2.องค์นักธรรม

         ด้วยพระดำริดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ นั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์สามเณรรู้ธรรมขึ้นใหม่ โดยจัดเป็น ๒ อย่าง ตามแนวพระดำริดังกล่าวแล้วคือ

(๑) อย่างสามัญ แบ่งเป็น ๒ ประโยค

                 ประโยค ๑ ธรรมวิภาค กับเรียงความแก้กระทู้ธรรม ไม่ต้องชักที่มา
                 ประโยค ๒ พุทธประวัติย่อ กับเรียงความแก้กระทู้ธรรม ชักที่มาในหนังสือไทย

(๒) อย่างวิสามัญ แบ่งเป็น ๒ ประโยค

                   ประโยค ๑ ถกถาธรรมบท มีแก้อรรถด้วย
                   ประโยค ๒ เพิ่มบาลีไวยากรณ์และสัมพันธ์

         อย่างสามัญ จะจัดทั่วไปเป็นแบบเดียวกันทั้งในกรุงในหัวเมือง ผู้สอบได้อย่างสามัญเพียงประโยค ๑ ได้รับยกเว้นเกณฑ์ทหาร สอบได้ทั้ง ๒ ประโยค เป็นนักธรรม ๒ ประโยค

          อย่างวิสามัญ จะจัดเฉพาะในกรุงเทพฯ ผู้สอบได้อย่างวิสามัญทั้ง ๒ ประโยค ได้เป็นเปรียญ ๒ ประโยค เทียบเปรียญปริยัติ (คือเปรียญบาลี) ๓ ประโยค (แถลงการณ์คณะสงฆ์เล่ม ๑, หน้า ๑๑๙๑๒๔.)

         หลักสูตรองค์สามเณรรู้ธรรมที่ปรับปรุงขึ้นใหม่นี้อนุญาติให้สอบได้ทั้งภิกษุและสามเณร และทรงคาดหวังว่า ถ้าจัดอย่างนี้ การเรียนธรรมของภิกษุสามเณรจะเจริญทั้งในกรุงทั้งในหัวเมือง จะได้ผู้มีความรู้ช่วยกิจพระศาสนาอีกมากจัดการเรียนเฉพาะแต่ในมคธภาษา ถึงเป็นหลักก็จริง แต่แคบ ความรู้อันนี้ไม่แพร่หลายไปในหัวเมือง ภิกษุสามเณรในหัวเมืองไม่ได้เรียนในทางนี้แล้วยังซ้ำไม่ได้เรียนในทางอื่นด้วยด้วยเหตุนี้จึงหาพระสมควรเป็นเจ้าอาวาส เป็นอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าคณะได้เป็นอันยาก แต่ผู้ทำหน้าที่เหล่านี้จำต้องมี เมื่อจัดสอนความรู้สามัญในหัวเมืองขึ้นแล้ว คงเปลื้องความขัดข้องข้อนี้ไปได้มาก เพียงแต่เท่าที่จัดมาแล้ว ยังให้ผลดีเห็นปรากฏอยู่ ถ้าได้จัดขยายออกไป ก็คงได้ประโยชน์มากออกไป (เล่มเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.)

         หลักสูตรที่ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่นี้เรียกว่า องค์นักธรรม ได้รับพระบรมราชานุมัติ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ร.ศ. ๑๓๐ ภิกษุที่สอบองค์นักธรรมอย่างวิสามัญได้ทั้ง ๒ ประโยค ซึ่งเรียกว่า เปรียญธรรม ๒ ประโยคนั้น ต้องสอบวินัยบัญญัติในนวโกวาทได้ด้วย จะได้รับพระราชทานพัดอย่างเดียวกับเปรียญปริยัติ หรือเปรียญบาลี ๓ ประโยค สำหรับสามเณรที่สอบได้ชั้นนี้ ต้องรอไว้จนอุปสมบทแล้วและสอบวินัยบัญญัติได้แล้วจึงจะได้รับพระราชทานพัด

         ถึง พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยกำหนดให้เพิ่มคิหิปฏิบัติเข้าไปในส่วนของธรรมวิภาคด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้สอบได้องค์นักธรรม แล้วจำจะต้องสึกออกไปครองชีวิตฆราวาสมากยิ่งขึ้น (แถลงการณ์คณะสงฆ์เล่ม ๒ พ.ศ. ๒๔๕๗, หน้า ๔๔๗.)


ที่มา http://www.gongtham.net/

  • Author: admin
  • Hits: 2494

Leave a comment

You are commenting as guest.


45613786
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
5070
40295
45365
45235495
272838
1019588
45613786

Your IP: 35.171.164.77
2024-10-07 03:22
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search