสดงว่า ขณะพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร นั้นพระองค์ทรงยังมหาชนให้ดำรงอยู่ในทางสวรรค์ และทางพระนิพพาน ตลอดเวลา)

: อนฺนปานเภสชฺเชสุ โย ยํ  อิจฺฉติ , ตสฺส ตํ ยถิจฺฉิตเมว สมฺปชฺชติ ฯ (๑/๔)

(แสดงว่า สมัยนั้นท่านรูปใดปรารถนาอะไร ก็จะได้สำเร็จ อย่างปรารถนาเป็นนิจ)

: พุทธา จ นาม ธมฺมํ เทเสนฺตา สรณสีลปพฺพชฺชาทีนํ อุปนิสฺสยํ โอโลเกตฺวา อชฺฌาสยวเสน ธมฺมํ  เทเสนฺติ ฯ (๑/๔)

(แสดงว่า พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทรงทำอย่างนี้มาทุกยุคทุกสมัย)

: วตฺตสมฺปนฺนา หิ ครูนํ อาสเน วา สยเน วา อตฺตโน ปริกฺขารํ  น ฐเปนฺติ ฯ (๑/๔๖)

(แสดงว่า การกระทำเช่นนี้เป็นปกติวิสัยของผู้สมบูรณ์ด้วย วัตรทุกๆ คน)

         แสดงตัวอย่างมาเพื่อเทียบเคียงหลักการดังกล่าว ขอให้นักศึกษา สังเกตดูวิธีที่ท่านใช้ต่อไปเถิด ก็จะเถิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

 

วิภัตติหมวดอัชชัตตนี

         ใช้ในกรณีเรื่องนั้นผ่านพ้นไปแล้ว เป็นอดีตไปแล้ว ส่วนมากมี สำนวนไทยกำกับว่า “แล้ว, ได้...แล้ว” เช่น

: สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏมฺพิโก อโหสิ ฯเปฯ (๑/๓)

(แสดงว่า กุฎุมพีก็ชื่อนั้นได้มีไปแล้ว ปัจจุบันไม่มีตัวตนแล้ว)

: เถรสฺส นิทฺทํ อโนกฺกมนฺตสฺส ปฐมมาเส อติกฺกนฺเต อกฺขิโรโค อุปปชฺชิ ฯ (๑/๘)

(แสดงว่า โรคนั้นได้เกิดขึ้นเสร็จแล้ว เรื่องต่างๆจึงเป็นไปตามมา)

         ส่วนมากวิภัตติหมวดอัชชัตตนี จะใช้สำหรับเดินเรื่องในท้องนิทาน หรือข้อความต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องอดีต โดยมีหน้าที่คุมพากย์ไปเป็นตอนๆ เช่น

: อถสฺส ภริยาย กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺาสิ ฯ โส ตสฺสา คพฺภปริหารํ อทาสิ ฯ สา ทสมาสจฺจเยน ปุตฺตํ วิชายิ ฯ เสฏฐี อตฺตนา ฯเปฯ ตสฺส ปาโลติ นามํ  กาสิ ฯ (๑/๓)

 

วิภัตติหมวดภวิสสันติ

         ใช้ในกรณีที่เรื่องนั้นๆ ยังไม่เกิดขึ้นจริงๆ ในขณะนั้น เป็นเพียง ความนึกคิด หรือคาดว่าจักเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเกิดหรือไม่เกิดตาม นั้นก็ได้ เช่น

: คจฺฉนฺตา จ ทหรสามเณรา โน หตฺเถ โอโลเกสฺสนฺตีติ ตุจฺฉหตฺถา น คตปุพฺพา ฯ (๑/๔)

: อหํ สตฺถุ สนฺติเก ปพฺพชิสฺสามีติ อาห ฯ (๑/๖)

 

