33.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 1

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 1)

          การแก้ความ ก็คือการอธิบายความโดยยกบทตั้งขึ้นแสดงเพียงบทเดียว แล้วอธิบายความคลุมไปถึงบทอื่นๆ ด้วยอย่างหนึ่ง กับยกบทตั้งขึ้นอธิบายความไปทีละบท จนหมดกระแสความอย่างหนึ่ง

          ในการอธิบายความนั้น อาจมีเนื้อความเพียงประโยคเดียว หรือ สองประโยคหรือกว่านั้น หรืออาจมีประโยค ย ต เข้ามาแทรก เพื่อให้ เนื้อความกระจ่างขึ้น อาจมีประโยคอุปมาอุปไมย มีข้อความเปรียบเทียบ เข้ามาแสดงร่วมด้วย ซึ่งในลักษณะเช่นนี้แหละที่ทำให้เกิดความสับสน หรือความเข้าใจผิดขึ้นได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเป็นการยากที่จะประกอบศัพท์และวางศัพท์ให้ถูกหลักเกณฑ์วิธีการได้ ในที่นี้จักชี้แจงพอเป็นข้อสังเกต และพอเป็นแนวทาง ดังนี้

 

(๑) ในกรณีที่สำนวนไทยขึ้นบทตั้งแล้วลงว่า “เป็นต้น”... 

          แล้วอธิบายความไปหลายประโยคหรือหลายๆ คำ ซึ่งมากกว่าที่มีอยูในบทตั้ง อย่างนี้ไม่ต้องใช้ อาทิ ศัพท์เข้ามา เพราะคำว่า เป็นต้น เป็นเพียงสำนวนการแปลเท่านั้น เช่น

ความไทย

:  บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตํ เป็นต้น ความว่า

 

   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุอันนั้นมารดา ก็พึงทำให้

 

   ไม่ได้ บิดาก็ไม่ได้ ญาติๆ ก็ไม่ได้ ฯ

เป็น

:  ตตฺถ น ตนฺติ ภิกฺขเว ตํ การณํ เนว มาตา

 

   กเรยฺย น ปิตา น อฌฺเฌ ฌาตกา ฯ (มงฺคล ๑/๑๓๐)

ไมใช่

:  ตตฺถ น ตนฺติอาทิ ภิกฺขเว ตํ การณํ ฯเปฯ

 

(๒) ในการอธิบายความที่มีคำไทย “ชื่อว่า”...
                    

          มีไม่น้อยเลยในปกรณ์ ทั้งหลายและมีที่มาต่างๆ กัน และวางศัพท์ไว้ต่างๆ กัน ทั้งนี้ เป็นไปตามความนิยมของภาษา ขอให้ดูประโยคต่อไปนี้เป็นแบบ

๒.๑ วินโย นาม อนาคาริยาคาริยวเสน ทุวิโธ ฯ (มงฺคล ๑/๑๖๙)

๒.๒ โส อสงกิเลสาปชฺชเนน อาจารคุณววตฺถาปเนน จ สุสิกฺขโต อุภยโลกหิตสุขาวหนโต มงฺคลํ ฯ (มงฺคล ๑/๒๐๐ สนามหลวง ป.ธ.๗/๒๕๒๓)

๒.๓ เตปิ หิ (ทุวิธา เมถุนสมาจารา) กาเมตพฺพโต กามา นาม ฯ (มงฺคล ๑/๒๐๓)

๒.๔ เนมิตฺติกตานิทฺเทเส ฯ นิมิตฺตนฺติ ยงฺกิญฺจิ ปเรสํ ปจฺจยทานสญฺญาชนกํ กายวจีกมฺมํ ฯ

๒.๕ ตตฺถ อคมนียฏฺฐานํ นาม ปุริสานํ มาตุรกฺขิตาทโย วีสติ อิตฺถิโย ฯ (มงฺคล ๑/๒๐๔)

๒.๖ ตตฺถ ปาเณ ปาณสญฺญิโน ฯเปฯ กายวจีทฺวารานมญฺญตรปฺปวตฺตา วธกเจตนา ปาณาติปาโต นาม ฯ (มงฺคล ๑/๒๐๑)

