บาลี ภาษาแห่งพุทธะ

 

ผู้เขียน : ยอดชาวไร่

ว/ด/ป : 30 ธันวาคม 2561

บาลี ภาษาแห่งพุทธะ

 

          ภาษาบาลี หรือ ภาษามคธ เราอาจเคยได้ยินจนคุ้นหู เพราะเป็นชื่อเมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แม้สมัยนี้ก็ยังปรากฎชื่อเมืองนี้อยู่ในอินเดีย 
          เล่ากันมาว่าในชมพูทวีป (อินเดีย) มี 2 ชนชาติ คือ ชาวอริยกะและชาวมิลักขะ ชาวอารยันหรืออริยกะ ได้เข้ายึดครองอินเดียก่อนพุธทกาลราว 1500 ปี ชาวอารยันพวกเขาถือว่าตนเป็นชนชาติที่เจริญแล้วมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรมและภาษาเป็นของตนเอง 
          โดยชาวอารยันมีถิ่นที่อาศัยเดิมก่อนเข้ายึดครองอินเดีย แถบประเทศอิหร่าน คือเป็นพวกแขกขาวนั้นเอง ดังนั้นเราจะเห็นคนอินเดียในปัจจุบัน มีทั้งแขกขาวและแขกผิวสีพวกดาราผิวขาวส่วนมากจะมีเชื้อสายอารยัน
          ทีนี้ขอพูดถึงภาษาของชาวอารยันใช้กันบ้างนะครับ ภาษาที่ชาวอารยันใช้กัน คือ ภาษาสันสกฤต संस्कृता वाक् หน้าตาอักษรของภาษาสันสฤตก็ประมาณนี้ครับ สันสกฤต แปลว่า กลั่นกรองแล้ว เป็นภาษาที่กลั่นกรองแล้ว เป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกอีกอย่าง คือ ภาษาพระเวท ชนชั้นสูง เช่น พวกพราหมณ์เท่านั้น ที่จะได้ศึกษาคัมภีร์พระเวท กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี พวกชนชั้นสูงเกรงว่า ภาษาของตนจะปนเปื้อนถูกนำไปใช้ กลัวว่าจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้คิดหลักไวยากรณ์ขึ้นมา โดยฤษีตนหนึ่ง นามว่า ปาณีนิ ได้แต่งคัมภีร์ ชื่อ อัษฏาธยายี ขึ้น ก่อนสมัยพุทธกาล ราว100-200 ปี
          ต่อจากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จอุบัติขึ้นในเมืองกบิลพัสด์ุ แคว้นสักกะ (เนปาล) และทรงออกผนวชที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงตรัสรู้หลังจากนั้น ๖ ปี ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี เมื่อได้ตรัสรุ้แล้ว พระพุทธองค์ทรงเลือกที่จะแสดงธรรมด้วยภาษามคธ อันเป็นภาษาราชการในแคว้นมคธ ซึ่่งแคว้นมคธ มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นมหากษัติรย์ปกครองเมือง เป็นเมืองมหาอำนาจทั้งด้านการทหารและด้านเศษฐกิจในอินเดียสมัยนั้น
          พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนนับตั้งแต่ไปโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็ทรงแสดงปฐมเทสนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ด้วยภาษามคธ เช่นกัน
          ภาษามคธก็มีวิวัฒนาการทางด้านไวยากรณ์ มาพร้อมๆ กับภาษาสันสกฤต มีแบบแผนที่คล้ายคลึงกัน บางอาจารย์ก็ว่า ภาษามคธมาจากสันสกฤต บ้างก็ว่าเกิดพร้อมกัน แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดสรุปไว้แน่ชัด และมีชื่อเรียกต่างๆ กันไป เรียกว่า มาคธีบ้าง มาคธิกาบ้าง แต่มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ มีคัมภีร์ทางไวยากรณ์ ชื่อ ปทรูปสิทธิ เป็นคัมภีร์ค่อนข้างโบราณมากๆ ท่านได้เเสดงพระคาถาไว้ว่า
 
