ในประโยคอธิบายความ หากมีบทอุปมา แล้วมีเรื่องเล่า (นิทาน) ตามบทอุปมานั้นมาด้วย นิยมเรียงบทอุปมานั้นไว้ท้ายกิริยาคุมพากย์ ส่วนนิบาตอุปมาโชตกนั้น ท่านใช้ทั้ง วิย ยถา ยถาตํ และ เสยฺยถา ใช้ได้ทั้งหมด แปลกแต่ว่า
: วิย วางไว้ต้นประโยคไม่ได้ ต้องวางไว้ท้ายประโยค |
: ยถา วางไว้ต้นหรือท้ายประโยคก็ได้ |
: ยถาตํ และ เสยฺยถา วางไว้ต้นประโยค |
ดังตัวอย่างเช่น
ความไทย |
: เพราะฉะนั้น แม้ศีลของภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้วออก |
|
(จากอาบัติ) โดยเทสนาวิธีเป็นต้น ย่อมนำความสุข |
|
มาให้ได้ เหมือนศีลของพระสุธรรมเถระ ฯ |
เป็น |
: ตสฺมา อาปชฺชิตฺวา เทสนาทินา วุฏฐหโต สีลมฺปิ |
|
สุขาวหํ โหติ สุธมฺมตฺเถรสฺส วิย สีลํ ฯ |
หรือ |
: มาตาปิตุอุปฏฺฐาโก จ นาม วีสปีเตน สเรน วิทฺโธปิ |
|
มรณทุกฺขโต มุจฺจติ สุวณฺณสาโม วิย ยกฺขสนฺติกํ |
|
คโตปิ มุจฺจติ สุตโน นาม ทุคฺคโต วิย |
หรือ |
: โย ปน ฯเปฯ อญฺญตฺเรว โอภาสาทีหิ อุปฺปนฺนปจฺจเย |
|
ปฏิเสวติ, เอส ปรมสลฺเลขวุตฺตีติ วุจฺจติ |
|
เสยฺยถาปิ เถโร สารีปุตฺโต ฯ |
ในประโยคที่มีอุปมายาวๆ คือ มีข้อความเปรียบเทียบและคำขยายมาก ทั้งมีกิริยาอาการที่ทำด้วย ไม่นิยมแต่งเป็นรูป วิย แต่นิยมแบ่งประโยคอุปมาออกเป็นประโยคหนึ่งต่างหาก แล้วใช้ ยถา ตถา เอวํ เข้ามารับกัน ประโยคอุปมาใช้ ยถา ประโยคอุปไมยใช้ ตถา หรือ เอวํ และ จะวางประโยค ยถา ไว้หน้าประโยค ตถา เอวํ ก็ได้ วางไว้หลังก็ได้ แต่นิยมวางไว้หน้ามากกว่า
พึงดูตัวอย่าง
ความไทย |
: ส่วนโยมชายควรกระทำการให้อาบนํ้า นาดฟั้น เป็นต้น |
|
ด้ายมือของตน บำรุงเหมือนกับ (ทำให้) สามเณร ฯ |
|
(สนามหลวง ป.ธ.๗/๒๕๑๘) |
เป็น |
: ปิตา ปน ยถา สามเณโร เอวํ สหตฺเถน นฺหาปน- |
|
สมฺพาหนาทีนิ กตฺาา อุปฏฐาตพฺโพ (มงฺคล ๑/๑๘๖) |
ไม่ใช่ |
: ปิตา ปน ยถา สามเณรสฺส เอวํ…… |
|
หรือ ปิตา ปน ยถา สามเณรํ เอวํ…… |
ความไทย |
: แม้ลักษณะของอุปจารบ้านนั้น ก็คือร่วมในแห่ง |
|
สถานที่ตกของก้อนดินที่ถูกขว้างไป ดุจคนหนุ่มๆ |
|
เมื่อจะแสดงพลังของตน เหยียดแขนขว้าง |
|
ก้อนดินไปฉะนั้น ฯ |
เป็น |
: ตสฺส ลกฺขณมฺปิ ยถา ตรุณมนุสฺสา อตฺตโน พลํ |
|
ทสฺเสนฺตา พาหุํ ปสาเรตฺวา เลณฺฑุํ ขิปนฺติ |
|
เอวํ ขิตฺตสฺส เลณฺฑุสฺส ปตนฏฐานพฺภนฺตรํ ฯ |
ไม่ใช่ |
: ตสฺส ลกฺขณมฺปิ อตฺตโน พลํ ทสฺเสนฺตา พาหุํ |
ปสาเรตฺวา เลณฺฑุํ ขิปนฺติ ตรุณมนุสฺสา วิย |
|
ขิตฺตสฺส เลณฺฑุสฺส ปตนฏฐานพฺภนฺตรํ ฯ |
๕. ในประโยคอุปมาสั้นๆ ...
