6.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (อนาทร, ลกฺขณ )

 

วิธีเรียงประโยคอนาทร

       ประโยคอนาทร คือ ประโยคที่แทรกเข้ามาในประโยคใหญ่

เป็นประโยคที่มีเนื้อความไม่เอื้อเฟื้อคล้อยตามประโยคที่ตนแทรกเข้ามา แต่ทำให้เนื้อความในประโยคใหญ่ชัดเจนขึ้น

       ประโยคอนาทรประกอบด้วย ส่วนประกอบใหญ่ ๒ ส่วน คือ ส่วนนาม กับ ส่วนกิริยา ตัวนามประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ ตัวกิริยา ประกอบด้วย ต อนฺต มาน ปัจจัย และเป็นฉัฏฐีวิภัตติเช่นเดียวกัน ทั้งต้องมีลิงค์ วจนะ เหมือนตัวนามด้วย ซึ่งก็คล้ายเป็นวิเสสนะนั่นเอง และจะมีบทขยายนาม หรือขยายกิริยาด้วยก็ได้แล้วแต่ความ ประโยคอนาทรมีวิธีเรียง ดังนี้

       ๑. ถ้ามุ่งจะกล่าวถึงเนื้อความตอนต้นกับตอนปลายให้สัมพันธ์กันโดยไม่ขาดตอน นิยมเรียงไว้ต้นประโยค หน้าบทประธาน เช่น

  • : ตสฺส วิรวนฺตสฺเสว , สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา  ยาจิตฺวาฯ เปฯ (๑/๗)
  • : โอคาหนฺตสฺส เม อุตฺติณฺณสฺส หตฺถินิโย กายํ อุปนิฆํสนฺติโย คจฺฉนฺติ ฯ    (๑/๕๓)

       ๒. ถ้าเป็นเนื้อความแทรกเข้ามาลอยๆ แทรกเข้ามาตอน ไหน ให้เรียงไว้ตอนนั้น เช่น

  • : สาวตฺถีวาสิ กิเรโก กุฎมฺพิโก ภริยาย กาลกตาย ปพฺพชิ ฯ
  • : สา กิร ฯเปฯ ปญฺจโครสทานํ ททมานา ทหรานญฺจ สามเณรานญฺจ ปตฺตํ ปิทหิตฺวา อลํ อลนฺติ นิวาเรนฺตานมฺปิ  อิทํ  มธุรํ อิทํ มนาปนฺติ อทาสิ ฯ (๓/๕๖)

 

วิธีเรียงลักขณะ

       ประโยคลักขณะ เป็นประโยคแทรกเข้ามาในประโยคใหญ่ เพื่อทำให้เนื้อความชัดเจนขึ้น ทั้งทำหน้าที่ขยายเนื้อความข้างหลังในประโยคนั้นด้วย

       ประโยคลักขณะ ก็เหมือนกับประโยคอนาทร ทั้งนามและกิริยา แปลกแต่ว่าในประโยคลักขณะต้องประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติเท่านั้น แม้ วิธีการเรียงในประโยคก็มี ๒ ลักษณะดังกล่าวแล้วเช่นกัน เช่น

  • : ปฐมมาเส อติกฺกนฺเต  อกฺขิโรโค อุปฺปชฺชิฯ (๑/๙)
  • : เทว ตยิ รชฺชํ กาเรนฺเต อรุโณ น อุฏฺฐาติ ฯ (๑/๓๙)
  • : ตุมฺเห นาม มาทิสสฺส พุทธสฺส สนฺติเก ปพฺพชิตฺวาปิ มยิ สามคฺคึ กโรนฺเต  มม วจนํ น กริตฺถ ฯ (๑/๕๙)

 

ข้อสังเกต

       ประโยคอนาทรกับประโยคลักขณะทั้งสองนี้ หากมองในความ ภาษาไทยแล้วแทบจะไม่รู้เลยว่า ความตอนนี้เป็นประโยคชนิดใด เพราะในวิชาแปลมคธเป็นไทย เราบัญญัติไว้ว่า อนาทรให้แปลว่า “เมื่อ” ลักขณะให้แปลว่า “ครั้นเมื่อ” ต่างกันอยู่ แต่ในวิชาแปลไทยเป็นมคธ นิยมแปลว่า “เมื่อ” เหมือนกันทั้งสองอย่าง จึงทำให้สับสนยากที่จะ ตัดสินใจว่าความนี้เป็นประโยคอนาทร หรือประโยคลักขณะ

