วิธีเรียงประโยคอนาทร
ประโยคอนาทร คือ ประโยคที่แทรกเข้ามาในประโยคใหญ่
เป็นประโยคที่มีเนื้อความไม่เอื้อเฟื้อคล้อยตามประโยคที่ตนแทรกเข้ามา แต่ทำให้เนื้อความในประโยคใหญ่ชัดเจนขึ้น
ประโยคอนาทรประกอบด้วย ส่วนประกอบใหญ่ ๒ ส่วน คือ ส่วนนาม กับ ส่วนกิริยา ตัวนามประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ ตัวกิริยา ประกอบด้วย ต อนฺต มาน ปัจจัย และเป็นฉัฏฐีวิภัตติเช่นเดียวกัน ทั้งต้องมีลิงค์ วจนะ เหมือนตัวนามด้วย ซึ่งก็คล้ายเป็นวิเสสนะนั่นเอง และจะมีบทขยายนาม หรือขยายกิริยาด้วยก็ได้แล้วแต่ความ ประโยคอนาทรมีวิธีเรียง ดังนี้
๑. ถ้ามุ่งจะกล่าวถึงเนื้อความตอนต้นกับตอนปลายให้สัมพันธ์กันโดยไม่ขาดตอน นิยมเรียงไว้ต้นประโยค หน้าบทประธาน เช่น
๒. ถ้าเป็นเนื้อความแทรกเข้ามาลอยๆ แทรกเข้ามาตอน ไหน ให้เรียงไว้ตอนนั้น เช่น
วิธีเรียงลักขณะ
ประโยคลักขณะ เป็นประโยคแทรกเข้ามาในประโยคใหญ่ เพื่อทำให้เนื้อความชัดเจนขึ้น ทั้งทำหน้าที่ขยายเนื้อความข้างหลังในประโยคนั้นด้วย
ประโยคลักขณะ ก็เหมือนกับประโยคอนาทร ทั้งนามและกิริยา แปลกแต่ว่าในประโยคลักขณะต้องประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติเท่านั้น แม้ วิธีการเรียงในประโยคก็มี ๒ ลักษณะดังกล่าวแล้วเช่นกัน เช่น
ข้อสังเกต
ประโยคอนาทรกับประโยคลักขณะทั้งสองนี้ หากมองในความ ภาษาไทยแล้วแทบจะไม่รู้เลยว่า ความตอนนี้เป็นประโยคชนิดใด เพราะในวิชาแปลมคธเป็นไทย เราบัญญัติไว้ว่า อนาทรให้แปลว่า “เมื่อ” ลักขณะให้แปลว่า “ครั้นเมื่อ” ต่างกันอยู่ แต่ในวิชาแปลไทยเป็นมคธ นิยมแปลว่า “เมื่อ” เหมือนกันทั้งสองอย่าง จึงทำให้สับสนยากที่จะ ตัดสินใจว่าความนี้เป็นประโยคอนาทร หรือประโยคลักขณะ
เท่าที่สังเกตดูพอจับเค้าได้ว่า หากเนื้อความตอนนั้นส่อไปว่า อาจแปลเป็น “แห่ง” หรือ “ของ” และเข้ากับประธานในประโยคหรือศัพท์ใดศัพท์หนึ่งในประโยคก็ได้ คือเป็นได้ทั้งอนาทรและสามีสัมพันธะอย่างนี้ ความตอนนั้นจะเป็นประโยคอนาทรเลียเป็นส่วนมาก
แต่ถ้าความตอนนั้นไม่ส่อไปในลักษณะนั้น แยกตัวต่างหาก เบ็ดเสร็จไปเลย ไม่มีเค้าว่าจะสัมพันธ์เข้ากับบทใดบทหนึ่งในประโยคนั้น ได้เลย เนื้อความตอนนั้นจัดเป็นประโยคลักขณะแน่
ดูตัวอย่างประกอบ
ในประโยคนี้เมื่อกลับเป็นภาษาบาลีแล้ว อาจแปลได้อีกอย่างหนึ่ง ว่า พี่ชายของน้องชายผู้กำลังร้องไห้อยู่ทีเดียว ไปยังสำนักของพระศาสดา ทูลขอบวชแล้ว
ประโยคนี้ ส่อให้แปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อผ่านไปเดือนแรก โรคตาของพระเถระผู้ไม่ยอมงีบหลับก็เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้
ในตัวอย่างทั้งสองนี้ เราอาจเรียงเป็นว่า ตสฺมึ วิรวนฺเตเยว และ เป็น เถเร นิทฺทํ อโนกฺกมนฺเต ก็ได้ แต่เนื้อความจะขาดห้วนเด็ดขาด ทำนองไม่เกี่ยวกับศัพท์ใดในประโยค ทั้งๆ ที่ส่อว่าสัมพันธ์กันอยู่
นัยตรงข้าม หากเนื้อความตอนใดไม่ส่อว่าประโยคแทรกจะ สัมพันธ์เข้ากับประธานได้เลย แยกออกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก ก็ให้เรียง เป็นประโยคสักขณะ ดังตัวอย่าง
ประโยคนี้ เนื้อความไม่ส่อว่าประโยคแทรกจะสัมพันธ์เข้ากับ ประธานได้เลย แยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จึงต้องเรียงอย่างนี้ หาก จะแต่งเป็นประโยคอนาทรว่า ตสฺส อรหตฺตํ ปตฺตสฺส สตฺถา...ก็จะ กลายเป็นว่า พระศาสดาของพระภิกษุรูปนั้น ซึ่งความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
นี้เป็นเพียงข้อสังเกต ซึ่งขอฝากนักศึกษาไว้พอเป็นแนวทาง พิจารณา และพอเป็นทางหาความรู้เพิ่มเติมสืบไป
อ้างอิง
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710