32.บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ (หลักการแก้คำ)

 

บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ

          ในวิชาแปลไทยเป็นมคธชั้นต้นๆ ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับท้อง นิทาน มีวิธีการเรียงศัพท์การใช้ศัพท์ ตลอดจนกระทั่งการเดินประโยค ตามปกติธรรมดาแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนมากนัก เพียงจำศัพท์และระเบียบ การเรียงได้ ก็พอจะเรียงให้มีรูปประโยคที่ถูกต้องได้ แต่ในชั้นประโยคสูงๆ วิชานี้จะเพิ่มความยากขึ้น ทั้งนี้เพราะมิได้แต่งเรื่องที่เป็นนิทาน แต่แต่งอธิบายความ ขยายความ หรือที่เรียกกันในหมู่นักศึกษาบาลีว่า “ประโยคแก้อรรถ” ซึ่งมีทั้ง “แก้คำ” และ “แก้ความ” มีเหตุมีผลอยูในตัวเสร็จ แถมยังมี “การไขความ” เป็นทอดๆ ไปอีก ทั้งการเดินประโยค ก็ซับซ้อนวกวนยิ่งขึ้น มีประโยคสังกร (ประโยค ย ต) มากขึ้น

          ดังนั้น นักศึกษาส่วนมากจึง “กลัว” วิชานี้กัน ทั้งที่ความจริงก็ใช้ หลักเกณฑ์ต่างๆ ตามที่เคยศึกษามาแต่ชั้นต้นๆ เหมือนกัน จะต่างกันนิดหน่อยก็ตรงที่ประโยคอธิบายความเช่นนี้ มักจะซับซ้อนและมีประโยคยาวขึ้นเท่านั้น

          อนึ่ง ถ้านักศึกษา “เป็น” ในวิชาแปลไทยเป็นมคธในชั้นต้นๆ มาดีแล้ว ก็จะสามารถแปลไทยหรือแต่งไทยเป็นมคธในชั้นสูงๆ ได้โดยไม่ยากนัก เท่าที่สังเกตดูใบตอบของนักเรียนชั้นสูงๆ ที่ตอบในสนามหลวง มักจะแสดงถึงความไม่ค่อย “เป็น” ในกระบวนการแปลไทยหรือแต่งไทยเป็นมคธนัก ไม่ใช่ผิดศัพท์ ไม่ใช่ผิดประโยค แต่ใช้ศัพท์ผิดบ้าง วางศัพท์ผิดบ้าง ใช้สํานวนภาษาผิดบ้าง ใช้กาลผิดบ้าง ใช้ลิงค์ วจนะ วิภัตติผิดบ้าง ใช้นิบาต ใช้ปัจจัย เช่น โต ตฺตา ตา ปัจจัยผิดบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าให้ผิด แต่ก็ทำผิดไป อันแสดงถึงความไม่รู้ไม่เข้าใจ เป็นส่วนสำคัญ ที่ผิดเพราะเผลอก็มีบ้าง ผิดเพราะเข้าใจผิดก็มีบ้าง แต่ผิดเพราะไม่รู้เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นที่น่าเสียดายว่าในชั้นสูงๆ ไม่น่าจะ ผิดเช่นนั้น แม้บางครั้งจะไม่ผิดรุนแรง แต่ก็เสียภูมิมากอยู่ อาจทำให้ เสียคะแนนโดยใช่เหตุ

          ในบทที่ว่าด้วยการเรียงประโยคอธิบายความบทนี้ จึงจักแสดง ข้อปลีกย่อยที่สังเกตเห็นได้จาก “ผิด” ที่นักศึกษา “ทำ” ไว้เพื่อเป็นแนวทาง ให้เป็น “ถูก” ต่อไปในกาลข้างหน้า โดยจะเน้นเฉพาะอย่างเฉพาะเรื่อง ไป คือ

 