วิภัตติหมวดกาลาติปัตติ

         ใช้ในกรณีที่ข้อความตอนนั้น เป็นการนำ เอา เรื่องที่ล่วง เลยมา แล้ว (กาลาติปัตติ) มาเล่าใหม่หรือพรรณนาใหม่ เป็นการกล่าวเรื่องย้อนหลังใน อดีต แต่เรื่องที่เล่าหรือพรรณนานั้น มิได้เกิดขึ้นจริงๆ มิได้เป็นจริง ตามนั้น เป็นเพียงตั้งสมมติเอาว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นคงจักเป็นอย่างนี้ เป็นต้น ขอให้ดูตัวอย่างในภาษาไทย เช่น

: ถ้าเขาขยันเรียนหนังสือมาตั้งแต่เล็กๆ เขาคงสบายไปแล้ว

(แสดงว่า ความจริงเมื่อเล็กๆ เขาไม่ได้ขยัน และเดี๋ยวนี้เขาก็ ไม่ได้สบาย)

: ถ้าตอนนั้นข้าพเจ้ามีเงิน ข้าพเจ้าคงได้เป็นเจ้าของที่ดิน ตรงนี้แล้ว

(แสดงว่า ความจริงตอนนั้นข้าพเจ้าไม่มีเงิน และเดี๋ยวนี้ข้าพเจ้า ก็มิได้เป็นเจ้าของที่ดินตรงนี้)

         ขอให้สังเกตว่า การยกเอาเรื่อง เก่ามาเล่าใหม่ในลักษณะเป็น กาลาติปัตตินี้ จะต้องประกอบด้วยประโยค ๒ ประโยค ประโยคแรก จะมีนิบาตปริกัป คือ ยทิ สเจ หรือ เจ อยู่ด้วย และทั้งสองประโยค จะมีเนื้อความตรงข้ามกับความเป็นจริงทั้งหมด

ตัวอย่างในภาษามคธ

: สเจ หิ ตุมฺเห มาทิสสฺส พุทธสฺส สมฺมุขีภาวํ นาคมิสฺสถ, อหินกุลานํ วิย เวรํ อจฺฉผนฺทนานํ วิย กาโกฬุกานํ วิย จ กปฺปฏฐิติกํ โว เวรํ อภวิสฺส ฯ (๑/๔๖)

(แสดงว่า ประโยคแรกบอกว่า ถ้าพวกเธอจักไม่ได้มา แต่ความ จริงมาประโยคหลังบอกว่า เวรของพวกเธอจักดำรงอยู่ตลอดกัป แต่ ความจริงมิได้ดำรงอยู่อย่างนั้น)

: สจายํ  ปุริโส    อิตฺตรสตฺโต  อภวิสฺส,    น อมฺหากํ อาจริโย เอวรูปํ  อุปมํ อาหริสฺสติ ฯ (๑/๙๘)

(แสดงว่า ประโยคแรกบอกว่า ถ้าบุรุษนี้จักได้เป็นสัตว์ตํ่าต้อย ความจริงไม่ได้ตํ่าต้อย  ประโยคหลังบอกว่า อาจารย์คงจักไม่นำอุปมา รูปนี้มากล่าว แต่ความจริงนำมากล่าว)

ขอให้ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้เปรียบ เทียบ

: ภิกฺขเว สจายํ เอกสาฏโก ปฐมยาเม มยฺหํ ทาตุํ อสกฺขิสฺส สพฺพโสฬสกํ อลภิสฺส, สเจ มชฺฌิมยาเม ทาตุํ อสกฺขิสฺส, สพพฏฺฐกํ อลภิสฺส ฯ (๕/๓)

 

กาลในกิตก์

         กาลในกิตก์มี ๒ อย่าง คือ ปัจจุบันกาล กับ อดีตกาล แบ่งตาม ปัจจัยที่ลงประกอบกับธาตุนั้นๆ คือ

