๑๘ เกณฑ์การเรียงประโยค

อ้างอิงจากหลักการแปลไทยเป็นมคธสำหรับชั้นป.ธ.๔-๕ โดยพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙)

 

๑๘ เกณฑ์การเรียงประโยค

๑ วิธีเรียงปฐมาวิภัตติ    
๒ วิธีเรียงทุติยาวิภัตติ        
๓ วิธีเรียงตติยาวิภัตติ    
๔ วิธีเรียงจตุตถีวิภัตติ    
๕ วิธีเรียงปัญจมีวิภัตติ    
๖ วิธีเรียงฉัฏฐีวิภัตติ    
๗ วิธีเรียงสัตตมีวิภัตติ        
๘ วิธีเรียงอาลปนะ        
๙ วิธีเรียงวิเสสนะ        
๑๐ วิธีเรียงวิกติกัตตา        
๑๑ วิธีเรียงกิริยา        
๑๒ วิธีเรียงกิริยาปธานนัย        
๑๓ วิธีเรียงกิริยาวิเสสนะ        
๑๔ วิธีเรียงประโยค สักกา        
๑๕ วิธีเรียงประโยคอนาทร        
๑๖ วิธีเรียงประโยคลักขณะ        
๑๗ วิธีเรียงนิบาต        
๑๘ วิธีเรียงปัจจัยในอัพยยศัพท์

๑ วิธีเรียงปฐมาวิภัตติ

๑ ในประโยคกัตตุ/เหตุกัตตุวาจก ให้เรียงไว้ต้นประโยค
๒ ในประโยคกัมม/เหตุกัมมวาจก ให้เรียงไว้หลังอนภิหิตกัตตา ( ถ้ามีตัวอนภิหิตกัตตา )        
๓ ถ้ามีนิบาตต้นข้อความ/กาลสัตตมี/ศัพท์ขยายกิริยาบางศัพท์/บทขยายประธาน ให้เรียงไว้หลังบทนิบาตเป็นต้นเหล่านั้น

๒ วิธีเรียงทุติยาวิภัตติ

๑ เรียงไว้หน้ากิริยาที่ตนขยายและสัมพันธ์เข้าด้วย
๒ ถ้าบททุติยาวิภัตติมาร่วมกันหลายบทมีหลักการเรียงดังนี้
           ซึ่ง - สู่                           ยัง - ซึ่ง                          
           สิ้น ,ตลอด - ซึ่ง                ซึ่ง - ให้เป็น,ว่าเป็น                กะ,เฉพาะ - ซึ่ง

๓ วิธีเรียงตติยาวิภัตติ

๑ มาโดดๆ ขยายบทใดเรียงไว้หน้าบทนั้น    
๒ มาคู่กับทุติยาวิภัตติให้เรียงไว้หน้าทุติยาวิภัตติ    
๓ ขยาย กึ และ อลํ ให้เรียงไว้หลัง และไม่ต้องมีกิริยาคุมพากย์            
๔ เข้ากับ ปูรฺ ธาตุ นิยมเรียงเป็นรูปฉัฏฐีวิภัตติ    
๕ อนภิตกัตตา นิยมเรียงไว้หน้าประธานมากกว่าเรียงไว้หลัง            
๖ อิตฺถมฺภูตนาม เรียงไว้หลังตัวประธาน อิตฺถมฺภูตกิริยา เรียงไว้หน้าหรือหลังอิตฺถมฺภูตนามก็ได้    
๗ สหตฺถตติยา เรียงไว้หน้า สทฺธึ แต่เรียงไว้หลัง สห

๔ วิธีเรียงจตุตถีวิภัตติ

๑ ขยายบทใดเรียงไว้หน้าบทนั้น        
๒ ถ้ามาคู่กับทุติยาวิภัตติ/สัตตมีวิภัตติ มีหลักการดังนี้        
         แก่ - ซึ่ง      สู่ - เพื่อ     ใน - เพื่อ

 ๕ วิธีเรียงปัญจมีวิภัตติ

๑ ขยายบทใดให้เรียงไว้หน้าบทนั้น    
๒ มาร่วมกับบททุติยาวิภัตติ เรียงไว้หน้าหรือหลังก็ได้    
๓ เรียงไว้หลังนิบาตเหล่านั้นยาว วินา อญฺญตรและอาราเรียงไว้หน้านิบาตเหล่านี้ อุทฺธํ นานา ปฏฺฐาย    
๔ เรียง ยสฺมา ตสฺมา กสฺมา กึการณา ไว้ต้นประโยคแต่ กสฺมา ให้เรียงไว้หลัง อถ เป็น อถกสฺมา ..

