ในกรณีที่สำนวนไทยมีข้อความซึ่งนำเรื่องราวความเป็นไปที่ล่วง เลยมาแล้วมาเล่า หรือมาพรรณนาใหม่ เป็นการกล่าวเรื่องย้อนหลัง ในอดีต แต่เรื่องที่เล่าหรือพรรณนานั้นมิได้มีหรือมิได้เกิดขึ้นตามนั้น เป็นเพียงสมมติเอาว่าถ้าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะมีหรือได้อย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น ให้ปรุงประโยคเป็นรูปกาลาติปัตติ คือให้มิกิริยาหมวดกาลาติปัตติคุมพากย์ เช่น ข้อความว่า
ข้อความนี้เป็นการตั้งสมมติฐานเอาว่า ถ้าขยันเรียนก็คงสอบได้ แล้ว ซึ่งแสดงว่าความจริงไม่ได้ขยันเรียน และยังสอบไม่ได้ หรือสมมติเอาว่า ถ้ารู้จักกินรู้จักใช้ ก็คงเป็นเศรษฐีไปแล้ว แสดงว่าปัจจุบันเขาไม่ได้เป็นเศรษฐีอย่างที่ว่า
ในการปรุงประโยคกาลาปัตตินี้ มีเกณฑ์ความนิยม ดังนี้
๑. ข้อความนั้นจะต้องเป็นข้อความที่ผ่านเลยมาแล้ว แต่ถูกนำมา เล่าใหม่โดยมีข้อแม้หรือเหมือนมีข้อแม้อยู่ด้วย และจะต้องมีเนื้อความเป็นสองตอน ในแต่ละตอนนั้นเนื้อความจะตรงข้ามกับเรื่องจริงเสมอ และจะต้องมีข้อความที่แสดงว่าผ่านเลยมาแล้วปรากฏอยู่ในอีกตอน หนึ่งเสมอ
๒. ปรุงประโยคภาษามคธให้เป็นสองประโยค โดยประโยคที่บอก ความที่ผ่านเลยมาแล้ว ให้มีกิริยาหมวดกาลาปัตติคุมพากย์ และมีนิบาตบอกปริกัป คือ ยทิ สเจ หรือ เจ หรือมีนิบาตอื่นที่ทำหน้าที่คล้ายนิบาตบอกปริกัปอยู่ต้นประโยค ซึ่งแล้วแต่เนื้อความ ส่วนอีกประโยค หนึ่งจะมีกิริยาหมวดกาลาปัตติ หมวดภวิสสันติ หรือหมวดอื่นใด คุมพากย์ก็แล้วแต่เนื้อความเช่นกัน
พึงทำความเข้าใจโดยศึกษาจากตัวอย่าง ดังนี้
- สจายํ ปุริโส อิตฺตรสตฺโต อภวิสฺส น อมฺหากํ อาจริโย เอวรูปํ อุปมํอาหริสฺสติ ฯ (๑/๑๐๒)
(เรื่องจริง บุรุษนี้ไม่ได้ตํ่าต้อย และอาจารย์นำอุปมามาพูด)
- สเจหิ เตน ปิตา ฆาติโต นาภวิสฺส, ตสฺมึเยวาสเน โสตาปนฺโน อภวิสฺส ฯ (มงฺคล ๑/๔๒)
(เรื่องจริง พระเจ้าอชาติศัตรูปลงประชนม์พระราชบิดา และ มิได้เป็นโสดาบัน)
- ภิกฺขเว สจายํ เอกสาฏโก ปฐมยาเม มยฺหํ ทาตุํ อสกฺขิสฺส, สพฺพโสฬสกํ อลภิสฺส ; สเจ มชฺฌิมยาเม ทาตุํ อลภิสฺส, สพฺพฏฺฐกํ อลภิสฺส ฯ (๕/๔)
(เรื่องจริง จูเฬกสาฎกพราหมณ์ใม่ได้ถวายในปฐมยามหรือ ในมัชฌิมยามและไม่ได้ของอย่างละ ๑๖ หรือ ๘)
- รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส, นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย ฯ