๏ อนฺต มาน ปัจจัย บ่งปัจจุบันกาล
๏ ต และ ตูนาทิ ปัจจัย บ่งอดีตกาล

 ศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยเหล่านี้จะมีความหมายแตกต่างกันไป ดังจะได้แยกให้เห็นชัดๆ ดังนี้

         (๑) อนฺต มาน ปัจจัย ใช้กับกิริยาอาการที่กำลังทำอยู่ เป็น ไปอยู่ หรือจะทำในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งแปลว่า “เมื่อ” เช่น

: อหํ ธมฺมํ สุณนฺโต ปีตึ ลภามิ ฯ

: อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ธมฺมํ  เทเสนฺโต  อิมํ คาถมาห ฯ

         (๒) ต ปัจจัย ใช้กับกิริยาที่ทำนาน เป็นไปนาน คือ ถ้านั่งก็ นั่งนาน ถ้านอนก็นอนนาน เช่น นิสินฺโน ฐิโต อาคโต เป็นต้น ศัพท์ เหล่านี้แสดงถึงกิริยาอาการว่าทำอยู่นานทั้งสิ้น ดังตัวอย่าง

: สามเณโร ตตฺถ นิมิตฺตํ คเหตฺวา ฯเปฯ ตสฺสา สนฺติกํ  คโต ฯ (๑/๑๔)

: มาณโว ถึ โอภาโส นาเมโสติ ปริวตฺติตฺวา นิปฺปนฺโน ว สตถารํ ทิสฺวา ฯเปฯ (๑/๒๔)

         (๓) ตูนาทิ ปัจจัย มี ตฺว า เป็นต้น ใช้กับกิริยาอาการที่แสดงการกระทำไม่นาน ทำกิริยานี้เบ็ดเสร็จแล้วก็ไปทำกิริยาอื่นต่อไป ไม่หยุดค้าง เป็นไปเรื่อยๆ ตามลำดับ เช่น

: อเถกทิวสํ มหาปาโล อริยสาวเก คนฺธมาลาทิหตฺเถ วิหารํ คจฺฉนฺเต ทิสฺวา “อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉตีติ ปุจฺฉิตฺวา  “ธมฺมสฺสวนายาติ สุตฺวา  “อหํปิ คมิสฺสามีติ คนฺตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา ปริสปริยนฺเต นิสีทิ ฯ (๑/๔)

 

กาลพิเศษ

         กาลพิเศษหมายถึง กาลที่นอกเหนือไปจากกาลที่กล่าวแล้ว ซึ่ง ส่วนมากมาเดี่ยวๆ แต่กาลพิเศษนี้มาเป็นคู่ๆ ใช้เป็นคู่ๆ เป็นกิริยาที่ทำพร้อมกันบ้าง ต่อเนื่องกันบ้าง เช่น อนฺต มาน ปัจจัย มาคู่กับ ตูนาทิ ปัจจัย, ต ปัจจัยมาคู่กับกิริยาอาขยาต เป็นต้น

         ข้อนี้มีความลึกซึ้งอยู่ จัดเป็นอรรถรสของภาษาชนิดเยี่ยมยอด ทีเดียว จึงควรพยายามทำความเข้าใจ “ให้ถึง” มิฉะนั้นแล้วอาจทำให้ เสียความและเสียอรรถรสของภาษาได้ ดังจะได้แยกแยะวิธีการและเหตุผลที่ต้องใช้อย่างนั้น พร้อมทั้งความหมายของตอนนั้นๆ ไว้พอเป็นแนวทางศึกษา ดังต่อไปนี้

         (๑) อนฺต มาน ปัจจัย มาคู่กับ ตูนาทิ ปัจจัย (อนฺต, มาน+ตูน, ตฺวา, ตฺวาน)