หลักการแก้คำ

          ในประโยคแก้อรรถที่แก้ข้อความเพียงคำเดียว เรียกว่า “แก้คำ” บทตั้งนั้น น่ามาจากคาถาข้างต้นบ้าง จากข้อความข้างต้นที่กล่าวไว้ก่อนบ้าง จากปกรณ์อื่นๆ ที่กำลังอธิบายขยายความถึงในตอนนั้น หรือเรื่องนั้นๆ บ้าง ในประโยคเช่นนี้ มีหลักการเรียงดังนี้

          (๑) เรียงบทตั้งไว้ข้างหน้า มี อิติ ศัพท์คุม แล้วตามด้ายบทแก้

          (๒) บทแก้นั้นจะต้องมีลักษณะเหมือนกับบทตั้ง คือ ถ้าบทตั้งเป็น ศัพท์นามประกอบด้วยวจนะและวิภัตติอะไร บทแก้จะต้องมีวจนะและ วิภัตติเช่นเดียวกัน ถ้าบทตั้งเป็นศัพท์กิริยา ประกอบด้ายกิริยา ประเภทไหน กิริยาอาขยาต กิริยากิตก์ หรือประกอบด้วยปัจจัยอะไร กาลอะไร วิภัตติอะไร เป็นต้น บทแก้จะต้องมีลักษณะเช่นเดียวกันกับบทตั้งนั้น

          (๓) หากว่ามีบทแก้ ๒ บท หรือ ๓ บท โดยมีคำไขว่า “คือ, ได้แก่” อยู่ด้วย บทแก้ต่อมานั้น ต้องประกอบศัพท์ให้มีลักษณะ เช่นเดียวกับบทแก้ตัวแรก และหลังบทแก้ตัวสุดท้าย จะใส่ อิติ อตฺโถไว้ ด้วย หรือไม่ใส่ ก็ใช้ได้เช่นกัน

          (๔) หากมีบทแก้เพียงบทเดียว ไม่นิยมใส่ อิติ อตฺโถ เข้ามารับ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ความไทย

: บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญตรา ได้แก่ เทวดา ตนหนึ่งผู้ไม่ปรากฏโดยชื่อและโคตร ฯ

เป็น

: ตตฺถ อญฺญตราติ นามโคตฺตโต อปากฏา เอกา ฯ (มงฺคล ๑/๗)

ความไทย

: บทว่า อภิวาเทตฺาา ได้แก่ ไหว้ ฯ

เป็น

: อภิวาเทตฺวาติ วนฺทิตฺวา ฯ (มงฺคล ๑/๘)

ไม่ใช่

: อภิวาเทตฺวาติ วนฺทติ ฯ (หรือ วนฺทมาโน หรือ วนฺทนฺโต)

ความไทย

: ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สยํ อภิญฺญา สจฉิกตฺวา ปเวเทติ ต่อไป ฯ  

 

บทว่า สยํ คือ เอง คือ เป็นผู้อันคนอื่นมิได้แนะนำ ฯ บทว่า อภิญฺญา คือ รู้ยิ่ง อธิบายว่า ทราบด้ายญาณอันยิ่ง ฯ

 

บทว่า สจฺฉิกตฺวา คือ ทำให้ประจักษ์ ฯ บทว่า ปเวเทติ คือ ให้รู้ คือ ให้ทราบ ได้แก่ ประกาศ ฯ

เป็น

: สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทตีติ เอตฺถ ปน สยนฺติสามํ อปรเนยฺโย หุตฺวา ฯ 

 

อภิญฺญาติ อภิญฺญาย อธิเกน ญาเณน ญตฺาาติ อตฺโถ ฯ สจฺฉิกตฺวาติ ปจฺจกฺขํ กตฺวา ฯ 

 

ปเวเทตีติ โพเธติ ญาเปติ ปกาเสติ ฯ (สมนฺต ๑/๑๓๔)

 

          (๕) ในกรณีที่มีการแก้คำในบทตั้งหลายๆ คำ บทแก้ก็ต้องใส่คำในบทตั้งซึ่งมิได้แก้ไว้ในประโยคร่วมกับบทแก้ที่ต้องการแก้ด้วย หากแก้ทุกบทในบทตั้งก็ดำเนินการไปตามปกติ เช่น

