2.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (วิภัตติ ทั้ง ๗)

บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค

      ในบทก่อนได้กล่าวไว้ว่า การวางโครงสร้างประโยคบาลี ต้องเรียงศัพท์ให้ถูกหน้าที่ โดยให้บทขยายอยู่ข้างหน้าบทที่ถูกขยาย นี้เป็นกฎตายตัว แต่บทนี้จักกล่าวถึงรายละเอียดแห่งกฎเกณฑ์การเรียงประโยค โดยจะชี้แจงว่าควรจะวางศัพท์ต่างๆ ไว้ตรงไหนของประโยค และมีข้อยกเว้นอย่างไร เป็นต้น

      การวางศัพท์ในประโยคบาลีนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าหากวางผิดที่หรือสับหน้าสับหลังกัน นอกจากจะผิดความนิยมแห่งภาษา แล้วยังอาจทำให้ผิดความมุ่งหมาย หรือเกิดความคลุมเครือได้

      ยกตัวอย่างเช่น ความไทยว่า “ภิกษุให้จีวรแก่สามเณร”

      กลับเป็นมคธว่า “ภิกขุ สามเณรสฺส จีวรํ เทติ”

      เรียงอย่างนี้มองดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะผิดตรงไหน แต่ถ้าเอากฎเกณฑ์เข้าจับแล้ว จะเห็นได้ว่าประโยคบาลีที่แต่งไว้นั้นคลุมเครือ คือ นอกจากจะแปลว่า ภิกษุให้จีวรแก่สามเณรแล้ว อาจแปลว่า ภิกษุให้จีวรของสามเณร คือ ภิกษุเอาจีวรของสามเณรไปให้แก่ผู้อื่น ดังนี้ก็ได้ เพราะตามประโยคและการสัมพันธ์ น่าจะเป็นได้มากกว่าคำแปลแรก

      ดังนั้น จึงต้องเรียงเสียใหม่ว่า “ภิกฺขุ จีวรํ สามเณรสฺส เทติ” ดังนี้เป็นอันชัดเจน ดิ้นไม่ได้ ไม่ คลุมเครือเหมือนตัวอย่างแรก

      หรืออย่างความไทยว่า “ครรภ์ตั้งขึ้นในท้องของภริยาของเศรษฐี นั้นแล้ว”

      กลับเป็นมคธว่า “อถสฺส ภริยาย กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาสิ ฯ

      อย่างนี้ถูกต้องทั้งทางความหมายทั้งทางสัมพันธ์ เพราะ อสฺส สัมพันธ์เข้ากับ ภริยาย เรียงไว้หน้าภริยาย ภริยาย สัมพันธ์เข้ากับ กุจฺฉิยํ เรียงไว้หน้า กุจฺฉิยํ กุจฺฉิยํ สัมพันธ์เข้ากับ คพฺโภ ก็ได้ เข้ากับ ปติฏฺฐาสิ ก็ได้ เป็นอันถูกต้องทุกศัพท์

      แต่ถ้าเรียงเสียใหม่ว่า อถสฺส คพฺโภ ภริยาย กุจฺฉิยํ ปติฏฺฐาสิ อย่างนี้ตามหลักการเรียง และหลักไวยากรณ์ ดูเหมือนจะไม่น่าผิด แต่ ลองคิดทางสัมพันธ์ และแปลดูประโยคนี้ อสฺส อาจสัมพันธ์เข้ากับ คพฺโภ ก็ได้ เพราะวางไว้ตรงหน้า

      เมื่อเป็นดังนี้ จึงต้องแปลว่า ครรภ์ของเศรษฐีนั้น ตั้งขึ้นใน ท้องของภรรยา แปลดังนี้ ก็อาจถูกค้านว่าแปลเข้าไปได้อย่างไร แต่ ลองพิจารณาดูเถิด ก็รูปศัพท์และรูปประโยคบังคับให้แปลอย่างนั้นก็ได้ ขอให้นักศึกษาจำไว้อย่างหนึ่งว่า การเขียนหนังสือภาษาไทยก็ตาม ภาษาบาลีก็ตาม โดยเฉพาะเขียนเวลาสอบ ต้องนึกว่าเขียนให้คนที่ไม่รู้เรื่อง อ่าน และไม่รู้เรื่องราวมาก่อน จึงต้องเขียนให้ชัดเจนชนิดดิ้นไม่ได้ อย่า คิดว่ากรรมการมีความรู้ดีกว่าเรา ท่านรู้มาแล้วท่านคงแปลของเราได้ ต้องคิดว่า กรรมการนั้นมีหน้าที่คอยจับผิดและคอยจับผิดความรู้ของเรา แม้จะรู้ว่าเราเข้าใจผิด ก็ต้องปรับเป็นผิดอยู่นั่นเอง

      ดังนั้น การเรียงศัพท์เข้าประโยคให้ถูกต้อง ตามหลักแห่ง ความนิยมทางภาษา และให้ชัดเจนไม่คลุมเครือว่าอย่างนี้ก็ได้ อย่าง นั้นก็ได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อมีความเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ของการ เรียงศัพท์แต่ละศัพท์ไปตามหน้าที่อย่างถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถสร้าง ประโยคภาษาบาลีได้เองตามต้องการโดยไม่ยากนัก และจะเป็นอุปการะในการศึกษาในชั้นสูงๆ ขึ้นไปอีกด้วย

