26.บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย (การใช้ อิตร อปร อญฺญตร เอก, เอยฺย เอยฺยุํ, ตพฺพ)

 

การใช้ อิตร ศัพท์

          ที่แปลว่า “อีก...หนึ่ง” เช่น อีกคนหนึ่ง เป็นต้น ใช้ในกรณีที่ ข้อความข้างต้นได้เอ่ยถึงคนหลายคน หรือหลายสิ่งแล้ว ต่อมาได้แยกกล่าวกิริยาของแต่ละคนออกไป เมื่อกล่าวถึงคนแรกไปแล้ว จะกล่าวถึงอีกคนที่เหลือสุดท้าย นิยมใช้ อิตร ศัพท์แทนผู้นั้น เช่น

  • : (นารโท) อาจริย ตุมฺหากํ อิธ นิปนฺนภาวํ น ชานามิ, ขมถ เมติ วตฺวา ตสฺส กนฺทนฺตสฺเสว พหิ นิกฺขมิ ฯ อิตโรปิ อยํ ปวิสนฺโตปิ มํ อกฺกเมยฺยาติ ฯ (๑/๓๘)
  • : มรณภเยน ตชฺชิตสฺส ปนสฺส (จุนฺทสูกริกสฺส) พหิ นิกฺขมนํ นิวาเรตุ อสกฺโกนฺโต สพฺโพ เคหชโน ฯเปฯ รกฺขนฺโต อจฺฉติ ฯ อิตโรปิ อนฺโตเคเหเยว นิรยสนฺตาเปน วิรวนฺโต อิโต จิโต จ วิจรติ ฯ (๑/๑๑๘)

          แต่ในสิ่งที่มีเป็นคู่กันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น มือเท้า ตา หู ผัวเมีย เป็นต้น เมื่อกล่าวถึง สิ่งหนึ่ง ข้างหนึ่ง คนหนึ่งแล้ว จะ กล่าวถึงคนหรือสิ่งที่เหลือซึ่งเป็นคู่กันนั้น ก็นิยมใช้ อิตร ศัพท์ แทน แม้ว่าจะยังไม่กล่าวถึงมาก่อนเลยก็ตาม เช่น

  • : โส (ภิกฺขุ) เอเกน หตฺเถน ปตฺตํ คณฺหนฺโต อิตเรน กวาฏํ ปิทหิ ฯ

 

การใช้ อปร ศัพท์
 

          ที่แปลว่า “อื่นอีก” ใช้ในกรณีที่กำหนดบุคคลสัตว์หรือสิ่งอื่น จากที่กล่าวมาแล้ว คือ จะต้องมีบุคคลสัตว์สิ่งของถูกกล่าวถึงมาแล้ว อย่างหนึ่ง และศัพท์ที่ อปร เข้าด้วยนั้นจะต้องเป็นศัพท์ ที่เสมอกันกับ ศัพท์ต้น โดยคุณธรรม ฐานะ หรือชนิดเป็นต้น ตัวอย่างเช่น

  • : อตีเต พาราณสิยํ พาราณสีราเช รชฺชํ กาเรนฺเต เทวโล นาม ตาปโส ฯเปฯ วเสยฺยาม เอกรตฺตึ สาลายนฺติ อาห ฯ กุมฺภกาโร ฯเปฯ สาลํ  นิยฺยาเทสิ ฯ ตสฺมึ ปวิสิตฺวา นิสินฺเน, อปโรปิ นารโท นาม ตาปโส หิมวนฺตโต อาคนฺตฺวา ฯเปฯ (๑/๓๗)
  • : สา ปน เถเรน “กเถหิเยวาติ” วุจฺจมานา อาห ฯเปฯ เถโร   อญฺญานิปิ วิมานทฺวารานิ คนฺตฺวา อาคตาคตา อปราปิ เทวธีตโร ปุจฺฉิ ฯ (๖/๑๗๕)

          ใน ๒ ประโยคนี้ อปร ศพท์ ใช้เป็นวิเสสนะของดาบสและเทพธิดา อื่นซึ่งก็เป็นดาบส และเป็นเทพธิดาเหมือนกับศพท์ที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น

 

การใช้ อญฺญตร ศัพท์
 

          ที่แปลว่า “คนหนึ่ง สิ่งหนึ่ง” ใช้ในกรณีที่กำหนดบุคคล สัตว์ สิ่งของ ที่ไม่แน่นอนแจ่มชัดลงไปว่า เป็นบุคคล สัตว์สิ่งของไหนกันแน่ เพียงแต่ให้รู้ว่าเป็นคนหนึ่ง ตัวหนึ่ง หรือสิ่งหนึ่งเท่านั้น เช่น

ตัวอย่างว่า

: อปฺปมาทรโต ภิกฺขูติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต อญฺญตรํ ภิกฺขุํ อารพฺภ กเถสิ ฯ (๒/๑๑๑) (แสดงว่าในที่นี้ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งไม่แน่ชัดลง ไปว่ารูปไหน มีชื่อว่าอย่างโร เป็นต้น)

: โย ทณฺเฑน อทณฺเฑสุ อปฺปทุฏฺเฐสุ   ทุสฺสติ ทสนฺนมญฺญตรํ รานํ ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ ฯ (๒/๑๙) (แสดงว่าในที่นี้บุคคลนั้นย่อมประสบฐานะอย่างหนึ่งใน ๑(ว อย่าง แน่ แต่ไม่ แน่นอนชัดเจนลงไปว่าเป็นอย่างไหน)

