๑. ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่ามีศีล? (๒๕๕๕)
ตอบ : ภิกษุสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต จึงชื่อว่ามีศีล
๖. นิสสัย ๔ ในอนุศาสน์ ๘ อย่าง หมายถึงอะไร? มีอะไรบ้าง?(๒๕๕๕)
ตอบ : หมายถึง ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ มี
๑.เที่ยวบิณฑบาต
๒.นุ่งห่มผ้าบังสกุล
๓.อยู่โคนไม้
๔.ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ
๗. นิสสัย คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?(๒๕๕๓)
ตอบ : คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ มี ๔ อย่าง ฯคือ
๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล๓. อยู่โคนไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ
๘. อรณียกิจ ๔ คืออะไร ? ข้อที่ ๓ ว่าอย่างไร(๒๕๕๑)
ตอบ : คือ กิจที่ไม่ควรทำ ๔ ฯ ว่า ฆ่าสัตว์ ฯ
๒. อกรณียกิจ คือกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๖)
ตอบ : มี ๔ อย่าง ฯ คือ
๑. เสพเมถุน ๒. ลักของเขา๓. ฆ่าสัตว์ ๔. พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ฯ
๒. กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำซึ่งเรียกว่า อกรณียกิจ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๔๙)
ตอบ : มี ๔ อย่างฯ คือ
๑. เสพเมถุน๒. ลักของเขา ๓. ฆ่าสัตว์ ๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ฯ
๓. กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๘)
ตอบ : เรียกว่าอกรณียกิจ ฯ มีดังนี้คือ
๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่าสัตว์ ๔. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ฯ
๔. อุปสัมปทา (การอุปสมบท) มี ๓ วิธี ในปัจจุบันใช้วิธีไหน ? กำหนดสงฆ์อย่างต่ำไว้เท่าไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ : ใช้ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยกรรมมีญัตติเป็นที่ ๔ ฯ
กำหนดสงฆ์อย่างต่ำไว้คือ ในมัธยมประเทศ ๑๐ รูป ในปัจจันตชนบท ๕ รูป ฯ
๙. นิสสัยและอกรณียกิจคืออะไร ? ทั้ง ๒ อย่างรวมเรียกว่าอะไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ : นิสสัยคือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต, อกรณียกิจคือ กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ ฯ ทั้ง ๒ อย่าง รวมเรียกว่า อนุศาสน์ ฯ
๒. อาบัติ คืออะไร ? อาการที่ภิกษุต้องอาบัติมี ๖ อย่าง จงบอกมาสัก๓ อย่าง ฯ (๒๕๕๖)
ตอบ :คือ โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ฯ(เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ)
๑. ต้องด้วยไม่ละอาย
๒. ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ
๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง
๔. ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร
๕. ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร
๖. ต้องด้วยลืมสติฯ
๒. อเตกิจฉา และสเตกิจฉา ได้แก่อาบัติอะไร? ทั้ง ๒ อย่างนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้ว จะเกิดโทษอย่างไร? (๒๕๕๕)
ตอบ : อเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ คือ ปาราชิก ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ ฯ
สเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขได้ คือ สังฆาทิเสส และอาบัติอีก ๕ ที่เหลือ ฯ สังฆาทิเสสต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้ อาบัติอีก ๕ ที่เหลือพึงแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือรูปใดรูปหนึ่งจึงพ้นได้ ฯ
๓. พระภิกษุผู้รักษาพระวินัยดีโดยถูกทางแล้ว ย่อมได้อานิสงส์อะไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ : ย่อมได้อานิสงส์ คือ ความไม่ต้องเดือดร้อนใจ ฯ
๑๒. สิกขา สิกขาบท และอาบัติ ได้แก่อะไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ : สิกขา ได้แก่ ข้อที่ภิกษุควรศึกษา มี ๓ อย่าง คือ สีลสิกขา จิตตสิกขาและปัญญาสิกขา
สิกขาบท ได้แก่ พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ
อาบัติ ได้แก่ โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ฯ
