4.หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 4)

 

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ (ตอนที่ 4)

 

๒. การตามความ

          ข้อความสำนวนไทยบางส่วนมีความคล้ายคลึงกับสำนวนมคธ สามารถแต่งเป็นสำนวนมคธได้โดยไม่ต้องตัดทอน หรือเพิ่มเติมอีก ข้อความสำนวนไทยที่สามารถตามความได้นั้น โดยมากมักเป็นข้อความที่บรรยายความ คือเล่าเรื่องหรือเดินเรื่องไปเรื่อยๆ เป็นข้อความสั้นๆ มีความชัดเจน ไม่ซับซ้อนมาก หรือเป็นข้อความที่ถ่ายเทมาจากสำนวน ธรรมะหรือสำนวนมคธโดยตรง มิใช่ข้อความที่อธิบายหรือขยายความ ซึ่งมักจะมีประโยคยาวและซับซ้อน เมื่อพบสำนวนอย่างนี้ก็เป็นการสะดวกที่จะแต่งให้เป็นสำนวนมคธ แม้ศัพท์ที่จะใช้ก็หาได้ง่าย  ประโยคก็ไม่ซับซ้อน เป็นเอกรรถประโยคเสียโดยมาก เช่น ข้อความว่า

          “ในที่นั้น มีต้นมะม่วงใหญ่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่นํ้าคงคา มีสาขาอัน งามตระการ บางสาขาก็แผ่ก้านออกไปถึงแม่นํ้าทรงผลอันโอชารสเลิศ ลํ้าเป็นที่น่าปรารถนา บ้างก็หล่นลงในน่านนํ้า”

          สำนวนอย่างนี้สามารถแต่งตามได้โดยไม่ยากนัก เพราะเป็นสำนวนพื้นๆ เมื่อแต่งตามแล้วจะได้ว่า

          ตตฺเถโก มหนฺโต อมฺพรุกฺโข สาขาปตฺตสมฺปนฺโน คงฺคาย ตีเร ปติฏฺฐหิ ฯ ตสฺส สาขาสุ กาจิ นทิยํ ปสาเรสิ ฯ ตสฺส ผลานิ อิฏฺฐานิ กนฺตานิ มธุรานิ หุตฺวา ปตนฺตานิ นทิยมฺปิ ปติ ฯ

(สนามหลวง ๒๕๑๑)

          การตามความไม่มีข้อพิเศษอะไรมาก เพราะเมื่อสำนวนไทยเอื้ออำนวยให้โดยตรง ด้วยมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถแต่งตามสำนวนนั้นได้เลย แม้จะมีตัดแปลงบ้างเล็กน้อย ก็ยังถือได้ว่าแต่งตามความเช่นเดียวกัน พึงดูสำนวนสนามหลวงที่ท่านแต่งไว้เป็นตัวอย่าง ต่อไปนี้เทียบเคียง

 

ไทย

: การที่ประเทศไทยของเรานี้ดำรงเอกราชความเป็นอิสระ

 

   และความปกติมั่นคงอยู่ได้โดยสวัสดี ทั้งที่ประเทศเพื่อนบ้าน

 

  หลายแห่ง ต้องประสบความวุ่นวายเดือดร้อนอยู่อย่างหนักนั้น

 

  ก็ด้วยพระบารมีแห่งได้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่ทรง

 

  ยึดมั่นอยู่ในธรรมปฏิบ้ติปกเกล้าปกกระหม่อมอยู่ ฯ

มคธ

: อยมฺปนมฺหากํ ทยฺยเทโส สามนฺตปฺปเทเสสุปิ

 

  มหาโกลาหลปฺปตฺเตสุ สติ อธิมตฺตทุกฺขปฺปตฺเตสุ จ,

 

  โย มหาราชา ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติยา สุสมาหิโต

 

  โหติ, ตสฺสานุภาเวเนว สกฺโกติเยว โสตฺถินา อตฺตโน

 

   เอกรชฺชํ อิสฺสริยํ ถาวรญฺจ สนฺตึ สุสํวิหิตารกฺขํ

 