วิธีเรียงปฐมาวิภัตติ บทประธาน

      ศัพท์ปฐมาวิภัตติซึ่งทำหน้าที่เป็นบทประธานในประโยคนั้น มีที่มา มากมาย ซึ่งพอสรุปให้เห็นได้ว่า ศัพท์ที่จะเป็นประธานได้นั้นก็คือศัพท์ จำพวกต่อไปนี้

  • ๑. ศัพท์นามนามแท้ทั่วไป เช่น ภิกฺขุ ปุริโส อิตฺถี ธนํ
  • ๒. ศัพท์นามนามผสม คือ ศัพท์สมาสหรือศัพท์ตัทธิตที่ผสมกัน ตั้งแต่สองศัพท์ขึ้นไป และใช้เป็นนามนามได้ เช่น สทฺทสญฺญา ธมฺมเทสนา สหายภาโว
  • ๓. ศัพท์ปุริสสัพพนาม เช่น โส เต อหํ มยํ เป็นต้น
  • ๔. ศัพท์คุณนามที่ใช้เป็นดุจนามนาม เช่น ปณฺฑิตา ทนฺธา
  • ๕. ศัพท์กิริยานาม หรือภาวนาม คือ ศัพท์ที่ปรุงมาจากนามกิตก์ ทั้งหมด และปรุงมาจากกิริยากิตก์บางตัว คือ อนีย ตพฺพ และ ต ปัจจัย เช่น กรณํ อุปสมฺปทา พุทฺโธ มตามตํ ขาทนียํ มริตพฺพํ (ได้ใน ประโยคว่า ปสฺสถาวุโส อายุวฑฺฒนกุมาเรน กิร สตฺตเม ทิวเส มริตพฺพํ อภวิสฺส ฯ )
  • ๖. ศัพท์ตัทธิตบางศัพท์ เช่น นาวิโก เมธาวี กาสาวํ
  • ๗. ศัพท์ปกติสังขยาตั้งแต่ เอกุนสตํ (๙๙) ขึ้นไป เช่น สตํ สหสฺสํ
  • ๘. ศัพท์อัพยยศัพท์บางอย่าง เช่น สาธุ อลํ อิทานิ อชฺช ตถา
  • ๙. ศัพท์กิริยาสมาส คือ กิริยาที่เข้าสมาส เช่น นตฺกิปูโว อตฺถิภาโว อโหสิกมฺมํ

      ศัพท์เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่าง เพราะมีให้เห็นอยู่ดาษดื่นและทราบกันดีอยู่แล้วจึงขอผ่านไป

      การเรียงปฐมาวิภัตติ หรือบทประธานนี้ไม่มีแน่นอนตายตัวว่า จะต้องเรียงไว้เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ในประโยค อันนี้ก็แล้วแต่เนื้อความ ในประโยคว่าจะสั้นยาวและมีโครงสร้างอย่างไร แต่พอสรุปกฎเกณฑ์ ให้เป็นแนวทางได้ดังนี้

      ๑. ถ้าเป็นประโยคโดดๆ สั้นๆ และไม่มีบทขยายประธาน หรือ บทนิบาตต้นข้อความอยู่ด้วย ให้เรียงดังนี้

ในประโยคกัตตุวาจก เหตุกัตตุวาจก ให้เรียงไว้ต้นประโยค เช่น

  • : สูโท โอทนํ ปจติ ฯ
  • : สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ ฯ
  • : มนุสฺสา วตฺตสมฺปนฺเน ภิกฺขู ทิสฺวา ปสนฺนจิตตา ฯเปฯ (๑/๗)

ในประโยคอื่นนอกจากนี้ ให้เรียงไว้หลังตัวอนภิหิตกัตตา เช่น

  • : สูเทน โอทโน ปจิยเต ฯ
  • : สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต ฯ
  • : ภนฺเต มยา เตลํ ปจิตฺวา เปสิตํ ฯ (๑/๙)

ในประโยคกัมมวาจกและประโยคเหตุกัมมวาจก หากไม่มีตัวอนภิหิตกัตตา ก็ให้เรียงไว้ต้นประโยคได้ เช่น

  • : ปณฺณํ มม สหายเกน ตุยฺหํ เปสิตํ ฯ
  • : อยํ ถูโป ปติฏฺฐาปิโต ฯ

      ๒. ถ้ามีนิบาตต้นข้อความ หรือศัพท์กาลสัตตมี หรือศัพท์ขยาย กิริยาบางศัพท์ เช่น อถ ยทิ ตทา กึการณา เป็นต้นอยู่ข้างหน้าก็ดี บทประธานนั้นมีบทขยายประธานอยู่ด้วยก็ดี ให้เรียงไว้หลังบทนิบาต เป็นต้นเหล่านั้น เช่น

  • หลังนิบาต : สเจ ตฺวํ อภิกงฺขมาโน อาคโตสิ ฯ
  • หลังกาลสัตตมี : ตทา กิร สาวตฺถิยํ สตฺต มนุสฺสโกฏิโย วสนฺติ ฯ (๑/๕)
  • หลังบทขยยายกิริา : อถสฺส ภริยาย กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาสิ ฯ
  • หลังบทขยายประธาน : อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตา ฯ (๑/๓)

