เก็บตกข้อสอบสนามหลวง ธรรมวิภาค นักธรรมตรี

ทุกะ คือ หมวด ๒

๑. หิริ และ โอตตัปปะ ได้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกบาล เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๖)
     ตอบ
: เพราะเป็นคุณธรรมที่ทำให้บุคคลรังเกียจและเกรงกลัวต่อบาปทุจริต ไม่กล้าทำความชั่วทั้งในที่ลับ และที่แจ้ง

๒. พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมอะไรไว้สำหรับคุ้มครองโลก? (๒๕๕๕)
     ตอบ :
ทรงสอนไว้ ๒ คือ
                      ๑. หิริ ความละอายต่อบาป
                      ๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลบาป ฯ

๓. บุพพการีและกตัญญูกตเวทีได้แก่บุคคลเช่นไร ? (๒๕๕๔)
     ตอบ :
บุพพการีได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน  กตัญญูกตเวทีได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ

๔. ธรรมมีอุปการะมากมีอะไรบ้าง ? ที่ว่ามีอุปการะมากนั้นเพราะเหตุไร ? (๒๕๕๓)
     ตอบ
: มี สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯเพราะทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการทำกิจการงานใด ๆ และเป็นอุปการะให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ

๕. บุพพการีและกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ? จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่ (๒๕๕๒)
     ตอบ :
บุพพการี  ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน  กตัญญูกตเวที  ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว  และตอบแทน (ตอบเพียง ๒ คู่)
                     คู่ที่ ๑ มารดาบิดากับบุตรธิดา
                     คู่ที่ ๒ ครูอาจารย์กับศิษย์
                     คู่ที่ ๓ พระราชากับราษฎร
                     คู่ที่ ๔ พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท ฯ

๖. การที่บุคคลพบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัดตาย จัดเป็นโอตตัปปะ ได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? (๒๕๕๑)
     ตอบ :
ไม่ได้ ฯ เพราะไม่ใช่ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ

๗. ในทางโลก ดูคนงามกันที่รูปร่างหน้าตา  ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่ไหน ? (๒๕๕๐)
     ตอบ
: ในทางพระพุทธศาสนา ดูคนงามกันที่มีคุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ  คือ ขันติ ความอดทน และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ฯ

๘. หิริกับโอตตัปปะ ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๔๙)
     ตอบ
: ต่างกันอย่างนี้ หิริ คือ ความละอายใจตนเองที่จะประพฤติชั่วผลของความชั่วที่ตนจะได้รับ ฯ

๙. ธรรมมีอุปการะมาก ได้แก่อะไรบ้าง ?  บุคคลผู้ขาดธรรมนี้จะเป็นเช่นไร ? (๒๕๔๘)
     ตอบ
: ได้แก่ สติ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ  จะเป็นคนหลงลืม จะทำจะพูดหรือจะคิดอะไรมักผิดพลาด ฯ

๑๐. บุพพการีและกตัญญูกตเวที คือบุคคลเช่นไร ?  จัดเป็นคู่ไว้อย่างไรบ้าง ? (๒๕๔๘)
     ตอบ
: บุพพการี คือบุคคลผู้ทำอุปการะก่อน  กตัญญูกตเวที คือบุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ  จัดเป็นคู่ไว้ดังนี้  บิดามารดา กับ บุตรธิดา,  ครูอาจารย์ กับ ศิษย์,  พระมหากษัตริย์ กับ ประชาราษฎร์, พระพุทธเจ้า กับพุทธบริษัท,  เป็นต้น ฯ

๑๑. ขันติ กับ โสรัจจะ เป็นธรรมทำให้งามได้อย่างไร ? (๒๕๔๗)
     ตอบ
: ขันติ ความอดทน   โสรัจจะ ความเสงี่ยม  ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยธรรมทั้ง ๒ นี้ ย่อมมีใจหนักแน่นไม่แสดงความวิการออกมาให้ปรากฏ  แม้จะประสบความดีใจ เสียใจ ก็อดกลั้นได้  รักษากาย วาจา ใจให้สุภาพสงบเสงี่ยมเป็นปกติไว้ได้  จึงทำให้งาม ฯ

