21.บทที่ ๔ สำนวนนิยม (ประโยคแบบ, ประโยคซํ้าความ, ประโยคคำถาม)

 

บทที่ ๔ สำนวนนิยม

 

          ในทุกชาติทุกภาษาย่อมมีสำนวนภาษาเป็นของตัวเองทั้งสิ้น สำนวนภาษาถือว่าเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของภาษา ซึ่งเข้าใจความ หมายรู้กันเฉพาะในหมู่ผู้ที่ใช้ภาษานั้นๆ และสำนวนภาษานี้ อาจเป็น คำศัพท์เดียว หรือเป็นกลุ่มคำ หรือเป็นประโยคก็ได้ ที่มีความหมาย สละสลวยลึกซึ้งในตัว ซึ่งหากจะแปลถ่ายทอดไปสู่อีกภาษาหนึ่งตรงๆ แล้วย่อมเข้าใจได้ยาก หรือไม่ได้ใจความ

          อย่างเช่น ขมนียํ ถ้าแปลตามตัวก็ได้ความว่า “พอทนได้” แต่ความจริงคำนี้ เป็นสำนวนเท่ากับความไทยว่า “สบายดี” นั่นเอง

          เพราะฉะนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่นักศึกษาวิชาแปลไทยเป็นมคธหรือวิชาแต่งไทยเป็นมคธ จะต้องรู้จักสำนวน ทั้งของภาษามคธ และภาษาไทยได้ดี จึงจะแต่งประโยคบาลีได้ถูกต้องและได้อรรถรส ทางวรรณคดี ในเบื้องต้นขอให้นักศึกษาจำไว้ว่า

          “เมื่อแต่งหรือแปลความไทยเป็นภาษามคธ ต้องให้ถูกหลัก และสำนวนตามภาษามคธ ไม่ใช่ตามภาษาไทยหรือสำนวนไทย หรือ ภาษาบาลีไทย”

          เช่น ความไทยว่า ท่านสบายดีหรือ จะแต่งตามสำนวนไทยไป ทื่อๆ ว่า กึ เต สปฺปาโย โหติ หรือ กึ ตฺวํ สปฺปาโยสิ ย่อมไม่ได้ เพราะสำนวนมคธเขาไม่ใช้อย่างนี้ เขาใช้ว่า “กจฺจิ เต ขมนียํ” หรือ ขมนียํ หรือ ขมนียํ เต ดังนี้

          หรือความไทยว่า หมอรักษาโรค จะแต่งว่า เวชฺโช โรคํ รกฺขติ ไม่ถูก เพราะแต่งอย่างนี้เรียกว่า เป็นภาษาบาลีไทย ต้องแต่งให้ถูก ตามสำนวนมคธว่า “เวชฺโช โรคํ ติกิจฺฉติ” ดังนี้

          ตามตัวอย่างนี้ ก็พอจะมองเห็นได้แล้วว่า สำนวนภาษามคธ นั้นเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย หากใช้ผิดแล้วจะทำให้เสียความหมายและทำให้เจ้าของภาษาฟังไม่รู้เรื่องเอาเลยก็ได้

          ในบทนี้ จึงจะได้กล่าวรายละเอียดในเรื่องสำนวนนิยมตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้

สำนวนมคธ

สำนวนไทยสันทัด

สำนวนสอบภูมิ

สำนวนนิยมทั่วไป

 

สำนวนมคธ ประโยคแบบ

           ประโยคแบบ คือ ประโยคที่ท่านวางสำนวนหรือศัพท์ไว้คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะแปลยักเยื้องไปอย่างไร ก็คงรูปอยู่อย่างนั้น

ประโยคเช่นนี้ มีใช้มาก ขอให้นักศึกษาจำให้ได้แม่นยำขึ้นใจไว้ดีกว่าที่ จะคิดแต่งเองใหม่ ประโยคแบบที่ใช้ทั่วไปมีไม่กี่ประโยค ดังนี้

