ลำดับการวิเคราะห์ศัพท์นามกิตก์

(เทคนิคการสังเกตรูปและสาธนะ)

๑.ให้ดูที่ปัจจัยก่อน
          ๑.๑ ถ้านามกิตก์บทนั้นลง กฺวิ ณี ณฺวุ ตุ รู ปัจจัย ซึ่งเป็นกิตปัจจัยล้วน นามกิตก์บทนั้นจะเป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะเพียงประการเดียวเท่านั้น เป็นรูปอื่น,สาธนะอื่นไม่ได้โดยเด็ดขาด
          ๑.๒ แต่ถ้านามกิตก์บทนั้นลง ข ณฺย ปัจจัย ซึ่งเป็นกิจจปัจจัยล้วน นามกิตก์บทนั้นจะเป็นกัมมรูป กัมมสาธนะเพียงประการเดียวเท่านั้น เป็นรูปอื่น,สาธนะอื่นไม่ได้โดยเด็ดขาด
          เมื่อทราบรูปสาธนะและปัจจัยที่ลงแล้ว การวิเคราะห์ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป

 

(หลักการตั้งวิเคราะห์มีดังนี้)

๑.     นามกิตก์ที่เป็นกัตตุรูป เมื่อตั้งวิเคราะห์ให้ประกอบกิริยาคุมพากย์เป็นกัตตุวาจก
หรือเหตุกัตตุวาจก (ดูแผนผังประกอบ)
          ๑.๑    กัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิ.     (บทหน้า)              ธมฺมํ
                                                    (กิริยากัตตุ.)+อิติ    วทตีติ
                                                    (บทสำเร็จ)            ธมฺมวาที
 
          ๑.๒    กัตตุรป กัตตุสาธนะ วิ.     (บทหน้า)             ธมฺมํ    
          ลงในอรรถตัสสีละ                    (กิริยากัตตุ.)         วทติ
                                                     (สีเลน+อิติ)         สีเลนาติ
                                                     (บทสำเร็จ)          ธมฺมวาที
    
เช่น     
         ๑.๓ สมาสรูป ตัสสีละสาธนะ
         ๑.๔ กัตตุรูป กัมมสาธนะ   
๒. นามกิตก์ที่เป็นกัมมรูป เมื่อตั้งวิเคราะห์ให้ประกอบกิริยากิริยาคุมพากย์เป็นกัมมวาจก
หรือเหตุกัมมวาจก
๓. นามกิตก์ที่เป็นภาวรูป เมื่อตั้งวิเคราะห์ให้ประกอบกิริยากิริยาคุมพากย์เป็นภาววาจกหรือเป็นนามกิตก์ลง ยุ ปัจจัย

 

(ส่วนประกอบของรูปวิเคราะห์)

ก่อนตั้งวิเคราะห์ควรทราบส่วนประกอบของรูปวิเคราะห์ก่อนว่า รูปวิเคราะห์นั้นแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ๑. บทวิเคราะห์ ๒. บทสำเร็จ     ตัวอย่าง    กมฺมํ กโรตีติ กมฺมการี เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ ลง ณี ปัจจัย
                  กมฺมํ กโรติ+อิติ   เรียกว่า บทวิเคราะห์
                  กมฺมการี        เรียกว่า บทสำเร็จ

 

 (ว่าด้วยบทสำเร็จของนามกิตก์)