๑๒. บุพพการี ได้แก่บุคคลเช่นไร ?  พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในฐานะบุพพการีของพุทธบริษัทอย่างไร ? (๒๕๔๗)
     ตอบ
: ได้แก่ บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน ฯ  พระพุทธเจ้าทรงกระทำอุปการะแก่พุทธบริษัทก่อน ด้วยการทรงแนะนำสั่งสอนให้รู้ดีรู้ชอบตามพระองค์ เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ทั้ง ๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน  จึงชื่อว่าเป็นบุพพการี ฯ

ติกะ คือ หมวด ๓

๑. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ก.พาหุสัจจะ  ข.อกุศลมูล  ค.อินทรียสังวร  ฆ.อนัตตา  ง.กามฉันท์ ฯ
     ตอบ
: ก.ความเป็นผู้ศึกษามาก  ข.รากเหง้าของอกุศล  ค.ความสำรวมอินทรีย์  ฆ.ความเป็นของไม่ใช่ตน  ง.ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น

๒. การทำบุญโดยย่อมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๖)
     ตอบ
: มี ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา

๓. คำต่อไปนี้มีความหมายว่าอย่างไร?  (๒๕๕๕)
   
๑.สัมปชัญญะ  ๒.กตัญญูกตเวที ๓.กายทุจริต๔.มาตาปิตุอุปัฏฐาน ๕.ปุพเพกตปุญญต
     ตอบ : ๑.สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้ตัว
                ๒.กตัญกตเวที หมายถึง บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน
                ๓.กายทุจริต หมายถึง ความประพฤติชั่วทางกาย
                ๔.มาตาปิตุอุปัฏฐาน หมายถึง การบำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
                ๕.ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในในปางก่อน ฯ

๔. การสำรวมอินทรีย์ ได้แก่การกระทำอย่างไร? เมื่อกระทำเช่นนั้นแล้วจะได้รับประโยชน์อะไร? (๒๕๕๕)
     ตอบ :
การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดี ยินร้าย เมื่อเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส กายสัมผัส รู้ธรรมารมณ์ ฯได้ประโยชน์ คือ ไม่เกิดความยินดี ไม่เกิดความยินร้าย ในเวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น ฯ

๕. พระพุทธเจ้าคือใคร ? ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์อย่างไร ? (๒๕๕๔)
    
ตอบ : คือท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจตามพระธรรมวินัย ฯ ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ

๖. เห็นผิดจากคลองธรรม คือเห็นอย่างไร ? จัดเข้าในทุจริตข้อไหน ? (๒๕๕๔)
     ตอบ
: คือเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นว่า บุญบาปไม่มี บิดามารดาไม่มีพระคุณ เป็นต้น ฯ จัดเข้าในมโนทุจริต ฯ

๗. รากเหง้าของอกุศลเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? เพราะเหตุใดจึงควรละเสีย ? (๒๕๕๔)
     ตอบ
: เรียกว่า อกุศลมูล ฯมี โลภะ โทสะ โมหะ ฯเพราะเมื่ออกุศลมูลเหล่านี้มีอยู่ อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นที่เกิดแล้วก็เจริญ มากขึ้น ฯ

๘. ในรัตนะ ๓ พระธรรม ได้แก่อะไร ? ให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ? (๒๕๕๓)
     ตอบ
: ได้แก่พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ

๙. พระโอวาทของพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่าหัวใจพระศาสนา มีกี่ข้อ ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๓)
     ตอบ
: มี ๓ ข้อ ฯ คือ
                ๑. เว้นจากทุกจริต คือประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
                ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ
                ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

๑๐. ทุจริต คืออะไร ? ความเห็นว่าคุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ไม่มีบุญบาปไม่มี จัดเป็นทุจริตข้อไหน ? (๒๕๕๓)
     ตอบ
: คือ ประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ ฯจัดเป็นมโนทุจริต ฯ

๑๑. ไตรลักษณะ ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๓)
     ตอบ
: ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
                ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
                ๓. อนัตตตา ความเป็นของใช่ตนฯ

๑๒. อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมีกี่อย่าง ?   ข้อที่ว่า “ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์” นั้นคืออย่างไร ? อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมีกี่อย่าง ?   ข้อที่ว่า “ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์” นั้นคืออย่างไร ? (๒๕๕๒)
     ตอบ
: มี ๓ อย่าง ฯคือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ

๑๓. มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่ว เรียกว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ?  เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรปฏิบัติอย่างไร ? (๒๕๕๒)
     ตอบ
: เรียกว่า อกุศลมูล ฯ มี ๑. โลภะ อยากได้
                        ๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา
                        ๓. โมหะ หลงไม่รู้จริง ฯ  เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรละเสีย  ด้วยทาน ศีล ภาวนา ฯ