 

การใช้ เอก ศัพท์
 

          ที่แปลว่า “หนึ่ง” เป็นได้ทั้งสังขยา และสัพพนาม มีวิธีใช้ต่างกัน คือ เอก สังขยา ใช้ในกรณีนับจำนาน เช่น หนึ่งคน สองคน เป็นต้น       เอกสัพพนาม ใช้ในกรณีกำหนดบุคคล สัตว์ สิ่งของ ที่ยังไม่ปรากฏชัด ไม่แน่นอน มีคติดุจ อญฺญตร ศัพท์ ดังกล่าวแล้ว เช่น

  • : อก นํ เอโก ทหรภิกฺขุ กติวสลา ตุมฺเหติ ปุจฺฉิตฺวา ฯเปฯ (๑/๓๖)
  • : เอโก กิร สาวตถีวาสี กุลปุตฺโต สตถ สนฺติเก ธมฺมกถํ สุตฺวา สาสเน อุรํ ทตฺวา ปพฺพชิโต ลทฺธูปสมฺปโท ติสฺสตฺเถโร นาม อโหสิ ฯ (๒/๑๔๕)

          นอกจากนี้ ยังใช้กรณีที่แยกส่วนย่อย ออกจากส่วนใหญ่ เพื่อกำหนดได้สะดวก มิใช่เป็นการนับจำนวน เช่น

  • : เอวํ เทเสนฺตสฺส ปน ตถาคตสฺส สนฺติเก นิสินฺนานํ  เตสํ เอโก นิสินฺนโกว นิทฺทายิ, เอโก องฺคุลิยา ภูมึ วิลิขนฺโต นิสีทิ ฯ (๗/๒๔)

          อนึ่ง เอกสัพพนาม ถ้าใช้ในกรณีเน้นให้ความนั้นๆ หนักแน่นขึ้น ท่านใช้ศัพท์นี้ ควบกัน ๒ ศัพท์ เป็น เอเกก แปลว่า แต่ละคนแต่ละ อย่าง เช่น

  • : เตตฺตึสเทาปุตฺตา อตฺตโน กุมฺเภ รตนปลฺลงฺเก นิสีทึสุ ฯ เตตฺตึสาย กุมฺภานํ เอเกกสฺมึ กุมฺเภ สตฺต สตฺต ทนฺเต มาเปสิ, เตสุ เอเกโก ปณฺณาสโยชนา-ยาโม ฯเปฯ (๒/๑๐๔)

 

พอสรุปได้ว่า

เอก ศัพท์ นำประโยค นำเรื่องได้ทั่วไปทั้งเจาะจงและไม่เจาะจง

อปร ศัพท์ ใช้เมื่อได้กล่าวถึงบุคคล สัตว์ สิ่งของอย่างเดียว กับนามเจ้าของตนมาก่อนแล้ว (เช่นตัวอย่าง กล่าวถึงดาบสมาก่อน ตรัสถึงพระดำรัสนั้นมาก่อน)

อิตร ศัพท์ ใช้เมื่อได้กล่าวถึงคนหลายคนก่อน แล้วแยกกล่าว ถึงทีละคน กล่าวถึงคนแรกไปแล้ว จะกล่าวถึงอีกคนที่เหลือ จึงใช้ อิตร ศัพท์ ได้

 

การใช้ เอยฺย เอยฺยุํ วิภัตติ

           ใช้ในกรณีที่ข้อความนั้น เป็นคำชักชวนเชิญชวนให้ทำ มิได้บังคับ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ ไม่ทำก็ไม่มิโทษ ไม่มิความผิด และไม่เสียหายแต่ อย่างไร แต่ถ้าทำตามได้ก็จะได้รับผลดีเอง เช่น

  • : เถรสฺส จ ตตฺถ เนว ญาตี น สาโลหิตา อตฺถิ, เกน สทฺธึ มนฺเตยฺย ฯ (๑/๑๐)
  • : ภนฺเต สเจ อยฺยา อิมํ เตมาสํ อิธ วเสยฺยํ , มยํ สรเณสุ ปติฏฺฐาย สีลานิ คณฺเหยฺยามาติ อาหํสุ ฯ (๑/๘)

 

การใช้ ตพฺพ ปัจจัย

          ใช้ในกรณีข้อความตอนนั้น เป็นความบังคับ ให้ทำกลายๆ จะไม่ทำไม่ได้ ไม่ทำแล้วจะมีโทษเสียหาย ซึ่งตรงกับสำนวนไทยว่า “ต้อง” นั่นเอง ส่วนมากใช้เน้นกิริยาคุมพากย์ ที่เป็นกัมมวาจก และภาววาจก เช่น

  • : กึ ปเนตํ อาวุโส ปฏิรูปํ นนุ อปฺปมตฺเตหิ ภวิตพฺพํ ฯ (๑/๘)
  • : ภนฺเต สุสาเน วสนฺเตน นาม อยฺเยน มจฺฉมํสปิฏฺฐติลคุฬาทีนิ วชฺเชตพฺพานิ, ทิวา น นิทฺทายิตพฺพํ ฯ ฯเปฯ (๑/๖๓)

          แสดงการใช้ศัพท์ในประโยคมาให้ดูพอเป็นแนวทาง เพื่อการค้นคว้าเองต่อไป ด้วยประการฉะนี้

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2025. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search