ประเภทของบทสำเร็จนั้นก็แบ่งได้อีก ๒ ชนิด คือ
๑.    บทสำเร็จนามกิตก์ที่ไม่มีบทหน้า เช่น ทายโก(ทา+ณฺวุ), ทาตาทา+ตุ,
วตฺตา(วท+ตุ)
๒.    บทสำเร็จนามกิตก์ที่มีบทหน้า เช่น สยมฺภู(สยํ+ภู+กฺวิ), ธมฺมวาที(ธมฺม+วาที+ณี), มารชิ(มาร+ชิ+กฺวิ)
       บทสำเร็จนั้นมีลักษณะเป็นศัพท์ธาตุเดี่ยวๆเพียงศัพท์เดียวนำมาลงปัจจัยดังตัวอย่างที่ยกมาแสดงแล้วนั้นก็มี
เป็นศัพท์ธาตุมีบทหน้าเป็นนามนามบ้าง, คุณนามบ้าง, สัพพนามบ้าง, อุปสัคบ้าง,นิบาตบ้างก็มี
       บทหน้านั้นมี ๑ ศัพท์ก็ได้ มี ๒ ศัพท์ก็ได้ หรือมีเกิน ๒ ศัพท์ก็ได้
ต่อไปนี้ เพื่อสะดวกแก่การเรียก ศัพท์หน้าธาตุจะเรียกว่าบทหน้า ส่วนศัพท์ธาตุจะเรียกว่าบทหลัง
ตัวอย่าง    กมฺมการี (กมฺม+การี+ณี)
        กมฺม    เรียกว่าบทหน้า
        การี    เรียกว่าบทหลัง
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าบทหลังของนามกิตก์ต้องเป็นศัพท์ธาตุเพียงประการเดียวเท่านั้น
หรือถ้าไม่ใช่ศัพท์ธาตุก็ต้องเป็นศัพท์ที่คุณลักษณะและคุณสัมบัติเทียบเท่ากับศัพท์ธาตุ คือเป็นนามนามและคุณนามที่ลงปัจจัยพิเศษ ๒ ตัวนี้ คือ อาย อิย ปัจจัย เป็นไปในความปรารถนา ซึ่งมีอำนาจทำศัพท์นามนามและคุณนามให้เป็นกิริยาได้

 

(ศัพท์ที่เป็นบทหน้าได้)

บทหน้านั้นมีอยู่มากมาย แต่ก็พอจะสรูปได้ว่ามีอยู่ด้วยกัน ๕ ประเภท คือ
๑.    บทหน้าที่เป็นนามนาม
๒.    บทหน้าที่เป็นคุณนาม
๓.    บทหน้าที่เป็นสัพพนาม
๔.    บทหน้าที่เป็นอุปสัค
๕.    บทหน้าที่เป็นนิบาต

 

 (วิธีการตั้งวิเคราะห์)

           เมื่อจะเริ่มตั้งวิเคราะห์ ก่อนอื่นต้องแปลนามกิตก์บทนั้นให้ได้ก่อน โดยต้องแปลออกคำแปลของสาธนะแต่ละสาธนะให้ชัดเจน
          ในกรณีที่นามกิตก์ศัพท์นั้นมีบทหน้า ให้ดูว่าบทหน้าบทนั้นเป็นศัพท์ชนิดใด
ถ้าบทหน้าเป็นนามนามต้องแปลออกสำเนียงอายตนิบาตให้ชัดเจน เพื่อที่ว่าในเวลาตั้งรูปวิเคราะห์จะได้ทราบว่าต้องประกอบนามนามบทนั้นเป็นวิภัตติใด
          ส่วนกิริยาคุมพากย์ ได้กล่าวไว้แล้วว่าถ้าเป็นกัตตุรูปต้องประกอบกิริยาคุมพากย์เป็นกัตตุวาจกหรือเหตุกัตตุวาจกเท่านั้น ฯลฯ

 

(ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องรูป เทคนิคง่ายๆที่หลายคนมองข้าม)

     ๑. ศัพท์นามกิตก์ที่ลง กฺวิ ณี ณฺวุ ตุ รู ปัจจัย เป็นกัตตุวาจกหรือเหตุกัตตุวาจกอย่างใดอย่างหนึ่งได้เพียงประการเดียวเท่านั้น(แล้วแต่เนื้อความ โดยมากเป็นกัตตุวาจก) ฉะนั้น เมื่อจะประกอบกิริยาคุมพากย์ ให้ลงปัจจัยในกัตตุวาจก ๑๐ ให้ถูกต้องตามหมวดธาตุ หรือลงปัจจัยในเหตุกัตตุวาจก ๔ ตัว ให้ถูกต้องตามที่ได้เรียนมาแล้วในตอนว่าด้วยเรื่องอาขยาต (กลับไปทบทวนการประกอบวาจกทั้ง ๕ อีกครั้ง)

     ๒. ศัพท์นามกิตก์ที่ลง ข ณฺย ปัจจัย เป็นกัมมวาจกหรือเหตุกัมมวาจกอย่างใดอย่างหนึ่งได้เพียงประการเดียวเท่านั้น(แล้วแต่เนื้อความ โดยมากเป็นกัมมวาจก) ฉะนั้น เมื่อจะประกอบกิริยาคุมพากย์ให้ลงปัจจัยในกัมมวาจก คือ ลง อิ อาคม หน้า ย ปัจจัย หรือลงปัจจัยในเหตุกัมมวาจก คือ ลง เณ ณย ณาเป ณาปย ๔ ตัวนี้ตัวใดตัวหนึ่งก่อนแล้วจึงลง อิ อาคม และ ย ปัจจัย ตามลำดับ

