37.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้ความ) ตอนที่ 5 (จบ)

 

หลักการแก้ความ (ตอนที่ 5) (จบ)

 

(๕) ในกรณีที่สำนวนไทยมีข้อความซํ้ากัน...

          ในกรณีที่สำนวนไทยมีข้อความซํ้ากันหรือมีข้อความสั้นๆ ห้วนๆไม่บ่งว่าเป็นวิภัตติอะไร ท่านมีวิธีเรียงศัพท์ใช้ศัพท์โดยเฉพาะ คือ ตัดคำที่ซํ้ากันออกเสีย เหลือไว้เฉพาะที่ไม่ซํ้ากัน ทั้งนี้ เพื่อความสละสลวยของภาษาซึ่งมีเช่นนี้ทุกภาษา เช่น ในภาษาไทยว่า

ถาม : คุณจะไปไหน

ตอบ : วัดครับ (คำเต็ม ไปวัด)

ถาม : ไปทำไมล่ะ

ตอบ : ธุระ ครับ (คำเต็ม ทำธุระ)

          เพียงเท่านี้ก็เข้าใจความหมายกันได้แล้ว ลักษณะเช่นนี้ แม้ในภาษาบาลีท่านก็นิยมใช้ แต่เวลาแปลท่านมักจะแปลออกศัพท์ทั้งหมด เพื่อทดสอบภูมิของผู้ศึกษาดู หรือแปลห้วนๆไม่ออกสําเนียงอายตนิบาต ท่าให้นักศึกษางงได้เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรศึกษาให้เข้าใจในความนิยม ของภาษาเช่นนี้ คือ

          ๕.๑  ข้อความจะต้องมีความบริบูรณ์ในประโยคใดประโยคหนึ่ง จะเป็นประโยคแรกหรือประโยคหลังก็ได้ แต่นิยมแต่งประโยคแรกสมบูรณ์ ส่วนประโยคหลังใส่เฉพาะคำไม่ซํ้ากับประโยคแรก

          ๕.๒ ถ้าข้อความทีไม่ซํ้านั้น มีเพียงคำเดียว ศัพท์เดียว จะ ใช้เพียงศัพท์เดียวเท่านั้น ไม่เป็นที่นิยมนัก จะต้องใส่ที่ซํ้าเข้ามาอีก ๑ ศัพท์ รวมเป็น ๒ เพราะประโยคบาลีนิยมศัพท์ ๒ ศัพท์ขึ้นไป ในแต่ละประโยค ที่มีเพียงศัพท์เดียวก็มีบ้าง แต่น้อยเต็มที

          ๕.๓ ในประโยคที่ไม่เต็มนั้น ศัพท์ที่ใช้ จะต้องประกอบรูปศัพท์ ให้ถูกต้อง คือ มีวิภัตติเช่นเดียวกับประโยคต้น โดยทำหน้าที่อย่างเดียว กับคำที่ตัวเองมาอยู่แทน

          ๕.๔ ศัพท์ที่จะไม่ใส่เข้าไปนั้น จะต้องเหมือนกับประโยคต้น หรือ ประโยคเต็ม ทั้งการประกอบศัพท์และความหมาย คือต้องเป็นศัพท์เดียว กันนั่นเอง

 

 

 ต้วอย่างประกอบ

ความไทย

: พระราชาาเสด็จไปยังสำนักพระบรมศาสดาในเวลาเย็น

 

  ทรงจำผ้ากำพลได้จึงทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า

 

  ใครทำบูชา เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า

 

  นายเอกสาฎก....ฯ

เป็น

: ราชา สายณฺหสมเย สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา กมฺพลํ

 

  สญฺชานิตฺวา ภนฺเต เกน ปูชา กตาติ ปุจฺฉิตฺวา

 

   เอกสาฏเกนาติ วุตฺเต ฯเปฯ

ชี้แจง

: ประโยคแรกมีเนื้อความเต็มสมบูรณ์ ประโยคหลัง

 

  ใช้ศัพท์เพียงศัพท์เดียว ประกอบเป็นตติยาวิภัตติ

 

  เพราะทำหน้าที่แทน เกน ในประโยคแรก

 