          (๑) ประโยคต้นเรื่อง คือ ประโยคขึ้นต้นเรื่อง ก่อนที่จะถึง ท้องนิทาน คือ

........ ติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา......... วิหรนฺโต อารพฺภ กเถสิ ฯ ช่องว่างที่.........ไว้นั้น สำหรับเติมข้อความ สถานที่ประทับ และบุคคล เช่น

: ปเร จ น วิชานนฺตีติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต โกสมฺพิเก ภิกฺขู อารพฺภ กเถสิ ฯ (๑/๔๙)

          (๒) ประโยคคอคาถา คือ ประโยคที่จะตรัสพระคาถา ก่อน ที่จะเป็นรูปพระคาถาก็มีคำเชื่อม มีรูปประโยค ดังนี้

: อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ธมฺมํ เทเสนฺโต อิมํ คาถมาห ฯ (อิมา คาถา อภาสิ ฯ)

          ประโยคคอคาถาแบบนี้เป็นแบบที่พบเห็นทั่วไป บางแห่งท่านเติม อุปมาเข้ามา บางแห่งท่านใช้ไม่ครบ อันนี้ขอให้ดูความไทยเป็นหลัก เช่น

: อิทํ วตฺถุํ กเถตฺวา อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ปติฏฐาปิตมตฺติกํ สาสนํ ราชมุทฺทาย ลญฺฉนฺโต วิย ธมฺมราชา อิมํ  คาถมาห ฯ (๑/๒๐)

:....... ติ วตฺวา เทเสนฺโต อิมํ  คาถมาห ฯ

:....... ติ วตฺวา อิมํ คาถมาห ฯ

          (๓) ประโยคตั้งเอตทัคคะ มี ๒ แบบ คือ

(ชาย) เอตทคฺคํ  ภิกฺขเว มม สาวกานํ  ภิกฺขนํ (อุปาสกานํ)......ยทิทํ......ฯ

(หญิง) เอตทคฺคํ  ภิกฺขเว มม สาวิกานํ ภิกฺขุนีนํ  (อุปาสิกานํ)......ยทิทํ...... ฯ

          ตัวอย่างเช่น

(ชาย) : เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ ขิปฺปาภิญฺญานํ  ยทิทํ พาหโย ทารุจีริโย ฯ (๔/๙๗)

(หญิง) : เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวิกานํ อุปาสิกานํ ธมฺมกถิกานํ ยทิทํ ขุชฺชุตฺตรา ฯ (๒/๔๘)

          (๔) ประโยคประชุมกัน

ก. ประโยคประชุมกัน

: ภิกฺขู ธมุมสภายํ กถํ สมุฏฺฐาเปสุํ... ติ ฯ

ข.ประโยคตรัสถาม - ประโยคตอบ มี ๒ แบบแล้วแต่ความ

(ถาม) : สตฺถา อาคนฺตฺวา กาย นุตฺถ ภิกฺขเว เอตรหิ กถาย สนฺนิสินฺนาติ ปุจฺฉิตฺวา              

(ตอบ) : อิมาย นามาติ วุตฺเต..........

(ถาม) กึ กเถถ ภิกฺขเวติ ปุจฺฉิตฺวา..........

(ตอบ) : อิทนฺนาม ภนฺเตติ วุตฺเต..........

          (๕) ประโยคถาม - ตอบเรื่องสุขทุกข์

: เตปิ โข ภิกฺขู สาวตฺถึ คนฺตฺวา ฯเปฯ “กจฺจิ ภิกฺขเว ขมนียํ, กจฺจิ ยาปนียํ, น จ ปิณฺฑิเกน กิลมิตฺถาติ วุตฺตา “ขมนียํ ภนฺเต. ยาปนียํ ภนฺเต (๒/๑๒๒)

: มม ปุตฺตสฺส มหากสฺสปสฺส ขมนียนฺติฯ ขมนียํ  ภนฺเตติ ฯ

          ตัวอนภิหิตภัตตาในประโยคถาม - ตอบ เรื่องสุขทุกข์นี้ จะ ต้องประกอบเป็นรูปฉัฏฐีวิภัตติ เสมอ

