การศึกษาของคณะสงฆ์สมัยพุทธกาลศึกษาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงบ้าง จากพระอรหันตสาวกบ้าง แล้วท่องจำไว้ด้วยปาก (มุขปาฐะ) นี้เป็นการเรียนหลักธรรมเรียกว่า คันถธุระ เรียนแล้วนำไปปฏิบัติเรียกว่า วิปัสสนาธุระ ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จดับขันปรินิพพานแล้ว พระสงสาวกได้ประชุมกันทำสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยไว้เป็นหมวดหมู่ มี ๓ หมวด คือ
ทั้งหมดรวมเรียกว่า “พระไตรปิฎก” พระสงฆ์สาวกสมัยนั้นก็ศึกษากันด้วยปากเป็นคณะๆ คณะละหมวดหนึ่งบ้าง สองหมวดบ้าง ต่อมาเมื่อพระพุทธพจน์หรือพระไตรปิฎกได้จารึกเป็นมคธ หรือที่เรียกว่า ภาษาบาลี พระภิกษุสงฆ์ได้ศึกษาทั้งหลักภาษาและเนื้อหาธรรมะไปในตัว
ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปในนานาประเทศ บางประเทศก็ยังยึดหลักของภาษาบาลี ได้รักษาพระไตรปิฎกไว้ในรูปของภาษาบาลี แต่บางประเทศก็ปริวรรตเป็นภาษาในประเทศของตน ก็ย่อมมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง นานเข้าก็มีความคิดแตกต่าง กลายเป็นนิกายฝ่ายเหนือ-ฝ่ายใต้ ประเทศไทยของเราสืบทอดมาจากนิกายฝ่ายใต้ ที่เรียกกันว่า ฝ่ายหินยานหรือฝ่ายเถรวาท
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๖๐ พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่สุวรรณภูมิ โดยการนำของพระเถร ๒ รูป คือ พระโสณะกับพระอุตตระ จนกระทั่งมารุ่งเรืองขึ้นในสมัยลานนาไทย การศึกษาเจริญก้าวหน้ามาก ปรากฏว่ามีพระเถระหลายรูปที่ศึกษาอยู่ในระดับแตกฉานสามารถแต่งตำราอธิบายธรรมะเป็นภาษาบาลีได้อย่างเชี่ยวชาญ.
หนังสืออ้างอิง : ประวัติการศึกษาคณะสงฆ์ ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์เมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๒๗
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710