๑๔. พระสงฆ์ในรัตนตรัยมีคุณอย่างไร ?   (๒๕๕๑)
     ตอบ
: ท่านปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนให้ผู้อื่นกระทำตามด้วย ฯ

๑๕. โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่างมีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๑)
     ตอบ : มี ๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ
                       ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ
                       ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ  หลง เป็นต้น ฯ

๑๖. มโนสุจริตคืออะไร ?   มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๐)
     ตอบ
: คือ การประพฤติชอบด้วยใจ ฯ มี ๑. ไม่โลภอยากได้ของเขา  ๒. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา  ๓. เห็นชอบตามคลองธรรม ฯ 

๑๗. คำว่า  พระธรรม  ในรัตนะ ๓ คืออะไร ?  มีคุณอย่างไร ? (๒๕๔๙)
     ตอบ
: คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ   มีคุณ คือ รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ

๑๘. โอวาทของพระพุทธเจ้ามีกี่อย่าง ?  อะไรบ้าง ? (๒๕๔๙)
     ตอบ
: มี ๓ อย่าง คือ ๑.เว้นจากทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย ๒.ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกายวาจา ใจ ๓.กระทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลงเป็นต้น ฯ

๑๙. คนเราจะประพฤติดีหรือประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากอะไร ? (๒๕๔๙)
     ตอบ
: คนประพฤติดีมีมูลเหตุมาจากอโลภะ อโทสะ อโมหะ ส่วนคนประพฤติชั่วมีมูลเหตุมาจากโลภะ โทสะ โมหะ ฯ

๒๐. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๘)
     ตอบ
: เพราะเป็นของมีคุณค่าและหาได้ยาก เหมือนเพชรนิลจินดามีค่ามาก นำประโยชน์ และความสุขมาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ฯ   

๒๑. เพราะเหตุไร หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนเรื่องการทำใจของตให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง ? (๒๕๔๗)
     ตอบ
: เพราะใจเป็นธรรมชาติสำคัญ   ถ้าใจเศร้าหมอง  ก็เป็นเหตุให้ทำชั่ว   การทำชั่วมีผล เป็นความทุกข์ ถ้าใจผ่องแผ้ว ก็เป็นเหตุให้ทำดี  การทำดีมีผลเป็นความสุข ฯ

๒๒. บุญกิริยาวัตถุ คืออะไร ?  ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ นั้น ข้อไหนกำจัดความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ? (๒๕๔๗)
     ตอบ
: คือ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ฯ  ทานมัยกำจัดความโลภ  สีลมัยกำจัดความโกรธ  ภาวนามัยกำจัดความหลง ฯ

จตุกกะ คือหมวด ๔

๑. เหตุให้เกิดทุกข์ในอริยสัจ คืออะไร ? (๒๕๕๖)
    
ตอบ : คือ ตัณหา ความทะยานอยาก

๒. ผู้จะดำรงความยุติธรรมไว้ได้ ต้องประพฤติอย่างไรบ้าง? (๒๕๕๕)
     ตอบ
: ต้องประพฤติดังนี้
                   ๑. ไม่ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน อันเรียกว่า ฉันทาคติ
                   ๒. ไม่ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน อันเรียกว่า โทสาคติ
                   ๓.ไม่ลำเอียงเพราะเขลา อันเรียกว่า โมหาคติ
                   ๔.ไม่ลำเอียงเพราะกลัว อันเรียกว่า ภยาคติ ฯ

๓. ทุกข์ในอริยสัจ ๔ คืออะไร ? เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไร ? (๒๕๕๔)
     ตอบ :
คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ  คือ ตัณหาความทะยานอยาก ฯ

๔. พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๓)
     ตอบ
: มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ฯเพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ ฯ          

๕. นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำอิทธิบาทมาใช้อย่างไร ? (๒๕๕๓)
     ตอบ
: ในเบื้องต้น ต้องสร้างฉันทะคือความพอใจในการศึกษาเล่าเรียนก่อน เมื่อมีความพอใจ จะเป็นเหตุให้ขยันศึกษาหาความรู้ที่เรียกว่าวิริยะและเกิดความใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ที่เรียกว่าจิตตะ และเมื่อเรียนรู้แล้วก็ต้องนำความรู้นั้นมาใคร่ครวญพิจารณาให้เข้าใจเหตุและผลอย่างถูกต้องที่เรียกว่า วิมังสา ดั่งนี้ก็จะประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนได้ ฯ