          (๖) ประโยคเข้าเฝ้า

: เยน ภควา, เตนุปสงฺกมิ, อุปสงกมิตฺวา....................... (๑/๕๓)

 

ประโยคซํ้าความ

          ประโยคซํ้ากัน คือ ประโยคที่มีข้อความซํ้ากับประโยคต้น ประโยคเช่นนี้ ตัดศัพท์ที่ซํ้ากันออกให้เหลือไว้เฉพาะศัพท์ที่ไม่ซํ้ากันเท่านั้น และที่เหลือนั้นจะต้องมีอย่างน้อย ๒ ศัพท์ ถ้าซํ้าทั้งหมด ไม่ซํ้าเพียง ศัพท์เดียว นิยมใส่ที่ซํ้าได้ ๑ ศัพท์ รวมเป็น ๒ ศัพท์ ประโยคซํ้ากันที่ ตัดออกนี้ เวลาแปลท่านอาจแปลเต็มรูปประโยคเหมือนประโยคต้นก็ได้ หรือแปลเฉพาะตัวก็ได้ ความนิยมเช่นนี้เป็นความนิยมของภาษา ที่ต้องการตัดคำที่ซํ้ากันรุงรังออกเสียบ้าง และ เพื่อให้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว เช่น

: เมื่อไปในเวลาก่อนภัต ให้คนถือของที่ควรเคี้ยวเป็นต้น ไป เมื่อไปเวลาหลังภัตให้คนถือเภสัช ๕ และ ปานะ ๘ ไป ฯ (สำนวนสนามหลวง ป.๔/๒๕๒๑)

: ปุเรภตฺตํ คจฺฉนฺตา ขาทนียาทีนิ คาหาเปตฺวา คจฺฉนฺติ, ปจฺฉาภตฺตํ ปญฺจ เภสชฺชานิ อฏฺฐ จ ปานานิ ฯ (๑/๔)

ถ้าแต่งตามความไทยว่า

: ปุเรภตฺตํ คจฺฉนฺตา ขาทนียาทีนิ คาหาเปตฺวา คจฺฉนฺติ ฯ ปจฺฉาภตฺตํ คจฺฉนฺตา ปญฺจ เภสชฺชานิ อฏฐ จ ปานานิ คาหาเปตฺวา คจฺฉนฺติ

อย่างนี้ก็ใช้ได้ แต่ดูแล้วรุงรัง เพราะใช้ศัพท์เกินความพอดีไป

: ความพิสดารว่า ณ พระนครสาวัตถี พระภิกษุ ๒ พัน รูป ฉันที่ เรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทุกวัน ของมหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขา ก็เหมือนอย่างนี้ คือว่าพระ ภิกษุ ๒ พันรูป ฉันที่เรือนทุกรัน ฯ (สนามหลวง ป.๔/๒๕๒๑)

: สาวตฺถิยํ หิ เทวสิกํ อนาถปิณฺฑิกสฺส เคเห เทฺว ภิกฺขุสหสฺสานิ ภุญฺชนฺติ,  ตถา วิสาขาย มหาอุปาสิกาย ฯ (๑/๑๔๑)

ให้สังเกตดูว่า สนามหลวงแปลตามแบบพยัญชนะ และแปลเต็มที่ เวลาแต่งให้ลดลงเฉพาะศพท์ที่ไม่ซํ้ากันเท่านั้นจึงใส่เข้ามา

ดูประโยคต่อไปนี้เรนตัวอย่างเทียบเคียง

: ตฺวํ เม มาตริ มตาย มาตา วิย, มาตริ มเต ปิตา วิย ลทฺโธ ฯ (๑/๖)

: อุปาสกา เอโก สยํ ทานํ เทติ ปรํ น สมาทเปติ, โส นิพฺพตฺตนิพฺพตฺตฏฐา เน โภคสมปทํ ลภติ, โน ปริวารสมฺปทํ ฯ (๑/๗๐)

 

 

ประโยคคำถาม

          ในการเรียงประโยคคำถามในภาษามคธนั้น นอกจากจะเรียง ตามแบบประโยคแบบต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีข้อปลีกย่อยอื่นๆ ที่ ควรสนใจอีก เพราะเกี่ยวกับความนิยมของภาษา คือ