(เรื่องจริง รูปไม่ได้เป็นอัตตาและเป็นไปเพื่ออาพาธ)
- สเจ ปนานนฺท นาลภิสฺส มาตุคาโม ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชํ, จิรฏฺฐิติกํ อานนฺท พรหฺมจริยํ อภวิสฺส ; วสฺสสหสฺสํ สทฺธมฺโม ติฏฺเฐยฺย ฯ (วิ.มหา. ๒/๕๑๘/๓๒๖)
- โส จ หิ เต มหานาม ธมฺโม อชฺฌตฺตํ ปหีโน อภวิสฺส, น ตฺวํ อคารํ อชฺฌาวเสยฺยาสิ น กาเม ปริภุญฺเชยฺยาสิ ; ยสฺมา จ โข เต มหานาม โส เจว ธมฺโม อชฺฌตฺตํ อปฺปหีโน, ตสฺมา ตฺวํ อคารํ อชฺฌาวสฺสิ กาเม ปริภุญฺชสิ (ม.มู. ๑๒/๒๑/๑๗๙)
ข้อสังเกต เรื่องที่นำมาเล่าใหม่ แม้เป็นเรื่องที่ล่วงมาแล้วและมีข้อแม้อยู่ แต่ถ้าเป็นเรื่องจริง เป็นไปอย่างนั้นจริงก็ไม่เข้าลักษณะประโยคกาลาติปัตติ ต้องแต่งไปตามปกติธรรมดา เช่น
ไทย |
: ถ้าเขาทำงานนั้นเสร็จแล้ว เขาก็ไปธุระที่อื่นได้ ฯ |
มคธ |
: สเจ หิ โส กมฺมนฺโต เตน นิฏฐาปิโต อภเวยฺย, |
|
โส อญฺญตฺถ กิจฺจํ กาตุํ ลภติ ฯ (ประโยคปกติ) |
ไม่ใช่ |
: สเจ หิ โส กมฺมนฺโต เตน นิฏฐาปิโต อภวิสฺส, โส |
|
อญฺญตฺถ กิจฺจํ กาตุํ อลภิสฺส ฯ |
|
(เป็นประโยคกาลาติปัตติที่ผิดความ ประโยคนี้จะมี |
|
ความหมายว่า เขามิได้ทำงานเสร็จและเขาไม่ไปธุระที่อื่น) |
ไทย |
: แต่เติมข้าพเจ้าเข้าใจว่า เรื่องนี้เกิดที่ประเทศพม่า |
|
เป็นครั้ง แรก แต่ที่จริงเกิดที่ประเทศไทยนี่เอง ฯ |
มคธ |
: อิโต ปุพฺเพ มยฺหํ อภินิเวโส อโหสิ “อิทํ การณํ |
|
สพฺพปฐมํ มรมฺมรฏฺเฐ ฯ อุปฺปนฺนํ, อถโข ทยฺยรฏฺเฐเยว |
|
อุปฺปนฺนํ โหตีติ ฯ (ประโยคปกติ) |
ไม่ใช่ |
: อิโต ปุพฺเพ มยฺหํ อภินิเวโส อโหสิ “อิทํ การณํ |
|
สพฺพปฐมํ มรมฺมรฏฺเฐ อุปฺปนฺนํ อภวิสฺส, อถโข |
|
ทยฺยรฏฺเฐเยว อุปฺปนฺนํ อโหสีติ ฯ |
|
(ประโยคกาลาติปัตติที่ผิดหลัก) |
เรื่องประโยคกาลาติปัตตินี้ นักศึกษาจำต้องศึกษาและทำความ เข้าใจให้ถ่องแท้ จึงจะสามารถจับใจความและแต่งให้ถูกหลักทางภาษา ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือศึกษาและทำความเข้าใจจากตัวอย่างที่มีอยู่ในปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ท่านแต่งและใช้กันมาแต่โบราณ หรือจากพระไตรปิฎกโดยตรง ก็จะได้แบบที่ถูกต้องถือเป็นตัวอย่างได้