๑๓. อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๔)
ตอบ : มี ๑) ต้องด้วยไม่ละอาย ๒) ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ ๓) ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำ ๔) ต้องด้วย สำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ๕)ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ๖) ต้องด้วยลืมสติ ฯ
๑๔. ครุกาบัติ ที่แก้ไขได้ก็มี ที่แก้ไขไม่ได้ก็มี ที่แก้ไขได้ได้แก่อาบัติอะไรที่แก้ไขไม่ได้ได้แก่อาบัติอะไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ : ที่แก้ไขได้ ได้แก่อาบัติสังฆาทิเสส,ที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่อาบัติปาราชิก ฯ
๑๕. พระวินัย ได้แก่อะไร ? สิกขาบทที่เป็นอเตกิจฉา คือที่ภิกษุล่วงละเมิดแล้วไม่สามารถจะแก้ไขได้ ได้แก่อะไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ : ได้แก่ พระพุทธบัญญัติ และอภิสมาจาร ฯ, ได้แก่ ปาราชิก ๔ ฯ
๑๖. พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร คืออะไร ? ทั้ง ๒ รวมเรียกว่าอะไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ : พุทธบัญญญัติ คือข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง
ส่วนอภิสมาจาร คือขนบธรรมเนียมที่ทรงแต่งตั้งขึ้น เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ ทั้ง ๒ นี้รวมเรียกว่า พระวินัย ฯ
๑๗. อาบัติ คืออะไร ? อาบัติที่เป็นโลกวัชชะและที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่าอย่างไร ? จงยกตัวอย่างประกอบด้วย (๒๕๕๒)
ตอบ : พระพุทธเจ้าห้าม ฯ อาบัติที่เป็นโลกวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิดความเสีย คนสามัญทำก็เป็น ความผิดความเสียเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น ส่วนที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิดความเสีย เช่น ขุดดิน เป็นต้น ฯ
๑๘. พระศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยไว้เพื่ออะไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ : ๑) เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายของภิกษุสงฆ์ และ
๒) เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ
๑๙. อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ มีเท่าไร ? ต้องด้วยไม่ละอาย มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ : มี ๖ อย่าง ฯ, ภิกษุรู้อยู่แล้ว และละเมิดพระบัญญัติด้วยใจด้านไม่รู้จักละอาย ชื่อว่าต้องด้วยไม่ละอาย ฯ
๑๒. เมื่อภิกษุต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ : พึงบอกภิกษุด้วยกันในวันนั้น และพึงแก้ไขตามวิธีนั้น ๆ ฯ
๑๓. พระศาสดาผู้เป็นสังฆบิดรดูแลภิกษุสงฆ์ ทรงทำหน้าที่ทางพระวินัยอย่างไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ : ทรงทำหน้าที่ ๒ ประการ คือ
๑. ทรงตั้งพุทธบัญญัติเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง
๒. ทรงตั้งขนบธรรมเนียม ซึ่งเรียกว่าอภิสมาจารเพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ
๑๔. ทำไมต้องมีพระวินัยสำหรับปกครองหมู่ภิกษุ และหมู่ภิกษุทำไมต้องประพฤติตามพระวินัย ? (๒๕๔๙)
ตอบ : หากจะไม่มีพระวินัยสำหรับปกครอง หรือหมู่ภิกษุจะไม่ประพฤติตามพระวินัย ก็จะเป็นหมู่ภิกษุที่เลวทราม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาและเลื่อมใส แต่ถ้าต่างรูปประพฤติตามพระวินัย ก็จะเป็นหมู่ภิกษุที่ดี ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใส พระวินัยจึงรักษาหมู่ภิกษุให้ตั้งอยู่เป็นอันดี และทำให้เป็นหมู่ที่งดงาม ฯ
๑๕. คำว่า ต้องอาบัติ หมายความว่าอย่างไร ? อาบัติมีโทษกี่สถาน ? อะไรบ้าง ? (๒๕๔๙)
ตอบ : หมายความว่า ต้องโทษ คือมีความผิดฐานละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ฯ มี ๓ สถาน คือ อย่างหนัก อย่างกลาง และ อย่างเบา (หรือจะตอบว่า มี ๒ สถาน คือ แก้ไขได้ และแก้ไขไม่ได้ ก็ได้)
๑๖. คำต่อไปนี้มีความหมายอย่างไร ? (๒๕๔๘) ก. สจิตตกะ ข. อจิตตกะ
ตอบ : ก. อาบัติที่ต้องเพราะมีเจตนาล่วงละเมิด
ข. อาบัติที่ต้องแม้ไม่มีเจตนาล่วงละเมิด ฯ
