อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผู้ใดตั้งชื่อขึ้นมาแล้ว ก่อนที่ผู้นั้นจะนำไปใช้เรียกชื่อกันจริงๆ มีข้อที่ควรพิจารณาสองอย่างเกี่ยวกับการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ประการแรกคือ สระที่ปรากฏอยู่ในชื่อคำไทยเมื่อถอดออกมาเป็นอักษรโรมันแล้วไม่ควรได้รูปเป็นสระผสม เพราะผู้อ่านอาจจะอ่านยากและอ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง ถ้ามีสระผสมสองตัวก็พออ่านกันได้ แต่ถ้ามีสระผสมรวมกันสามตัวก็คงอ่านยากแน่ๆ อีกประการหนึ่ง หลังจากท่านถอดสระจากชื่อคำไทยเป็นอักษรโรมันแล้วไม่ควรมีเครื่องหมาย ( - ) ขีดคั่นกลางระหว่างชื่อเพื่อแบ่งพยางค์ให้แยกอ่าน เพราะรูปคำในอักษรโรมันที่ปรากฏออกมาอาจดูแล้วยืดเยื้อและอักษรไม่สวย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อในลักษณะดังกล่าว
อนึ่งการตั้งชื่อคนนั้นควรตั้งชื่อให้มีความยาวไม่เกิน ๓ พยางค์ เพราะเมื่อถอดชื่อเป็นอักษรโรมันแล้วก็จะได้ประมาณแปดตัวอักษร ซึ่งพอดีกับจำนวนตัวอักษรที่ใช้ในการสร้างชื่อ (User Name หรือ User Account) เพื่อใช้ Log in เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานในองค์กร เพราะถ้าตัวอักษรยาวเกินแปดตัวก็จะถูกตัดให้เหลือไม่เกินแปดตัว ซึ่งเท่ากับว่าชื่อของคนๆนั้นมีตัวอักษรและเสียงอ่านไม่ครบตามชื่อที่เขียนจริง ถ้าคนๆนั้นเชื่อเรื่องโชคชะตาวาสนาก็คล้ายกับว่าชีวิตนี้เหมือนจะขาดอะไรไปสักอย่าง แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ชื่อที่สมมุติกันขึ้นมา เพราะในความเป็นจริง คนจะเจริญก้าวหน้าหรือไม่ก็อยู่ที่การกระทำเท่านั้น ต่อไปเป็นการเทียบเสียงสระไทยเป็นอักษรโรมันตามประกาศของราชบัณฑิตยสถาน
อักษร | ตัวอย่าง | |
---|---|---|
สระไทย | โรมัน | |
อะ, –ั (อะ ลดรูป), รร (มีตัวสะกด), อา | a | ปะ = pa, วัน = wan, สรรพ = sap, มา = ma |
รร (ไม่มีตัวสะกด) | an | สรรหา = sanha, สวรรค์ = sawan |
อำ | am | รำ = ram |
อิ, อี | i | มิ = mi, มีด = mit |
อึ, อื | ue๑ | นึก = nuek, หรือ = rue |
อุ, อู | u | ลุ = lu, หรู = ru |
เอะ, เ–็ (เอะ ลดรูป), เอ | e | เละ = le, เล็ง = leng, เลน = len |
แอะ, แอ | ae | และ = lae, แสง = saeng |
โอะ, –(โอะ ลดรูป), โอ, เอาะ, ออ | o | โละ = lo, ลม = lom, โล้ = lo, เลาะ = lo, ลอม = lom |
เออะ, เ–ิ (เออะ ลดรูป), เออ | oe | เลอะ = loe, เหลิง = loeng, เธอ = thoe |
เอียะ, เอีย | ia | เผียะ = phia, เลียน = lian |
เอือะ, เอือ | uea๒ | – ๔, เลือก = lueak |
อัวะ, อัว, –ว– (อัว ลดรูป) | ua | ผัวะ = phua, มัว = mua, รวม = ruam |
ใอ, ไอ, อัย, ไอย, อาย | ai | ใย = yai, ไล่ = lai, วัย = wai, ไทย = thai, สาย = sai |
เอา, อาว | ao | เมา = mao, น้าว = nao |
อุย | ui | ลุย = lui |
โอย, ออย | oi | โรย = roi, ลอย = loi |
เอย | oei | เลย = loei |
เอือย | ueai | เลื้อย = lueai |
อวย | uai | มวย = muai |
อิว | io๓ | ลิ่ว = lio |
เอ็ว, เอว | eo | เร็ว = reo, เลว = leo |
แอ็ว, แอว | aeo | แผล็ว = phlaeo, แมว = maeo |
เอียว | iao | เลี้ยว = liao |
ฤ (เสียง รึ), ฤๅ | rue | ฤษี , ฤๅษี = ruesi |