   อภิรกฺขิตุํ ฯ

ไทย

: บุคคลใดมีกำลังกายบริบูรณ์อยู่ ก็อาจมีความเจริญทัน

 

  เพื่อนบ้านได้ ถ้าผู้ใดยิ่งมีกำลังกายมาก ก็ยิ่งมีหนทาง

 

 ให้จำเริญได้มากและรวดเร็วขึ้นเป็นลำดับได้ ฉันใด

 

  พานิชการก็เป็นกำลังของชาติบ้านเมือง ฉันนั้น เมืองใด

 

  มีพานิชการก็เหมือนมีกำลัง พานิชการยิ่งมาก กำลัง

 

  และอำนาจแห่งชาติก็ยิ่งมากขึ้นตามลำดับ ฯ

มคธ

: โย โกจิ ปุริโส พลสมฺปนฺโน โส อญฺเญหิ

 

  สมานวฑฺฒเน อตฺตานํ วฑฺเฒตุํ สกฺโกติ สเจ ปน

 

  โกจิ อติถามวา ภเวยฺย, โส ขิปฺปเมว อนุปุพฺเพน

 

  อภิวฑฺเฒติ ; เอว มยมฺปิ รฏฺฐานํ พลํ โหติ, ยสฺมึ

 

  พหุธา ปวตฺตติ, ตสฺส พลญฺเจว วสิสฺสริยญฺจ

 

   ภิยฺโยโส มตฺตาย อนุพรูหนฺติ ฯ

 

๓. การเติมความ

          ข้อความภาษาไทยที่กำหนดให้แต่งนั้น ในบางตอนจะมีเนื้อความ ที่ยังไม่ชัดเจน ยังคลุมเครือ ยังคุมความได้ไม่หมด หากจะแต่งไปตามข้อความนั้น ย่อมทําให้ขาดความแจ่มแจ้งและเสียอรรถรสทางภาษาได้ ในกรณีอย่างนื้ให้เติมเนื้อความที่ขาดไปให้เต็มสมบูรณ์ได้เนื้อความ ที่เติมมานั้นอาจเป็นประโยค เป็นวลี หรือเป็นศัพท์ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม เมื่อเติมแล้วต้องได้ความเต็มสมบูรณ์ขึ้น เนื้อความสัมพันธ์เนื่องกันไปเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ใช่เติมแล้วทำให้เนื้อความสับสน เพราะเติมความอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องลงไป

          อนึ่ง ในเรื่องการเติมความนี้มีข้อที่พึงทราบอันเป็นความนิยมทาง ภาษาเพิ่มเติม ดังต่อไปนื้

 

          ๑. ข้อความที่เป็นหัวข้อธรรม เมื่อจะแต่งอธิบายนิยมแต่งเป็น รูปวิ เคราะห์เติมเข้ามาก่อน แต่รูปวิ เคราะห์นั้นจะต้อง เป็นรูปวิ เคราะห์ที่ผู้รู้ได้เขียนไว้ในปกรณ์ทั้งหลายแล้ว ไม่ใช่แต่งเองตามใจชอบ เช่น

: สิกฺขากามตาติ เอตฺถ สิกฺขาย กาเมตีติ สิกฺขากาโม,

  ตสฺส ภาโว สิกฺขากามตา ฯ สา ปนายํ โลกสฺส เจว ธมมสฺส

  จ สาตฺถิกา ฯ

 

          ๒. ในข้อความที่อธิบายข้อธรรมแต่ละอย่างให้ละเอียดยิ่งขึ้น นิยมเติมข้อธรรมนั้นๆ ไว้ไห้ครบก่อน แล้วจึงแยกแต่งทีละข้อธรรมทีหลัง โดยใช้ศัพท์นิทธารณะและนิทธารณียะ เป็นตัวเชื่อมความ เช่น

: ตตฺริเม ปฌฺจ สนฺธโย อุคฺค่โห ปริปุจฺฉนา อุปฏฺจานํ อปฺปนา

  ลกฺขณนฺติ ฯ ตตฺถ อุคคโห นาม กมฺมฏฺจานสฺส อุคคณฺหนํ ฯ

 