         เมื่อตัวประธานกำลังทำกิริยาอย่างหนึ่งอยู่ บังเอิญมีกิริยาอีก อย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาในขณะนั้น กิริยาที่กำลังทำอยู่ท่านให้ใช้ อนฺต มาน ปัจจัย กิริยาที่เกิดขึ้นในลำดับกัน ท่านให้ใช้ ตูนาทิ ปัจจัย ดังตัวอย่าง

: โส เอกทิวสํ นหานติตฺถํ คนฺตฺวา นหาตฺวา อาคจฺฉนฺโต อนฺตรามคฺเค สมฺปนฺนสาขํ  เอกํ วนปฺปตึ ทิสฺวา ฯเปฯ (๑/๓)

         ตามตัวอย่างนี้ อาคจฺฉนฺโต เป็นกิริยาที่กำลังทำ คือกำลังเดิน มา ในขณะนั้นมี ทิสฺวา เกิดขึ้นมาแทรก ทิสฺวา เป็นตูนาทิปัจจัย เห็นแล้ว ก็ทำกิริยาอื่นต่อไป เช่นนี้ ก็ได้ความหมายว่า ขณะกำลังเดินมานั่นแหละ จึงได้เห็น

         แต่ถ้าใช้กาลผิด โดยเรียงเป็นว่า ฯเปฯ นหาตฺวา อาคนฺตฺวา อนฺตรามคฺเค สมปนฺนสาขํ เอกํ วนปฺปตึ ทิสฺวา ฯเปฯ ก็จะกลายเป็นว่า อาบนํ้าเสร็จแล้ว เดินมาเสร็จแล้ว จึงเห็นต้นไม้ในระหว่างทาง ซึ่งก็ผิดหลักความจริงว่า ก็มาแล้ว จะเห็นต้นไม้กลางทางได้อย่างไรกัน จะต้องเห็นในขณะที่มาจึงจะถูก

         ขอให้ดูประโยคต่อไปนี้เปรียบเทียบ

: ราชา ปเสนทิโกสโล ธมฺมํ สุณนฺโต ตํ สทฺทํ สุตฺวา  “ปุจฺฉถ นํ, กึ กิร เตน ชิตนฺติ” อาห ฯ

         (หมายความว่า ขณะทรงฟังธรรมอยู่ ก็ได้ทรงสดับเสียงนั้น สดับแล้ว จึงตรัสถาม ถ้าเรียงเป็นว่า ฯเปฯ ธมฺมํ สุณิตฺวา ตํ สทฺทํ สุตฺวา ฯเปฯ ก็จะได้ความหมายใหม่ว่า ทรงฟังธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทรงสดับเสียงนั้น ซึ่งก็ผิดไปจากความประสงค์ และความเป็นจริงของเรื่อง)

: ราชา อตฺตโน กายกมฺมาทีนิ โอโลเกนฺโต กิญฺจิ อยุตฺตํ อทิสฺวา กึ นุ โข การณนฺติ จินฺเตตฺวา ปพฺพชิตานํ  วิวาเทน ภวิตพฺพนฺติ ปริสงฺกมาโน กจฺจิ อิมสฺมึ นคเร ปพฺพชิตา อตฺถีติ ปุจฺฉิ ฯ (๑/๓๙)

         (พระราชาทรงตรวจกายกรรมของพระองค์ แต่ไม่ทรงพบว่าทรง มีความเสียหายใด ทรงดำริต่อไป กระทั่งทรงระแวงขึ้นมา เลยตรัสถาม)

 

         (๒) อนฺต มาน ปัจจัย มาคู่กับกิริยาคุมพากย์ (อนฺต, มาน + กิริยาคุมพากย์)

         เมื่อประธานของประโยคทำกิริยาอาการพร้อมๆ กัน ๒ อย่าง กิริยาอย่างหนึ่งทำหน้าที่คุมพากย์ อีกอย่างหนึ่งต้องประกอบด้วย อนฺต มาน ปัจจัยวางไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังกิริยาคุมพากย์นั้น ซึ่งแสดงว่า กิริยา ๒ อย่างนั้น ทำพร้อมกัน เกิดขึ้นพร้อมกัน