๒.๗ ปรปริคฺคหิเต ปรปริคฺคหิตสญฺญิโน ฯเปฯ กายวจีทฺวารปฺปวตฺตา เถยฺยเจตนา อทินฺนาทานํ ฯ (มงฺคล ๑/๒๐๒)

          จึงพอสรุปได้ว่า ความไทยที่ว่า “ชื่อว่า” นั้น มีที่มาและวิธีใช้หลาย แบบด้วยกัน ในข้อนี้นักศึกษาพึงสังเกตว่าในกรณีไหนท่านวาง นามศัพท์ ไว้ด้วย ในกรณีไหนท่านไม่วางไว้ และในกรณีไหนวาง นาม ศัพท์ ไว้ต้นประโยค ในกรณีไหนวางไว้ท้ายประโยค ซึ่งพอมีหลักสังเกตดังนี้

         

๑. ในประโยคบอกเล่าธรรมดาๆ

          และท่านแปลธรรมดาๆ มิได้ อธิบายขยายความเป็นพิเศษ อย่างนี้นิยมเรียง นาม ศัพท์ ติดกับบท ประธานไว้ต้นประโยค และท่านนิยมใช้สำนวนว่า “ธรรมดา..., ธรรมดา ว่า....” เช่นตัวอย่างในข้อ ๒.๑ และเช่น

ความไทย

:  ขอเดชะ ธรรมดาว่าศิลปะผู้ฉลาดในโลกพึงเล่าเรียนกัน

เป็น

:  เทว สิปฺปํ นาม โลเก ปณฺฑิเตหิ อุคฺคหิตพพํ ฯ (มงฺคล ๑/๑๖๑)

ความไทย

:  เพราะฉะนั้น ชื่อว่าบุตรต้องเป็นผู้มีจิตมั่นคงในการ

 

   บำรุง (มารดาบิดา) เหมือนอุบาสกผู้เลี้ยงมารดา

 

   (สนามหลวง ป.ธ.๗/๒๕๒๗)

เป็น

:  ตสฺมา ปุตฺเตน นาม มาตุโปสกุปาสเกน วิย อุปฏฺฐานกมฺเม

 

   ถิรจิตฺเตน ภวิตพฺพํ ฯ  (มงฺคล ๑/๓๐๔)

 

๒. ในประโยคบอกเหตุผลที่มีคำว่า “เพราะ” ตามหลังคำว่า “ชื่อว่า”
                                  

         นิยมเรียงศัพท์ที่แปลว่า “ชื่อว่า” นั้นไว้ท้ายประโยค โดยไม่ต้องใส่ นาม ศัพท์ เข้ามารับ ทั้งนี้เพราะที่แปลว่า "ชื่อว่า” หนุนเข้ามา ก็เพราะเป็นไปตามหลักแห่งการแปลที่มีคำว่า “เพราะ” อยู่ข้างหน้า ดังตัวอย่าง ในข้อ ๒.๒ และตัวอย่างอื่นๆ เช่น

ความไทย

:  ความเพ้อเจ้อนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยเพราะมีอาเสวนะ

 

   (ความเคยชิน) น้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีอาเสวนะมาก ฯ

เป็น

:  โส (สมฺผปฺปลาโป) อาเสวนมนฺทตาย อปฺปสาวชฺโช

 

   อาเสวนมหนฺตตาย มหาสาวชฺโช ฯ (มงฺคล ๑/๒๑๑)

ไม่นิยมเป็น

:  โส อปฺปสาวชฺโช นาม มหาสาวชฺโช นาม ฯ

 

๓. ที่ท่านวาง “นาม” ศัพท์ไว้คู่กับ “เพราะ” ด้วย
 

           เช่นตัวอย่างว่า

เตปิ หิ กาเมตพฺพโต กามา นาม ฯ (มงฺคล ๑/๒๐๓)

           แบบนี้มีที่ใช้น้อย ไม่นิยมถือเป็นแบบ จึงไม่ควรถือเอาเป็นบรรทัดฐาน นิยมใช้ที่ไม่มี นาม ศัพท์ กำกับเป็นส่วนมาก

 

 

๔. ในการอธิบายความของศัพท์เพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้งนั้น
 

