หลักเกณฑ์การอ่านภาษาบาลี

ภาษาบาลีเป็นภาษาของชาวอินเดียแคว้นมคธมาตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อนำมาเรียนกันในประเทศไทยก็ได้ใช้ตัวอักษรของไทยเขียนภาษาบาลีโดยมีสระและพยัญชนะ ดังนี้

สระ ๘ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

พยัญชนะ ๓๓ ตัว  ซึ่งแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆ ๒ ชนิด คือ

๑ พยัญชนะวรรค มี ๕ ชุด รวม ๒๕ ตัว
    ก ข ค ฆ ง    เรียกว่า ก วรรค
    จ ฉ ช ฌ ญ   เรียกว่า จ วรรค
    ฏ ฐ ฑ ฒ ณ  เรียกว่า ฏ วรรค
    ต ถ ท ธ น    เรียกว่า ต วรรค
    ป ผ พ ภ ม    เรียกว่า ป วรรค

๒ พยัญชนะอวรรค มี ๘ ตัว
    ย ร ล ว ส ห ฬ  ํ (นิคหิต=อัง)

กลอนช่วยจำ
===============================
ไก่ ไข่ ควาย ฆ่า งู .......จน ฉัน ชู ฌอ เฌอ หญิง
ฏัก ฐาน โฑ เฒ่า ณิง......เต่า ถูก ทิ้ง ธอ ธง นาย
ป่า ไผ่ พง เภา ม้า.........ย่า รัก ลา ว่า เสือ หาย
จุ ฬา วาด ลวด ลาย.......นิค หิต มิตร คู่ กัน

หลักของภาษาบาลีถือว่า พยัญชนะทุกตัวไม่มีเสียง ต้องใช้สระตัวใดตัวหนึ่งมาผสมพัญชนะนั้นๆ จึงออกเสียงได้ พยัญชนะที่ไม่มีรูปของสระตัวใดผสมอยู่เลยให้ถือว่าเป็นรูปของสระ อ เช่น อรหโต=อะระหะโต

พยัญชนะตัวใดเป็นตัวสะกด ให้ใช้เครื่องหมาย . ไว้ใต้พยัญชนะตัวนั้น มีหลักเกณฑ์สำหรับพยัญชนะตัวที่ตามหลังไว้ดังนี้

๑. ถ้าพยัญชนะวรรค ตัวที่หนึ่งเป็นตัวสะกด ตัวที่ตามหลังจะต้องเป็นพยัญชนะวรรคตัวที่หนึ่งหรือตัวที่สองในวรรคเดียวกัน เช่น สกฺโก, จกฺขูนิ, อนิจฺจํ มจฺฉา, วฏฺฏโก รฏฺฐํ, อตฺตโน นตฺถิ, สปฺปํ ปุปฺผํ.

๒. พยัญชนะวรรค ตัวที่สามเป็นตัวสะกด ตัวที่ตามหลังจะต้องเป็นพยัญชนะวรรคตัวที่สามหรือตัวที่สี่ในวรรคเดียวกัน เช่น อคฺคํ ยคฺเฆ, อชฺเช มชฺฌิมา, กุฑฺโฑ วุฑฺฒิ, สทฺทํ พุทฺโธ, ปพฺพโต อารพฺภ.

๓. พยัญชนะวรรคตัวที่ ๕ เป็นตัวสะกด ตัวที่ตามต้องเป็นพยัญชนะในวรรคเดียวกันและใช้ได้หมดทั้งห้าตัว
    พยัญชนะวรรคตัวที่ ๒ และที่ ๔ ไม่ใช้เป็นตัวสะกด คงใช้เป็นตัวตามเท่านั้น

๔. พยัญชนะอวรรค ใช้เป็นตัวสะกดได้เพียง ๓ ตัว คือ ย ล ส  ตัวที่ตามก็ต้องเป็นเช่นเดียวกับตัวสะกด เช่ย เสยฺโย สลฺลํ อสฺส.

๕. ข้อยกเว้นพิเศษ กรณีที่พยัญชนะตัวใดก็ตามมีเครื่องหมาย . อยู่ข้างใต้แล้ว แต่ตัวตามไม่เป็นไปตามกฏข้างต้นนี้ ให้ถือว่า พยัญชนะตัวนั้น ออกเสียงได้เพียงครึ่งเสียง (เช่นเดียวกับตัวควบกล้ำในภาษาไทย) เช่น ตสฺมา=ตัส สะ หมา (ออกเสียง สะ เพียงนิดเดียว), พฺยคฺฆํ=พะยัคฆัง (ออกเสียงตัว พะ เพียงเล็กน้อย), พฺหรฺมํ (ออกเสียง พฺ และ หฺ เพียงนิดหน่อย) สมฺมุฬฺโห=สัม มุน ฬะ โห (ออกเสียง ฬะ ครึ่งเสียง)

หมายเหตุ : เหตุที่ ญ และ ฐ ซึ่งนำมาใช้ในการเขียนภาษาบาลีไม่มีฐานล่าง (เชิง) เป็น ญฺ ฐฺ เพื่อความสะดวกในการใส่เครื่องหมาย . ดังนั้น แม้เมื่อไม่มี . อยู่ ก็ไม่นิยมใช้ฐานล่าง (เชิง) ไปด้วย