         ในกิริยา ๒ อย่างนั้น ให้ถือกิริยาอาการหรืออิริยาบถใหญ่ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ฯลฯ เป็นหลัก คือ ให้ประกอบเป็นกิริยา คุมพากย์

         อีกกิริยาหนึ่ง ให้ถือเป็นกิริยารองหรือกิริยาย่อย ประกอบด้วย อนฺต มาน ปัจจัย กิริยาคุมพากย์นั้นจะประกอบเป็นปัจจุบันกาลหรือ อดีตกาลก็แล้วแต่เนื้อความ

         สรุปง่ายๆ ก็คือ ถ้าทำกิริยาพร้อมกัน ๒ อย่าง ให้ประกอบ กิริยาย่อย ด้วย อนฺต มาน ปัจจัย ประกอบกิริยาใหญ่เป็นกิริยาคุมพากย์ เช่นตัวอย่าง

: ตสฺมึ สมเย สตฺถา ปวตฺติตปวรธมฺมจกฺโก  เชตวนมหาวิหาเร วิหรติ มหาชนํ สคฺคมคฺเค จ โมกฺขมคฺเค จ ปติฏฺฐาปยมาโน ฯ (๑/๔)

: เทวปุตฺโตปิ ฯเปฯ อาฬาหนสฺสาวิทูเร พาหา ปคฺคยฺห โรทนฺโต อฏฺฐาสิ ฯ (๑/๒๖)

         แม้ อนฺต มาน ปัจจัย ที่มาคู่กับ ต ปัจจัย ก็พึงเทียบเคียงตาม นัยนี้ เช่น

: วิสาขา สสุรํ วีชมานา  ฐิตา  ตํ ทิสฺวา อปคนฺตฺวา อฏฺฐาสิ ฯ (๓/๖อ)

 

         (๓) ตฺวา ปัจจัย มาคู่กับ อนฺต มาน ปัจจัย หรือ กิริยาอาขยาต (ตฺวา + อนฺต, มาน, กิริยาอาขยาต)

         ศัพท์ซึ่งประกอบด้วย ตฺวา ปัจจัย ทำกิริยาอาการพร้อมกับ กิริยาบทหลัง มีชื่อเรียกทางสัมพันธ์ว่า “สมานกาลกิริยา” ใช้ในกรณี ที่ประธานทำกิริยาพร้อมกัน ๒ อย่าง

         กิริยาอย่างหนึ่งทำเสร็จแล้ว แต่อีกกิริยาหนึ่งยังไม่เสร็จ หรือ เสร็จแล้วเช่นกัน กิริยาที่ทำเสร็จแล้วให้วางไว้ข้างต้น ประกอบด้วย ตฺวา ปัจจัย ส่วนกิริยาที่วางไว้หลัง ประกอบด้วย อนฺต มาน ปัจจัย หรือ เป็นกิริยาคุมพากย์ แล้วแต่ความ เช่น

: เอโก ปจฺเจกพุทฺโธ ฌานํ สมาปชฺชิตฺวา  นิสีทิ ฯ (นั่งเข้า ฌาน)

(แสดงว่า คำที่เป็นตัวเอน ๒ คำนี้ ทำพร้อมกัน มิใช่เข้าฌาน เสร็จแล้วจึงนั่ง)

: อมฺม ตว สสฺสุสสุรสามิกานํ อคุณํ ทิสฺวา พหิ ตสฺมึ ตสฺมึ เคเห ฐตฺวา มา กเถสิ ฯ (๓/๖๒) (อย่ายืนพูด)

(แสดงว่า ยืนกับพูดเป็นกิริยาทำพร้อมกัน มิใช่ยืนเสร็จแล้ว จึงพูด)

: อถ มํ รญฺญา ทินฺนปริหาเรน ตเถว อุคฺโฆสาเปตฺวา วิจรนฺตํ ปุนปิ ราชา ปกฺโกสาเปตฺวา ฯเปฯ

