หลักการแปลมคธเป็นไทย มี ๙ อย่าง ต้องดำเนินการแปลไปตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ลำดับใดไม่มีในประโยค ก็ให้ข้ามไป แต่ประธานและกิริยาคุมพากย์ ถ้าไม่มี ต้องเติมเข้ามาแปล (ยกเว้นประโยคภาววาจก ไม่มีประธาน และประโยคลิงคัตถะ ไม่มีกิริยาคุมพากย์)
ถ้ามีอนภิหิตกัตตา แปลว่า "อัน" ลงในอรรถตติยาวิภัตติ หรือ การิตกัมมะ แปลว่า "ยัง" ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ ของกิริยาใด* ให้แปลก่อนกิริยานั้นเสมอ
(ลงวิภัตติอื่นก็มี เช่น ลงฉัฏฐีวิภัตติ แต่แปลลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า "อัน" เรียกชื่อว่า ฉัฏฐีอนภิหิตกัตตา
ลงฉัฏฐีวิภัตติ แต่แปลลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ แปลว่า "ยัง" เรียกชื่อว่า ฉัฏฐีการิตกัมมะ ฯลฯ)
* อนภิหิตกัตตา การิตกัมมะ มีในกัมมวาจก ภาววาจก เหตุกัตตุวาจก เหตุกัมมวาจก
ประโยคแทรก ปรากฏอยู่ส่วนใดของประโยค ก็ให้แปลทันที เช่น ถ้าอยู่ต้นประโยคหลัก ก็แปลได้ทันที ไม่ต้องแปลประธานของประโยคหลักเสียก่อน
คำอธิบายรายละเอียดลำดับการแปลข้างต้นนั้น ดังนี้
คำร้องเรียก มี 2 อย่าง คือ
อาลปนะนาม ถ้ามาพร้อมกับอาลปนะนิบาต 5 ตัวนี้ คือ ภนฺเต ภทนฺเต อาวุโส อมฺโภ ภเณ
ให้แปลอาลปนะนามก่อน แล้วจึงแปลอาลปนะนิบาต เช่น
วเทหิ ตาว อาวุโส ปาลิต.
ดูก่อนปาลิตะ ผู้มีอายุ อ.ท่าน จงกล่าว ก่อน. (ธบ1/จักขุบาล)
อาลปนะนาม ถ้ามาพร้อมกับอาลปนะนิบาต 5 ตัวนี้ คือ ยคฺเฆ เร อเร เห เช ให้แปลอาลปนะนิบาตก่อน เช่น
อเร ขุชฺเช อติพหโลฏฺฐกโปลํ เต มุขํ. (ธบ2/สามาวตี)
เฮ้ย แน่ะหญิงค่อม อ.ปาก ของเจ้า มีริมฝีปากและกระพุ้งแก้มอันหนายิ่ง.
ถ้ามีอาลปนะนามหลายบท ให้แปลที่อยู่หน้าก่อนเสมอ แล้วแปลอาลปนนามที่เหลือ เป็นบทวิเสสนะ เช่น
อนฺธพาล อหิริก ตฺวํ มยา สทฺธึ วตฺตุํ น ยุตฺตรูโปสิ. (ธบ3/สุปฺปพุทฺธกุฏฺฐิ)
ดูก่อนอันธพาล ผู้ไม่มีความละอาย อ.ท่าน เป็นผู้มีรูปไม่ควรแล้ว เพื่ออันกล่าว กับ ด้วยเรา ย่อมเป็น.
อาลปนะนามที่กล่าวถึง ชื่อ แซ่, โคตร สกุล ให้แปลก่อนเสมอ แล้วแปลอาลปนนามหรืออาลปนนิบาตอื่นๆ เป็นบทวิเสสนะ เช่น
ชูตกมฺเมน โภ โคตม ชีวามิ.
ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ อ.ข้าพระองค์ ย่อมเป็นอยู่ ด้วยการเล่นสะกา. (4/อนตฺถปุจฺฉกพฺราหฺมณ)
อิงฺฆ ปสฺส มหาปญฺญ มหาโมคฺคลฺลาน มหิทฺธิก. (ธบ8/อุคฺคเสนเสฏฺฐิปุตฺต)
ข้าแต่พระมหาโมคคัลลานะ ผู้มีปัญญามาก ผู้มีฤทธิ์มาก เชิญเถิด อ.ท่าน จงดู.
ภนฺเต ปิณฺโฑลภารทฺวาช.
แน่ะท่านปิณโฑลภารัทวาชะ ผู้เจริญ.
บอกเนื้อความต่างๆ มีดังนี้
กิร ขลุ สุทํ, หนฺท ตคฺฆ อิงฺฆ, อาม อามนฺตา, สเจ เจ อถ ยทิ ยนฺนูน อปฺเปวนาม, หิ จ ปน, อถวา อถโข
คือศัพท์ที่ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ หรือ แปลออกสำเนียงสัตตมีวิภัตติได้ และบอกกาลเวลา โดยเฉพาะที่วางไว้ต้นๆ ประโยค
คือศัพท์ที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ หรือแปลออกสำเนียงปฐมาวิภัตติได้
คือ บทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับตัวประธาน
ที่เข้ากับประธาน ได้แก่ กิริยากิตก์
อนฺต ตวนฺตุ ตาวี มาน ต 5 ตัวนี้ ต้องมี ลิงค์ วิภัตติ วจนะ เสมอกับประธาน
ตูน ตฺวา ตฺวาน 3 ตัวนี้ ไม่ต้องแจกด้วยวิภัตติ
คือ บทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับกิริยาในระหว่าง
ได้แก่ กิริยาอาขยาตทั้งหมด และกิริยากิตก์ 3 ตัว คือ ต อนีย ตพฺพ (ที่มีประธานเป็นปฐมบุรุษ)
(บทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับกิริยาคุมพากย์)
(กิริยากิตก์ หรือ กิริยาอาขยาต ที่เข้าสมาสแล้ว จัดเป็นนามนามหรือคุณนาม เช่น ทิฏฺฐปุพฺโพ วยปฺปตฺโต นตฺถิปูโว ใช้เป็นกิริยาในระหว่าง หรือกิริยาคุมพากย์ไม่ได้)
ที่มา http://www.palidict.com
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710