38.เบ็ดเตล็ด ตอนที่ ๑

 

เบ็ดเตล็ด ตอนที่ ๑

          ในบทส่งท้ายนี้จักว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดต่างๆ ทั้งที่กล่าวไว้บ้าง แล้วในบทต้นๆ ทั้งที่ยังมิได้กล่าวถึง ซึ่งเป็นข้อที่นักศึกษาชอบทำผิดพลาดบ่อยๆ เรื่องต่างๆ เหล่านี้จักรวมกล่าวไว้ในบทนี้เลยให้สิ้นเชิง ซึ่งถือว่าเป็นข้อปลีกย่อย หรือเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่นักศึกษาควรทราบไว้ แม้บางครั้งทำผิดพลาดไปแล้วจะไม่ถึงกับทำให้เสียคะแนนโดยตรง แต่ก็จัดเป็นผิดความนิยมของภาษา และไม่ทำให้เกิดความไพเราะในอรรถรสของภาษา

 

 

ข้อควรทราบ

          ๑. การเขียนศัพท์แยกกัน ระวังอย่าให้แยกเสียจนเสียรูปศัพท์ กลายเป็นฉีกศัพท์ไป ถ้าเป็นศัพท์เดียวยาวๆ จะแยกศัพท์ไม่ได้ เช่น พาราณสิยํ จะเขียนว่า พารา- ไว้บรรทัดบน แล้วต่อว่า ณสิยํ... ใน บรรทัดล่างไม่ได้ถ้าเป็นศัพท์สมาสก็ให้แยกตรงที่ศัพท์ต่อกัน เช่น มหา- โมคฺคลฺลาโน ดังนี้เป็นต้น

 

          ๒. เรื่องกาล ต้องระวัง ถ้าสำนวนบ่งกาลไว้ชัด เช่น อยู่ แล้ว ควร เป็นต้น ให้เรียงไปตามสำนวนนั้น ส่วนสำนวนว่า “จะ” อาจเป็นได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต ต้องดูเนื้อความ หรือถ้าไม่บ่งกาลไว้ ก็ต้องพิจารณาดูที่ความเช่นกันว่าเป็นเรื่องอดีต หรือเรื่องปัจจุบัน และเกิดขึ้นประจำหรือไม่ เป็นต้น

 

          ๓. สำนวนว่า “ว่า” มีหลักการเรียง ๒ อย่าง ให้สังเกตดูที่การพิมพ์ข้อสอบในภาษาไทย คือ

ก. ถ้าพิมพ์คำว่า “ว่า” กับคำต่อไป เว้นวรรคห่างกันแสดงว่า คำว่า “ว่า” นั้น มาจาก อิติ ศัพท์ ต้องประกอบเป็นประโยคคำพูด (เลขใน) เช่น

: เขาพูดว่า แม้ข้าพเจ้าก็จักไป

: โส “อหมฺปิ คมิสฺสามีติ” อาห ฯ

ข. ถ้าพิมพ์ คำว่า “ว่า” กับคำต่อไปติดกันโดยไม่เว้นวรรค แสดงว่า คำว่า “ว่า” นั้น มาจากภาวศัพท์ ให้เรียงเป็นสำนวนว่า “ซึ่งความที่แห่ง...” หรือ “ซึ่งความเป็นคืออัน...” เช่น

: ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าท่านนอนอย่างนี้

: อหํ ตุมฺหากํ เอวํ นิปนฺนภาวํ น ชานามิ ฯ (๑/๓๘)

          ไม่ควรเรียงเสียยืดยาวว่า อหํ ตุมฺเห เอวํ นิปนฺนาติ น ชานามิ ฯ

  : เพราะอะไร เธอจึงไม่บอกฉันว่า ครรภ์ตั้งขึ้นแล้ว
เป็น : กสฺมา มยฺหํ คพฺภสฺส ปติฏฺฐิตภาวํ น กเถสิ ฯ (๑/๔๓)
ไม่ใช่ : กสฺมา มยฺหํ “คพฺโภ ปติฏฐิโตติ” น กเถสิ ฯ

          ๔. ประโยคจะเรียงเป็นรูปวาจกใดก็ได้ ถ้าสามารถเป็นได้ แต่ ต้องให้ได้ใจความเท่าที่กำหนดไว้ และถูกต้องตามหลักการเรียงวาจกนั้นๆ

 

          ๕. การเขียนศัพท์มคธ ต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนที่นิยมทั่วไป ไม่ใช่เขียนผิดๆ ถูกๆ เช่น ทฺวารํ เป็น ทวารํ, คนฺตฺวา เป็น คนฺตวา, พฺยญฺชนํ เป็น พยญฺชนํ เป็นต้น