ในประโยคอุปมาสั้นๆ จะแยกเป็นประโยค ยถา ตถา หรือ จะใช้ วิย ศัพท์ ก็ได้ ทั้งนี้ ลองพิจารณาดูตามความเหมาะสมว่าควร จะเป็นไปในรูปใด เช่น
ความไทย |
: แม้ท่านก็จักตายเหมือนนกตัวนี้ ฯ |
เป็น |
: เอโส วิย ตฺวํปิ มริสฺสสิ ฯ (๕/๓๓) |
หรือ |
: ยถา เอโส ตถา ตฺวํปิ มริสฺสสิ ฯ (ใช้ได้) |
ความไทย |
: บุรุษใด ไม่มีสหายในหมู่บ้าน หมู่บ้านนั้นของเขา |
|
ย่อมเป็นเหมือนป่าทีไร้ผู้คน ฯ |
เป็น |
: ยสฺส ปุริสฺส คาโม สหาโย นตฺถิ ตสฺส โส คาโม, |
|
ยถา นิมฺมนุสฺสํ อรญฺญํ, ตเถว โหติ ฯ |
หรือ |
: ฯเปฯ ตสฺส โส คาโม นิมฺมนุสฺสํ อรญฺญํ วิย โหติ ฯ (ใช้ได้) |
ความไทย |
: บุคคลเหล่าใดเป็นผู้ประมาทแล้ว บุคคลเหล่านั้น |
|
เป็นเหมือนคนที่ตายแล้ว |
เป็น |
: เย ปมตฺตา ยถา มตา ฯ |
หรือ |
: เย ปมตฺตา, เต ยถา มตา โหนฺติ ตถา โหนฺติ ฯ (ใช้ได้) |
หรือ |
: เย ปมตฺตา เต มตา วิย โหนฺติ ฯ (ใช้ได้) |
๖. ในประโยคอุปมาที่มีกิริยาตัวเดียวกับประโยคอุปไมย...