          ๓. ในกรณีที่ข้อความมีอุปมาอุปไมยอยู่ด้วย ก่อนที่จะแต่งข้อ ความอุปมาอุปไมยนั้น นิยมแต่งเติมสำนวนว่า “ตตฺรายํ อุปมา” หรือ “นิทสฺสนํ เจตฺถ ทฏฺฐพฺพํ” ไว้ข้างต้นก่อน เมื่อแต่งข้อความอุปมาหมดแล้ว หากข้อความภาษาไทยไม่มีอุปไมยต่อ นิยมแต่งเติมประโยคอุปไมยสั้นๆ ว่า “เอวํ สมฺปทมิทํ ฯ” หรือ “เอวํ สมฺปทมิทํ ทฏฺฐพฺพํ ฯ” ต่อท้ายข้อความอุปมาไว้ด้วย เช่น

: จิตฺตมฺปน กิญฺจาปิ อาทิโต ยถาสภาเวน ปวตฺตติ อถโข

  สมฺมาสมาธินา สาธุกํ ปริวตฺเตตุํ สกฺกา โหติฯ

  นิทสฺสนํ เจตฺถ ทฏฺฐพฺพํ ฯ ยงฺกิญฺจิ ภณฺฑํ ปุพฺเพว

  อสุคนฺธํ ปจฺฉา ปน สกฺกา โหติ ปุนปฺปุนํ สุรภิวาเสน

  สุคนฺธํ กาตุํ ฯ

 

          ๔. ในกรณีที่ข้อความภาษาไทยกล่าวถึงเรื่องใดไว้โดยย่อก่อน แล้วกล่าวอธิบายขยายความเรื่องนั้นออกไปอีก ก่อนที่จะแต่งข้อความ อธิบายนั้น นิยมเติมคำว่า “กถํฯ” ซึ่งแปลว่า “คือ” คั่นไว้ก่อนแล้ว จึงแต่งความต่อไป แต่หากข้อความนั้นมีความยาว และเป็นเรื่องสำคัญ จะเติมคำว่า “ตตฺรายํ อนุปุพฺพีกถา ฯ” ดังนี้ ก็เหมาะอยู่ เช่น

: เต ปน เมตฺตาธมฺมปรายนา หุตฺวา นานปฺปกาเรหิ เตสํ

  สิปฺปสิกฺขนํ สงฺคณฺหนฺติปิ อนุคฺคณฺหนฺติปิ ฯ กถํ ฯ เต

  อนฺโตวิหาเรสุ สาลาทิอคารฏฺฐานานิ ปาฐสาลา กาตุํ

  อนุชานนฺติปิ ธุรคฺคาหา หุตฺวา ปาฐสาลา สยํ

  มาเปนฺติปิ อญฺเญ สมาทเปตฺวา มาปาเปนฺติปิ ฯ

 

          ในเรื่องการเติมความนี้ อยูในดุลยพินิจของนักศึกษาเองว่าจะเห็น เหมาะเห็นควรอย่างไร จะเติมตอนไหนอย่างไร ข้อสำคัญก็คือเมื่อเติม แล้วให้ได้ใจความสมบูรณ์และชัดเจนขึ้น  ให้ลูกหลักภาษา และไม่เติมจนดูเฝือไป

          การเติมในทุกที่ตามความคิดเห็นของตน โดยไม่คำนึงถึงเนื้อความ ภาษาไทยที่กำหนดให้ เช่น แต่งอธิบายขยายความธรรม หรือ ใส่เรื่องราวต่างๆ ไป เพิ่มเข้าไปมากเหมือนแต่งกระทู้ธรรมอย่างนี้ กลายเป็นเฝือไป ไม่เป็นที่นิยม แม้จะแต่งถูกธรรมและถูกเรื่อง แต่ก็ไม่ถูกหลักการเติมความและไม่ตรงกับข้อความที่กำหนดให้แต่ง ข้อนี้นักศึกษาควรหลีกเลี่ยงให้มาก เติมเฉพาะที่จำเป็นเป็นดีที่สุดและไม่เฝือด้วย ข้อสำคัญมีอยู่อย่างนี้