๖. ปัญญาอันเห็นชอบอย่างไร จึงชื่อว่ามรรคในอริยสัจ ๔ ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๒)
     ตอบ
: ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์  สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด  สิ่งนี้ความดับทุกข์  สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์  ได้ชื่อว่ามรรค ฯ   เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ

๗. อินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ อินทรีย์ได้แก่อะไรบ้าง ?  (๒๕๕๑)
     ตอบ
: ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ

๘. ธรรมหมวดหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติขาดความเที่ยงธรรมชื่อว่า   อะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๑)
     ตอบ
: ชื่อว่า อคติ ความลำเอียง ฯ มี
                ๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน
                ๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน
                ๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
                ๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว ฯ

๙. ธาตุ ๔ มีธาตุอะไรบ้าง ? ธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง คือธาตุอะไร ? (๒๕๕๑)
     ตอบ
: คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ คือ ธาตุดิน ฯ

๑๐. อิทธิบาท คือ ธรรมเป็นคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ของบุคคล  ส่วนธรรมอันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๐)
     ตอบ
: คือ นิวรณ์ ๕ ฯ  มี ๑. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น  ๒. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น ๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม  ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕. วิจิกิจฉา  ลังเลไม่ตกลงได้ ฯ

๑๑.  ปธานคือความเพียร ๔ มีอะไรบ้าง ?  งดเหล้าเข้าพรรษาอนุโลมเข้าในปธานข้อไหน ? (๒๕๔๙)
     ตอบ
: มี ๑.สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
                 ๒.ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
                 ๓.ภาวนาปธาน พียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
                 ๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมฯ อนุโลมเข้าในปหานปธาน ฯ

๑๒. ธรรม ๔ อย่าง ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ ข้อว่า “คบสัตบุรุษ คือคนดี”  นั้น จะนำไปสู่ความเจริญได้อย่างไร ? (๒๕๔๘)
     ตอบ
: เมื่อคบสัตบุรุษแล้วย่อมเป็นเหตุให้คิดดีพูดดีทำดี อันก่อให้เกิดความสุขความเจริญทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน ทั้งยังให้ถึงความเจริญอย่างที่สุดคือพระนิพพานได้ ฯ

๑๓. ปัจจยปัจจเวกขณะ หมายความว่าอย่างไร ? (๒๕๔๘)
    
ตอบ : หมายความว่า พิจารณา (ถึงคุณและโทษของปัจจัย ๔) ก่อน จึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา ฯ

ปัญจกะ คือหมวด ๕

๑. อภิณหปัจจเวกขณ์ คือข้อที่ควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ อย่าง ทรงสอนให้พิจารณาอะไรบ้าง ? (๒๕๕๖)
     ตอบ :
ทรงสอนให้พิจารณา
                ๑.ความแก่ ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
                ๒.ความเจ็บไข้ ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
                ๓.ความตาย ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
                ๔.ความพลัดพราก ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น
                ๕.กรรม ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดีทำชั่วจักได้ชั่ว

๒. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ย่อเป็น ๒ อย่างไร ? (๒๕๕๖)
     ตอบ :
ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์  อย่างนี้คือ รูปขันธ์ คงเป็นรูป เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์  ๔ ขันธ์นี้เป็นนาม

๓. คิดอย่างไรเรียกว่าพยาบาท? คิดอย่างนั้นเกิดโทษอะไร? (๒๕๕๕)
     ตอบ :
คิดปองร้ายผู้อื่น ฯ เกิดโทษคือปิดกั้นจิตใจไม่ให้บรรลุความดี ฯ

๔. อภิณหปัจจเวกขณ์ข้อว่า ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดังนี้ ผู้พิจารณาได้รับประโยชน์อย่างไร ? จงอธิบาย (๒๕๕๔)
     ตอบ
: ได้รับประโยชน์ คือ สามารถบรรเทาความพอใจรักใคร่ในของรักของชอบใจและป้องกันความทุกข์โทมนัส ในเวลาเมื่อตนต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ฯ