๑๗. พระวินัย คืออะไร ? พระภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ : คือ พระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร ฯพระภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้วย่อมได้รับอานิสงส์คือ ความไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับ ความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม เข้าหมู่สงฆ์ก็อาจหาญ ฯ
๑๘. อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติข้อที่ว่า ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ : มีอธิบายว่า ภิกษุสงสัยอยู่ว่า ทำอย่างนั้นๆ ผิดพระบัญญัติหรือไม่ แต่ขืนทำด้วยความสะเพร่าเช่นนี้ถ้าการที่ทำนั้นผิดพระบัญญัติก็ต้องอาบัติตามวัตถุ ถ้าไม่ผิดก็ต้องอาบัติทุกกฎเพราะสงสัยแล้วขืนทำ ฯ
๑. อาบัติว่าโดยชื่อมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๓)
ตอบ : มี ๗ อย่าง ฯ คือ ๑. ปาราชิก ๒. สังฆาทิเสส ๓. ถุลลัจจัย๔. ปาจิตตีย์ ๕. ปาฏิเทสียะ ๖. ทุกกฏ ๗. ทุพภาสิต ฯ
๒. สิกขากับสิกขาบท ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๒)
ตอบ : สิกขา คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา มี ๓ ได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ส่วนสิกขาบท คือพระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบทหนึ่ง ๆ มี ๒๒๗ สิกขาบท ได้แก่ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ และอธิกรณสมถะ ๗ ฯ
๓. อะไรเรียกว่า สิกขาบท ? มาจากไหน ? (๒๕๕๑)
ตอบ : พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เรียกว่า สิกขาบท ฯ, มาในพระปาติโมกข์ ๑ มานอกพระปาติโมกข์ ๑ ฯ
๔. สิกขาบทที่มีมาในพระปาติโมกข์ มีเท่าไร ? ว่าโดยหมวดมีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๐)
ตอบ : มี ๒๒๗ สิกขาบท ฯมี ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ อธิกรณสมถะ ๗ ฯ
๕. สิกขา กับ สิกขาบท ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ : ต่างกันอย่างนี้ สิกขา ได้แก่ข้อที่ควรศึกษา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา สิกขาบท ได้แก่ พระบัญญัติมาตราหนึ่งๆ ฯ
๑. ภิกษุพยายามฆ่าตนเอง แต่ทำไม่สำเร็จ จะต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๕๖)
ตอบ : ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
๒. ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย ต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ : ฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ฆ่าอมนุษย์ให้ตาย
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฆ่าสัตว์เดรัจฉานให้ตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๓. ภิกษุโจทก์ภิกษุอื่นด้วยอาบัติไม่มีมูล เป็นอาบัติอะไรบ้าง ? (๒๕๕๓)
ตอบ : โจทก์ด้วยอาบัติปาราชิก เป็นอาบัติสังฆาทิเสสโจทก์ด้วยอาบัตินอกนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๔. ในสิกขาบทที่ ๒ แห่งอาบัติปาราชิก ทรัพย์เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก อาบัติถุลลัจจัย และอาบัติทุกกฏมีกำหนดราคาไว้เท่าไร ?(๒๕๕๒)
ตอบ : มีกำหนดราคาไว้ดังนี้
ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ มีราคาไม่ถึง ๕ มาสก แต่มากกว่า ๑ มาสก เป็นเหตุให้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา เป็นเหตุให้ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
๕. สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์คือทรัพย์เช่นไร ? ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุดในเพราะลักทรัพย์ทั้ง ๒ อย่างนั้นเมื่อใด ?(๒๕๕๒)
ตอบ : สังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ อสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ฯสำหรับสังหาริมทรัพย์ ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุด ในเมื่อทำให้ทรัพย์นั้นเคลื่อนจากที่เดิม ส่วนสังหาริมทรัพย์ จะต้องอาบัติถึงที่สุด ในเมื่อเจ้าของทอดกรรมสิทธิ์ ฯ
๖. อุตตริมนุสสธรรม คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๙)