ในประโยคอุปมาที่มีกิริยาตัวเดียวกบประโยคอุปไมย คือ มุ่ง ถึงกิริยาอาการที่เหมือนกัน เป็นการเปรียบเทียบลักษณะอาการที่เป็นอย่างเดียวกัน มีความนิยมดังนี้
- ในประโยคอุปมาไม่ต้องใส่กิริยา ที่มีความเช่นเดียวกับกิริยา ในประโยคอุปไมยไว้อีก ให้ละไวในฐานที่เข้าใจ
- ประโยคอุปมานั้นนิยมประกอบกับ วิย ศัพท์ มากกว่า อุปมาโชตกอื่น
- นิยมวางเฉพาะศัพท์ที่ไม่เหมือนกับศัพท์ ในประโยคอุปไมย ไว้เท่านั้น
- ถ้าในประโยคอุปมามีเพียงศัพท์เดียวคู่กับ วิย นิยมเรียงไว้หน้ากิริยาในประโยคอุปไมย ถ้ามีหลายศัพท์นิยมเรียงไว้หลังกิริยาในประโยคอุปไมยและเรียงไปตามหลักการเรียงปกติ แต่ไม่ต้องใส่กิริยาเข้ามารับ คงปล่อยไว้ให้ประโยคห้วนเฉยๆ
ดูต้วอย่างประกอบ
ศัพท์ |
: อญฺเญปิ โสตาปนฺนสกทาคามิอนาคามิโน อานนฺทตฺเถโร วิย |
|
สตฺถุ ทสฺสนํ สตฺถุ วจนสวนญฺจ ลภนฺติ ฯ (มงฺคล ๑/๙๓ |
(ประโยคเต็มเป็น สตฺถุ ทสฺสนํ สตฺถุ วจนสวนญฺจ ลภมาโน อานนฺทตฺเถโร วิย)
:โอภาเสตฺวาติ อาภาย ผริตฺวา จนฺทสุริยา วิย เอโกภาสํ |
กริตฺวาตฺยตฺโถ ฯ (มงฺคล ๑/๘) |
(ประโยคเต็มเป็น เอโกภาสํ กโรนฺตา จนฺทสุริยา วิย)
หลายศัพท์วางหน้า
: ยาว หิ อิมา จตสฺโส ปริสา มํ อิมาย ปฏิปตฺติปูชาย ปูเชสฺสติ ตาว มม |
สาสนํ นภมชฺเฌ ปุณฺณจนฺโท วิย วิโรจิสฺสติ ฯ (มงฺคล ๑/๗๗) |
(ประโยคเต็ม คือ นภมชฺเฌ วิโรจมาโน ปุณฺณจนฺโท วิย)
หลายศัพท์วางหลัง
: อยํ หิ ปิณฺฑปาตปฏิเสวนปจฺจยา กายพลํ นิสฺสาย สิกฺขตฺตยานุโลมวเสน |
ภวกนฺตารนิตฺถรณตฺถํ ปฏิปชฺชนฺโต พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย |
ปฏิเสวติ กนฺตารนิตฺถรณตฺถิกา ปุตฺตมํสํ วิย นทีนิตฺถรณตฺถิกา |
กุลฺลํ วิย สมุทฺทนิตฺถรณตฺถิกา นาวมิว จ ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๔๐) |
(ประโยคเต็มเป็น ...ปุตฺตมํสํ ปฏิเสวมานา วิย...กุลฺลํ ปฏิเสวมานา วิย...นาวํ ปฏิเสวมานา อิว จ)
ขอให้ดูประโยคต่อไปนี้เปรียบเทียบ
: เอวํ อสมฺปาทิเต หิ เอตสฺมึ ปาฏโมกฺขสีลมฺปิ |
อนทฺธนียํ โหติ อจิรฏฐิติกํ อสํวิหิตาสาขาปริวารมิว |
สสฺสํ ฯ หญฺญเต จายํ กิเลสโจเรหิ วิวฏทฺวาโร วิย คาโม |
ปรสฺส หารีหิ ฯ จิตฺตญฺจสฺส ราโค สมติวิชฺฌติ |
ทุจฺฉนฺนมคารํ วุฏฺฐิ วิย ฯ (วิสุทฺธิ ๑/๔๔) |
พึงสังเกตการวางตำแหน่งศัพท์ในประโยค ท่านวางตำแหน่งศัพท์ ในประโยคอุปมาไว้ในตำแหน่งเดียวกับในประโยคอุปไมยทั้งหมด เช่น
(กิริยา - วิเสสนะ - อนภิหิตกัตตา)
(กิริยา - วิเสสนะ - อนภิหิตกัตตา)
๗. ในกรณีที่มีการเทียบเคียงอุปมาอุปไมยเพื่อให้เข้าใจชัดเจน...
ในกรณีที่มีการเทียบเคียงอุปมาอุปไมยเพื่อให้เข้าใจชัดเจน ส่วนมากจะมีรูปประโยคเป็นลิงคตฺถทั้ง ๒ ประโยค มีความนิยมดังนี้
ดูติวิอย่างประกอบ
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710