เนื่องจากนักศึกษาจะต้องแต่งภาษามคธจากข้อความภาษาไทย และข้อความนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นข้อความที่เป็นภาษาพูดบ้าง ภาษาเขียนบ้าง มีความสมบูรณ์เต็มรูปไวยากรณ์บ้าง ไม่เต็มรูปบ้าง เพราะภาษาพูดและภาษาเขียนในทุกภาษาย่อมจะไม่คำนึงถึงไวยากรณ์มากนัก ใช้ความนิยมทางภาษาเป็นหลักใหญ่ เพราะฉะนั้นนักศึกษาจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจลักษณะของภาษาไทยเป็นอย่างดีด้วย จึงจะสามารถอ่าน ข้อความที่กำหนดให้แต่งนั้นได้เข้าใจ และสามารถที่จะตีความและจับ ประเด็นเนื้อความ แล้วแต่งให้ตรงกับหลักของภาษามคธได้ โดยที่ไม่เสียความเดิมในภาษาไทย
ในบทนื้จึงจักแสดงลักษณะของประโยคภาษาไทย ซึ่งความจริง ก็มีลักษณะใกล้เคียงกับประโยคภาษามคธที่ได้แสดงแล้วในบทก่อน
แต่จักแสดงไว้เพื่อประโยชน์แก่การนำมาเทียบเคียงกันให้เห็นเด่นชัด ง่ายต่อการตีความและจับประเด็นเนื้อความ แล้วแต่งเป็นภาษามคธ
ก่อนอื่นนักศึกษาพึงรู้ถึงองคาพยพหรือส่วนประกอบของประโยคภาษาไทยและชื่อเรียกที่ศึกษากันในทางโลกตามสมควร องคาพยพนั้นคือ
บท คือ คำ วลี หรือ ประโยค ที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของประโยค
บทนี้มี ๗ ชนิด คือ บทประธาน บทขยายประธาน บทกิริยา บทขยายกิริยา บทกรรม บทขยายกรรม และบทเชื่อม
เมื่อเทียบเคียงแล้วก็เหมือนบทในประโยคภาษามคธ เช่นกัน ต่างแต่ว่าบทที่ทำหน้าที่ในประโยคภาษาไทยนั้นอาจเป็นคำ หรือวลี หรือ ประโยคก็ได้ แล้วแต่เนื้อความ ตัวอย่างเช่น บทประธาน หรือบทที่ทำหน้าที่เป็นห้วหน้าประโยค และทำหน้าที่คุมกิริยาในประโยคนั้นมีทั้ง ที่เป็นคำ เป็นวลี และเป็นประโยค ตัวอย่างเช่น
ใช้คำ |
: สามเณร ไปบิณฑบาต |
|
ทุกข์ เป็นสิ่งที่ทนได้ยาก |
ใช้วลี |
: ความเจ็บและความตาย ไม่มีใครต้องการ |
|
: มาทำงานสาย เป็นสิ่งไม่ดี |
ใช้ประโยค |
: พระอยู่ในวัด เรียนหนังสือกัน |
|
: วัดทรุดโทรมมาก ได้รับการบูรณะใหม่แล้ว |
ข้อความที่เป็นตัวเน้นดำในประโยคต่างๆ ข้างต้นเรียกว่าบท ได้ทั้งสิ้น แสดงไว้เป็นตัวอย่างเท่านั้น แม้บทขยายประธาน บทกิริยา บทขยายกิริยา เป็นต้น ก็มีทั้งคำ วลี และประโยคเช่นเดียวกัน
วลี คือ กลุ่มคำ หรือ ความที่เรียงติดต่อกัน มีความหมายพอ เข้าใจกันได้ แต่ยังไม่ได้ใจความสมบูรณ์ กลุ่มคำที่เป็นวลีนี้ประกอบ ด้วยคำอย่างน้อย ๒ คำ วลีนี้จะได้ใจความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้เข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของประโยคแล้ว อาจเป็นส่วนที่เป็นบทประธาน บทกิริยา บทกรรม หรือบทขยาย ในประโยคนั้นก็ได้ เช่น
บทประธาน |
: การเรียนภาษามคธ เป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อย |
บทกรรม |
: พระภิกษุสามเณรทำงานที่เป็นประโยชน์แก่วัด |
บทกิริยา |
: งานนี้เขาทำอย่างเสียไม่ได้ |
บทขยาย |
: ท่านนั่งสมาธิอยู่ที่ป่าข้างวัด |
ตามตัวอย่างข้างต้น คำว่า “การเรียนภาษามคธ” “ทำงานที่เป็นประโยชน์แก่วัด” “ทำอย่างเสียไม่ได้” และ “ที่ป่าข้างวัด” นั่นแหละคือวลีในที่นี้
วลีแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะที่อยู่ในประโยคได้ ๗ ชนิด คือ
๑. นามวลี คือ วลีที่มีคำนามนำหน้า เช่น
๒. สรรพนามวลี คือวลีที่มีคำสรรพนามนำหน้า เช่น
๓. กิริยาวลี คือ วลีที่มีคำกิริยานำหน้า เช่น
๔. วิเศษณ์วลี คือคำวลีที่มีคำวิเศษณ์นำหน้า เช่น
๕. บุพบทวลี คือคำวลีที่มีคำบุพบทนำหน้า เช่น
๖. สันธานวลี คือคำวลีใช้เป็นคำสันธาน ซึ่งจะมีคำสันธาน นำหน้าบ้างไม่มีบ้าง เช่น
สันธานวลีในบางประโยคแยกคำออกจากกัน โดยมีข้อความอื่น คั่นกลางในระหว่างคำสันธานนั้น เช่น
๗. อุทานวลี คือคำวลีที่ใช้เป็นคำอุทาน อาจมีคำอุทานนำหน้า หรือไม่มีก็ได้ เช่น
ความรู้เรื่องวลีนี้เป็นประโยชน์ในการแต่งไทย เป็นมคธมาก เพราะเมื่อเข้าใจดีแล้วก็จะสามารถแยกแยะข้อความในภาษาไทยได้อย่างชัดเจน ว่าข้อความกลุ่มใดเป็นบทประธาน ข้อความกลุ่มใดเป็นบทกรรม หรือ ข้อความกลุ่มใดเป็นบทขยายของกลุ่มใด เป็นต้น เมื่อแต่งเป็นภาษา มคธไปตามลักษณะข้อความนั้น ก็จะไม่ทำให้ความหมายของภาษาไทยเสียไป
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710