15.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ (เรื่อง วจนะ)

เรื่อง วจนะ

         เรื่องวจนะนี้  ความจริงไม่น่ามีปัญหา  เพราะมีเพียง ๒ วจนะ เท่านั้น แตกมีปัญหาเกิดขึ้นบ่อยๆ ส่วนมากมักจะเกิดเพราะนักศึกษา “เผลอ” โดยไม่คิดหรือคิดไม่ถึง หรือโดยความประมาท หรือโดยวิธี ใดก็ตาม เมื่อเขียนลงไปแล้วก็จัดเป็นผิดทั้งสิ้น แม้จะผิดเพราะความ เข้าใจผิดก็ตาม เมื่อใช้วจนะผิดแล้วก็ทําให้ความหมายผิดตามไปด้วย ทั้งบางเรื่องก็ผิดหลักความจริงเสียด้วย เช่น

: อนาถปิณฑิกเศรษฐีก็ดี นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ดี เมื่อไปไม่เคยมีมือเปล่าไป ด้วยคิดว่า พระหนุ่มเณรน้อย ทั้งหลายจักแลดูมือเรา

เป็น   : อนาถปิณฺฑิกเสฏฺฐีปิ วิสาขาปิ มหาอุปาลิกา ฯเปฯ คจฺฉนฺตา จ “ทหรสาม
          เณรา  โน หตฺถํ โอโลเกสฺสนฺตีติ ตุจฺฉหตฺถา น คตปุพฺพา ฯ (๑/๔)

หรือ  : อนาถปิณฺฑิกเสฏฺฐีปิ ฯเปฯ “ทหรสามเณรา  มยฺหํ หตฺถํ โอโลเกสฺสนฺตีติ ฯเปฯ

คำที่ใช้ตัวเน้นใน ๒ ประโยคนี้ ผิดวจนะทั้งคู่

ประโยคแรก หตฺถํ จะเป็น เอก.ไม่ได้ เพราะผิดความจริงและ ค้านกับศัพท์ว่า โน ซึ่งเป็น พหุ. คือ คนหลายคน (โน) จะมีมือเพียงมือ เดียว (หตฺถํ) ไม่ได้

        ประโยคที่ ๒ ผิด เพราะผิดความนิยม คือ ในเลขนอก ประธาน คิดกันหลายคน เป็น พหุ. แต่ในเลขในเป็นเอก. (มยฺหํ) ซึ่งแสดงว่าคิด คนเดียว และ หตฺถํ ก็ผิดความจริงอีก ในแง่ที่ว่าพระหนุ่มเณรน้อย ตั้งหลายรูป จะมองดูคนตั้งหลายคนเห็นเพียงมือข้างเดียวไม่ได้

        ในประโยคอื่นพึง เทียบ เคียงประโยคข้างต้น เช่น

  • : บัดนี้ แม้มือของเราก็กระดิกกระเดี้ยไม่ได้
  • : อิทานิ เม หตฺโถปิ อวิเธยฺโย ฯ (ผิด)
  • : พวกมนุษย์เห็นเหล่าภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร มีจิตเลื่อม ใส จึงปูลาดอาสนะแล้วนิมนต์ให้นั่ง
    : มนุสฺสา วตฺตสมปนฺเน ภิกฺขู ทิสฺวา ปสนฺนจิตฺตา อาสนํ ปญฺญาเปตฺวา นิสีทาเปสุํ ฯ (ผิด)

 

การใช้วจนะจึงพอสรุปได้ดังนี้

         (๑) ศัพท์ที่นิยมใช้เป็น เอก. อย่างเดียว ก็ต้องใช้ในรูป เอก. เท่านั้น ห้ามใช้ในรูป พหุ. เพราะผิดความนิยม คือ ศัพท์นามที่นับจำนวนไม่ได้ เช่น อุทกํ นภา วาลุกา นิพฺพานํ เวลา สปฺปิ เป็นต้น ไม่มีใช้เป็นรูป พหุ. ว่า อุทกานิ นภาโย นิพฺพานานิ เป็นต้น