 

(พิเศษเฉพาะนามกิตก์ที่ลงกิตกิจจปัจจัย)

กรณีนามกิตก์บทนั้นลงปัจจัยในหมวดกิตกิจจปัจจัย จะสังเกตรู้รูปจากคำแปลได้ดังนี้ คือ
๑.  ถ้าเป็นกัตตุวาจก(กัตตรูป) ก็จะแปลว่า “ผู้” ตามด้วย “คำแปลธาตุ” ตามด้วย “บทหน้า” (ถ้ามี)
๒. ถ้าเป็นเหตุกัตตุวาจก(กัตตุรูป) ก็จะแปลว่า “ผู้
ถ้าแปลนามกิตก์บทนั้นได้ถูกต้องตามระเบียบที่วางไว้ก็จะสามารถทราบว่าเป็นรูปอะไรได้ไม่ยาก แม้ในหมวดกิตปัจจัยและหมวดกิจจปัจจัยก็ใช้วิธีเดียวกันนี้
 
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการประกอบรูปวิเคราะห์
๑.  ศัพท์ที่อยู่ในบทสำเร็จทุกศัพท์ต้องนำมาประกอบเป็นรูปวิเคราะห์
๒.  ศัพท์ที่อยู่ในบทวิเคราะห์ทุกศัพท์ไม่จำเป็นต้องนำมาประกอบเป็นบทสำเร็จ     ส่วนปัจจัยในหมวดกิตกิจจปัจจัยนั้นเป็นได้ทุกรูปทุกสาธนะ ฉะนั้น จึงไม่สามารถรู้สาธนะได้จากปัจจัยในหมวดกิตกิจจปัจจัยได้

 

(กรณีมองปัจจัยไม่ออก)

ถ้ามองปัจจัยยังไม่ออกหรือไม่มั่นใจก็ให้ดูที่ประธาน โดยประธานจะอยู่ในวงเล็บหลังนามกิตก์บทนั้นๆ

นามที่เป็นผู้ทำกิริยาอาการใช้เป็นประธานเจ้าของบทสำเร็จที่เป็นกัตตุสาธนะ (แปลว่า ผู้...) เรียกว่า กัตตานาม

 

 (กัตตานามคือนามประเภทใด)

     โดยมากศัพท์กัตตานามกลุ่มนี้จะเป็นสิ่งมีชีวิตคือมีวิญญาณ เช่น เทวดาคนและสัตว์  

     ฉะนั้น ถ้าบทที่สำเร็จมาจากนามกิตก์บทใดทำหน้าที่ขยายกัตตานามเหล่านี้  ก็พอจะเป็นหลักเดาได้ว่านามกิตก์บทนี้น่าจะเป็นกัตตุสาธนะ แต่วิธีนี้ไม่ถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซ็น ฉะนั้นต้องดูปัจจัยประกอบเป็นหลัก แต่ก็ทำให้แคบลงหารูปและสาธนะได้ง่ายขึ้น

    วิธีการสังเกตสาธนะจากตัวประธานนี้เหมาะจะใช้กับนามกิตก์ที่ลงปัจจัยหมวด กิตกิจจปัจจัย เพราะปัจจัยกลุ่มนี้เป็นได้ทุกรูป ทุกสาธนะ ฉะนั้น จึงเป็นการยากที่จะรู้ได้ว่านามกิตก์บทนั้นเป็นรูปใด เป็นสาธนะใด

นามนามประเภทกัตตานาม จะส่อแสดงนามกิตก์บทนั้นไปในทางเป็นกัตตุสาธนะ
นามนามประเภทกัมมนาม จะส่อแสดงนามกิตก์บทนั้นไปในทางเป็นกัมมสาธนะ
นามนามประเภทกรณนาม จะส่อแสดงนามกิตก์บทนั้นไปในทางเป็นกรณสาธนะ
นามนามประเภทสัมปทานนาม จะส่อแสดงนามกิตก์บทนั้นไปในทางเป็นกัตตุสาธนะ
นามนามประเภทอปาทานนามนาม จะส่อแสดงนามกิตก์บทนั้นไปในทางเป็นอปาทานสาธนะ
นามนามประเภทอธิกรณนาม จะส่อแสดงนามกิตก์บทนั้นไปในทางเป็นอธิกรณสาธนะ

 

  • Author: admin
  • Hits: 15190
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search