      พอสรุปได้ว่า ศัพท์ที่จะวางไว้หน้าตัวประธานในประโยคได้ คือ นิบาตต้นข้อความ ศัพท์กาลสัตตมี ศัพท์ขยายกิริยา ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ขยายประธานด้วย และศัพท์ขยายประธานโดยตรง ถ้าไม่มีศัพท์เหล่านี้ ให้เรียงประธานไว้ต้นประโยค

วิธีเรียงทุติยาวิภัตติ

      ทุติยาวิภัตติ ในประโยคมีหน้าที่เป็นบทกรรมหรือเป็นบทขยาย กิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง และในทางสัมพันธ์ก็สัมพันธ์เข้ากับกิริยาอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงต้องเรียงไว้หน้ากิริยาที่ตนขยายและสัมพันธ์เข้า ด้วยเสมอ เช่น

  • : สจายํ ปุตฺตํ วา ธีตรํ วา ลภิสฺสติ, อยเมว กุฏุมฺพสฺส สามินี ภวิสฺสติ ฯ (๑/๔๓)
  • : ยถา ทารกํ ลภติ, ตเถว นํ กาตุํ วฏฺฏติ ฯ (๑/๔๓)
  • : โส เทสนาปริโยสาเน สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา ปพฺพชฺชํ ยาจิ ฯ (๑/๖)

      ข้อยุ่งยากในการเรียงทุติยาวิภัตติก็คือ เมื่อมีทุติยาวิภัตติหลายศัพท์ แต่ต่างสัมพันธ์กันอยู่ในประโยคเดียวกัน ซึ่งจะเรียงอย่างไรนั้น ข้อนี้มีวิธี ดังนี้

      ๑. ถ้าบท อวุตฺตกมฺม (ซึ่ง) มาร่วมกับ การิตกมฺม (ยัง) อกกิตกมฺม (กะ,เฉพาะ) และ อจฺจนฺตสํโยค (สิน,ตลอด) ให้เรียง อวุตฺตกมฺม ไว้ชิดกิริยาที่สุด นอกนั้นเรียงไว้หน้า อวุตฺตกมฺม เช่น

การิตกมฺม  : นายยังพ่อครัวให้หุงข้าวสุก

: สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ ฯ

อกถิตกมฺม : พระเถระครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มี พระภาคเจ้า

: เถโร อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ เอตทโวจ ฯ

อจฺจนฺตสํโยค : ข้าพเจ้าขอเข้าจำพรรษาตลอดไตรมาสนี้ ในอาวาสนี้

: อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ฯ

      ๒. ถ้าบท อวุตฺตกมฺม มาร่วมกับบท สมฺปาปุณิยกมฺม (สู่) ให้เรียงบท อวุตฺตกมฺม ไว้ข้างหน้า เช่น

: ภิกษุทั้งหลายนําพระศาสดาไปสู่ถํ้ามัททกุจฉิ
: ภิกฺขู สตถารํ มทฺทกุจฺฉึ นยึสุ ฯ (๔/๔๓)

      ๓. ถ้าบท อวุตฺตกมฺม มาร่วมกับบท วิกติกมฺม (ให้เป็น, ว่าเป็น) ให้เรียงบทอวุตฺตกมฺมไว้หน้า บทวิกติกมฺมไว้หลัง ชิดกริยา เช่น

: เขาได้ทำนางให้เป็นภริยาของตนแล้ว
: โส ตํ อตฺตโน ภริยํ อกาสิ ฯ
: ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะที่พึ่ง
: พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ

      ๔. บท อวุตฺตกมฺม กับบท วิกติกมฺมซึ่งมาร่วมกันอาจต่างวจนะกันก็ได้ ตามความหมาย เช่น

: ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงแบ่งนาออกเป็นสองส่วน อย่าแตะต้องส่วนของผม....ทำสิ่งนั้นเถิด

: เตนหิ เขตฺตํ เทว โกฏฺฐาเส กตฺวา มม โกฏฺฐาสํ อนามสิตฺวา ....ตํ กโรหิ ฯ (๑/๘๘)

 

สรุปความแล้ว

๑. บททุติยาวิภัตติให้เรียงไว้หน้ากิริยาที่ตนสัมพันธ์เข้าเสมอ

        ๒. ถ้าบททุติยาวิภัตติมาร่วมกันหลายบท ให้เรียงบทอวุตฺตกมฺม (ซึ่ง) ไว้หน้าบท สมฺปาปุณิยกมฺม (สู่) และบท วิกติกมฺม (ให้เป็น, ว่าเป็น) เท่านั้น นอกนั้นเรียงบทอวุตฺตกมฺมไว้ข้างหลังทั้งสิน ตามผังดังนี้

ซี่ง - สู่
ยัง - ซี่ง
สิ้น, ตลอด - ซึ่ง
กะ,เฉพาะ - ซึ่ง
ซึ่ง - ให้เป็น, ว่าเป็น

 

วิธีเรียงตติยาวิภัตติ

บทตติยาวิภัตติ มีวิธีเรียงศัพท์ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะใช้ในอรรถ หลายอย่าง แต่ละอย่างก็มีกฎเกณฑ์แปลกกันออกไป แต่พอกำหนดเป็น หลักได้ ดังนี้