๖ วิธีเรียงฉัฏฐีวิภัตติ

๑ ขยายบทใดให้เรียงไว้หน้าบทนั้น    
๒ โว โน เนสํ ที่ใช้เป็นนิทธารณะ ถ้ามีบทอื่นนำหน้าอยู่แล้วเรียงปกติธรรมดาถ้าไม่มีให้เรียงไว้หลัง นิทธารณียะ

๗ วิธีเรียงสัตตมีวิภัตติ

๑ ขยายบทใดให้เรียงไว้หน้าบทนั้น    
๒ มาร่วมกับบทอวุตฺตกมฺม เรียงไว้หน้า    
๓ กาลสัตตมีที่บอกกาลใหญ่ครอบทั้งประโยคและมาจากอัพยยศัพท์ให้เรียงไว้ต้นประโยค
๔ กาลใหญ่ ให้เรียงไว้หน้ากาลย่อยตามลำดับ ( สมัย - ปี - เดือน - วัน - เวลา )        
๕ วิสยาธาร บ่งที่อยู่แคบๆ วางไว้หน้าบทที่ตนขยาย บ่งที่อยู่กว้างๆ คลุมทั้งประโยค วางไว้ต้นประโยค

๘ วิธีเรียงอาลปนะ 

   ( อยู่ในประโยคเลขในเท่านั้น )
๑ เป็นประโยคบอกเล่าเรียงไว้ต้นประโยค    
๒ เป็นประโยคแสดงความประสงค์ หรือประโยคคำถาม หรือต้องการเน้นข้อความนิยมเรียงไว้สุดประโยค
๓ อาลปนนิบาต  มาคู่  อาลปนนาม  เรียงอาลปนนิบาตไว้หน้า    

๙ วิธีเรียงวิเสสนะ

   ( ปรุงศัพท์ให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติเหมือนกับบทที่ตนขยาย )
๑ สามัญวิเสสนะ ( คุณนาม/สัพพนาม/ศัพท์ที่ปรุงมาจาก ต อนฺต มาน ปัจจัย )ให้เรียงไว้หน้า บทที่ตนขยาย
๒ วิสามัญวิเสสนะ ( เป็นวิเสสนะแสดง ยศ ตำแหน่ง ตระกูล หรือความพิเศษที่ไม่ทั่วไป )  ให้เรียงไว้หลัง  บทที่ตนขยาย            
๓ ถ้านามตัวที่ตนขยายมีหลายศัพท์  ให้ประกอบวิเสสนะมีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนกับนามตัวที่อยู่ใกล้ที่สุด    
๔ ถ้านามที่จะขยายมีหลายศัพท์  และประกอบด้วย จ หรือ ปิ ศัพท์  ให้ประกอบศัพท์ วิเสสนะเป็นพหูพจน์เสมอ    
๕ ถ้าในประโยคนั้น มีวิเสสนะหลายศัพท์  ให้เรียงลำดับก่อนหลัง ดังนี้ อนิยม  -  นิยม  -  คุณนาม  -  สังขยา  -  นาม    
๖ วิเสสนะที่ประกอบด้วย ต อนฺต มาน ปัจจัย ในวิภัตติต่างๆ เว้นปฐมาวิภัตติ   จะเรียงไว้หน้า หรือหลัง บทที่ตนขยายก็ได้  แต่นิยมเรียงไว้หลัง พร้อมกับข้อความที่สัมพันธ์เข้ากับตนทั้งหมด        
๗ วิเสสนะที่ประกอบด้วย อนฺต มาน ปัจจัย ที่ทำหน้าที่ขยายบทประธาน    
              ในประโยคกัตตุวาจก  นิยมเรียงไว้หน้าบทประธาน    
              ในประโยคกัมมวาจก  นิยมเรียงไว้หลังบทประธาน

๑๐ วิธีเรียงวิกติกัตตา

   ( สัมพันธ์เข้ากับกิริยาที่มาจาก  ภู หุอฺส ชา ธาตุ )
๑ วิกติกตฺตานาม คงลิงค์ วจนะ ของตนไว้    
๒ วิกติกตฺตาคุณนามแท้ ต้องเปลี่ยน ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ไปตามรูปนามเจ้าของ            
๓ วิกติกตฺตาที่มาจากกิริยากิตก์ มีคติเหมือนคุณนาม ต้องเปลี่ยนรูปไปตามนามเจ้าของ        
๔ วิกติกตฺตา มีบทเดียว  เรียงไว้หลังประธาน หน้ากิริยาที่ตนสัมพันธ์เข้าด้วย            
๕ วิกติกตฺตา ที่มาร่วมกันตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป มีนามเจ้าของบทเดียวกัน นิยมเรียงไว้หน้ากิริยาเพียงตัวเดียว นอกนั้นเรียงไว้หลังกิริยา        
๖ วิกติกตฺตา ที่มีบทประธานเป็นเอกวจนะหลายๆบท และควบด้วย จ หรือ ปิ ศัพท์  นิยมประกอบเป็นพหุวจนะ  รวมทั้งกิริยาด้วย        
๗ วิกติกตฺตา ที่เป็นอุปมา นิยมใช้กับ วิย ศัพท์ ไม่นิยมใช้กับ อิว ศัพท์                
๘ วิกติกตฺตา ในประโยคกัมมวาจกและภาววาจก มีรูปเดิมเป็นตติยาวิภัตติเท่านั้น            
๙ วิกติกตฺตา ตามปกติจะพบในรูปปฐมาวิภัตติ แต่ที่มาในรูปวิภัตติอื่นก็มี        