           ศัพท์ที่เป็นบทตั้ง (ศัพท์ที่แปลว่าชื่อว่า) ท่านมีวิธีเรียง เท่าที่สอบทานดู ก็มี ๔ แบบ คือ

แบบที่ เป็นแบบที่ใช้ อิติ ศัพท์ แทน นาม ศัพท์ เป็นแบบ ตั้งอรรถ ดังตัวอย่างที่ ๒.๔ และตัวอย่างอื่นๆ เช่น

: พาหุสจฺจนฺติ พหุสฺสุตภาโว ฯ

: สิปฺปนฺติ ยงกิญฺจิ หตฺถโกสลฺลํ ฯ ( มงฺคล ๑/๑๓๔)

: ตตฺถ มรณนฺติ เอกภวปริยาปนฺนสฺส ชีวิตินฺทฺริยสฺส อุปจฺเฉโท ฯ (วิสุทฺธิ ๒/๑)

แบบที่ ๒ เป็นแบบวางศัพท์ที่ประกอบกับ นาม ศัพท์ ไว้ต้นประโยค เป็นแบบอธิบายขยายความของศัพท์ หรือ คำที่ยกมาเพียงบางส่วนจากประโยคข้างต้น โดยมากมักจะมี “ตั้งอรรถ” หรือ “นิทธารณะ  ในหนา, แห่งหนา” อยู่ต้นประโยคด้วย ดังตัวอย่างที่ ๒.๔ และตัวอย่างอื่นๆ เช่น

:  พาหุสจฺจํ นาม พหุสฺสุตภาโว ฯ (มงฺคล ๑/๑๓๕)

:  สิปฺปํ นาม อนาคาริยาคาริยาเสน ทุวิธํ หตฺถโกสลฺลํ ฯ

   ตตฺถ อนาคาริยสิปฺปํ นาม อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ฯเปฯ

   สมณปริกฺขาราภิสงฺขรณํ ฯ (มงฺคล ๑/๑๕๐)

:  เสนาสเน ปน อปริคฺคหิตธุตงฺคสฺส นิมิตฺโตภาสปริกถา วฏฺฏนฺติ ฯ

   ตตฺถ นิมิตฺตํ นาม เสนาสนตฺถํ ภูมิปริกมฺมาทีนิ กโรนฺตสฺส

   ฯเปฯ น โกจีติ ปฏิวจนํ ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๕๐)

แบบที่ ๓ เป็นแบบอธิบายขยายความของศัพท์ที่ยกมาเป็นบาง ส่วนจากประโยคข้างต้น เหมือนแบบที่ ๒ แต่ท่านเรียงไว้หลังบทอธิบาย ดังตัวอย่างที่ ๒.๕  และตัวอย่างอื่นๆ อีก เช่น

:  ตตฺถ สงฆมชฺเฌปิ นิสีทิตฺวา ปริภุญฺชนฺตสฺส ทุสฺสีลสฺส

   ปริโภโค เถยฺยปริโภโค นาม ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๕๓)

:  สีลวโต อปจฺจเวกฺขิตปริโภโค อิณปริโภโค นาม (วิสุทฺธิ ๑/๕๓)

แบบที่ ๔ เป็นแบบอธิบายขยายความของศัพท์เช่นเดียวกับ แบบที่ ๓ แต่ท่านมิได้เรียง นาม ศัพท์ ไว้ด้วย ดังตัวอย่างที่ ๒.๗ และ ตัวอย่างอื่นๆ อีก เช่น

:  ปรสฺส มมฺมจฺเฉทกกายวจีปโยคสมุฏฺฐาปิกา

   เอกนฺตผรุสเจตนา ผรุสวาจา ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๒๑๗)

          โดยสรุปแล้ว แบบที่ ๑ ใช้เฉพาะกรณีที่แก้อรรถ ซึ่งชี้แจงเริ่มต้นเรื่อง และมีที่ใช้น้อย ที่ใช้มากที่สุด คือ แบบที่ ๒ ซึ่งเป็นแบบอธิบายความ หรือ ไขความทั่วๆ ไป แบบที่จะต้องใส่ นามศัพท์ ตามหลังบทนาม ด้วยเสมอ ส่วนแบบที่ ๓ และแบบที่ ๔ใช้แทนกันได้ คือ จะมี นามศัพท์ กำกับอยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้ ไม่ถือเป็นผิด ขอให้ดูตัวอย่างในประโยคดังต่อไปนี้เป็นแบบยืนยัน