         (๒) ถ้าเพ่งกำเนิดเดิม ไม่มุ่งถึงประเภท หรือ จำนวนที่แยกออก ให้ใช้เป็น เอก.ได้ ถ้ามุ่งถึงจำนวนหรือต้องการแยกประเภท จึงใช้เป็นพหุ. เช่น

: อาหาโร เพ่งอาหารไม่จำกัดชนิด
  อาหารา เพ่งอาหารชนิดต่างๆ
: มหาชโน เพ่งคนมากพวกเดียวกัน
  มหาชนา  เพ่งคนมากหลายพวก หลายหมู่
: ปริสา เพ่งบริษัทที่เป็นพวกเดียวกัน
  ปริสาโย เพ่งบริษัทต่างพวกกัน
: สีลํ  เพ่งคุณความดีอย่างหนึ่ง
  ลีลานิ เพ่งจำนวนศีลเป็นข้อๆ
: ทานํ  เพ่งสิ่งของเป็นทานไม่จำกัดชนิดอย่างหนึ่ง
  ทานานิ เพ่งสิ่งของเป็นทานต่างชนิด
: ปานํ เพ่ง เครื่องดื่มไม่จำกัดชนิด
  ปานานิ เพ่งเครื่องดื่มต่างชนิด ฯลฯ

         (๓) บทวิเสสนะก็ดี บทอัพภันตรกิริยาก็ดี บทกิริยาคุมพากย์ ก็ดี ต้องมีวจนะเสมอกับบทประธานหรือบทที่ตนขยาย บางครั้งประโยค ยาว นักศึกษาเรียงศัพท์เพลินไป เลยใส่วิเสสนะผิดวจนะบ้าง ใส่กิริยา

ผิดวจนะบ้าง ตัวอย่างเช่น

  • : เอเตปิ เอกสฺส พุทฺธสฺส สนฺติเก อรหตฺตํ ปตฺเถนฺตา พหุํ ปุญฺญกมฺมานิ กตฺวา อปรภาเค อนุปฺปนฺเน พุทฺเธ สหายโก หุตฺวา วคฺคพนฺเธน ปุญฺญานิ กโรนฺโต อนาถสรีรานิ ปฏิชคฺคนฺโต วิจริ ฯ

         (๔) การใช้วจนะเป็นการแสดงถึงความเคารพ คือใช้เป็น พหุ. สำหรับคนๆ เดียว ต้องใช้ให้ตลอดเรื่อง ไม่ใช่ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ลักลั่น กัน เช่น

  • : โส ฯ เปฯ จินฺเตตฺวา “เตนหิ ภนฺเต คจฺฉถาติ เถรํ วิสฺสชฺเชตฺวา ฯเปฯ สยนฏฺฐานํ อทิสฺวา “ภนฺเต นิสินฺเนน ตยา อาสิตฺตํ นิปนฺเนนาติ ฯ เถโร ตุณฺหี อโหสิฯ มา ภนฺเต เอวมกตฺถ ฯเปฯ (๑/๙)

         (๕) ศัพท์สมาสที่มีรูปเป็นเอก. อย่างเดียว ไม่มีที่'ใช้เป็น พหุ. คือ ธมฺมวินโย, ปุตฺตทาโร, จุตูปปาโต, ภิกฺขุสงฺโฆ, ลาภสกฺกาโร, นามรูปํ, กุสลากุสลํ, สมถวิปสฺสนํ, หิโรตฺตปฺปํ, ขนฺติโสรจฺจํ ฯเปฯ

         ศัพท์เหล่านี้ ต้องกำหนดให้ดีและใช้ให้ถูกต้องตามความนิยม ของภาษา

         เท่าที่แสดงมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่พอเห็นได้ชัดเท่านั้น ข้อ ปลีกย่อยและรายละเอียด พร้อมทั้งข้อยกเว้น เช่น วจนวิปลาส เป็นต้น ยังมีอีกมาก ขอให้นักศึกษาพึงใช้ความสังเกตและค้นคว้าด้วยตัวเอง เรื่อยไปเถิด จะเกิดความรู้และความเข้าใจยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


45612213
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3497
40295
43792
45235495
271265
1019588
45612213

Your IP: 35.171.164.77
2024-10-07 02:24
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search