๑. ที่แปลว่า “ด้วย โดย ตาม ทาง” จะสัมพันธ์เข้ากับนาม หรือกิริยาก็ตาม นิยมเรียงไว้หน้าบทที่ตนขยายและสัมพันธ์เข้าด้วยนั้น เช่น

  • : บิดามารดาผูกบุตรเหล่านั้นผู้เจริญวัยแล้วด้วยเครื่องผูก คือเรือน
  • : เต วยปฺปตฺเต ฆรพนฺธเนน พนฺธึสุ ฯ (๑/๔)
  • : ท้าวเธอทรงครองราชย์โดยธรรม
  • : โส ธมฺเมน รชฺชํ กาเรสิ ฯ

 

๒. บทตติยาวิภัตติที่เข้ากับ กึ และ อลํ นิยมเรียงไว้หลัง กึ และ อลํและไม่ต้องมีบทประธาน หรือกิริยากำกับประโยคอีก เช่น

  • : ประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน
  • : กึ เม ฆราวาเสน ฯ (๑/๖)
  • : อย่าเลย ด้วยการอยู่ในที่นี้แก่ท่าน
  • : อลนฺเต อิธ วาเสน

 

๓. ถ้ามาคู่กับบททุติยาวิกัตติ นิยมเรียงไว้หน้าบททุติยาวิกัตติ เช่น

  • : นางสิ้นชีวิตไปด้วยความป่วยไข้นั้นนั่นเอง บังเกิดเป็นแม่ไก่ในบ้านนั้นทีเดียว
  • : สา เตเนวาพาเธน กาลํ กตฺวา ตตฺเถว กุกฺกุฏี หุตฺวา นิพฺพตฺติ ฯ (๑/๔๔)

หรือจะเรียงไว้หลังบททุติยาวิกัตติบ้างก็ได้ เช่น

  • : คุณทั้งหลาย พวกคุณจะให้ไตรมาสนี้ผ่านไปด้วยอิริยาบถ เท่าไร ?
  • : อาวุโส อิมํ เตมาสํ กตีหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสถ ฯ (๑/๘)

 

๔. ที่แปลว่า “ด้วย” แต่เข้ากับ ปูรฺ ธาตุ นิยมแต่งเป็นรูป ฉัฏฐีวิภัตติ เช่น

  • : ฝ่ายอิสรชนบรรจุบาตรจนเต็มด้วยโภชนะของตนแล้ว กล่าวว่า ฯ
  • : อิสสรชโนปิ อตฺตโน โภชนสฺส ปตฺตํ ปูเรตฺวา............... อาห ฯ (๒/๓๖)

 

๕. บทอนภิหิตกตฺตา (อัน) เรียงไว้หน้าบทประธานก็ได้ เรียง ไว้หลังก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม แต่ในประโยคภาววาจก ให้เรียงไว้ หน้ากิริยา เช่น

  • : ท่านครับ นํ้ามัน ผมหุงส่งไปแล้ว ท่านหยอดที่จมูกแล้วหรือ ฯ
  • : ภนฺเต มยา เตลํ ปจิตฺวา ปหิตํ, นาสาย โว อาสิตฺตํ ฯ (๑/๙)
  • : ท่านขา อันพระคุณเจ้าอยู่ในป่าช้า ควรเว้นพวกปลา เนื้อ แป้ง งา และ นาอ้อยเสีย
  • : ภนฺเต สุสาเน วสนฺเตน นาม อยฺเยน มจฺฉมํสปิฏฺฐติลคุฬาทีนิ วชฺชตพฺพานิ ฯ (๑/๖๓)

      บทอนภิหิตกตฺตา ที่ทำหน้าที่ขยายกิริยาในระหว่างก็ดี ใน บทสมาสก็ดี ให้เรียงไว้หน้าบทที่ตนขยายเหล่านั้น เช่น

  • : พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินถูกชาวเมืองให้พ่ายแพ้อยู่ พระองค์ทรงเคยได้ยิน หรือทรงเคยได้เห็น ณ ที่ไหนบ้าง
  • : กหํ ตยา ปฐวิสฺสโร ราชา นาคเรหิ ปราชิยมาโน สุตปุพฺโพ วา ทิฏฺฐาปุพฺโพ วา (๖/๔๒)
  • : สินไหมอันท่านได้ยกขึ้นแล้ว จงมีแก่ท่านนั่นแหละ
  • : ตยา อาโรปิตทณฺโฑ ตุยฺหเมว โหตุ ฯ (๓/๙๓)

      วิธีเรียงบทอนภิหิตกตฺตานี้ กำหนดแน่นอนตายตัวลงไปไม่ได้ บางทีท่านเรียงไว้นอกแบบนี้ก็มี เช่น

  • : อตฺตโน อนนุจฺฉวิกํ วีตราคานํ อนุจฺฉวิกํ วตฺถํ ปริทหิตฺวา เอวรูปํ ปาปกมฺมํ กโรนฺเตน ภาริยํ ตยา กตํ ฯ (๑/๗๓)
  • : ภทฺทกนฺเต สามิ กตํ มม อาโรเจนฺเตน ฯ (๖/๑)

 