:   ตตฺถ อปริคฺคหิตธุตงฺคสฺส สงฺฆโต วา คณโต วา ธมฺมเทสนาทีหิ

    จสฺส คุเณหิ ปสนฺนานํ คิหีนํ สนฺติกา อุปฺปนฺนา ปจฺจยา

    ปริสุทฺธุปฺปาทา นาม ปิณฺฑปาตจริยาทีหิ ปน อติปริสุทฺธุปฺปาทาเยว ฯ

    ปริคฺคหิตธุตงฺคสฺส ปิณฺฑปาตจริยาทีหิ ฯเปฯ ธุตงฺคนิยมานุโลเมน

    อุปฺปนฺนา ปริสุทฺธุปฺปาทา ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๕๐)

          ในกรณีที่แต่งเป็นแบบที่ ๒ ซึ่งต้องวาง นาม ศัพท์ใว้ด้วยนั้น หาก นักศึกษาไม่วางไว้ จะทำให้ประโยคขาดความสละสลวยไป และจะทำให้เสียความไปก็ได้ เช่น ประโยค ว่า

ความไทย

:  อุปจารพร้อมทั้งสัมภาระ ชื่อว่า ปฏิปทาวิสุทธิ

 

   อัปปนา ชื่อว่าการพอกพูนอุเบกขา การพิจารณา

 

   ชื่อว่า สัมปหังสนา ฯ

เป็น

:  ตตฺถ ปฏิปทาวิสุทฺธิ นาม สสมฺภาริโก อุปจาโร,

 

   อุเปกฺขานุพฺรูหนา นาม อปฺปนา, สมฺปหํสนา นาม

 

   ปจฺจเวกฺขณา ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๑๘๙)

หรือ

:  ตตฺถ สสมฺภาริโก อุปจาโร ปฏิปทาวิสุทฺธิ นาม,

 

   อปฺปนา อุเปกฺขานุพฺรูหนา นาม, ปจฺจเวกฺขณา

 

   สมฺปหํสนา นาม ฯ

ไม่ใช่

:  ตตฺถ ปฏิปทาวิสุทฺธิ สสมฺภาริโก อุปจาโร,

 

   อุเปกฺขานุพฺรูหนา อปฺปนา ฯเปฯ (ไม่นิยม)

ความไทย

:  บรรดาอัปปนาโกศล ๑๐ ประการนั้น ที่ชื่อว่าการ

 

   ทำวัตถุให้สละสลวย คือ การทำวัตถุทั้งหลาย

 

   ทั้งภายในทั้งภายนอกให้เรียบร้อย ฯ

เป็น

:  ตตฺถ วตฺถุวิสทกิริยา นาม อชฺฌตฺติกพาหิรานํ

 

   วตฺถูนํ วิสทภาวกรณํ ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๑๖๓)

หรือ

:  ตตฺถ อชฺฌตฺติกพาหิรานํ วตฺถูนํ วิสทภาวกรณํ

 

   วตฺถุวิสทกิริยา นาม

ไม่นิยม

:  ตตฺถ วตฺถุวิสทกิริยา อชฺฌตฺติกพาหิรานํ

 

   วตฺถูนํ วิสทภาวกรณํ ฯ

          ยังมีการใช้ นาม ศัพท์ ในสำนวนอื่นอีก ๒-๓ สำนวน ซึ่งล้วนแต่กำหนดง่ายและเรียงเข้าประโยคไม่ยากทั้งสิ้น จึงไม่ขออธิบาย ไว้ในที่นี้ เช่นประโยคต่อไปนี้

: อิทํ อายุกฺขเยน มรณํ นาม ฯ (วิสุทฺธิ ๒/๑)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


47378742
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
43758
54808
243505
46849926
865080
1172714
47378742

Your IP: 3.148.108.144
2024-11-21 18:20
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search