การศึกษายุคปัจจุบัน

ปัจจุบันการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีแม่กองบาลีสนามหลวงเป็นผู้รับผิดชอบแบ่งเป็น ๙ ชั้น เหมือนครั้งตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา และจะถือว่าเป็น “เปรียญธรรม” ได้ก็ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยค ถึง ๙ ประโยค และผู้ที่สอบได้ ถ้าเป็นพระก็ได้เป็นมหาให้เรียกคำว่า “พระมหา” นำหน้าชื่อ   สมัยก่อนผู้สอบได้ ป.ธ. ๓ พระมหากษัตริย์พระราชทานพัดยศเอง แต่ปัจจุบันพระราชทานเฉพาะ ป.ธ. ๖ และ ป.ธ. ๙ ส่วนป.ธ. ๓ ทรงมอบให้สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งพัดยศแทน

การศึกษาทั้ง ๙ ชั้นนี้ จัดรวมเป็น ๓ ชั้นคือ

  • ประโยค๑-๒, ป.ธ. ๓ เป็นเปรียญธรรมตรี
  • ประโยค ป.ธ. ๔-๕-๖ เป็นเปรียญธรรมโท
  • ประโยค ป.ธ. ๗-๘-๙ เป็นเปรียญธรรมเอก

หลักสูตรการเรียนการสอน

ประโยค ๑-๒

  • วิชาไวยากรณ์ ใช้หนังสือไวยากรณ์ ๔ เล่ม
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑-๔

เปรียญธรรม ๓ ประโยค

  • วิชาไวยากรณ์ ใช้หนังสือไวยากรณ์ ๔ เล่ม
  • วิชาสัมพันธ์ ใช้หนังสือคู่มือหลักสัมพันธ์ไทย
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๕-๘
  • วิชาบุรพภาค ใช้แบบหอร์มจดหมายราชการ

เปรียญธรรม ๔ ประโยค

  • วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๑
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือมังคลัตถทีปนี ภาค ๑

เปรียญธรรม ๕ ประโยค

  • วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๒,๓,๔
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย ใชั้หนังสือมังคลัตถทีปนี ภาค ๒

เปรียญธรรม ๖ ประโยค

  • วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๕,๖,๗,๘
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือสมันตปาสาทิกา ภาค ๓,๔,๕

เปรียญธรรม ๗ ประโยค

  • วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือมังคลัตถทีปนี ภาค ๑
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือสมันตปาสาทิกา ภาค ๑-๒

เปรียญธรรม ๘ ประโยค

  • วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือสมันตปาสาทิกา ภาค ๑-๒
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือวิสุทธิมรรค ภาค ๑-๒
  • วิชาแต่งฉันท์มคธ กรรมการกำหนดข้อความให้

เปรียญธรรม ๙ ประโยค

  • วิชาแต่งภาษามคธ กรรมการกำหนดข้อความให้
  • วิชาแปลไทยเป็นมคธ ใช้หนังสือวิสุทธิมรรค ภาค ๑-๒
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสืออภิธัมมัตถวิภาวินี

หลักเกณฑ์การเก็บคะแนน

วิชาไวยากรณ์

  • ผิด ๑-๑๕  ได้      ให้ ให้ ให้ (๓ ให้)
  • ผิด ๑๖-๒๐  ได้     ให้ ให้ (๒ ให้)
  • ผิด ๒๑-๒๕  ได้     ให้ (๑ ให้)
  • เกินจากนั้นลง ๐ ทั้งหมด

วิชาบุรพภาค

  • ผิดเกิน ๑๒ ปรับตกหมด

วิชาอื่นๆ

  • ผิด ๑-๖  ได้         ให้ ให้ ให้ (๓ ให้)
  • ผิด ๗-๑๒ ได้        ให้ ให้ (๒ ให้)
  • ผิด ๑๓-๑๘  ได้     ให้ (๑ ให้)
  • ผิดเกินนั้นลง ๐ ทั้งหมด

หมายเหตุ

  • ผิด ๑ ศัพท์                 หัก ๑ คะแนน
  • ผิด สัมพันธ์ ๑ แห่ง        หัก ๒ คะแนน
  • ผิด ๑ ประโยค             หัก ๖ คะแนน

กำหนดการสอบได้

๑.เปรียญธรรม ๓ ประโยค มีจำนวน ๓ วิชา ต้องได้ดังนี้

       ก. ๓ ๓ ๓  ได้ชั้นเอก
       ข. ๓ ๓ ๒  ได้ชั้นโท
       ค. ๓ ๒ ๒  ได้ชั้นตรี
       ง. ๒ ๒ ๒  ได้ชั้นตรี
       จ. ๓ ๒ ๑  ได้นอกชั้น
       ฉ. ๓ ๒ ๑  ได้นอกชั้น
       ช. ๒ ๓ ๑  ได้นอกชั้น

๒.ประโยค ๑-๒ และ ป.ธ.๔,๕,๖,๗ มีจำนวน ๒ วิชา ต้องได้ดังนี้

       ก. ๓ ๓   ได้ชั้นเอก
       ข. ๓ ๒  ได้ชั้นโท
       ค. ๒ ๒  ได้ชั้นตรี

๓.ป.ธ.๘,๙ มีจำนวน ๓ วิชา ต้องได้ดังนี้

       ก. ๓ ๓ ๓  ได้ชั้นเอก
       ข. ๓ ๓ ๒  ได้ชั้นโท
       ค. ๓ ๒ ๒  ได้ชั้นตรี
       ง. ๒ ๒ ๒  ได้ชั้นตรี    นอกนั้นตกหมด

วันสอบสนามหลวงแผนกบาลี

การสอบบาลีสนามหลวง ชั้นประโยค ๑-๒ ป.ธ.๓ ป.ธ.๔ สอบในส่วนภูมิภาค และตั้งแต่ชั้น ป.ธ.๕ ป.ธ.๖ ป.ธ.๗ ป.ธ.๘ ป.ธ.๙ สอบในสมามส่วนกลาง การสอบแบ่งออกเป็น ๒ ครั้ง อย่างนี้

  • ครั้งที่ ๑ สำหรับ ป.ธ.๖ ป.ธ.๗ ป.ธ.๘ ป.ธ.๙ สอบสนามหลวงในกรุงเทพฯ ในวันขึ้น ๒,๓,๔,๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี
  • ครั้งที่ ๒ สำหรับ ประโยค ๑-๒ ป.ธ.๓ ป.ธ.๔ ป.ธ.๕ สอบในวันแรม ๑๐,๑๑,๑๒ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี

อย่างไรก็ตาม การศึกษาพระปริยัติธรรม (แผนกธรรมและแผนกบาลี) ที่มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้นแต่ครั้งโบราณกาลนั้น นับเป็นรากฐานที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ในการที่จะดำเนินชีวิตไปตามขั้นตอนของศีล สมาธิ และปัญญา ผู้เรียนจะได้รู้จักเข้าถึงและนำหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดามาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง คณะสงฆ์ผู้รับผิดชอบ รับเป็นภาระเอาใจใส่ในด้านการศึกาา จึงถือเป็นภาระกิจสำคัญที่จะต้องส่งเสริมและรักษาการศึกษาในลักษณะนี้ไว้สืบไป.


หนังสืออ้างอิง : ประวัติการศึกษาคณะสงฆ์ ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์เมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๒๗





 


48204540
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
21563
42306
158370
47786244
418296
1272582
48204540

Your IP: 18.97.14.81
2024-12-12 17:06
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search