  (๑) ประโยคข้อความใดเป็นคำถามให้เรียง กึ ไว้ต้นประโยค หรือเรียงกิริยาคุมพากย์ไว้ต้นประโยคแทน กึ ดังกล่าวมาพร้อม ตัวอย่างในตอนต้น

          (๒) ประโยคคำถาม ที่ถามว่า อยู่ไหน ไปไหน เป็นต้น ถ้า ถามถึงสิ่งไม่เห็นตัวตน ไม่ทราบแน่นอนว่าอยู่หรือไปไหน อย่างนี้ไม่นิยมใส่กิริยาว่า คโต คจฺฉติ วสติ เป็นต้น เวลาแปลผู้แปลจะต้อง ใส่เอาเอง เช่น

: กุฎุมพีจำพระเถระเหล่านั้นได้ จึงนิมนต์ให้นั่ง ทำการ ต้อนรับแล้วเรียนถามว่า หลวงพี่ พระเถระของกระผมอยู่ที่ไหนขอรับ

: กุฏุมฺพิโก เต สญฺชานิตฺวา นิสีทาเปตฺวา กตปฏิสนฺถาโร  “ภาติกตฺเถโร เม กุหินฺติ ปุจฺฉิ ฯ (๑/๑๓)

: นางยักษ์มาด้วยเพศหญิงสหายของนาง ถามว่า เพื่อน หญิงของฉันอยู่ไหน

: ยกขินี ตสฺสา ปิยสหายิกาวณฺเณน อาคนฺตฺวา กุหึ เม สหายิกาติ ปุจฺฉิ ฯ (๑/๔๕)

: ตอบว่าเพื่อนของข้าพเจ้ามีอยู่คนหนึ่งฯ ถามว่าเขาอยู่ ไหน ฯ

: อตฺถิ เม เอโก สหายโกติ ฯ กุหึ โสติ ฯ (๒/๒)

ถ้าถามถึงสิ่งที่เห็นตัวตนอยู่ ต้องใส่กิริยาด้วย เช่น

: มหาชนนี้จะไปไหนกัน

 : อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉตีติ ฯ (๑/๔)

: ก็ท่านขอรับ พระคุณเจ้าจักไปไหน

: อยฺโย ปน ภนฺเต กุหึ คมิสฺสตีติ ฯ

          (๓) ประโยคคำถามในท้องเรื่อง ซึ่งผู้พูดหรือผู้เขียนเป็นผู้ถาม เอง และตอบเอง อย่างนี้ในประโยคคำถามนิยมใส่ อิติ กำกับท้าย ประโยค ประโยคคำตอบไม่ต้องใส่ เช่น

: อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตาติ ฯ สาวตฺถิยํ ฯ กํ อารพฺภาติ ฯ จกฺขุปาลตฺเถรํ ฯ (๑/๓)

          (๔) ประโยคตอบคำถามไม่นิยมลอกคำถาม คือไม่ต้องใส่คำถาม เข้ามาในประโยคตอบ ให้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ให้เรียงเฉพาะคำตอบเท่านั้น สำนวนเช่นนี้สนามหลวงนิยมแปลเต็มความเพื่อทดสอบภูมิดู เช่น

: ก็พระเถระนั้นกำลังฆ่าอยู่ เธอเห็นหรือ ฯ พระเถระนั้น กำลังฆ่าอยู่ พวกข้าพระองค์ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

: กึ ปน โส ตุมฺเหหิ มาเรนฺโต ทิฏฺโฐติ ฯ น ทิฏฺโฐ ภนฺเตติ ฯ (๑/๑๘)

จะตอบว่า “โน ภนฺเต” ก็ได้ แต่จะตอบเพียงว่า “น” หรือ “น ภนฺเต” ไม่นิยม

 

อ้างอิง

 

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


47370343
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
35359
54808
235106
46849926
856681
1172714
47370343

Your IP: 3.129.195.254
2024-11-21 15:40
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search