ความไทย

: สองบทว่า สีเล ปติฏฺฐาย ความว่า ดำรงอยู่ในศีล ฯลฯ บทว่า สปญฺโญ คือ ผู้มีปัญญา ด้วยปัญญาตั้งแต่ปฏิสนธิ

 

อันประกอบด้วยไตรเหตุ ฯ บาทพระคาถาว่า จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ ความว่า เจริญสมาธิและวิปัสสนา ฯ

เป็น

: สีเล ปติฏฺฐายาติ สีเล ฐตฺวา ฯ สปญฺโญติ กมฺมชติเหตุกปฏิสนฺธิปญฺญาย ปญฺญวา ฯ

 

จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยนฺติสมาธิญฺเจว วิปสฺสนญฺจ ภาวยมาโน ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๔)

ความไทย

: สองบทว่า สติปจฺจยตา วฏฺฏติ ความว่า การได้ความที่มีสติเครื่องพิจารณาเป็นปัจจัย ย่อมควร ฯ

เป็น

: สติปจฺจยตา วฏฺฏตีติ ปจฺจเวกฺขณสฺสติยา ปจฺจยตฺตํ ลทฺธุํ วฏฺฏติ ฯ (มงฺคล ๑/๙๘)

                                      

ในการแก้คำเช่นตัวอย่างที่ยกมานี้ มีข้อความที่ควรคำนึงอยู่บาง ประการ คือ

(๑) ต้องวินิจฉัยว่า ท่านให้แก้ศัพท์ไหน ในบทตั้งที่มีหลายบท หรือให้แก้ทุกบทต้องอยู่ในดุลยพินิจ โดยสังเกตจากคำแปล เช่น ในประโยคว่า สีเล ปติฏฺฐาย ท่านมุ่งแก้ที่ศัพท์ ปติฏฺฐาย ไม่ได้มุ่งแก้ที่ สีเล เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นต้องแก้ทั้ง ๒ บท เป็น สีลมฺหิ ฐตฺวา ซึ่งมองดูไม่สละสลวย เพราะ สีลมฺหิ ไม่ค่อยมีใช้ทั้ง สีลมฺหิ และ สีเล ก็แปลอย่างเดียวกัน แก้เป็น สีลมฺหิ แล้วก็ไม่ได้ความวิเศษขึ้น

(๒) บทแก้นั้น จะต้องไม่ซํ้ากับบทตั้ง คือ ต้องใช้ศัพท์ หรือ ประกอบศัพท์ให้ต่างจากบทตั้ง จึงจะเรียกว่าแก้ หรืออธิบาย หากใช้ศัพท์เหมือนกัน แปลกแต่รูปวิภัตติ เช่น สีลมฺหิ สีเล เป็นต้นเท่านั้น เรียกว่ายังมิได้แก้ นอกเสียจาก ตฺวา อนฺต ปัจจัย ที่ท่านใช้ในรูปอื่น แก้ให้มีรูปเป็น ตฺวา อนฺต มาน ปัจจัยเพื่อให้ได้เห็นชัด ชื่อว่าแก้เหมือน กัน เช่น

นิกฺขมฺมาติ นิกฺขมิตฺวา ฯ

วิวิจฺจาติ วิวิจฺจิตฺวา ฯ

ภาวยนฺติ ภาวยมาโน ฯ

สมฺปสฺสนฺติ สมฺปสฺสนฺโต ฯ

รชนฺติ รชนฺโต ฯ

ปิวนฺติ ปิวนฺโต ฯ

                                                                               

(๓) บทที่แก้นั้น จะต้องมีนํ้าหนักและได้ใจความคล้ายคลึงหรือ เสมอกัน ไม่นิยมใช้ศัพท์ที่เมื่อใช้แล้วทำให้ความขาดนาหนัก หรือความ หมายด้อยลงไป เช่น

ความไทย

: บทว่า ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ขอ ฯ

เป็น

: ภิกฺขูติ ภิกฺขโก ฯ

 

(ไมใช่ ภิกฺขูติ ยาจโก ซึ่งทำให้ความด้อยไป)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search