10.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (สทฺธึ และ สห, ปฏฺฐาย กับ ยาว )

 

วิธีเรียง สทฺธึ และ สห

        สทฺธึ และ สห ศัพท์ แปลอย่างเดียวกันว่า “กับ, ร่วม, พร้อม กับ, พร้อมด้วย, พร้อมทั้ง” มีข้อสังเกตและวิธีการเรียงดังนี้

        ๑. ศัพท์ที่ท์าหน้าที่ขยาย สทฺธึ ให้เรียงไร้หน้า สทฺธึ เช่น

  • : โส  ตาย สทฺธึ สีลวิปตฺตึ ปาปุณิฯ (๑/๑๔)
  • : กรชกาเยน ปน สทฺธึ มนฺเตนฺโต “วเทหิ ตาว อาวุโส ปาลิต ฯเปฯ (๑/๑๐)

        ๒. ศัพท์ที่ท์าหน้าที่ขยาย สห ให้เรียงไร้หลัง สห เช่น

  • : เต ภิกฺขู สห ปฏิสมฺภิทาหิ อรหตฺตํ ปาปุณึสุ ฯ

        วิธีที่ว่านี้เป็นวิธีที่นิยมกันโดยมาก แต่บางคราวท่านก็เรียงกลับ กันเสียบ้าง เช่น

  • : อถสฺส นครโต อวิทูเร ฐาเน เต โยธา สทฺธึ ปุตฺเตหิ  สีสํ ฉินฺทึสุ ฯ (๓/๑๘)
  • : มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม ฯ

        แบบที่ว่านี้เป็นแบบเฉพาะของท่าน หากจะเรียงใหม่ให้ยึดแบบ นิยมเป็นดีที่สุด ไม่มีทางพลาด

        ๓. ศัพท์ที่นิยมใช้กับ สทฺธึ ต้องเป็นศัพท์รูปธรรม เป็นสิงมี ชีวิต มีรูปร่างปรากฏ เช่น คน สัตว์ เป็นต้น ดังตัวอย่างข้างต้นนี้

        ศัพท์ที่นิยมใช้กับ สห ต้องเป็นศัพท์นามธรรม เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีรูปร่างปรากฏ ดังตัวอย่างข้างต้นเช่นกัน

 

วิธีเรียง ปฏฺฐาย กับ ยาว

        ปฏฺฐาย แปลว่า “จำเดิม ตั้งแต่” ยาว แปลว่า “จน, จนถึง, จนกว่า, ตราบเท่า” ทั้งสองศัพท์มีวิธีเรียงดังนี้

        ๑. ศัพท์ที่ท์าหน้าที่ขยาย ปฎฺฐาย นิยมเรียงไว้หน้า ปฏฺฐาย และ ประกอบด้วย โต ปัจจัย เช่น

  • : ตโต ปฏฺฐาย  เตสํ ปจฺจยทายกา อุปฏฺฐากาปิ เทฺว โกฏฺฐาสา  อเหสุํ ฯ (๑/๕๐)

        ๒. ศัพท์ที่ท์าหน้าที่ขยาย ยาว นิยมเรียงไว้หลัง ยาว และ นิยมมีรูป เป็นปัญจมีวิภัตดิที่ลงท้ายด้วย อา เช่น

  • : อถสฺส สตฺถา ยาว  อรหตฺตา กมมฏฺฐานํ กเถสิ ฯ (๑/๗)
  • : ยาว อกนิฏฺฐภวนา ปน เอกนินฺนาทํ โกลาหลํ อคมาสิ ฯ (๑/๕๐)

        ๓. ถ้า ปฏฺฐาย กับ ยาว มาคู่กันในประโยคเดียวกัน และมีบทขยายด้วยกันทั้งคู่ แปลเป็นสำนวนไทยว่า “ตั้งแต่, จนถึง, จำเดิมแต่ ...จนกระทั้งถึง ฯลฯ นิยมเรียงท่อน ปฏฺฐาย ไว้ข้างหน้า เรียงท่อน ยาวไว้ข้างหลัง ส่วนบทขยายก็เรียงตามวิธีดังกล่าวข้างต้น เช่น

  • : เทวทตฺตสฺส วตฺถุํ ปพฺพชิตกาลโต ปฏฺฐาย ยาว ปฐวิปฺปเวสนา เทวทตฺตํ อารพฺภ ฯเปฯ วิตฺถาเรตฺวา กถิตํ ฯ (๑/๑๒๔)

        ๔. ยาว ที่มาคู่กับ ตาว เป็น ยาว-ตาว ทำหน้าที่เชื่อมประโยค แปลว่า “จน, จนกว่า, จนถึง, ตราบเท่าที่, จนกระทั่งถึง, ตลอด- เวลาที่ ฯลฯ” ให้เรียงอย่างปกติ คือ เรียง ยาว - ตาว ไว้ต้นประโยค จะเรียงประโยค ยาว ไว้ต้นหรือไว้หลังก็ได้ แล้วแต่ความ เช่น

  • : คุณพี่ ขอให้คุณพี่รอจนกว่าลูกคนนี้จะเติบโต
    : อาคเมหิ ตาว สามิ, ยาว อยํ วยปฺปตฺโต โหติ ฯ (๔/๔๗)
  • : กระผมจักบำรุงคุณพ่อคุณแม่ด้วยนํ้ามือเอง ตลอดเวลา ที่คุณพ่อ คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่
    : ยาว ตุมฺเห ชีวถ, ตาว โว สหตฺถา ว อุปฏฺฐหิสฺสามิ ฯ (๔/๖๑)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


47371132
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
36148
54808
235895
46849926
857470
1172714
47371132

Your IP: 3.133.139.28
2024-11-21 15:55
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search