(แสดงว่า การโฆษณากับการเที่ยวไป ทำพร้อมกัน มิใซ่ โฆษณา เสร็จแล้ว จึงเที่ยวไป)

 

         (๔) ต ปัจจัย มาคู่กับ กิริยาอาขยาตหมวดวัตตมานา  (ต + วัตตมานา)

         ต ปัจจัย เป็นเรื่องของอดีต กิริยาวัตตมานาเป็นเรื่องของปัจจุบัน เมื่อทั้งสองมาคู่กันก็ได้ความหมายว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องจริงอย่างนี้ ซึ่ง ได้เกิดขึ้นเสร็จแล้ว และกำลังเป็นไปอยู่ในขณะนั้นด้วย

         ดังนั้น หากความตอนใดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังเป็นไป อยู่ ให้แต่งเป็นรูป “ต + วัตตมานา” เช่น

ความไทยว่า : ขณะนี้ อันตรายเกิดขึ้นแล้วในหมู่บ้านนั้น

: อิทานิ อนฺตราโย ตสฺมึ คาเม อุปฺปนฺโน  โหติ

(แสดงว่า ผู้พูดประสงค์ว่า เวลาที่พูดนั้นอันตรายเกิดขึ้นนาน แล้ว และยังเป็นไปอยู่ ยังไม่หมดไป )

ถ้าแต่งเป็นว่า : อิทานิ อนฺตราโย ตสฺมึ คาเม อุปฺปชฺชติ

(แสดงว่า ผู้พูดเน้นว่า อันตรายกำลังเกิดขึ้นอยู่ทีเดียว ซึ่งการเกิดยังไม่เสร็จสิ้น ก็เป็นผิดความประสงค์)

หรือแต่งว่า : อิทานิ อนฺตราโย ตสฺมึ คาเม อุปฺปนฺโน (หรือ อุปฺปชฺชิ)

(แสดงว่า อันตรายเกิดขึ้นเสร็จแล้ว เดี๋ยวนี้ผ่านไปแล้ว หรือยัง อยู่ยังไม่แน่ใจ และศัพท์ว่า อิทานิ กับ อุปฺปนฺโน หรือ อุปปชฺชิ  ค้าน กาลกันอยู่ในตัว)

ความไทยว่า : ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนกระผมเป็นสามเณร แต่เดี๋ยวนี้ กระผมเป็นคฤหัสถ์แล้ว อนึ่ง กระผมเมื่อบวช ก็ไม่ได้บวชด้วยศรัทธา บวช เพราะกลัวแต่อันตรายในหนทาง

: ภนฺเต อหํ ปุพฺเพ สามเณโร, อิทานิ ปนมฺหิ คิหี ชาโต, ปพฺพชนฺโตปิจาหํ น สทฺธาย ปพฺพชิโต, มคฺคปริปนฺถภเยน ปพฺพชิโต ฯเปฯ (๑/๑๔)

         (ชาโต แสดงว่า การเป็นคฤหัสถ์นั้น เกิดแล้ว เป็นแล้ว อมฺหิ แสดง ว่าการกลับเป็นคฤหัสถ์ยังดำรงอยู่ แต่ ปพฺพชิโต ท่านไม่ใส่ อมฺหิ เข้า มากำกับ เพราะขณะนั้น ผู้พูดมิใช่นักบวชแล้ว การบวชเป็นอดีตไป แล้ว ไม่ได้คงอยู่ในขณะนั้น ท่านจึงไม่ใส่ เป็นว่า ปพฺพชิโตมฺหิ ถ้า แต่งหรือแปล เป็น ปพฺพชิโตมฺหิ ก็จะกลายเป็นว่าบวชแล้ว และยังเป็น นักบวชอยู่ ซึ่งก็ย่อมผิดความจริง ดังนั้น ทั้งแต่งและแปลจึงไม่ต้องใส่ อมฺหิ เข้ามาคุมอีกในประโยคนี้)