๖. บทเหตุ ซึ่งขยายบทใดให้เรียงไว้หน้าบทนั้น ทั้งนามทั้งกิริยา เช่น

  • : ชื่อว่าญาติ เพราะอำนาจเกี่ยวดองกับสกุล และชื่อว่า มิตร เพราะความเป็นผู้เห็นกันเป็นต้น
  • : กุลสมพนฺธวเสน ญาตี จ สนฺทิฏฺฐาทิภาเวน มิตฺตา จ...
  • : แม่คุณ ข้าวกล้าที่เธอทำไว้ ไม่เสียหายเพราะนํ้าท่วม ไม่เสียหาย เพราะนํ้าแห้ง เลย
  • : อมุม ตยา กตํ สสฺสํ เนว อจฺโจทเกน นสฺสติ น อโนทเกน นสฺสติ ฯ (๑/๔๘)

 

๗. บทเหตุ ถ้ามาคู่กับบทอวุตฺตกมฺม ให้เรียงไว้หน้าบทอวุตฺตกมฺม เช่น

  • : เมื่อไม่พูด เมื่อไม่ทำ ชื่อว่าย่อมยังมโนทุจริต ๓
  • ประการ ให้เต็ม เพราะตนมีใจถูกอภิชฌาเป็นต้น ประทุษร้ายแล้วนั้น
  • : อภาสนฺโต อกโรนฺโต ตาย อภิชฺฌาทีหิ ปทุฏฺฐมานส-
  • ตาย ติวิธํ มโนทุจฺจริตํ ปูเรติ ฯ (๑/๒๒)

 

๘. บทอิตฺถมฺภูต (มี, ด้วยทั้ง) ที่เป็นนาม นิยมเรียงไร้หลังตัว ประธานหน้ากิริยาคุมพากย์ ส่วนอิตถัมภูตกิริยา จะเรียงไร้หลังอิตถัมภูตนาม หรือเรียงไว้หน้าก็ได้ เช่น

  • : ลิงนั้น ตกลงไปบนปลายตอแห่งหนึ่ง มีตัวถูกตอเสียบแล้ว ด้วยทั้งใจที่เลื่อมใส ตายแล้ว................
  • : โส เอกสฺมึ ขาณุมตฺถเก ปติตฺวา นิพฺพิทฺธคตฺโต ปสนฺเนน จิตฺเตน กาลํ กตฺวา (๑/๘๘)
  • : นายพรานนั้นไม่อาจปล่อยหรือวางศรได้ มีนํ้าลายไหลออกจากปาก เป็นดั่งมีซี่โครงแตกอยู่มีรูปกระสับกระส่าย ยืนอยู่แล้ว
  • : โส สรํ วิสฺสชฺเชตุมฺปิ โอโรเปตุมฺปิ อสกฺโกนฺโต ผาสุกาหิ ภิชฺชนฺเตหิ วิย มุขโต เขเฬน ปคฺฆรนฺเตน กิลนฺตรูโป อฏฺฐาสิ ฯ (๘/๒๘)

 

๙. บทสหตฺถตติยา (กับ, ด้วย) คือตติยาวิภัตติที่เข้ากับ สห หรือ สทฺธึนิยมเรียงต่างกันคือ ถ้าเข้ากับ สห นิยมเรียงไร้หลัง สห ถ้าเข้ากับ สทฺธึ นิยมเรียงไว้หน้า สทฺธึ เช่น

  • : คาถาปริโยสาเน ตึสสหสฺสา ภิกฺขู สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ ปาปุณึสุ ฯ (๑/๒๒)
  • : อหํ ทุพุพโล, มยา สทฺธึ คจฺฉนฺตสฺส ตว ปปญฺโจ ภวิสฺสติ ฯ (๑/๑๗)

 

ในการเรียงตติยาวิดัตตินี้ มีข้อสรุปได้ดังนี้

  • ๑) ถ้ามาโดดๆ ขยายบทใดให้เรียงไว้หน้าบทนั้น
  • ๒) ถ้ามาคู่กับทุติยาวิภัตติ ให้เรียงไว้หน้าทุติยาวิภัตติ
  • ๓) ถ้าขยาย กึ และ อลํ ศัพท์ให้เรียงไว้หลัง กึ และ อลํ และ ไม่ต้องมีกิริยาคุมพากย์
  • ๔) ถ้าเข้ากับ ปูรฺ ธาตุ นิยมเรียงเป็นรูปฉัฏฐีวิภัตติ
  • ๕) อนภิหิตกตฺตา นิยมเรียงไว้หน้าบทประธานมากกว่าเรียงไว้ หลัง
  • ๖) อิตฺถมฺภูตนาม เรียงไว้หลังตัวประธานในประโยค ส่วน อิตฺถมฺภูตกิริยา เรียงไว้หน้า หรือหลัง อิตฺถมฺภูตนาม ก็ได้
  • ๗) สหตฺถตติยา เรียงไว้หน้า สทฺธึ แต่เรียงไว้หลัง สห

 

วิธีเรียงจตุตถีวิภัตติ

      บทจตุตถีวิภัตติส่วนมากทำหน้าที่ขยายบทกิริยา จึงนิยมเรียงไว้ หน้ากิริยาที่ตนขยาย ที่ขยายบทประธานก็มีบ้าง ถึงกระนั้นก็เรียงไว้ หน้าเช่นเดียวกัน จึงพอวางหลักในการเรียงวิภัตตินี้ได้ดังนี้