       เท่าที่สังเกตดูพอจับเค้าได้ว่า หากเนื้อความตอนนั้นส่อไปว่า อาจแปลเป็น “แห่ง” หรือ “ของ” และเข้ากับประธานในประโยคหรือศัพท์ใดศัพท์หนึ่งในประโยคก็ได้ คือเป็นได้ทั้งอนาทรและสามีสัมพันธะอย่างนี้ ความตอนนั้นจะเป็นประโยคอนาทรเลียเป็นส่วนมาก

       แต่ถ้าความตอนนั้นไม่ส่อไปในลักษณะนั้น แยกตัวต่างหาก เบ็ดเสร็จไปเลย ไม่มีเค้าว่าจะสัมพันธ์เข้ากับบทใดบทหนึ่งในประโยคนั้น ได้เลย เนื้อความตอนนั้นจัดเป็นประโยคลักขณะแน่

       ดูตัวอย่างประกอบ

  • : เมื่อน้องชายนั้นร้องไห้อยู่ทีเดียว พี่ชายไปยังสำนักพระ ศาสดาแล้ว ทูลขอบวช
  • : ตสฺส วิรวนฺตสฺเสว สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา ปพฺพชฺชํ ยาจิตฺวา...ฯ (๑/๗)

       ในประโยคนี้เมื่อกลับเป็นภาษาบาลีแล้ว อาจแปลได้อีกอย่างหนึ่ง ว่า พี่ชายของน้องชายผู้กำลังร้องไห้อยู่ทีเดียว ไปยังสำนักของพระศาสดา ทูลขอบวชแล้ว

  • : เมื่อพระเถระไม่ยอมงีบหลับ เมื่อผ่านไปเดือนแรก โรคตาก็เกิดขึ้น ฯ
  • : เถรสฺส นิทฺทํ อโนกฺกมนฺตสฺส ปฐมมาเส อติกฺกนฺเต อกฺขิโรโค อุปปชฺชิ ฯ (๑/๘)

       ประโยคนี้ ส่อให้แปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อผ่านไปเดือนแรก โรคตาของพระเถระผู้ไม่ยอมงีบหลับก็เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้

       ในตัวอย่างทั้งสองนี้ เราอาจเรียงเป็นว่า ตสฺมึ วิรวนฺเตเยว และ เป็น เถเร นิทฺทํ อโนกฺกมนฺเต ก็ได้ แต่เนื้อความจะขาดห้วนเด็ดขาด ทำนองไม่เกี่ยวกับศัพท์ใดในประโยค ทั้งๆ ที่ส่อว่าสัมพันธ์กันอยู่

       นัยตรงข้าม หากเนื้อความตอนใดไม่ส่อว่าประโยคแทรกจะ สัมพันธ์เข้ากับประธานได้เลย แยกออกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก ก็ให้เรียง เป็นประโยคสักขณะ ดังตัวอย่าง

  • : เมื่อเธอบรรลุพระอรหัตแล้ว พระบรมศาสดามีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จเที่ยวจาริกไป.............
  • : ตสฺมึ อรหตฺตํ ปตฺเต , สตฺถา ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต จาริกญฺจรมาโน   ฯ (๑/๖๕)

       ประโยคนี้ เนื้อความไม่ส่อว่าประโยคแทรกจะสัมพันธ์เข้ากับ ประธานได้เลย แยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงต้องเรียงอย่างนี้ หาก จะแต่งเป็นประโยคอนาทรว่า ตสฺส อรหตฺตํ ปตฺตสฺส สตฺถา...ก็จะ กลายเป็นว่า พระศาสดาของพระภิกษุรูปนั้น ซึ่งความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

       นี้เป็นเพียงข้อสังเกต ซึ่งขอฝากนักศึกษาไว้พอเป็นแนวทาง พิจารณา และพอเป็นทางหาความรู้เพิ่มเติมสืบไป

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


47370343
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
35359
54808
235106
46849926
856681
1172714
47370343

Your IP: 3.129.195.254
2024-11-21 15:40
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search