         พึงดูประโยคต่อไปนี้เทียบเคียง

: กุโต อาคโตสิ ฯ (๑/๑๑๔)

: ตสฺมึ ขเณ มฏฐกุณฺฑลี อนฺโตเคหาภิมุโข นิปนฺโน  โหติ ฯ (๑/๒๕)

 

         (๕) ต ปัจจัย มาคู่กับกิริยาอาขยาตหมวดสัตตมีวิภัตติ (ต + สัตตมี) ใช้กับเนื้อความที่ผู้พูด หรือผู้เขียนไม่แน่ใจว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นมี อย่างนั้นจริงหรือไม่ เป็นเพียงคาดคะเนเอาเท่านั้น ซึ่งการคาดคะเน นั้นอาจไม่เกิดขึ้นอย่างนั้นก็ได้ ลักษณะภาษามคธเช่นนี้ ตรงกับภาษา ไทยว่า “คงจะ, น่าจะ” นั่นเอง เช่น

: ตํ กมฺมํ เตน กตํ ภเวยฺยํ ฯ

(แสดงว่า ผู้พูดคาดเอาว่า น่าจะผู้นั้นเองที่ทำกรรมนั้น หรือกรรมนั้น คงจะเป็นกรรมที่ผู้นั้นทำไว้)

: โส เถโร อาคโต ภเวยฺย ฯ

(แสดงว่า ผู้พูดไม่แน่ใจ จึงคาดเอาว่าน่าจะมาแล้ว)

         (๖) ต ปัจจัย มาคู่กับกิริยาอาขยาตหมวดภวิสฺสนฺติ (ต + ภวิสสันติ)

         ข้อความใด เป็นเรื่องคาดคะเนถึงอนาคต ซึ่งเรื่องที่คาดคะเนนั้นอาจมีจริงหรือไม่มีจริงก็ได้ แต่ถ้ามีจริงเป็นจริงตามที่คาดคะเน ก็จะต้องเกิดมีขึ้นมานานแล้วด้วย ข้อความเช่นนี้จะต้องใช้ ต ปัจจัย กับ กิริยาอาขยาตหมวดภวิสสันติ ต ปัจจัย บ่งถึงเรื่องที่มีมานานแล้ว ภวิสสันติบ่งถึงอนาคตซึ่งไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น

: ต้นไม้นี้จักถูกเทาดาศักดิ์ใหญ่สิ่งอยู่แน่

: อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต ภวิสฺสติ ฯ (๑/๓)

(ศัพท์ว่า ปริคฺคหิโต แสดงว่า ถ้าสิงอยู่ก็สิงนานแล้ว ภวิสสันติ แสดงถึงการคาดคะเน ยังไม่แน่ใจ)

ถ้าเรียงใหม่ว่า อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคยฺหิสสติ ฯ ความก็จะกลายเป็นว่า คาดการณ์ข้างหน้า ซึ่งเป็นอนาคตแท้ และ เป็นการแสดงความมั่นใจว่าต่อไปจักเป็นอย่างนั้นแน่

         ขอให้ดูประโยคต่อไปนี้เปรียบเทียบ

: ตยาปิ โกจิ นิทฺโทโส ปุริมภเว อกฺกุฏฺโฐ ภวิสฺสติ ปหโฏ ภวิสฺสติ ฯ (๑/๔๑)

: เอตสฺมึ ปพฺพเต วสติ, อุโปสถทิวเส ปน อคฺคึ น ชาเสสิ, นูน มโต ภวิสฺสติ ฯ (๒/๒)

: อชฺช อมฺหากํ ราชภาโว ตุมฺเหหิ ญาโต ภวิสฺสติ ฯ (๓/๔๓)