๕. ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง  คืออะไรบ้าง ?   ธรรม ๕ อย่างนั้น เรียกว่าอินทรีย์  เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๒)
     ตอบ :
คือ ๑.  สัทธา   ความเชื่อ
                   ๒.  วิริยะ    ความเพียร
                   ๓.  สติ      ความระลึกได้
                   ๔.  สมาธิ    ความตั้งใจมั่น
                   ๕.  ปัญญา   ความรอบรู้ ฯ  เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน ฯ

๖. ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่จะต้องมีอินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ สำรวมอินทรีย์นั้น คืออย่างไร ? (๒๕๕๐)
    
ตอบ : คือระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรสถูกต้องโผฏฐัพพะ  รู้ธรรมารมณ์ ฯ

๗. ควรพิจารณาทุก ๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทั้งสิ้น ข้อความนี้อยู่ในหมวดธรรมอะไร ?  ท่านให้พิจารณาอย่างนี้เพื่ออะไร ? (๒๕๕๐)
     ตอบ
: อยู่ในธรรมหมวดอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ ฯ   เพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งนั้น คนนั้น เป็นที่รักของเรา  จักไม่ต้องเสียใจในเมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้น คนนั้น จริง ๆ ฯ

๘. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ จัดเข้าในขันธ์ไหนในขันธ์ ๕ ?  เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๙)
     ตอบ
: จัดเข้าในสังขารขันธ์ ฯ เพราะความฟุ้งซ่านและรำคาญ เป็นเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นกับใจ ฯ

๙. ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ?  ย่อเป็น ๒ ได้อย่างไร ? (๒๕๔๘)
    
ตอบ : ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ ฯ รูปขันธ์จัดเป็นรูป   ที่เหลือจัดเป็นนาม ฯ

๑๐. ในพระพุทธศาสนา บุคคลผู้ฆ่ามารดาบิดา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม จะได้รับโทษอย่างไร ? (๒๕๔๗)
     ตอบ :
จะได้รับโทษคือ ต้องไปสู่ทุคติ ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ฯ

๑๑.  ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกว่าอะไร ?  ความดีที่ถูกกั้นไว้ไม่ให้บรรลุ หมายถึงความดีอย่างไหน ? (๒๕๔๗)
     ตอบ :
เรียกว่า นิวรณ์ ฯ  หมายถึงความดีทุกๆ อย่าง  แต่เมื่อกล่าวโดยตรงได้แก่สมาธิ คือการทำจิตใจให้สงบ ฯ

ฉักกะ คือหมวด ๖

๑. อายตนะภายใน ๖ ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๔)
     ตอบ :
ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ

๒. คารวะ คืออะไร ?   มีกี่อย่าง ?    ข้อว่า คารวะในความศึกษา  หมายถึงอะไร ? (๒๕๕๒)
     ตอบ
: คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ ฯ   มี ๖ อย่าง ฯ หมายถึง ความเคารพ เอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ

สัตตกะ คือหมวด ๗

๑. อริยทรัพย์ คือทรัพย์เช่นไร ?  เมื่อเทียบกับทรัพย์สินมีเงินทอง เป็นต้น ดีกว่ากันอย่างไร ? (๒๕๔๙)
     ตอบ :
คือ คุณงามความดีอย่างประเสริฐที่เกิดมีขึ้นในสันดาน มี ศรัทธา ศีลเป็นต้น ฯดีกว่ากัน เพราะเป็นคุณธรรมเครื่องบำรุงจิตให้อบอุ่น ไม่ต้องกังวล เดือดร้อน ใครจะแย่งชิงไปไม่ได้ ใช้เท่าใดก็ไม่ต้องกลัวหมดสิ้น  ทั้งสามารถติดตามไปได้ถึงชาติหน้า  เป็นที่พึ่งในสัมปรายภพได้ด้วย ฯ

๒. อปริหานิยธรรม คืออะไร ?  ข้อที่ ๔ ความว่าอย่างไร ? (๒๕๔๘)
     ตอบ
: คือ ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ฯ   ข้อที่ ๔ ความว่า ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ฯ

๓. สาราณิยธรรม แปลว่าอะไร ?  ธรรมข้อนี้ย่อมอำนวยผลแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ? (๒๕๔๗)
     ตอบ
: ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ฯ  ทำผู้ปฏิบัติตามให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

อัฏฐกะ คือหมวด ๘

๑. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรอย่างไร? (๒๕๕๕)
     ตอบ
: เพียรในที่ ๔ สถาน (สัมมัปปธาน ๔) คือ
                 ๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
                 ๒.เพียรละบาปทีเกิดขึ้นแล้ว
                 ๓.เพียรให้กุศลเกิดขึ้น
                 ๔.เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ

๒. โลกธรรม ๘ มีอะไรบ้าง? (๒๕๕๕)
     ตอบ
: คือ ๑.มีลาภ  ๒.ไม่มีลาภ  ๓.มียศ  ๔.ไม่มียศ  ๕.นินทา   ๖.สรรเสริญ   ๗.สุข  ๘.ทุกข์ ฯ

๓. มรรคมีองค์แปดจัดเข้าในสิกขา ๓ ได้หรือไม่ ?   ถ้าได้จงจัดมาดู (๒๕๕๐)
     ตอบ :
ได้ ฯ  จัดดังนี้
                 สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ จัดเข้าในปัญญาสิกขา
                 สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในสีลสิกขา
                 สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเข้าในจิตตสิกขา ฯ

๔. ในมรรคมีองค์ ๘  คำว่า  “เพียรชอบ”  คือเพียรอย่างไร ? (๒๕๔๘)
     ตอบ : คือ    เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
                      เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
                      เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
                      เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ฯ

๖. โลกธรรม คืออะไร ?  เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรพิจารณาอย่างไร ? (๒๕๔๗)
    
ตอบ : คือ ธรรมที่ครอบงำสัตวโลกอยู่ และสัตวโลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น ฯ ในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนเป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา ฯ

นวกะ คือหมวด ๙

๑. มละ คืออะไร ? เป็นศิษย์ได้ดีแล้วทำมึนตึงกับอาจารย์ จัดเข้าในมละอย่างไหน และควรชำระมละอย่างนั้นด้วยธรรมอะไร ? (๒๕๕๒)(๒๕๕๐)
    
ตอบ : มละคือมลทิน ฯ   จัดเข้าใน มักขะ ลบหลู่คุณท่าน   และควรชำระด้วยกตัญญูกตเวทิตา ความรู้คุณท่านแล้วตอบแทน ฯ

ทสกะ คือหมวด ๑๐

๑. บรรพชิตผู้พิจารณาเนือง ๆ ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำไรอยู่ จะได้รับประโยชน์อะไร ?(๒๕๕๖)
     ตอบ : จะได้รับประโยชน์คือเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร งดเว้นสิ่งที่เป็น ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์

คิหิปฏิบัติ จตุกกะ คือหมวด ๔

๑. มิตรแท้ มีกี่จำพวก ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๖)
     ตอบ
: มี ๔ จำพวก ฯ คือ
                 ๑.มิตรมีอุปการะ   ๒.มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข  ๓.มิตรแนะประโยชน์  ๔.มิตรมีความรักใคร่

๒. คุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้ มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๖)
     ตอบ
: มี ๑.ทาน  ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน 
                 ๒.ปิยวาจา  เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน 
                 ๓.อัตถจริยา  ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 
                 ๔.สมานัตตา  ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว

๓. ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งนานไม่ได้ เพราะเหตุอะไร? (๒๕๕๕)
     ตอบ
: เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ
                 ๑.ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
                 ๒.ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า
                 ๓.ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
                 ๔.ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน ฯ

๔. การอยู่ครองเรือนนั้น ควรมีธรรมอะไร? อะไรบ้าง? (๒๕๕๕)
     ตอบ :
ควรมีฆราวาสธรรม ๔ ฯ คือ
                 ๑.สัจจะ ความสัตย์ซื่อต่อกัน
                 ๒.ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน
                 ๓.ขันติ ความอดทน
                 ๔.จาคะ การสละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน ฯ

๕. ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๔)
     ตอบ
: เรียกว่า สังคหวัตถุ ฯ มี
                 ๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
                 ๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
                 ๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
                 ๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว

๖. จงจับคู่ข้อทางซ้ายมือกับข้อทางขวามือให้ถูกต้อง(๒๕๕๓)
                ก. จะทำดีทำชั่ว ก็ต้องคล้อยตาม                     ๑. มิตรดีแต่พูด
                ข. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว                        ๒. มิตรหัวประจบ
                ค. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้               ๓. มิตรมีความรักใคร่
                ง. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว                                 ๔. มิตรมีอุปการะ
                จ. ทุกข์ ๆ ด้วย สุข ๆ ด้วย                               ๕. มิตรแนะประโยชน์
     ตอบ
: ข้อ ก. คู่กับ ข้อ ๒.
                 ข้อ ข. คู่กับ ข้อ ๔
                 ข้อ ค คู่กับ ข้อ ๑
                 ข้อ ง คู่กับ ข้อ ๕
                 ข้อ จ คู่กับ ข้อ ๓.