ตอบ : คือ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ หรือคุณอย่างยวดยิ่งของมนุษย์ ฯ มี ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล นิพพาน ฯ
๗. ในอทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์ เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ? (๒๕๔๙)
ตอบ : ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก ขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก
ทรัพย์มีราคาต่ำกว่า ๕ มาสก แต่สูงกว่า ๑ มาสก เป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย
ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสก ลงไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ฯ
๘. ภิกษุฆ่าสัตว์ให้ตายและพยายามฆ่าตนเอง ต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ : ฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ฆ่าอมนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฆ่าสัตว์เดรัจฉานทั่วไปให้ตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พยายามฆ่าตนเอง ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
๑. ข้อความว่า ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ตามสิกขาบทที่ ๕ แห่งสังฆาทิเสสนั้น หมายถึงการทำอย่างไร ? (๒๕๕๖)
ตอบ : หมายถึงการที่ภิกษุบอกความประสงค์ของชายแก่หญิงหรือบอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายในความเป็นผัวเมีย ฯ
๒. ภิกษุจับต้องกายมารดาในเวลาพยาบาลไข้ด้วยจิตกตัญญู ปรับเป็นอาบัติทุกฏฏผิดหรือถูกเพราะเหตุไร? (๒๕๕๕)
ตอบ : เป็นอาบัติทุกกฏ เพราะมารดาเป็นวัตถุอนามาส
๓. คำว่า อาบัติที่ไม่มีมูล กำหนดโดยอาการอย่างไร ? ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ : กำหนดโดยอาการ ๓ คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑ ไม่ได้ยินเอง ๑ ไม่ได้เกิด รังเกียจสงสัย ๑ ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องอาบัติสังฆาทิเสส โจทด้วยอาบัติอื่นจากอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๔. สังฆาทิเสส มีกี่สิกขาบท ? ภิกษุต้องอาบัตินี้จะพ้นได้ด้วยวิธีอย่างไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ : มี ๑๓ สิกขาบท ฯด้วยวิธีอยู่กรรม ที่เรียกว่า วุฏฐานคามินี ฯ
๕. ภิกษุรู้ตัวว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส จึงแสดงอาบัตินั้นต่อภิกษุอีกรูปหนึ่ง อย่างนี้จะพ้นจากอาบัตินั้นได้หรือไม่ เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ : พ้นไม่ได้ เพราะอาบัติสังฆาทิเสสนั้น ภิกษุผู้ต้องจะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม ฯ
๖. ภิกษุมีความกำหนัดจับต้องกายหญิง กะเทย บุรุษ สัตว์ดิรัจฉานเพศผู้สัตว์ดิรัจฉานเพศเมีย ต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ : ภิกษุมีความกำหนัดจับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส จับต้องกายกะเทย ต้องถุลลัจจัย จับต้องกายบุรุษ จับต้องสัตว์ดิรัจฉานทั้งเพศผู้เพศเมีย ต้องทุกกฏ ฯ
๗. คำว่า มาตุคาม ในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒, ๓, ๔ และ ๕ ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ : มาตุคามในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ หมายรวมทั้งหญิงที่รู้เดียงสาและไม่รู้เดียงสา โดยที่สุดแม้เกิดในวันนั้น ส่วนมาตุคามในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓, ๔ และ ๕ หมายเฉพาะหญิงผู้รู้เดียงสาแล้วเท่านั้น ฯ
๑. ที่ลับตา กับที่ลับหู ต่างกันอย่างไร ? ที่ลับทั้ง ๒ นั้น เป็นทางให้ปรับอาบัติได้มากน้อยกว่ากันอย่างไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ : ต่างกันอย่างนี้ ที่ที่มีสิ่งกำบัง เห็นกันไม่ได้ เรียกว่า ที่ลับตา ที่ที่ไม่มีสิ่งกำบัง เห็นกันได้ แต่ฟังเสียงพูดกันไม่ได้ยิน เรียกว่า ที่ลับหู ฯ ที่ลับตา เป็นทางให้ปรับอาบัติได้มากกว่า คือตั้งแต่ปาราชิก สังฆาทิเสส ถึง ปาจิตตีย์ส่วนที่ลับหู เป็นทางให้ปรับอาบัติตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา ฯ