  ประโยคนี้จะแต่งเป็นว่า

: เกน ปูชา กตาติ เอกสาฏโกติ ฯ ไม่ถูก

หรือเป็น

: โก ปูชํ กรีติ เอกสาฏเกนาติ ฯ ก็ไม่ถูกอีก

หากจะเป็น

: โก ปูชํ กรีติ เอกสาฏโกติ ฯ เป็นอันใช้ได้แล

ความไทย

: ท่านต้องการภิกษุกี่รูป ภิกษุทุกๆ รูป พระเจ้าข้า

เป็น

: กิตฺตเกหิ ปน ภิกฺขูหิ อตฺโถติ ฯ สพฺเพหิ ภิกฺขูหิ ภนฺเตติ ฯ (๕/๑๖)

ไม่ใช่

: กิตฺตเกหิ ปน เต ภิกฺขูหิ อตฺโถติ ฯ สพฺเพ ภิกฺขู ภนฺเตติ

ความไทย

: ก็อันภิกษุผู้เมื่อจะให้ผลไม้ก็ดี ดอกไม้ก็ดี อันเป็น

 

  สิ่งมีอยู่ของตน แก่พ่อแม่ นำไปให้เองก็ดี ให้ผู้อื่น

 

  นำไปให้ก็ดี เชิญมาให้เองก็ดี ให้ผู้อื่นเชิญมาให้ก็ดี

 

  ย่อมควร เมื่อจะให้แก่พวกญาติที่เหลือ ให้ผู้อื่น

 

  เชิญมาให้ อย่างเดียวจึงควร ฯ

 

  (สนามหลวง ป.ธ.๗ ๒๕๑๓, ๒๕๒๗)

เป็น

: มาตาปิตูนํ ปน อตฺตโน ลนฺตกํ ผลํปิ เทนฺเตน

 

  หริตฺวาปิ หราเปตฺวาปิ ปกฺโกสิตฺวา

 

  ปกฺโกสาเปตฺวาปิ ทาตุํ วฏฺฏติ

 

  เสสญฺาตกานํ ปกฺโกสาเปตฺวา ว

หรือเป็น

: เสสญฺญาตกานํ เทนฺเตน ปกฺโกสาเปตฺวา ว ทาตุํ วฏฺฏติ ฯ ก็ได้

 

  แต่ดูรุงรังและซํ้าซาก ไม่สละสลวย

ความไทย

: พระวินัยธรแสดงว่า แม้ลักษณะของอุปจารบ้าน

 

  ก็คือร่วมในสถานที่ตกของก้อนดิน ที่ถูกขว้างไป

 

  เหมือนอย่างพวกเด็กหนุ่ม เมื่อจะทดลองกำลัง

 

  ของตนจึงเหยียดแขน (เต็มที่) ขว้างก้อนดินไป

 

  ฉะนั้น ส่วนพระสุตตันติกะทั้งหลาย กล่าวว่า ก้อนดิน

 

  ที่ขว้างไปโดยทำนองไล่กา ฯ

เป็น

: ตสฺส ลกฺขณมฺปิ ยถา ตรุณมนุสฺสา อตฺตโน พลํ

 

  ทสฺเสนฺตา พาหุํ ปสาเรตฺวา เสณฺฑุํ ขิปนฺติ เอวํ

 

  ขิตฺตสฺส เลณฺฑุสฺส ปตนฏฺฐานพฺภนฺตรนฺติ วินยธรา ฯ

 

  สุตฺตนฺติกา ปน กากวารณนิยเมน ขิตฺตสฺสาติ วทนฺติ ฯ

 

  (วิสุทฺธิ ๑/๘๙)

ไมใช่

: กากวารณนิยเมน ขิตฺโต เลณฺฑูติ ฯ (ไม่ถูก)

หรือเป็น

: การวารณนิยเมน ขิตฺตํ เลณฺฑูนฺติ ฯ (ไม่ถูก)

 

  ทั้งนี้ เพราะประโยคหลังท่านละคำว่า เลณฺฑุสฺส

 

  ปตนฏฺฐานพฺภนฺตรํ ไว้นั่นเอง

                                                                                      

ขอให้ดูประโยคต่อไปนี้ เป็นต้วอย่างเปรียบเทียบ

          - อิธ ภิกฺขุ อนฺตรฆรํ ปวิฏฺโฐ วีถึ ปฏิปนฺโน โอกฺขิตฺตจกฺขุ ยุคมตฺตทสฺสาวี สํวุโต คจฺฉติ, น หตฺถึ โอโลเกนฺโต, น อสฺสํ, น รถํ, น ปตฺตึ, น อิตฺถึ, น ปุริสํ โอโลเกนฺโต, น อุทฺธํ โอโลเกนฺโต, น อโธ โอโลเกนฺโต, น ทิสาวิทิสมฺปิ เปกฺขมาโน คจฺฉติ (วิสุทฺธิ ๑/๒๓)