 

          ๖. เต เม โว โน ห้ามเรียงไว้ต้นประโยคเด็ดขาด อย่าเผลอ

 

          ๗. นิบาตที่ต้องเรียงไว้ต้นประโยค มี สเจ ยทิ นนุ อโห ยนฺนูน หนฺท เตนหิ อถ อถโข อถวา อปฺเปวนาม ยถา เสยฺยถา ตถา เอวั (ที่แปลว่า ฉันนั้นด้วยประการฉะนี้)

นิบาตที่ต้องเรียงไว้เป็นที่ ๒ เสมอ มี หิ จ ปน กิร ขลุ สุทํ นุ โข เจ วา (หิ จ ปน อาจเรียงไว้เป็นที่ ๓ ที่ ๔ ได้) นิบาตเหล่านี้ ห้ามเรียงไว้ต้นประโยคเด็ดขาด

 

          ๘. สมาส ห้ามนำศัพท์นามไปสมาสกับศัพท์กิริยา หรือกับศัพท์ที่ประกอบกับ ตุํ ปัจจัย เช่น

: วตฺตํ กโรนฺโต

เป็น

วตฺตกโรนฺโต

: ธมฺมํ เทเสนฺโต

เป็น

ธมฺมเทเสนฺโต

: กมฺมํ กาตุํ

เป็น

เป็น กมฺมกาตุํ

   สมาสอย่างนี้ไม่ได้

 

          ๙. เมื่อใช้พหุวจนะ แทน เอกวจนะ ในกรณีแสดงความเคารพ ต้องใช้ให้ตลอดเรื่อง และใช้ในทุกวิภัตติทั้งเลขนอกเลขใน มิใช่ใช้บ้าง ไม่ใช้บ้างตามใจชอบ

 

          ๑๐. ต ปัจจัย นิยมใช้กับกัมมวาจก และเหตุกัมมวาจกเท่านั้น จะใช้ในรูปกัตตุวาจก เช่น โส กมฺมํ กโต ไม่ได้

          อนฺต ปัจจัย เป็นได้ ๓ วาจก จะใช้เป็นกัมมวาจก หรือเหตุกัมม วาจก เช่น เทสิยนฺโต กริยนฺโต การาปิยนฺโต ดังนี้ไม่ได้ และ เมื่อใช้เป็นกิริยาของศัพท์อิตถีลิงค์ ต้องลง อี เครื่องหมาย อิต. เป็น กโรนฺตี เทเสนฺตี ไม่ใช่ลง อา เป็น กโรนฺตา เทเสนฺตา

          มาน ปัจจัย เป็นได้ทั้ง ๕ วาจก เมื่อเป็นอิตถีลิงค์ ต้องลง อา เป็นมานา เช่น กรมานา วจฺจมานา

 

          ๑๑. คำว่า “คือ” ในสำนวนไทย มาจากศัพท์ว่า อิติ วเสน ยทิทํ เสยฺยถีทํ และ กถํ

- อิติ นิยมเรียงส่วนย่อยไว้ข้างหน้าก็มี ข้างหลังก็มี และ ควบด้าย จ ศัพท์ หลัง อิติ (ดูวิธีเรียง อิติ ศัพท์ ประกอบ)

- วเสน ในชั้นประโยคต้นๆ นิยมแปลศัพท์นี้ว่า ด้ายสามารถ และในชั้นสูงๆ นิยมแปลว่า “คือ” วิธีใช้ให้นำส่วนย่อยของศัพท์หลังมาสมาสกับศัพท์ว่า วเสน ทั้งหมด เช่น

: พุทฺธธมฺมสงฺฆวเสน รตนตฺตยํ โลเก อุปฺปนฺนํ ฯ

- ยทิทํ ใช้แสดงส่วนย่อย ที่มีอย่างเดียวคล้ายเป็นคำไข หรือคำอธิบาย และวางไว้หน้าศัพท์ที่เป็นส่วนย่อยนั้น เช่น

: เอตทคฺคํ ภิกฺขเว... ภิกฺขูนํ, ยทิทํ...