๒. ในอนิยต ที่ลับตา และที่ลับหู ได้แก่ที่เช่นไร ? ภิกษุอยู่กับมาตุคามสองต่อสองในที่เช่นนั้น เป็นทางปรับอาบัติอะไรได้บ้าง ? (๒๕๔๗)
ตอบ : ลับหู ได้แก่ ที่แจ้ง แลเห็นได้ แต่ห่าง ไม่ได้ยินเสียงพูด ฯ ในที่ลับตา เป็นทางปรับอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส และ ปาจิตตีย์ ในที่ลับหู เป็นทางปรับอาบัติสังฆาทิเสส และ ปาจิตตีย์ ฯ
๑. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ หมายความว่าอย่างไร ? ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้ว ทำอย่างไรจึงจะพ้น ? (๒๕๔๙)
ตอบ : นิสสัคคิยปาจิตตีย์ หมายความว่า อาบัติปาจิตตีย์ ที่จำต้องสละสิ่งของ ฯ ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้วต้องสละสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นก่อน แล้วแสดงอาบัติจึงพ้นจากอาบัตินั้นได้ ฯ
๑. ไตรจีวร อติเรกจีวร ได้แก่จีวรเช่นไร ? (๒๕๕๖)
ตอบ : ไตรจีวร ได้แก่จีวร ๓ ผืน ประกอบด้วย อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม)อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) และสังฆาฏิ (ผ้าคลุมหรือผ้าทาบ) ฯอติเรกจีวร ได้แก่ผ้ามีขนาดกว้าง ๔ นิ้วยาว ๘ นิ้ว ซึ่งอาจนำไปทำเป็นเครื่องนุ่งห่มได้ นอกจากผ้าที่อธิษฐาน ฯ
๒. ภิกษุขอจีวรต่อสามีของน้องสาวแล้วได้มา เธอจะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? (๒๕๕๖)
ตอบ : ถ้าสามีของน้องสาวเป็นญาติก็ดีมิใช่ญาติแต่ปวารณาก็ดี ไม่ต้องอาบัติถ้ามิใช่ญาติและมิได้ปวารณาเป็นเพียงน้องเขย ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์เว้นไว้แต่สมัย (คือในเวลาจีวรถูกขโมยหรือเสียหาย) ฯ
๓. ไตรจีวรประกอบด้วยผ้าอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ต้องปฏิบัติอย่างไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ :ประกอบด้วย ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตตราสงค์ และผ้าอันตรวาสก ฯต้องสละไตรจีวรผืนที่อยู่ปราศจากนั้นแล้วแสดงอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์เมื่อได้รับผ้ากลับคืนมาแล้ว ต้องอธิษฐานใหม่ ฯ
๔. จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้ ? (๒๕๕๔) ๑. อติเรกจีวร ๒. จีวรกาล ๓. อนุปสัมบัน
ตอบ : ๑. อติเรกจีวร หมายถึงจีวรที่ไม่ใช่จีวรอธิษฐาน
๒. จีวรกาล หมายถึงคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (คืออยู่จำพรรษาแล้วถ้าไม่ได้กรานกฐินนับแต่วันปวารณาไป ๑ เดือนถ้าได้กรานกฐินเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือนในฤดูหนาว)
๓. อนุปสัมบัน หมายถึงบุคคลที่มิใช่ภิกษุ ฯ
๕. ไตรจีวร มีอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราสจากแม้คืนหนึ่ง ต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ : มี สังฆาฏิ คือผ้าคลุม อุตตราสงค์ คือผ้าห่ม และอันตรวาสก คือผ้านุ่ง ฯต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
๖. ผ้าไตรครอง มีอะไรบ้าง ? ต่างจากอติเรกจีวรอย่างไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ : มี สังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ฯ ต่างกันอย่างนี้ ผ้าไตรครองเป็นผ้าที่ภิกษุอธิษฐาน มีจำนวนจำกัด คือ ๓ ผืน ส่วนอติเรกจีวร คือผ้าที่นอกเหนือจากผ้าไตรครอง มีได้ไม่จำกัดจำนวน ฯ
๗. คำว่า ปวารณากำหนดปัจจัย หมายความว่าอย่างไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ : หมายความว่า ปวารณาที่กำหนดชนิดสิ่งของ เช่นจีวร หรือบิณฑบาตเป็นต้น หรือกำหนดจำนวนสิ่งของ เช่น ผ้ากี่ผืน บิณฑบาตมีราคาเท่าไร เป็นต้น ฯ
๘. ผ้าไตรจีวรคือผ้าอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๔๘)
ตอบ : คือ ผ้า ๓ ผืนที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานไว้ใช้สำหรับตนเอง ฯ ได้แก่ สังฆาฏิ(ผ้าคลุม) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ฯ
๙. จีวรที่เป็นนิสสัคคีย์แล้ว ควรสละให้แก่ใคร ? ถ้าจีวรนั้นสูญหาย พึงปฏิบัติเช่นไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ :ควรสละให้แก่สงฆ์ก็ได้ แก่คณะก็ได้ แก่บุคคลก็ได้ ฯ ถ้าจีวรนั้นสูญหาย พึงแสดงอาบัติเท่านั้น ฯ