          ชี้แจง : ประโยคแรกความเต็ม ประโยคต่อมาตัดกิริยาออก ประโยคต่อมาตัดกิริยาทั้งหมดออก จนประโยคสุดท้ายใส่ โอโลเกนฺโต เข้ามา (ปุริสํ โอโลเกนฺโต) เพื่อคุมความไว้ทีหนึ่งก่อน ประโยคต่อไป อุทฺธํ โอโลเกนฺโต อโธ โอโลเกนฺโต ทิสาวิทิสมฺปิ เปกฺขมาโน ตัด โอโลเกนฺโต เปกฺขมาโน ออก ไม่ได้ เพราะเป็นศัพท์แปลควบ คือ ก้ม แหงน และเหลียว ประโยคท้ายสุดท่านใส่กิริยาคุมพากย์ได้อีกทีหนึ่ง เป็นความนิยมทางภาษาในประโยคที่ละไว้หลายๆ ประโยค ประโยคสุดท้ายใส่ความควบคุมไว้

 

          -อริยุปวาทา อุปวาทนฺตรายิกา นาม ฯ เต ปน ยาว อริเย น ขมาเปนฺติ, ตาวเทว น ตโต ปรํ ฯ (มงฺคล ๑/๑๖๙)

           ชี้แจง : ประโยคนี้ท่านละคำไว้มาก ใส่เฉพาะที่ไม่ซํ้ากันเท่านั้น ความเต็มก็คือ อริยุปวาทา อุปวาทนฺตรายิกา นาม ฯ เต ปน (อริยุปวาทา) ยาว อริเย น ขมาเปนฺติ, ตาวเทว (อุปวาทนฺตรายิกา นาม) น ตโต ปรํ (อุปวาทนฺตรายิกา นาม)

 

          -ยถา ปน อินฺทฺริยสํวโร สติยา, ตถา วิริเยน อาชีวปาริสุทฺธิ สมฺปาเทตพฺพา ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๔๙)

          ชี้แจง : ประโยคแรกละ สมฺปาเทตพฺพา ไว้ นำมาใส่เต็มในประโยคหลัง

 

          -ตตฺถ อปริคฺคหิตธุตงฺคสฺส สงฺฆโต วา คณโต วา ธมฺมเทสนาทีหิ จสฺส คุเณหิ ปสนฺนานํ คิหีนํ สนฺติกา อุปฺปนฺนา ปจฺจยา ปริสทฺธุปฺปาทา นาม, ปิณฺฑปาตจริยาทีหิ ปน อติปริสุทฺธุปฺปาทาเยว

          ชี้แจง : ประโยคหลังละคำว่า อุปฺปนฺนา ปจฺจยา ไว้

 

          ในการประกอบรูปประโยคบาลีอันเกี่ยวด้วยการอธิบายขยายความนั้น มีนัยวิจิตรพิสดารหลายหลากนัก ทั้งลีลาในปกรณ์ทั้งหลาย ก็แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ เพราะผู้แต่งปกรณ์นั้นๆ ต่างก็มีลีลาและแนววิธีการเขียนเป็นแบบของตนโดยเฉพาะ ทั้งแต่งในวาระในสมัยห่างกัน เป็นร้อยๆ ปี ความนิยมทางภาษาย่อมเปลี่ยนแปลงผันแปรไปตามยุค ตามสมัย อันเป็นกฎธรรมดาของภาษาทั่วไป

          ถึงกระนั้นก็ตาม ภาษาบาลีที่เราใช้เรียนใช้สอนกันส่วนมากก็เป็นไปตามแนวของลังกาที่มายุคหลัง เช่น ในสมัยเมืองเชียงใหม่รุ่งเรือง ก็มีหนังสือมงคลทีปนี เป็นหลักยืน แม้จะมีแนวแปลกไปบ้าง ก็พอศึกษา แนวทางของท่านได้ แนวทางของแต่ละคนที่แต่งปกรณ์ทั้งหลายมีปรากฏ ในปกรณ์นั้นๆ แล้ว ขอนักศึกษาได้สังเกตจดจำ และนำมาเปรียบเทียบกันดูเถิด ย่อมเกิดปัญญา และความรู้ความเข้าใจได้ไม่น้อยเลย

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search