๑. ขยายบทใดให้เรียงไว้หน้าบทนั้น เช่น

: อโห อปฺปทุฏฺฐสฺส ทุสฺสติฯ

: กฐินสฺส ทุสฺสํ ฯ

        ๒. ถ้ามาร่วมกับบทอวุตฺตกมุม จะเรียงไว้หน้าหรือหลังบทอวุตฺตกมฺมก็ได้ แต่เรียงไว้หลัง อวุตฺตกมฺม ความจะกระชับชัดเจนกว่า เช่น

หน้า : โส ตสฺสา คพฺภปริหารํ อทาสิ ฯ (๑/๓)

: ใส ตํ อาหริตฺวา ปุตฺตสฺส เภสชฺชํ กโรติ ฯ (๑/๒๓)

หลัง : อานนฺทตฺเถโร อตฺตโน ชีวิตํ สตฺถุ ปริจฺจชิตฺวา ปุรโต อฏฺฐาสิ ฯ (๑/๑๓๐)

๓. ถ้ามาร่วมกับบท สมฺปาปุณิยกมฺม (สู่) หรือบทอาธาร นิยม เรียงไว้หลัง ๒ บทนั้น เช่น

หลังสมฺปาปุณิยกมฺม : ยตฺถ เถรสฺส กนิฏฺโฐ วสติ, ตํ วีถึ ปิณฺฑาย ปวิสึสุ ฯ (๑/๑๓)

หลังอาธาร : โส ญาติสมาคเมเยว ปิณฺฑาย จรติ ฯ

 

สรุปง่ายๆ ว่า

๑) ขยายบทใด เรียงไว้หน้าบทนั้น

๒) ถ้ามาคู่กับบททุติยาวิภัตติ เรียงไว้หน้าอวุตฺตกมฺม แต่ เรียงไว้หลัง สมฺปาปุณิยกมฺม และ อาธาร ตามผัง

แก่ - ซึ่ง

สู่ - เพื่อ

ใน - เพื่อ

 

วิธีเรียงปัญจมีวิภัตติ

      บทปัญจมีวิภัตติ ตามปกติจะทำหน้าที่ขยายกิริยาและนาม จึงมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นว่าขยายบทใดให้เรียงไว้หน้าบทนั้น เช่น

  • : พาราณสิโต อวิทูเร สตฺตสิริสรุกขา อตฺถิ ฯ (๖/๙๖)
  • : นวหิ นวมุเขหิ ปุพฺพวฏฺฏิโย เจว ปุฬวา จ ปคฺฆรึสุ ฯ (๕/๑๐๕)

 

บทปัญจมีวิภัตติที่มาร่วมกับบทอื่น มีวิธีเรียง ดังนี้

๑. มาร่วมกับบททุติยาวิภัตติ จะเรียงไว้หน้าหรือหลังบททุติยา วิภัตตินั้นก็ได้ เช่น

หน้า : อเถโก ทิสาวาสิโก ภิกฺขุ ราชคหา สาวตฺถึ คนฺตฺวา (๑/๗๑)

หลัง : ราชา เสนาปตึ รฏฺฐโต ปพฺพาเชสิ ฯ

       ๒. ที่มาร่วมกับนิบาต คือ ยาว วินา อญฺญตฺร และ อารา นิยมเรียงบท ปัญจมีวิภัตติไว้หลังบทนิบาตเหล่านั้น เช่น

ยาว : ยาว อกนิฏฺฐภวนา ปน เอกนินฺนาทํ โกลาหลํ อคมาสิ ฯ (๑/๕๐)

วินา : น มยํ วินา ภิกฺขุสงฺเฆน วตฺตาม ฯ

อญฺญตฺร : อชฺชตคฺเคทานาหํ อาวุโส อานนฺท อญฺญตฺเรว ภควตา อญฺญตฺร   ภิกฺขุสงฺฆา อุโปสถํ กริสฺสามิ ฯ (๑/๑๓๒)

อารา : อารา โส อาสวกฺขยา

       ๓. ที่มาร่วมกับนิบาต คือ อุทฺธํ นานา ปฏฺฐาย นิยมเรียง บทปัญจมีวิภัตติไว้หน้านิบาตเหล่านั้น เช่น

อุทฺธํ : อิโต อุทธํ กิญฺจิ คยฺหุปคํ นตฺถิ ฯ

นานา : มเตน เต กึ นานากรณาว โหนฺติ ฯ

ปฏฺฐาย : สาปิ ตโต ปฏฺฐาย สพฺเพสํ กมฺมนฺตํ โอโลเกนฺตี ฯ (๑/๔๙)

       ๔. บทเหตุ คือ ยสฺมา ตสฺมา กสฺมา กึการณา นิยมเรียงไว้ ต้นข้อความและไม่ต้องมีบทนามกำกับ เช่น

ยสมา : ยสฺมา โส น ตถากาสิ, ตสฺมา เอวมาห ฯ

ตสมา : ตสฺมา เอวมาห ฯ

กสมา : กสฺมา มยฺหํ คพฺภสฺส ปติฏฺฐิตภาวํ น กเถสิ ฯ

(๑/๔๔)