๑. มีผู้นำอาหารบิณฑบาตมาถวายแก่สงฆ์ ภิกษุแนะนำให้ถวายแก่ตนเองและได้มา เช่นนี้จะต้องอาบัติหรือไม่ ? ถ้าต้อง จะต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๕๖)
ตอบ : ต้องอาบัติ ฯ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฯ
๒. อติเรกจีวร อติเรกบาตร ได้แก่จีวรและบาตรเช่นไร? จีวรและบาตรชนิดนี้ ภิกษุเก็บไว้ได้กี่วัน? (๒๕๕๕)
ตอบ : ได้แก่ จีวรและบาตรนอกจากจีวรและบาตรที่อธิษฐานฯ เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่งฯ
๓. เภสัช ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้กี่วันเป็นอย่างยิ่ง ? (๒๕๕๔)
ตอบ : ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ฯเก็บไว้ได้ ๗ วัน ฯ
๔. ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์ มาเพื่อตน เพื่อบุคคลอื่นเพื่อเจดีย์ เพื่อสงฆ์หมู่อื่น จะเป็นอาบัติอะไรได้บ้าง ? (๒๕๕๓)
ตอบ : น้อมมาเพื่อตน เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์น้อมมาเพื่อบุคคลอื่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์น้อมมาเพื่อเจดีย์และเพื่อสงฆ์หมู่อื่น เป็นอาบัติทุกกฏ ฯ
๕. เภสัช ๕ ในปัตตวรรคที่ ๓ ได้แก่อะไรบ้าง ? รับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้กี่วัน ? (๒๕๕๑)
ตอบ : ได้แก่ เนยใน เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ฯ เก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน เป็นอย่างยิ่ง ฯ
๖. อติเรกบาตร คืออะไร ? ภิกษุเก็บไว้เกินกี่วัน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ? (๒๕๔๘)
ตอบ : คือ บาตรนอกจากบาตรอธิษฐาน ฯ เกิน ๑๐ วัน ฯ
๗. เภสัช ๕ ที่ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ไม่เกิน ๗ วัน ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๔๘)
ตอบ : ได้แก่ เนยใส ๑ เนยข้น ๑ น้ำมัน ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำอ้อย ๑ ฯ
๘. ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภสงฆ์ไปเพื่อตนก็ดี เพื่อบุคคลก็ดี เพื่อสงฆ์อื่นก็ดี ต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ : น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพื่อบุคคล ต้องปาจิตตีย์ เพื่อสงฆ์อื่น ต้องทุกกฏ ฯ
๑. ภิกษุกำลังฟังพระปาฏิโมกข์อยู่ กล่าวขึ้นว่า “จะสวดไปทำไม ฟังก็ไม่รู้เรื่อง น่าเบื่อน่ารำคาญ” เช่นนี้ต้องอาบัติอะไร ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ : ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ เพราะก่อนสิกขาบท ฯ
๑. ภิกษุ ก อาพาธ ได้รับคำแนะนำให้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเพื่อช่วยให้หายป่วยเร็ว แล้วฉันตามคำแนะนำนั้น มีวินิจฉัยตามพระวินัยอย่างไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ : มีวินิจฉัยว่า ภิกษุ ก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๒. ภิกษุรับนิมนต์แล้ว จะไปที่อื่นก่อนหรือหลังฉัน ต้องปฏิบัติอย่างไร ? ถ้าไม่ทำเช่นนั้น ต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ : ต้องปฏิบัติอย่างนี้ คือ ต้องบอกลาภิกษุอื่นก่อน ฯต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๑. ภิกษุขอปัจจัย ๔ ต่อผู้ที่ปวารณาไว้ มีพระพุทธานุญาตให้ปฏิบัติอย่างไร? (๒๕๕๕)
ตอบ : ให้ปฏิบัติดังนี้ ถ้าเขาปวารณาโดยมีกำหนดเวลา พึงขอได้เพียงกำหนดเวลานั้น แต่ถ้าเขาปวารณาโดยไม่ได้กำหนดเวลา พึงขอได้เพียง ๔ เดือนเท่านั้น เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีก หรือปวารณาเป็นนิตย์ ฯ
๒. บุคคลที่เรียกว่า ปริพาชก และ ปริพาชิกา คือใคร ? ภิกษุให้ของเคี้ยวก็ดี ของกิน ก็ดี แก่บุคคลเหล่านั้นอย่างไรเป็นอาบัติและอย่างไรไม่เป็นอาบัติ ? (๒๕๔๘)
ตอบ : ปริพาชก คือนักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนา ปริพาชิกา คือนักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนา ฯ ให้ด้วยมือของตนต้องอาบัติปาจิตตีย์ สั่งให้ให้ก็ดีวางให้ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ ฯ