สา มาคธี มูลภาสา นรา ยายา ทิกปฺปิกา
พฺรหมโณ จสฺสุตาลาปา สมฺพุทฺธา จาปิ ภาสเรฯ

 

นรชนทั้งหลายผู้เกิดในต้นกัปป์ด้วย พรหมทั้งหลาย
ด้วย ผู้ซึ่งไม่เคยฟัง ไม่เคยสนทนาปราศรัย
พระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย ย่อมตรัสด้วยภาษาใด
ภาษานั้นชื่อว่า มาคธี เป็นมูลภาษา ฯ

 

          มาถึงตรงนี้ เรามาทำความเข้าใจเนื้อความในพระคาถากันชัดๆ อีกรอบคือ ภาษามคธหรือมาคธีนั้นเป็นมูลภาษา หรือภาษาเก่าเเก่ดั้งเดิมนั้นเอง ชน 3 จำพวกที่พูดคุยภาษามาคธีหรือมคธ คือ จำพวกที่1 คนต้นกัป พูดง่ายๆคือ มนุษย์คนเเรกในโลกใบนี้นั่นเอง จำพวกที่ 2 พวกพรหม ในพรหมโลกที่อยู่เหนือสวรรคขึ้นไป 2 จำพวกนี้เป็นจำพวกที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังหรือสนทนาปราศรัยมาก่อน และจำพวกที่ 3 คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมพูดสนทนาด้วยภาษามาคธีนี้

บาลี ลาติน (spanish)
นว แปลว่า 9, ใหม่  nueve (นวยเวะ) แปลว่า 9, ใหม่
นารงฺค แปลว่า ส้มเขียวหวาน naranja (นาร้างฆา) แปลว่า ส้มเขียวหวาน 

***ข้อสังเกตุว่า คำว่า นว กับ nueve แปลได้สองความหมาย เช่นกัน คือ 9 (ใช้เป็นนามนาม) กับ ใหม่ (ใช้เป็นคุณนาม) เอาพอคร่าวๆนะครับ พอให้เห็นว่าภาษาเหล่านี้มีที่มาคล้ายคลึงกันกับภาษาบาลี

          สรุป ก็คือภาษามาคธอาจมีความคลายคลึงภาษาหลายๆ ภาษาที่อยุ่ในกรุ๊ปเดียวกัน แต่ยอดชาวไร่มีความเชื่อว่า ภาษามาคธหรือภาษาบาลีเป็นรากเง้าของภาษาทุกๆ ภาษาในโลกใบนี้ (ความเห็นส่วนตัว) เพราะเป็นภาษาของคนต้นกัป ดังปรากฏอยุ่ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิครับ แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นเป็นภาษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใช้เเสดงธรรม แปลว่าภาษานี้ไม่ธรรมดา ดังนั้นท่านที่มีบุญญาบารมีได้เรียนภาษาบาลีขอจงภาคภูมิใจและพยายามไปให้ถึงฝั่งแห่งฝัน คือ เปรียญธรรม ๙ ประโยค ส่วนผู้ที่ไม่มีโอกาสได้ศึกษา เราก็มาสวดมนต์กัน แม้จะไม่รู้ความหมายแต่ด้วยมนต์ขลังแห่งบทสวดจะทำให้เราสบายใจ เอิบอิ่มใจ มาสวดภาษาบาลีด้วยบทสวดธัมมจักกัปวัตนสูตรกันเพิ่มสิริมงคลให้เกิดขึ้นในกายวาจาใจ มีสติ ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท สมดังคนโบราณท่านว่า สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน
ขอให้ทุกท่านสมหวังดังใจในทุกสิ่งที่ปราถนาเทอญ......ยอดชาวไร่
 

อ้างอิง

https://prayandmeditations.blogspot.com/2018/12/blog-post_30.html

https://youtu.be/lm2SrZ9NFHM





 


45612618
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3902
40295
44197
45235495
271670
1019588
45612618

Your IP: 35.171.164.77
2024-10-07 02:39
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search