กึการณา : ฆเฏสิ ฆเฏสิ, กึการณา ฆเฏสิฯ (๒/๘๔)

       ถ้า ยสฺมา ตสฺมา มาคู่กับบท กาลสัตตมี หรือ บทนิบาต คือ ยถา ให้เรียง ยสฺมา ตสฺมา ไว้หน้า เช่น

: ตสฺมา ตํทิวสํ สตฺถา ตสฺส อุปนิสฺสยํ

โอโลเกตฺวา ฯเปฯ (๑/๕)

: ตสฺมา ยถา กณฺฏโก ผลานิ คณฺหนฺโต ฯลฯ เอวํ โสปิ

อตฺตโน ฆาตาย ผลฺลติ ฯ (๖/๒๓)

       ถ้า กสฺมา มาคู่กับ อถ (ที่แปลว่า...ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น) ให้เรียง อถ ไว้ต้นประโยคหน้า กสฺมา เช่น

: อถ กสฺมา เอวมกาสิ ฯ

 

พอสรุปวิธีเรียงบทปัญจมีวิภัตติได้ ดังนี้

๑) ทำหน้าที่ขยายบทใด ให้เรียงไว้หน้าบทนั้น

๒) มาร่วมกับบททุติยาวิภัตติ เรียงไว้หน้า หรือหลังบททุติยาวิภัตติ ก็ได้

๓) เรียงไว้หลังนิบาตเหล่านี้ ยาว วินา อญฺญตฺร และ อารา แต่เรียงไว้หน้านิบาตเหล่านี้ อุทฺธํ นานา ปฏฺฐาย

๔) เรียง ยสฺมา ตสฺมา กสฺมา กึการณา ไว้ต้นประโยค แต่ กสฺมา ให้เรียงไว้หลัง อถ เป็น อถ กสฺมา

 

วิธีเรียงฉัฏฐีวิภัตติ

       บทฉัฏฐีวิภัตติ โดยทั่วไปเป็นบทขยายนาม คือสัมพันธ์เข้ากับ ศัพท์นามดังกล่าวแล้วข้างต้น เพราะฉะนั้น จึงมีวิธีการเรียงไม่ซับซ้อนนัก ทำหน้าที่สัมพันธ์กับบทใด ตอนใด ก็ให้เรียงไว้หน้าชิดกับบทนั้นที่ตน สัมพันธ์เข้าด้วยเลย เช่น

  • : ตสฺเสกปุตฺตโก อโหสิ ปิโย มนาโป ฯ (๑/๒๓)
  • : มจฺฉานํ ขีณภาโว วิย อิเมสํ โภคานํ อภาโว ฯ
  • : มฏฺฐกุณฺฑลี พหิอาสินฺเท นิปนฺนากาเรน ตสฺส อนฺโต ปญฺญายิ ฯ (๑/๒๔)

       ศัพท์ว่า โว โน เนสํ ที่ใช้เป็นนิทธารณะ เมื่อมีบทอื่นนำหน้า อยู่แล้ว ก็เรียงอย่างปกติธรรมดาตามลำดับ เช่น

  • : สเจ ปน โว เอโกปิ อปฺปมตฺโต อภวิสสฯ (๖/๔)

       แต่ถ้าไม่มีบทอื่นนำหน้า จะต้องเรียงไว้หลังบทนิทธารณียะ เพราะ โว โน เนสํ เรียงไว้ต้นประโยคไม่ได้ เช่น

  • : โก นีธ กนฺทตํ พาลฺยตโร ฯ (๑/๒๘)
  • : เอโกปิ จ เนสํ อปฺปมาทํ นาปชฺชิ ฯ (๖/๔)

       ส่วนฉัฏฐีวิภัตติที่ใช้ในประโยคอนาทรนั้น จักได้กล่าวเป็นส่วน หนึ่งข้างหน้า

 

วิธีเรียงสัตตมีวิภัตติ

       บทสัตตมีวิภัตติ มีวิธีเรียงค่อนช้างจะสับสนพอสมควร เพราะ วิธีการเรียงไม่ค่อยแน่นอนตายตัว แล้วแต่ศัพท์ที่นำมาใช้จะเป็นศัพท์ ประเภทไหนและกินความเพียงใด ฉะนั้นจึงวางหลักแน่นอนตายตัวลง ไปไม่ได้ แต่ก็พอจะจับเค้าพอเป็นแนวทางได้ ดังนี้

       ๑. เมื่อทำหน้าที่ขยายบทประธาน หรือบทอื่นที่เป็นนาม นิยมเรียงไว้หน้าบทที่ตนขยายนั้น เช่น

  • : จตูสุ สมุทฺเทสุ ชลํ ปริตฺตกํ ฯ (๓/๑๘๕)
  • : สามเณโร ตตฺถ นิมิตฺตํ คเหตฺวา ยฏฺฐิ โกฏึ วิสฺสชฺเชตฺวา ฯเปฯ (๑/๑๔)