๑. เมื่อภิกษุได้จีวรใหม่มา ก่อนที่จะนุ่งห่ม ต้องทำพินทุด้วยสี ๓ สี อย่างใด อย่างหนึ่ง คือสีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๘)
ตอบ : คือ ๑. สีเขียวคราม
๒. สีโคลน
๓. สีดำคล้ำ ฯ
๑. ภิกษุนำเก้าอี้ของสงฆ์ไปใช้ที่กลางแจ้งแล้ว เมื่อจะหลีกไป พึงปฏิบัติอย่างไร? ถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้น ต้องอาบัติอะไร? (๒๕๕๕)
ตอบ : พึงปฏิบัติอย่างนี้ คือ เก็บเอง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายแก่ผู้อื่น ฯถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๒. ภิกษุเข้าบ้านโดยไม่ได้บอกลาภิกษุอื่นผู้มีอยู่ในอาวาส ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? จงอธิบาย (๒๕๕๕)
ตอบ : ถ้าเข้าบ้านในเวลาที่เป็นกาล ตั้งแต่เช้าถืงเวลาก่อนเที่ยงวัน ไม่ต้องอาบัติ ถ้าเข้าบ้านในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่หลังเที่ยงวันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีกิจด่วน (หรือผู้อยู่ในนิสสัย)
๓. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังเดียวกันกับสามเณร จะเป็นอาบัติอะไรหรือไม่ ? (๒๕๕๓)
ตอบ : นอนได้ ๓ คืน ไม่เป็นอาบัติ เกินกว่านั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๔. พระ ก. นำเบียร์มาให้พระ ข. ดื่ม โดยหลอกว่าเป็นน้ำอัดลม พระ ข. หลงเชื่อจึงดื่มเข้าไป ถามว่า พระ ก. และพระ ข. ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? (๒๕๕๒)
ตอบ : พระ ก. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพูดปด พระ ข. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะดื่มน้ำเมา แม้ไม่รู้ก็ต้องอาบัติ เพราะสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ ฯ
๕. ภิกษุนำตั่งของสงฆ์ไปตั้งใช้ในที่แจ้ง จะหลีกไปสู่วัดอื่นต้องทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นอาบัติ ? (๒๕๕๒)
ตอบ : ต้องเก็บด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายให้ผู้อื่น จึงจะไม่เป็นอาบัติ ฯ
๖. ลักษณะการประเคนประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง ? การช่วยกันยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนก็ดี การจับผ้าปูโต๊ะประเคนก็ดี ทั้ง ๒ วิธีนี้ถูกต้องหรือไม่ ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ : ประกอบด้วยองค์ต่อไปนี้
๑. ของที่จะพึงประเคนนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป พอคนปานกลาง ยกได้คนเดียว
๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส
๓. เขาน้อมเข้ามา
๔. กิริยาที่น้อมเข้ามาให้นั้น ด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ด้วยโยนให้ก็ได้
๕. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ ฯ ไม่ถูกทั้ง ๒ วิธี เพราะไม่ต้องลักษณะองค์
ประเคน คือ การช่วยกัน ยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๑ การจับผ้าปูโต๊ะประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๓ ฯ
๗. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกับอนุปสัมบัน เป็นอาบัติหรือไม่อย่างไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ : ถ้าเป็นผู้ชาย เกินกว่า ๓ คืน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเป็นผู้หญิง แม้ในคืนแรก เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
๘. ภิกษุซ่อนผ้าอาบน้ำฝน บาตร จีวร กล่องเข็ม ด้าย ของเพื่อนภิกษุหรือสามเณรเพื่อล้อเล่น เป็นอาบัติอะไรบ้าง ? (๒๕๕๑)
ตอบ : ซ่อนผ้าอาบน้ำฝน ด้าย ของเพื่อนภิกษุ เป็นอาบัติทุกกฏ ซ่อนบาตร จีวร กล่องเข้ม ของเพื่อนภิกษุ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ซ่อนของสามเณรทุกอย่างเป็นทุกกฏ ฯ
๙. ผ้าอาบน้ำฝนมีกำหนดขนาดไว้เท่าใด ? ถ้าทำเกินกว่าขนาดนั้นต้องอาบัติ ก่อนจะแสดงอาบัตินั้น ต้องทำอย่างไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ : ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง โดยคืบพระสุคต ฯ ต้องตัดให้ได้ขนาดเสียก่อน ฯ
