อุเปนทรวิเชียรฉันท์

อุเปนทรวิเชียรฉันท์  ครูแปลว่า "ฉันท์มีคณะใกล้เคียงกับอินทรวิเชียร" ฉันท์นี้เป็นเอกาทสักขรฉันท์ คือ บาทหนึ่งมี ๑๑ อักษร (๑๑ คำ) ใช้คณะลง ๓ คณะ คือ ช, ต, ช  มีครุลอย ๒ อักษรสุดท้ายทุกบาท และมี ยติ ๕-๖ เช่นเดียวกับอินทรวิเชียรฉันท์

ข้อสังเกต

อุเปนทรวิเชียรฉันท์แตกต่างจากอินทรวิเชียรฉันท์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือ อักษรตัวแรกในฉันท์นั้นเป็นลหุ  แต่ในอินทรวิเชียรฉันท์เป็นครุ ดังนั้น หากเปลี่ยนอักษร (คำ) แรกในอินทรวิเชียรฉันท์เป็นอักษรเสียงสั้น ในทุกๆ บาท ฉันท์นั้น จะเป็นอุเปนทรวิเชียรฉันท์ทันที

สูตรของอุเปนทรวิเชียรฉันท์ในคััมภีร์วุตโตทัย

อุปาทิกา  สา  ว  ช  ตา  ช  คา  โค

มีแบบแผนดังนี้

 

ตัวอย่าง

อุโภ  อมิตฺเต  วิชินึสุ  สพฺเพ
อุโภ  สรฏฺฐํ  อภยํ  อกาสุํ
อุโภ. สมคฺคา  อนวชฺชกมฺเม
อุโภ  มนา  เอกุรสีว  สนฺตา ฯ
(ฉันท์สดุดีเทอดพระเกียรติ ฯ)

เช่นเดียวกัน  แม้ครุลอยในตัวท้ายบาทของทุกบาท  จะแต่งเป็นลหุก็ได้  และจัดว่าเป็นครุเหมือนกันกับในอินทรวิเชียรฉันท์ เช่น

มนํ  มนํ  สตฺถุ  ทเทยฺย  เจ  โส
มนํ  มนํ  ปิณยตสฺส  สตฺถุ
มนํ  มนํ  เตน  ทเทยฺย  เจ  น
มนํ  มนํ  ปสฺส  น  สาธุ  ปูชํ ฯ
(สุโพธาลังการ)

 (ผิว่าบุคคลใดพึงถวายใจ แด่พระศาสดาสักครู่หนึ่ง  พระทัยของพระศาสดาจะยังใจของบุคคลนั้นให้เอิบอิ่มได้  เพราะเหตุนั้น พึงถวายใจสักหน่อย ผิว่า ไม่ถวายใจไซร้ ท่านก็ไม่เห็นการบูชาที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จสักหน่อยเลย)

 


ที่มา "หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ" พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙)

© Copyright pariyat.com 2025. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search