: คหนํ เหตั ภนฺเต, ยทิทํ มนุสฺสา ฯ (๒/๑๓)

- เสยฺยถีทํ เป็นสำนวนชั้นอรรถกถา ใช้แสดงส่วนย่อยที่มี หลายๆ อย่าง เช่น

: ตสฺมา ตํ ทิวสํ สตฺถา ฯเปฯ อนุปุพฺพีกถํ กเถสิ เสยฺยถีทํ ? ทานกถํ สีลกถํ ฯเปฯ (๑/๕)

: สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา เสยฺยถีทํ รูปูปาทานกฺขนฺโธ ฯเปฯ

- กถํ ตามปกติแปลว่า อย่างไร แต่สำนวนแปลว่า คือ ใช้ในกรณีที่จะแสดงเรื่องราว หรือจะอธิบายความให้พิสดารออกไป

 

          ๑๒. คำว่า “เพราะ” มาจากคำว่า โต ตฺต ตา ภาว และ เหตุ มีรูปเป็น กรณโต กรเณน กรณตฺตา กรณตาย กรณภาเวน กรณเหตุ ระวังอย่าให้สับสน ระหว่าง ตฺต กับ ตา เช่น

 

: เพราะเหตุที่เขามา

จะใช้ว่า

: ตสฺส อาคตตา หรือ ตสฺส อาคตตฺตาย ไม่ได้

จะต้องเป็น

: ตสฺส อาคตตฺตา หรือ ตสฺส อาคตตาย

 

          ๑๓. ระวังศัพท์ที่มีรูปคล้ายๆ กัน ถ้าไม่สังเกตให้ดี จะเห็นเป็นศัพท์ชนิดเดียวกัน หรือใช้แทนกัน ก็ได้ เช่น สมคฺค-สามคฺคี, ปริหานิ- ปริหาน เป็นต้น (ดูเรื่องการใช้ศัพท์ประกอบ)

 

          ๑๔. กิริยาที่มี อิติ ศัพท์ (เลขใน) เข้าด้วย มีวิธีเรียง ๒ แบบ คือ

ก. ถ้าเป็นกิริยาอาขยาตคุมพากย์ จะเรียงกิริยานั้นไว้หน้า หรือหลัง อิติ ก็ได้ เช่น

หน้า

: โส จินฺเตสิ “อหมฺปิ คมิสฺสามีติ ฯ

หลัง

: ใส “ตฺวํ คจฺฉาหีติ อาห

ข. ถ้าเป็นกิริยา อนฺต มาน ตฺวา ปัจจัย จะเรียงกิริยานั้นไว้หน้า อิติ ไม่ได้ ต้องเรียงไว้หลังอย่างเดียวเท่านั้น เช่น

: โส “อหมฺปิ คมิสฺสามีติ จินฺเตตฺวา อคมาสิ ฯ (ถูก)

: โส จินฺเตตฺวา “อหมฺปิ คมิสฺสามีติ อคมาสิ ฯ (ผิด)

 

          ๑๕. ต สัพพนามที่ เป็นทุติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ หรือ ฉัฏฐีวิภัตติ ทั้ง เอก.และพหุ. ถ้าในประโยคนั้นมี อถ ศัพท์ อยู่ต้นประโยค ให้ประกอบเป็นรูป นํ เน อสฺส เนสํ และให้เรียงไว้หลัง อถ นั้น แม้ว่าความจะอยู่ห่างจาก อถ ห่างจากบทที่ตนสัมพันธ์เข้าก็ตาม ให้จำไว้เป็นแบบเลยว่า

-อถ นํ....

-อถ เน

-อถสฺส

-อถ เนสํ

ไม่นิยมใช้ว่า อถ ตั... อถ เต... อถ อสฺส..., อถ ตสฺส... อถ เตสํ...

 

          ๑๖.  ศัพท์สัพพนาม หรือศัพท์อื่นที่ขึ้นต้นด้วยสระ คือ มีอักษร “อ” อยู่ต้นศัพท์ ไม่นิยมวางไว้เฉยๆ นิยมเรียงสนธิเข้ากับศัพท์ข้างหน้าตน โดยเฉพาะถ้าอยู่ต้นประโยค ทำให้ดูสละสลวย ให้จำไว้เป็นแบบว่า

: อถสฺส

: อิโต จิโต จ

: วุตฺตญฺเหตํ

: อิมํ คาถมาห

: ตมฺปเนตํ

: เอวเมว

: อิจฺเจตํ

: อถขฺวสฺส

: อถาปรํ

: เอตทโหสิ

: อเถโก

ฯเปฯ

 

          ๑๗.ในประโยคภาววาจก กิริยาจะต้องเป็นกิริยาอกัมมธาตุเท่านั้น

 

          ๑๘. ศัพท์ว่า ภนฺเต ใช้กับพระหรือนักบวชเท่านั้น ใช้กับคฤหัสถ์ ไม่ได้ ศัพท์ว่า โภ โภนฺโต ภทฺเท ใช้ร้องเรียกคฤหัสถ์เท่านั้น ไม่ใช้กับนักบวช