๑. เสขิยวัตร คืออะไร ? แบ่งเป็นกี่หมวด ? หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องอะไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ : คือ ธรรมเนียมหรือวัตรที่ภิกษุพึงศึกษา ฯแบ่งเป็น ๔ หมวด ฯว่าด้วยเรื่อง โภชนปฏิสังยุต คือธรรมเนียมว่าด้วยเรื่องการขบฉัน ฯ
๑. เสขิยวัตร คืออะไร ? โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยเรื่องอะไร ? (๒๕๕๖)
ตอบ : คือ วัตรหรือธรรมเนียมที่ภิกษุจำต้องศึกษา ฯว่าด้วยเรื่องการรับและการฉันอาหาร ฯ
๒. ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร ปฏิบัติผิดธรรมเนียมไป ต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๕๖)
ตอบ : ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
๓. ในเสขิยวัตรมีสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้ภิกษุช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมโดยอนุโลมไว้อย่างไร? (๒๕๕๕)
ตอบ : ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ และบ้วนน้ำลายลงในของเขียว และในน้ำ ฯ
๔. ภิกษุนั่งในบ้านพูดเสียงดังจะต้องอาบัติอะไร? (๒๕๕๕)
ตอบ : ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ
๕. ภิกษุฉันพลางทำกิจอื่นพลาง จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? (๒๕๕๔)
ตอบ : ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ
๖. ข้อว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ นั้นมีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ : มีอธิบายว่า รับโดยแสดงความเอื้อเฟื้อ ในบุคคลผู้ให้ ไม่ดูหมิ่น และให้แสดงความเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้ ไม่ทำดังรับเอามาเล่นหรือเอามาทิ้งเสีย ฯ
๗. เสขิยวัตร คืออะไร ? มีทั้งหมดกี่ข้อ ? (๒๕๕๐)
ตอบ : คือ ธรรมเนียมหรือวัตรที่ภิกษุต้องศึกษา ฯ มี ๗๕ ข้อ ฯ
๘. เสขิยวัตร คืออะไร ? มีกี่ข้อ ? ภิกษุละเมิดต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ : คือวัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา ฯ มี ๗๕ ข้อ ฯ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
๙.เสขิยวัตรคืออะไร ? ถ้าไม่เอื้อเฟื้อต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ : คือวัตรหรือธรรมเนียมที่ภิกษุจะต้องศึกษา ฯ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
๑๐. ข้อว่า ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ นั้น มีอธิบายอย่างไร? (๒๕๔๗)
ตอบ : มีอธิบายว่า ภิกษุฉันบิณฑบาต แม้เป็นของเลว ก็ไม่แสดงอาการวิการ คือฉันโดยปกติ และเมื่อฉัน ก็ไม่ฉันพลางทำกิจอื่นพลาง ฯ
๑. ภิกษุเถียงกันด้วยเรื่องอะไร จึงเรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ ? (๒๕๕๖)
ตอบ : เถียงกันด้วยเรื่อง สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ฯ
๒. อธิกรณ์ คืออะไร ? การตัดสินอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก เรียกว่าอะไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ : คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯเรียกว่าเยภุยยสิกา ฯ
๓. อธิกรณ์ คืออะไร ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ : คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ ต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่อธิกรณ์นั้น ๆ ฯ
๔. วิวาทาธิกรณ์กับอนุวาทาธิกรณ์ ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ คือการเถียงว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ส่วนอนุวาทาธิกรณ์คือการโจทกันด้วยอาบัติ ฯ
๕. อธิกรณสมถะ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? การตัดสินตามเสียงข้างมาก เรียกว่าอะไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ : คือ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ ฯ มี อย่าง ฯเรียกว่า เยภุยยสิกา ฯ
๑. ในพระวินัย กำหนด ๑ ปีมีกี่ฤดู ? อะไรบ้าง ? ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นฤดูอะไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ : ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ๑ ฤดูร้อน ๑ ฤดูฝน ๑ ฯ ฤดูฝน ฯ
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710