         ข้อสังเกต ประโยค ต + สัตตมี กับประโยค ต+ภวิสสันติ มีความคล้ายคลึงกันมาก ในแง่ที่เป็นประโยคที่บ่งเนื้อความที่ไม่แน่นอนหรือคาดคะเนเอาเหมือนกัน แต่ก็พอมีข้อสังเกตอยู่บ้าง คือ ประโยค ต + สัตตมี จะมุ่งความที่ผู้พูดหรือผู้เขียนไม่แน่ใจว่าจะเกิดจริง มีจริงหรือไม่ คาดเอาเท่านั้น ส่วนประโยค ต + ภวิสสันติ จะมุ่งการคาดคะเนทั้งหมดว่า คงจะเกิดจะมีแน่นอน และคงจะเกิดหรือมีมานานแล้ว นักศึกษาพึงเปรียบ เทียบประโยคต่อไปนื้ดู ก็พอจะมองเห็นความแตกต่างกันได้บ้าง คือ

: ตํ การณํ มรมฺมรฏฺเฐ ชาตํ ภเวยฺย

: ตํ การณํ มรมฺมรฏฺเฐ ชาตํ ภวิสฺสติ

:โส ธมฺมํ สุตฺวา ปฐมผลํ ปตฺโต ภเวยฺย

:โส ธมฺมํ สุตฺวา ปฐมผลํ ปตฺโต  ภวิสฺสติ

 

         (๗) ตพฺพ ปัจจัย มาคู่กับ โหติ (ตพฺพ + โหติ) ใช้กับ เนื้อความที่ เป็นการบังคับ ต้องปฏิบัติตามแน่นอน ถ้าไม่ปฏิบัติตามย่อมจะมีข้อ เสียหาย ตพฺพ ปัจจัยบ่งถึงความบังคับ โหติ บ่งถึงความแน่นอน และ เป็นความแน่นอนอย่างนั้นตลอดกาล ทุกยุคทุกสมัยไม่เปลี่ยนแปลงตรง กับภาษาไทยว่า “จะต้อง” หรือ “เป็นเรื่องที่จะต้อง” เช่น

: กิญฺจาปิ อทฺธานํ ปริกฺขยํ คจฺฉติ, อถโข ปุจฺฉิตฺวา คนตพฺพํ โหติ ฯ

(แสดงว่า ทางไกลนั้นผู้เดินทางจะต้องถาม ถ้าไม่ถาม จะทำให้หลง และทำให้เกิดความเสียหายได้)

: ตทเหว ตโยชนมคฺคํ คนฺตุกามสฺส ปุริสสฺส อนฺตรามคฺเค รุกฺขปพฺพตตฬากาทีสุ วิลมฺพมานสฺส มคฺโค ปริกฺขยํ น คจฺฉติ, ทวีหตีเหน ปริโยสาเปตพฺโพ โหดิ ฯ

(แสดงว่า จะเดินทางในวันเดียว ๓ โยชน์ ถ้ามัวโอ้เอ้ อยู่ จะต้องใช้เวลาถึง ๒- ๓ วัน กว่าจะสิ้นสุดการเดินทาง ทำให้เสียเวลา)

         เรื่องกาลเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นเรื่องซับซ้อน ดังแสดงมา ฉะนี้ จึงสมควรที่จะได้ทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง และเข้าให้ถึงอรรถรสจริงๆ จึงจะสามารถใช้กาลได้ถูกต้อง เมื่อแต่งไปแล้วย่อมได้ใจความถูกต้อง ชัดเจน หากใช้ผิดกาลเสียตอนใดตอนหนึ่ง นอกจากจะทำให้เสียรสภาษาแล้ว ยังอาจผิดที่ประสงค์ เป็นเหตุให้เสียคะแนนได้เหมือนกัน

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


47371132
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
36148
54808
235895
46849926
857470
1172714
47371132

Your IP: 3.133.139.28
2024-11-21 15:55
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search