ในประโยคที่มีข้อความสรุปเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นว่า “นี้เรียกว่า........ ” และใช้กิริยาว่า วุจฺจติ คุมประโยค นิยมแต่งรูปประโยคเป็น
๒ แบบ คือ
แบบที่หนึ่ง วางสรรพนามไว้หน้า ตามด้วย วุจฺจติ ต่อด้วย นามที่เรียก มีรูปแบบดังนี้
สรรพนาม + วุจฺจติ + นามที่เรียก ตัวอย่างเช่น
- อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ ฯ
- อิทํ วุจฺจติ อริยธนํ ฯ
แบบที่สอง วางสรรพนามไว้หน้า ตามด้วยนามที่เรียก ตามด้วย อิติ และ วุจฺจติ ตามลำดับ มีรูปแบบดังนี้
สรรพนาม + นามที่เรียก + อิติ + วุจฺจติ ตัวอย่างเช่น
- อยํ โมฆปุรโสติ วุจฺจติ ฯ
- อิทํ ขณิกมรณนฺติ วุจฺจติ ฯ
ในการปรุงประโยคแบบนี้ มีข้อสังเกตดังนี้
๑. สรรพนามที่เรียงไว้ต้นประโยคไม่มีนามตาม คือ ไม่ต้องใส่ นามซึ่งเป็นบทประธานเข้ามา แม้ว่าในสำนวนไทยจะมีก็ตาม ถ้าใส่เข้ามาด้วยถือว่าผิดความนิยม
เช่น สำนวนไทยว่า “ขันธ์นี้เรียกว่ารูปขันธ์” แต่งว่า “อยํ ขนฺโธ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ” ถือว่าผิด ที่ถูกต้องเป็น “อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ”
๒. ถ้าเรียง วุจฺจติ ไว้หน้านามที่เรียก ไม่ต้องใส่ อิติ ต่อท้ายนามที่เรียก ถ้ามี อิติ ต่อท้าย แม้ว่าจะถูกหลักการเรียงทั่วไป แต่ก็ถือว่าผิดความนิยมทางภาษา
เช่น สำนวนไทยว่า “ทรัพย์นี้เรียกว่าอริยทรัพย์” แต่งว่า “อิทํ วุจฺจติ อริยธนนฺติ ฯ ถือว่าไม่ถูกความนิยม ที่ถูกต้องเป็น “อิทํ วุจฺจติ อริยธนํ”
๓. ถ้าเรียง วุจฺจติ ไว้หลังนามที่เรียก จะต้องใส่ อิติ เข้ามารับ ถ้าไม่ใส่ อิติ เข้ามารับ ก็ถือว่าผิดความนิยมทางภาษาเช่นเดียวกัน
เช่น แต่งว่า “อยํ โมฆปุริโส วุจฺจติ” ฯ ถือว่าไม่ถูก ที่ถูกต้องเป็น “อยํ โมฆปุริโสติ วุจฺจติ”
แต่ทั้งนี้ ใช้ได้เฉพาะในกรณีที่จะแต่งรูปประโยคเป็นแบบนี้เท่านั้น หากแต่งเป็นรูปประโยคเต็มความที่กำหนดให้แม้จะมี วุจฺจติ อยู่ด้วย ก็ต้องแต่งไปตามหลักการเรียงกิริยาเหมือนกิริยาคุมพากย์อื่นๆ เช่น
- อยํ ขนฺโธ รูปกฺขนฺโธติ วุจฺจติ ฯ หรือ อยํ ขนฺโธ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธติ ฯ
- ยสฺมา อยํ อิเมหิ เถรกรณธมฺเมหิ สมนฺนาคโต โหติ, ตสฺมา เถโรติ วุจฺจติ ฯ
- ตํ ภควตา วุจฺจติ อริยธนนฺติฯ หรือ ตํ ภควตา อริยธนนฺติ วุจฺจติ ฯ
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710