๖. คำที่มีเครื่องหมาย ํ (เรียกว่า นิคหิต) อยู่บนอักษรตัวใด ให้ออกเสียงอักษรตัวนั้นเป็นเสียงมี ง สะกด เช่น อํสุการี=อังสุการี, เสตุํ=เสตุง, อฏฺฐึ=อัฏฐิง. (ไม่ใช่อ่านว่าอัฏฐึ ตัวนี้คือ   ิ และ  ํ  แต่เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการเขียนและพิมพ์ เราจึงใช้   ึ แทน แต่ก็เป็นที่รู้จักกัน)

    วิธีการอ่าน เขียน และสะกด ในภาษาบาลี มีหลักการกว้าง ๆ ดังต่อไปนี้     ๑.พยัญชนะที่เขียนไว้โดด ๆ โดยไม่มีสระ ให้อ้านออกเสียง "สระ อะ" เสมอ เช่น             ตป อ่านว่า ตะ-ปะ
            สติ อ่านว่า สะ-ติ
            นโม อ่านว่า นะ-โม
            ภควา อ่านว่า ภะ-คะ-วา
            อาจริย อ่านว่า อา-จะ-ริ-ยะ
            อรหโต อ่านว่า อะ-ระ-หะ-โต     ๒.การสะกดในภาษาบาลี ท่านใช้ "พินทุ (  ฺ  )" เขียนไว้ใต้ตัวพยัญชนะ มีหลักในการเขียนและอ่านดังนี้         ๒.๑ พยัญชนะที่ใช้พินทุ หรือจุด (  ฺ  )ไว้ใต้ จะใช้เป็นตัวสะกด เสมอ เช่น             ภิกฺขุ อ่านว่า ภิก-ขุ
            อนิจฺจตา อ่านว่า อะ-นิด-จะ-ตา
            อภิญฺญา อ่านว่า อะ-ภิน-ยา
            เวสฺโส อ่านว่า เวด-โส         ๒.๒ ถ้าพยัญชนะตัวหน้า ไม่มีสระอยู่ด้วย ท่านใช้พินทุหรือจุด (  ฺ  ) ที่อยู่ใต้พยัญชนะตัวหลัง เป็นไม้หันอากาศ เสมอ เช่น             ขนฺติ อ่านว่า ขัน-ติ
            ตสฺส อ่านว่า ตัด-สะ
            ปจฺจตฺตํ อ่านว่า ปัด-จัด-ตัง
            สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส อ่านว่า สำ-มา-สำ-พุด-ธัด-สะ         ๒.๓ บางครั้ง ใช้พินทุ หรือจุดไว้ใต้พยัญชนะเพื่อให้เป็นตัวควบกล้ำ ในกรณีนี้ นิยมอ่านออกเสียกึ่งมาตรา เช่น             ตสฺมา อ่านว่า ตัด-สมา (เสียง สะ หน้า มา อ่านออกกึ่งมาตรา หรือ อ่านอย่างเร็ว)
            พฺรูถะ อ่านว่า พรู-ถะ (เสียง พะ หน้า รู อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา คล้ายตัวควบกล้ำ)
            ยาตฺรา อ่านว่า ยาด-ตรา (เสียง ตะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา)
            ภวตฺวนฺตราโย อ่านว่า ภะ-วัด-ตวัน-ตะ-รา-โย (เสียง ตะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา)
            กตฺวา อ่านว่า กัต - ตวา ( เสียง ตะ หน้า วา ออก กึ่งมาตรา )
            พฺยาธิ อ่านว่า พยา - ธิ ( เสียง พะ หน้า ยา ออกกึ่งมาตรา )
            พฺราหฺมณ อ่านว่า พราม - มะ - ณะ ( เสียง พะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา )     ๓.ภาษาบาลีใช้ "นิคคหิต" ซึ่งมีลักษณะเป็นตัววงกลมเล็ก ๆ อยู่บนตัวอักษร) เมื่อประกอบเข้ากับตัวอักษรแล้ว นิยมอ่านออกเสียงดังนี้         ๓.๑ ถ้าอักษรตัวที่มีนิคคหิตอยู่ด้วยนั้น มีสระผสมอยู่ นิยมอ่านออกเสียงตัวนิคคหิตเป็นตัว ง สะกด (แม่กง) เช่น             สุคตึ อ่านว่า สุ-คะ-ติง
            ตสฺมึ อ่านว่า ตัด-สะ-หมิง
            วิสุํ อ่านว่า วิ-สุง
            เสตุํ อ่านว่า เส-ตุง
            กาตุํ อ่านว่า กา-ตุง         ๓.๒ ถ้าอักษรตัวที่มีนิคคหิตอยู่ด้วยนั้น ไม่มีสระผสมอยู่ นิยมอ่านออกเสียงตัวนิคคหิตเป็นสระ อัง เสมอ เช่น             มยํ อ่านว่า มะ-ยัง
            อรหํ อ่านว่า อะ-ระ-หัง
            พุทฺธํ อ่านว่า พุด-ทัง
            ธมฺมํ อ่านว่า ทำ-มัง
            สงฺฆํ อ่านว่า สัง-คัง

  • Author: admin
  • Hits: 44066
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search