๗. ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๒)
     ตอบ
: เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ฯ   มีดังนี้
                 ๑. อุฏฐานสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยความหมั่น  ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี  ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี  ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี
                 ๒. อารักขสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยการรักษา  คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น  ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี  รักษาการงานของตน  ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี
                 ๓.  กัลยาณมิตตตา  ความมีเพื่อนเป็นคนดี  ไม่คบคนชั่ว
                 ๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ไม่ให้  ฝืดเคืองนัก  ไม่ให้ฟูมฟายนัก ฯ

๘. ข้อว่า “แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้” ดังนี้ เป็นลักษณะของมิตรแท้  ประเภทใด ? (๒๕๕๑)
     ตอบ :
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ฯ

๙. คุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้ คืออะไร ?  มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๑)
     ตอบ :
คือ สังคหวัตถุ ๔ ฯ มี
                 ๑. ทาน  ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
                 ๒. ปิยวาจา  เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
                 ๓. อัตถจริยา  ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
                 ๔. สมานัตตตา  ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว ฯ

๑๐. คิหิปฏิบัติ คืออะไร ?  หมวดธรรมต่อไปนี้ คือ ๑. อิทธิบาท ๔  ๒. สังคหวัตถุ ๔  ๓. อธิษฐานธรรม ๔  ๔.ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๕. ปาริสุทธิศีล ๔  หมวดไหนมีในคิหิปฏิบัติ ? (๒๕๔๙)
     ตอบ
: คือ หลักปฏิบัติของคฤหัสถ์ ฯ ข้อ ๒. และข้อ ๔. มีในคิหิปฏิบัติ ฯ

๑๑. นาย ก เป็นผู้ฉลาดในการเล่นพนันฟุตบอล เขาหวังให้นาย ข ผู้เป็นเพื่อน มีเงินทองไว้ก่อร่างสร้างตัว จึงชักชวนนาย ข ให้เล่นด้วย นาย ก จัดเข้าในประเภทมิตรแนะประโยชน์ได้หรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๘)
     ตอบ :ไม่ได้  ฯ   เพราะ นาย ก กำลังชักชวนในทางฉิบหาย ผิดลักษณะมิตรแนะประโยชน์ ฯ

๑๒. บุคคลจะได้รับประโยชน์ปัจจุบัน จะต้องปฏิบัติตามหลักธรรมอะไร ? (๒๕๔๘)
    
ตอบ : ต้องปฏิบัติตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ คือ
                 ๑. อุฏฐานสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจการงานในการศึกษาเล่าเรียน  ในการทำธุระหน้าที่ของตน
                 ๒. อารักขสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยการรักษา ทั้งทรัพย์และการงาน ไม่ให้เสื่อมไป
                 ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว
                 ๔. สมชีวิตา  ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ฯ

๑๓. มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาความสุข พระพุทธศาสนาแสดงความสุขของผู้ครองเรือนไว้อย่างไร ? (๒๕๔๘)
     
ตอบ : แสดงไว้ ๔ อย่าง คือ
                 ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
                 ๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค
                 ๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้
                 ๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ฯ

คิหิปฏิบัติ ปัญจกะ คือหมวด ๕

๑. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ คือศีลอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๖)
    
ตอบ : คือ ศีล ๕ ฯ ได้แก่ 
                 ๑.เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป 
                 ๒.เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย 
                 ๓.เว้นจากการประพฤติผิดในกาม 
                 ๔.เว้นจากพูดเท็จ 
                 ๕.เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

๒. อุบาสกอุบาสิกา ได้แก่บุคคลเช่นไร ? การค้าขายที่ห้ามอุบาสกอุบาสิกาประกอบ คืออะไรบ้าง ? (๒๕๕๔)
      ตอบ :
ได้แก่ คฤหัสถ์ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ฯคือ
                 ๑. ค้าขายเครื่องประหาร
                 ๒. ค้าขายมนุษย์
                 ๓. ค้าขายสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
                 ๔. ค้าขายน้ำเมา
                 ๕. ค้าขายยาพิษ ฯ

๓. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๓)
    