 

          ๑๙. ศัพท์อาลปนะ ใช้เฉพาะในประโยคคำพูด (เลขใน) เท่านั้น ไม่ใช้ในเลขนอก

 

           ๒๐. ศัพท์ว่า “อาห” มีเฉพาะในเลขนอกเท่านั้นไม่ใช้ในเลขใน เช่น

: เขากราบทูลว่า พระเถระพูดอย่างนี้พระเจ้าข้า

: โส อาโรเจสิ “เถโร เอวมาห ภนฺเตติ ฯ อย่างนี้ไม่ได้

 

          ๒๑. ต สัพพนาม ที่แปลงเป็น น มีรูปเป็น นํ เน เนสํ มีคติเหมือน เต เม โว โน คือ ห้ามเรียงไว้ต้นประโยค

 

          ๒๒. เมื่อนึกศัพท์ไม่ออก ห้ามแต่งศัพท์ล้อสนามหลวง ถือว่าผิดร้ายแรง เช่น

นกกระจาบ 

แต่งเป็น

 กจาปสกุโณ

ต้นกากะทิง 

แต่งเป็น

กากทิรุกฺโข

จักวาลนี้คับแคบนัก

แต่งเป็น

อิทํ จกฺกวาฬํ อติคปฺปตํ

 

ฯลฯ

 

 

 

          ๒๓. ศัพท์กิริยาสมาส คือ ศัพท์นาม หรือคุณนามที่มาสมาสกับ กิริยาที่มีรูปมาจาก กรฺ กถฺ ภู ธาตุ ต้องลง อี หรือ อิ เสมอ เช่น

: ยาน+ กตา

เป็น

ยานีกตา

: พฺยนฺต + กโรติ

เป็น

พยนฺตีกโรติ

: จิตฺต + กตา

เป็น

จิตฺตีกตา

: พหุล + กโรติ

เป็น

พหุลีกโรติ

: อนุปุพฺพ + กถา

เป็น

อนุปุพฺพีกถา

: ธมฺม + กถา

เป็น

ธมฺมีกถา

: สีต + ภูโต

เป็น

สีติภูโต

 

 

          ๒๔. ศัพท์ที่เขียนใกล้เคียงกัน แต่ความหมายต่างกัน ต้องสังเกต ให้ดี เช่น

:      อญฺญตฺร แปลว่า เว้น เป็นอัพยยศัพท์

:       อญฺญตฺร แปลว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง คนใดคนหนึ่ง เป็นสัพพนาม

 

           ๒๕. นิบาต คือ ปิ อปิจ เอว อิว ให้เขียนติดกับบทหรือศัพท์ที่ตนกำกับเลย เป็น วิสาขาปิ คจฺฉนฺโตปิจ เอวเมว การณมิว เป็นต้น ส่วน ว ที่แปลว่า เทียว ให้ห่างนิดหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้สับสนกับ อิว เมื่อเข้าสมาส

 

          ๒๖. การเขียนพยัญชนะสังโยค ต้องเขียนให้ถูก อย่าให้สังโยคผิดวรรคอักษรกัน เช่น เขียนว่า อานิสงฺโส นิสฺสงฺสเยน กุลวงฺโส อุตฺสาโห ตณฺหิ ตงฺปน เป็นต้น

 

          ๒๗. ศัพท์ อวุตฺตกมุม (ซึ่ง) ที่เข้ากับศัพท์กิตก์ ประกอบด้วย ณวุ ตุ ยุ ปัจจัย อย่าลืมต้องแต่งเป็นรูปฉัฏฐีวิภัตติ เช่น สพฺพปาปสฺส อกรณํ เป็นต้น (เรียกว่า แปลหักฉัฏฐีเป็นกรรม)

 

          ๒๘. ศัพท์สมาสนิยมทั้งต้องสังโยค และไม่ต้องสังโยค ศัพท์ใดนิยม ศัพท์ใดไม่นิยมอย่างไร ต้องกำหนดให้ดี เช่น ปุญฺญํ + เขตฺตํ นิยมสังโยคเป็น ปุญฺญกฺเขตฺตํ ไม่ใช้เป็น ปุญฺญเขตฺตํ เป็นต้น

 

          ๒๙. ศัพท์ที่ประกอบด้วย ตุํ ปัจจัย เช่น กาตุํ คนฺตุํ ถ้าทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค กำหนดให้เป็น นปุํ.เอก. กิริยาจึงต้องประกอบเป็นรูป นปุํ.เอก. ตามด้วย เช่น