       ๒. เมื่อทำหน้าที่ขยายกิริยา ถ้าไม่มีบทอื่นอยู่ด้วย ให้เรียงไว้ หน้า กิริยา เช่น

  • : สตุถา เชตวนมหาวิหาเร วิหรติ ฯ

       ๓. เมื่อมาร่วมกับบทอวุตฺตกมฺม (ซึ่ง) ให้เรียงไว้หน้าบทอวุตฺตกมฺม นั้น เช่น

  • : ตโต วินยธโร โอกาสํ ลภิตฺวา ธมฺมกถิกสฺส อนาปตฺติยา อทสฺสเน อุกุเขปนียกมฺมํ อกาสิ ฯ (๑/๔๐)
  • : วตฺตสมฺปนฺนา หิ ครูนํ อาสเน วา สยเน วา อตฺตโน ปริกฺขารํ น ฐเปนฺติ ฯ (๑/๔๖)

       ๔. กาลสัตตมี ที่บอกกาลครอบทั้งประโยค ให้เรียงไว้ต้นประโยค หรือที่สองของประโยค เช่น

  • : ตสฺมึ สมเย สตุถา ปวตฺติตปวรธมฺมจกฺโก ฯเปฯ (๑/๔)
  • : สตฺถา อาสาฬฺหปุณฺณมีทิวเส อนฺโตนครํ ปาวิสิ ฯ

       ๕. กาลสัตตมีที่อยู่ในระหว่างประโยค เนื้อความแทรกอยู่ตอน ใด ให้เรียงไว้หน้าตอนที่ตนขยายนั้น เช่น

  • : อถ นํ ทหรกาเล คนฺตฺวา ปรุฬฺหเกสมสฺสุกาเล อาคตตฺตา น โกจิ สญฺชานิ ฯ (๒/๖๗)

       ๖. กาลสัตตมีที่มาจากนิบาต คือ อถ และที่มาจากปัจจัย คือ ตทา เอกทา อิทานิ เป็นต้น ให้เรียงไว้ต้นประโยค เช่น

  • : อถสฺสา ภริยาย กุจฺฉิยํ คพฺโภ ปติฏฺฐาสิ ฯ (๑/๓)
  • : ตทา สาวตฺถิยํ สตฺต มนุสฺสโกฏิโย วสนฺติ ฯ (๑/๕)

       ๗. กาลสัตตมีรวม ซึ่งบ่งกาลใหญ่ ให้เรียงไว้หน้ากาลสัตตมี ย่อย คือ จาก สมัย - ปี - เดือน - วัน - เวลา ไปตามลำดับ เช่น

  • : ตํทิวสํ ปน สตฺถา ปจฺจูสกาเล โลกํ โวโลเกนฺโต
  • : อถ สายณฺหสมเย ภิกฺขู อิโต จิโต จ สโมสริตฺวา (๒/๘๒)

       ๘. วิสยาธาระ ถ้าเพ่งถึงที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะของเจ้าของกิริยา ที่ตนสัมพันธ์เข้าด้วย เช่น กุฎี วิหาร บ้าน ถํ้า นิยมเรียงไว้หน้าบท ที่ตนขยาย เพราะเป็นที่อยู่เฉพาะของประธานในประโยคเท่านั้น เช่น

  • : อายสมา หิ มหากสฺสโป ปิปฺผลิคุหายํ วิหรนฺโต. (๕/๖)
  • : ตทาปิ สตฺถา คนฺธกุฏิยํ นิสินฺโน ฯ

       ๙. วิสยาธาระ ถ้าเพ่งถึงที่อยู่กว้างๆ เช่น คาม นิคม ชนบท เมือง เป็นต้น ซึ่งมิใช่เป็นที่อยู่เฉพาะของประธานในประโยคเท่านั้นให้ เรียงไว้ต้นประโยคหน้าตัวประธานอีกทีหนึ่ง เช่น

  • : ตทา สาวตฺถิยํ สตฺต มนุสฺสโกฏิโย วสนฺติ ฯ (๑/๕)
  • : สาวตฺถิยํ กิร อทินฺนปุพฺพโก นาม พฺราหมฺโณ อโหสิ ฯ (๑/๒๓)

       ๑๐. วิสยาธาระ ถ้ามาร่วมกันหลายตัว นิยมเรียงที่มีความหมาย กว้างๆ ไว้หน้าเหมือนคลุมไว้ทั้งหมด เรียงที่มีความหมายแคบๆ ไว้หลังลดหลั่นลงมา เหมือนถูกคลุมไว้ ส่วนกิริยาที่ตนขยายให้เรียงไว้กลาง เช่น

  • : เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม
  • : เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล ฯเปฯ

 

สรุปวิธีเรียงสัตตมีวิภัตติ

๑) ขยายบทใด ให้เรียงไว้หน้าบทนั้น

๒) มาร่วมกับบทอวุตฺตกมฺม เรียงไว้หน้าอวุตฺตกมุม

๓) กาลสัตตมีที่บ่งกาลใหญ่ครอบทั้งประโยค และที่มาจาก อัพยยศัพท์ เช่น อถ กทา ตทา อิทานิ เป็นต้น ให้เรียงไว้ต้นประโยค

๔) กาลใหญ่ ให้เรียงไว้หน้ากาลย่อยตามลำดับ

๕) วิสยาธาระ บ่งที่อยู่แคบๆ วางไว้หน้าบทที่ตนขยาย บ่งที่ อยู่กว้างๆ คลุมทั้งประโยควางไว้ต้นประโยค

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

 





 


45613030
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
4314
40295
44609
45235495
272082
1019588
45613030

Your IP: 35.171.164.77
2024-10-07 02:55
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search