ตอบ : มี ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
                 ๒. เว้นจากการลักทรัพย์
                 ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
                 ๔. เว้นจากการพูดปด
                 ๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ฯ

๔. มิจฉาวณิชชา คืออะไร ? การค้าขายเด็ก การค้าขายยาเสพติด การค้าขายเบ็ดตกปลา  จัดเป็นมิจฉาวณิชชาข้อใด? (๒๕๕๒)
     ตอบ :มิจฉาวณิชชา  คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ฯ
                  การค้าขายเด็ก  จัดเข้าในค้าขายมนุษย์
                  การค้าขายยาเสพติด  จัดเข้าในค้าขายน้ำเมา

๕. การค้าขายสุรา เป็นอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นไว้อย่างไร ? (๒๕๕๑)
     ตอบ : ทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นมิจฉาวณิชชา การค้าขายไม่ชอบธรรมเป็นข้อห้าม อุบาสกไม่ควรประกอบ ฯ

๖. เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว  ควรทำอะไรบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ในโภคทรัพย์ที่ได้มานั้น ? (๒๕๕๐)
     ตอบ
: ควรทำ   ๑.  เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข
                  ๒.  เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข
                  ๓.  บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ
                  ๔.  ทำพลี ๕ อย่าง คือ
                        ๔.๑  ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
                        ๔.๒  อติถิพลี ต้อนรับแขก
                        ๔.๓  ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
                        ๔.๔  ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีภาษีอากรเป็นต้น
                        ๔.๕  เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
                  ๕.  บริจาคทานในสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ ฯ

๗. การค้าขายสัตว์เพื่อเอาไปฆ่าเป็นอาหาร เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ?   เพราะเหตุไร ?   อุบาสกควรปฏิบัติอย่างไรในเรื่องนี้ ? (๒๕๕๐)
    
ตอบ : ไม่ผิด ฯ   เพราะไม่ได้เป็นผู้ฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า ฯอุบาสกควรเว้นการค้าขายชนิดนี้เสีย ฯ

คิหิปฏิบัติ ฉักกะ คือหมวด ๖

๑. จงบอกโทษของการดื่มสุรามาสัก ๓ ข้อ(๒๕๕๓)
     ตอบ :
มีโทษดังนี้ (ให้ตอบเพียง ๓ ข้อ)
                 ๑. เสียทรัพย์ ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท ๓. เกิดโรค๔. ต้องติเตียน ๕. ไม่รู้จักอาย ๖. ทอนกำลังปัญญา ฯ

๒. อบายมุข  คืออะไร ?  คบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษอย่างไร ? (๒๕๕๒)
     ตอบ : คือ  ทางแห่งความเสื่อม ฯ มีโทษอย่างนี้ คือ
                 ๑. นำให้เป็นนักเลงการพนัน
                 ๒. นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
                 ๓. นำให้เป็นนักเลงเหล้า
                 ๔. นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม
                 ๕. นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
                 ๖. นำให้เป็นคนหัวไม้ ฯ

๓. ทิศ ๖ ในคิหิปฏิบัติ มีอะไรบ้าง ?  แต่ละทิศหมายถึงใคร ? (๒๕๕๐)
    
ตอบ : มี ดังนี้
                 ๑. ทิศเบื้องหน้า หมายถึงมารดาบิดา
                 ๒. ทิศเบื้องขวา หมายถึงอาจารย์
                 ๓. ทิศเบื้องหลัง หมายถึงบุตรภรรยา
                 ๔. ทิศเบื้องซ้าย หมายถึงมิตร
                 ๕. ทิศเบื้องต่ำ หมายถึงบ่าว
                 ๖. ทิศเบื้องบน หมายถึงสมณพราหมณ์ ฯ

๔. คฤหัสถ์และบรรพชิต มีหน้าที่จะพึงปฏิบัติแก่กันและกันอย่างไรบ้าง ? (๒๕๔๗)
     ตอบ :
คฤหัสถ์ควรบำรุงบรรพชิตด้วยการทำ การพูด การคิดประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือ มิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน  ด้วยให้อามิสทาน   ส่วนบรรพชิตควรอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ด้วยห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม  ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง  ทำสิ่งที่เคยฟังมาแล้วให้แจ่ม บอกทางสวรรค์ให้

Leave a comment

You are commenting as guest.


46977403
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
7394
44870
127477
46606637
463741
1172714
46977403

Your IP: 223.24.152.133
2024-11-13 04:55
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search