ฤ (เสียง ริ) | ri | ฤทธิ์ = rit |
ฤ (เสียง เรอ) | roe | ฤกษ์ = roek |
ฦ, ฦๅ | lue | – ๔, ฦๅสาย = luesai |
หมายเหตุ การเทียบเสียงสระ
ตามที่กล่าวแล้วในตอนต้น หลักการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันสามารถทำได้ ๒ แบบคือ แบบถ่ายเสียง ตามประกาศของราชบัณฑิตยสถานที่คนไทยเริ่มนิยมใช้กันเมื่อสิบปีเศษผ่านไปนี้เอง กับอีกแบบหนึ่งคือ แบบถอดอักขระตามวิธีเขียน ที่มักใช้กับชื่อเฉพาะคือชื่อ สถานที่ คำไทยแท้ คำบาลี-สันสกฤต เป็นต้น เช่น สุวรรณภูมิ = Suvarnabhumi, ทุเรียน = Durian, สิงห์ = Singha ซึ่งถ้าเป็นชื่อคนเมื่อถอดตามวิธีเขียนแล้วยังอ่านออกเสียงได้ถูกต้องก็จะทำให้รู้ความหมายได้ด้วย และเมื่อถอดรูปที่ปรากฏกลับคืนแล้วก็ยังเขียนได้ถูกต้องเหมือนเดิม แต่ถ้าถอดตามวิธีที่สองแล้ว คนอ่านมักอ่านไม่ออกหรืออ่านผิดบ่อยๆ ซึ่งอาจทำให้ตกไฟล์การบินได้ ก็อาจใช้วิธีประสมกันทั้งสองแบบเพื่อให้อ่านได้ถูกต้อง แต่ถ้าผิดหลักไปมากก็ใช้การถอดอักขระตามแบบวิธีแรกจะดีกว่า เพราะจะได้เป็นมาตรฐานที่คนทั่วไปรู้กันอยู่แล้ว
ฐานที่เกิดเสียงอักขระ3 | เทียบอักษรไทยเป็นโรมันที่ใช้เขียนบาลี2 | ตัวอย่าง | |
---|---|---|---|
อักษรไทยที่ใช้ในบาลี | อักษรโรมัน | ||
เกิดในคอ (วรรค กะ) | ก ข ค ฆ ง | k, kh, g, gh, ṅ | |
ที่เพดาน (วรรค จะ) | จ ฉ ช ฌ ญ | c, ch, j, jh, ñ | |
ปุ่มเหงือก (วรรค ฏะ) | ฏ ฐ ฑ ฒ ณ | ṭ, ṭh, ḍ, ḍh, ṇ | |
เกิดที่ฟัน (วรรค ตะ) | ต ถ ท ธ น | t, th, d, dh, n | พุทธ = buddha |
ริมฝีปาก (วรรค ปะ) | ป ผ พ ภ ม | p, ph, b, bh, m | อภิสิทธิ์ = abhisit |
เศษวรรค (เกิดในฐานนั้นๆ) | ย ร ล ว ส ห ฬ อํ | y, r, l, v, s, h, ḷ , ṁ ṃ หรือ ŋ | ทุเรียน = durian |
สระที่ใช้ในบาลี ( ฯลฯ ) | อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ | a, ā, i, ī, u, ū, e, o |
ส่วนการถอดชื่ออักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบภาษาบาลีนั้น เป็นการถอดตามหลักสัทศาสตร์และตามหลักวิธีเขียน เพราะตัวต้นกับตัวสะกดใช้ตัวเดียวกัน ซึ่งถ้าชื่อใครสามารถถอดได้ตามแบบนี้แล้ว และยังอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง ก็ถือว่ายอดเยี่ยมไม่เหมือนใครเท่ไปอีกแบบ สรุปง่ายๆก็คือวิธีแรกใช้เป็นแบบมาตรฐาน (Standard) วิธีที่สองเป็นแบบติดยศ (Advance) ดังนั้นชื่อเฉพาะจึงต้องใช้เป็นแบบ Advance เพราะถ้าเขียนแบบ ป.๑ ก็จะขาดองค์ประกอบที่จะพึงได้อีกหลายอย่าง ไม่เชื่อลองไปศึกษาชื่อสนามบินที่ใช้คำว่า สุวรรณภูมิ = Suvarnabhumi กันดูแล้วจะรู้ว่ามีนัยอันลึกซึ้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศอย่างไร
บทความโดย : www.needformen.com
อ้างอิง : 1.ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ค.2542). "หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง". www.royin.go.th
2.พระมหาประยุทธ์ ป. อารยางกูร. (2 มี.ค.2506). "ภาค 2 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ".
3.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. "บาลีไวยากรณ์ อักขรวิธี ภาคที่๑ สมัญญาภิธานและสนธิ".
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710