: อิทานิ มยฺหํ คนฺตุํ ยุตฺตํ ฯ

 

          ๓๐. คำว่า “ควร” มาจากศัพท์กิริยา ก็มี มาจากศัพท์นาม ก็มี มีวิธีที่พอกำหนดได้ดังนี้

ก. ถ้าบทประธานประกอบด้วย ตุํ ปัจจัย กิริยาว่า ควร ใช้ ยุตฺตํ และ วฏฺฏติ

: อิทานิ มยฺหํ คนฺตุํ ยุตฺตํ ฯ

: น มยฺหํ เอวํ กาตุํ วฏฺฏติ ฯ

ข. ถ้าบทประธานประกอบด้วย ยุ ปัจจัย กิริยาว่า ควร นิยมใช้ ยุตฺตํ เท่านั้น ไม่นิยมใช้ วฏฺฏติ เช่น

: มยฺหํ สสุรสฺส วจเนน ปฐมเมว คมนํ น ยุตฺตํ ฯ (๓/๖๓)

ค. ถ้ามีนาม หรือสัพพนามเป็นประธานในประโยค ไม่ใช้ ยุตฺตํ และ วฏฺฏติ เป็นกิริยาคุมพากย์ แต่ใช้กิริยาว่า อรหติ หรือศัพท์ว่า อนุจฺฉวิโก เป็นต้น เช่น

: น โส กาสาวมรหติ ฯ (๑/๗๓)

: นยิทํ เทวทตฺตสฺส อนุจฺฉริกํ (๑/๗๑)

 

          ๓๑. บทวิกติกมฺม (ให้เป็น, ว่าเป็น) ถ้าเข้ากับกิริยาที่เป็นกัตตุวาจก และเหตุกัตตุวาจก ต้องประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ ถ้าเข้ากับกิริยาที่เป็นกัมมวาจกและเหตุกัมมวาจก ต้องประกอบด้วย ปฐมาวิภัตติ เช่น

กัตตุ.

: น สกฺกา วิหารํ ตุจฺฉํ กาตุํ ฯ (๔/๕๖)

กัมม.

: อาม มหาราช, (สา) ภิกฺขูนญฺจ เม อนกฺโกสิกา

 

  กตา โลกุตฺตรกุฏุมฺพสามินี จ ฯ (๔/๔๒)

 

          ๓๒. บทอนภิหิตภัตตา (อัน) ที่สัมพันธ์เข้ากับ ต ปัจจัย กัมมวาจก นิยมเรียงเป็นรูปฉัฏฐีวิภัตติ

 

          ๓๓. อาลปนะทุกศัพท์ไม่นับเป็นประโยค คือ เมื่ออยู่ต้นประโยค จะเรียงนิบาตพวก หิ จ ปน ไว้ถัดมา โดยถือว่ามีอาลปนะนำหน้าแล้วไม่ได้

 

          ๓๔. การใช้ศัพท์ ต้องให้เสมอกันทั้งประโยคหน้า ประโยคหลัง หรือในประโยคเดียวกัน แต่ข้อความควบด้วย จ ศัพท์ เช่น ใช้ อนฺต ก็ อนฺต เหมือนกัน ใช้ มาน ก็ มาน เหมือนกัน ใช้ น ปฏิเสธ ก็ น เหมือนกัน ไม่ใช้สับสนกัน เป็น อนฺต บ้าง มาน บ้าง น บ้าง อ บ้าง เช่น

 

: อนุรุทฺเธน ปน เนว วีหี โกฏฺเฏนฺตา น ภตฺตํ

 

  ปเจนฺตา วา วฑฺเฒนฺตา วา ทิฏฺฐปุพฺพา ฯ (๑/๑๒๗)

ไม่ใช่

: อนุรุทฺเธน ปน เนว วีหี โกฏฺเฏนฺตา น ภตฺตํ

 

  ปจมานา วา วฑฺเฒนฺตา วา ทิฏฺฐปุพฺพา ฯ

หรือ

: อุฏฺบาย เต ปจฺจุคฺคมนํ กตนฺติ ฯ น กตํ

 

  ภนฺเตติ ฯ (๑/๓๖)

ไม่ใช่

: อุฏฺบาย เต ปจฺจุคฺคมนํ กตนฺติ ฯ อกตํ ภนฺเตติ

 

  (หรือ กโรมิ ภนฺเตติ ฯ)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


48204540
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
21563
42306
158370
47786244
418296
1272582
48204540

Your IP: 18.97.14.81
2024-12-12 17:06
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search