          ต่อไปนี้ขอให้ดูตัวอย่างที่ท่านแต่งไว้แล้ว ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดง ถึงการเติมความดังที่กล่าวมาข้างต้น

ไทย

: เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ก็ได้ทรงสละราชย์

 

  เสด็จออกผนวช ตามโบราณขัตติยราชประเพณีแล้ว

 

  จึงได้เสด็จลาผนวชนิวัติคืนสู่ราไชควรรย์ กระทำราชาภิเษก

 

  อีกครั้งหนึ่งเป็นการมโหฬาร ทั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็น

 

  นํ้าพระทัยของพระองค์ว่า ทรงคำนึงถึง

 

  พระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ฯ

มคธ

: โส เอกวีสติวสฺโส หุตฺวา รชฺชํ ปหาย อภินิกฺขนฺโต

 

   อิมสฺมึ ธมฺมวินเย โปราณขตฺติยานํ ปเวณิยา

 

   ปพฺพชิตฺวา กาลานุรูเปน วตฺตปฺปฏิวตฺตํ จรนฺโต

 

   อุปฺปพฺพชิตฺวา มหายเสน กตาภิเสโก ราชภาวํ

 

   ปุนาคมิ ฯ เอวมสฺส จริยา อยํ โข พุทฺธสาสเน

 

   อภิปฺปสนฺโน ตสฺเสว อาทรํ ภิยฺโยโส กโรตีติ ทีเปติ ฯ

 

(สนามหลวง ๒๕๐๕)

ไทย

:  เรื่องที่กล่าวมานี้ เป็นต้นเหตุแห่งการสร้างพุทธเจดีย์

 

   ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ คือ ประสงค์จะให้พระนครใหม่

 

   รุ่งเรืองด้วยวัดวาอารามหรือพระศาสนา “เหมือนเมื่อ

 

   ครั้งบ้านเมืองดี” หมายความว่าให้เหมือนเช่นมีอยู่ใน

 

   พระนคร­ศรีอยุธยาในกาลก่อน ข้อนี้พึงเห็นได้ด้วย

 

   พระราชวัง ก็ดี วัดก็ดี มักสร้างตามแบบอย่างพระนคร-

 

   ศรีอยุธยา ตลอดจนชื่อวัด ก็มักจะขนานนามที่เคยมีใน

 

   พระนครศรีอยุธยา

มคธ

:  อิจฺเจวมยํ วุตฺตนิทานกถา อิมสฺมึเยว รตนโกสินฺท-

 

   มหานคเร พุทฺธเจติยานํ การาปนเหตุ อโหสิ ฯ

 

   กถํ ฯ โส หิ ปฐมจกฺกิวํสิโก ขตฺติโย มหาราชา

 

   สฺยามิกานมินฺโท, ยถา สิรอยุชฺฌิยมหานครํ อิทฺธํ

 

   อโหสิ ผีตํ อากิณฺณมนุสฺสํ สมฺปนฺนสสฺสํ, ตเถวมิม0

 

   นวราชธานีภูตํ รตนโกสินฺทมหานครํ อารามาทีหิ

 

   วุฑฺฒึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺลํ ปาเปตุกาโม อโหสิ, ยถา จ

 

   ปุพฺเพ สิรอยุชฺฌิยมหานคเร ตเถว รตนโกสินฺทมหา-

 

   นคเร อารามาทโย กาเรสิ ฯ นิทสฺสนฌญฺเจตฺถ

 

   ทฏฺฐพฺพํ ฯ ราชนีเวสนมฺปิ อารามาปิ ยถา สิร-

 

   อยุชฺฌิยมหานคเร เอวเมว การิตา ; เตสํอารามานํ

 

   นามานิปิ, ยานิ กานิจิ นามานิ สิริอยุชฺฌิยมหา-

 

   นคเร ปากฏภูตปุพฺพานิ อเหสุํ, เตสมนุสาเรน

 

   การิตานิ ฯ

 

   (สนามหลวง ๒๕๒๕)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.

© Copyright pariyat.com 2025. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search