ปัฐยาวัตรฉันท์

ปัฐยาวัตร  แปลว่า คาถาที่สวดเป็นทำนองจตุราวัตร  คือ หยุดทุก ๔ คำ มีวิเคราะห์ว่า  ปฐิตพฺพโต  ปฐฺยา  จ  สา  จตุราวตฺเตน  ปริวตฺตพฺพโต  วตฺตญฺจาติ  ปฐฺยาวตฺตํ ฯ

ฉันท์นี้ กำหนดบาทหนึ่งมี ๘ อักษร (คำ) กำหนดเพียง ๒ คณะ คือ ยะ คณะ กับ ช คณะ โดยมีกฎเกณฑ์ ที่พึงทำความเข้าใจดังนี้

            1. อักษร (คำ) ตัวต้นและตัวท้ายของทุกบาท ไม่นับเข้าเป็นคณะ เรียกว่า "อักษรลอย" จะมีเสียงเป็นครุหรือลหุก็ได้ ไม่มีข้อห้าม

            2. ห้ามลง นะ คณะ (สุมินิ) และ สะ คณะ (สุคโต) ในตำแหน่งอักษรที่ ๒-๓-๔ ของทุกๆ บาท อีก ๖ คณะใช้ลงในตำแหน่งนี้ได้ตามถนัด แต่พึงระวัง อย่านับอักษรที่ ๑ ซึ่งเป็นอักษรลอยในทุกบาทเข้าใน นะ และ สะ คณะด้วย เพราะได้รับยกเว้นไม่นับเข้าเป็นคณะอยู่แล้ว จำง่ายๆ และสังเกตง่ายๆว่า "อักษรที ๒ และที่ ๓ ของทุกบาทในฉันท์นี้ห้ามมีเสียงสั้นติดกันทั้ง ๒ อักษร" ทั้งนี้เพราะ นะ และ สะ คณะมีเสียงซ้ำกัน ๒ คำแรกคือ สุมุนิ  สุคโต ดังนั้น อักษรที่ ๒ และที่ ๓ จะต้องเป็น ครุ ตัวใดตัวหนึ่ง จะอยู่ข้างหน้าหรือข้างท้ายก็ได้ เช่น อิติ เต ภิกฺขโว....สุมงฺคลํ....สุมุหุตฺตํ....เช่นนี้ใช้ได้ แต่ว่า โส ภควตา....อิติปิ  โส.... ตํ  สุมุหุตฺตํ.... เช่นนี้  ใช้ไม่ได้ ถือเป็นผิดกฎเกณฑ์

            3. ลง ยะ คณะ (มเหสี) ในอักษรที่ ๕-๖-๗ ของบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ ซึ่งอยู่ซีกซ้ายมือเวลาเขียน จำง่ายๆ ว่า "อักษรที่ ๕-๖-๗ ในบาทขอนต้องมีเสียง สั้น-ยาว-ยาว" เสมอ เช่น มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา...,   มนสา  เจ  ปทุฏฺเฐน....,   อตฺตา  หิ   อตฺตโน  นาโถ... เป็นต้น

            4. ลง ชะ คณะ (มุนินฺท) ในอักษรที่ ๕-๖-๗ ของบาทคู่ คือบาทที่ ๓ และบาทที่ ๔ ซึ่งอยู่ทางซีกขวามือเวลาเขียน จำง่ายๆ ว่า"อักษรที่ ๕-๖-๗ ในบาทคู่ต้องมีเสียง สั้น-ยาว-สั้น" เสมอ เช่น มโนเสฏฺฐา  มโนมยา,   ภาสตี  วา  กโรติ  วา,  โก  หิ  นาโถ  ปโร  สิยา  เป็นต้น

 

เพื่อความสะดวกในการศึกษาและเข้าใจง่าย  พึงดูผังของปัฐยาวัตรฉันท์ดังนี้

 

ตัวอย่าง

 

อภิตฺถเรถ  กลฺยาเณ ปาปา  จิตฺตํ  นิวารเย
อนฺธํ  หิ  กรโต  ปุญฺญํ ปาปสฺมึ  รมตี มโน ฯ

 

ฉันท์ปัฐยาวัตรนี้เป็นฉันท์เบื้องต้น  เรียกว่าเป็น "ฉันท์ครู" ที่นักศึกษาต้องฝึกหัดแต่งให้คล่องแคล่วชำนาญก่อนขึ้นไปศึกษาและฝึกฉันท์อื่นๆ  แม้ในเวลาทำข้อสอบก็นิยมขึ้นเป็นอันดับต้น  เพราะฉันท์นี้ก็มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับ  น้อยกว่าฉันท์อื่นๆ คือ  ในแต่ละบาทนั้นจะมีบังคับให้ถูกหลักจริงๆ เพียง ๕ คำ เท่านั้น  คือ คำที่ ๒ และที่ ๓ ห้ามเป็นลหุคู่ คำที่ ๕-๖-๗ ในบาทขอน เป็น ลหุ ครุ ครุ (สั้น ยาว ยาว)  ในบาทคู่เป็น ลหุ ครุ ลหุ (สั้น ยาว สั้น) ส่วนคำที่ ๑ ที่ ๔ และที่ ๘ ในทุกบาท  ใช้ได้ตามสะดวก จะเป็น ครุ หรือ ลหุ ก็ได้

ถึงกระนั้นก็ตาม ปรากฏว่า บรรดาฉันท์ที่กำหนดให้ศึกษาทั้ง ๖ ชนิดนั้น ปัฐยาวัตรแต่งง่ายที่สุด แต่ ผิดง่ายที่สุด นักศึกษาส่วนมากแต่งผิดพลาดบ่อยๆ จุดบกพร่องที่เห็นประจำก็คือ  ลง สะ หรือ นะ คณะในอักษรที่ ๒-๓-๔ ของบาท ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความเผลอหรือประมาทไป  ด้วยเห็นว่าไม่ยาก  เลยไม่พิถีพิถัน แม้ผิดเพราะเผลอ ย่อมเป็นผิดอยู่ดี นักศึกษาพึงระวังข้อนี้ให้ดี

ดังสำนวนของนักศึกษารูปหนึ่งว่า

เอกทิวสํ  เอโส อสฺสชิตฺเถรภาสิตํ
ธมฺมปทํ  สุณิตฺวาน โสตาผลํ  อปาปุณิ ฯ

หรือ

พุทฺโธ  ธมฺโม  จ  สงฺโฆ  จ ติรตนํ  นมามิหํ ฯ

 


ที่มา "หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ" พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙)





 


45613552
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
4836
40295
45131
45235495
272604
1019588
45613552

Your IP: 66.249.71.101
2024-10-07 03:12
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search