๑๑ วิธีเรียงกิริยา

   ก อนุกิริยา (ต อนฺต มาน และ ตูนาทิปัจจัย)    
   ข มุขยกิริยา (กิริยาอาขยาตทั้งหมด และตอนียตพฺพ )        
    
    ก อนุกิริยา
๑ เรียงไว้หลังประธาน ในประโยคธรรมดา โดยเรียงเป็นลำดับเรื่อยไป                
๒ เรียงไว้หน้าประธาน  โดยมากก็คือศัพท์ที่ประกอบด้วย ตฺวา ปัจจัย ที่แปลว่า เพราะ / เว้น / ครั้นแล้ว ( เช่น สุตฺวา ทิสฺวา ฐเปตฺวา กตฺวา นิสฺสาย)  และ ศัพที่ประกอบด้วยต อนฺต มาน ปัจจัย    
๓ เรียงไว้หลังกิริยาใหญ่  ในกรณีอนุกิริยาทำหน้าที่พร้อมกิริยาใหญ่ หรือเป็นกิริยาอปรกาลแต่เป็นกิริยารองไปจากกิริยาใหญ่ ซึ่งถืออิริยาบถใหญ่เป็นประมาณ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน        
๔ เรียงไว้หน้ากิริยาใหญ่  กรณีใช้แทนปุริสสัพพนามคือทำหน้าที่คล้ายประธานในประโยคเพราะไม่เรียงประธานไว้ด้วย อนุกิริยา เช่นนี้ มักมีศัพท์ว่า นาม กำกับด้วย    
    
   ข มุขยกิริยา
๑ เรียงไว้ท้ายประโยค ในประโยคธรรมดาทั่วๆไป
๒ เรียงไว้ต้นประโยค ในกรณีพิเศษดังต่อไปนี้ ประโยคคำถาม / ประโยคบังคับ/ประโยคอ้อนวอน / ประโยคตักเตือน-ชักชวน /   ประโยคสงสัยเชิงถาม / ประโยคห้ามหรือคัดค้าน / ประโยคปลอบใจ / ประโยคให้พร /   ประโยคเน้นความ / ประโยคแสดงความมั่นใจ    

๑๒ วิธีเรียงกิริยาปธานนัย  ๓ ลักษณะ

   (กิริยาที่ประกอบด้วยตูนาทิปัจจัยโดยมากเป็น ตฺวา ปัจจัย ทำหน้าที่เป็นกิริยาคุมพากย์ในประโยค )
ประธานเป็นพหุวจนะ +  กิริยา ตฺวา ปัจจัย + ประธานเอกวจนะ + กิริยาคุมพากย์เอกวจนะ + ประธานเอกวจนะ + กิริยาคุมพากย์เอกวจนะ    
ประธานเป็นพหุวจนะ + อนุกิริยา + ประธานเอกวจนะ + กิริยา ตฺวา ปัจจัย + ประธานเอกวจนะ + กิริยา ตฺวา ปัจจัย + กิริยาคุมพากย์พหุวจนะ
ประธานพหุวจนะ + กิริยาคุมพากย์พหุวจนะ + ประธานเอกวจนะ + กิริยา ตฺวา ปัจจัย + ประธานเอกวจนะ + กิริยา ตฺวา ปัจจัย

๑๓ วิธีเรียงกิริยาวิเสสนะ    

   ( มีรูปเป็นทุติยาวิภัตติ เอกวจนะเท่านั้น แต่ถ้าเป็นอัพยยศัพท์  ให้คงรูปเดิมไว้ )
๑ กิริยาวิเสสนะ ของกิริยาที่เป็นอกัมมธาตุ คือกิริยาที่ไม่มีบทอวุตฺตกมฺมอยู่ด้วยให้เรียงไว้หน้า ชิดกิริยา
๒ กิริยาวิเสสนะ ของกิริยาที่เป็นสกัมมธาตุ มีบทอวุตฺตกมฺม อยู่ด้วยจะเรียงไว้หน้าหรือหลังบทอวุตฺตกมฺม ก็ได้    
๓ กิริยาวิเสสนะ ที่คลุมตลอดทั้งประโยค นิยมเรียงไว้ต้นประโยค            

๑๔ วิธีเรียงประโยค สักกา    

   ( เป็นได้ทั้งกัมมวาจก และภาววาจก มักมี ตุํ ปัจจัย  รวมอยู่ในประโยคด้วย )
๑ เรียง สกฺกา ไว้หน้า ตุํ ปัจจัย  ( นิยมมากที่สุด )๒ เรียง สกฺกา ไว้หลัง ตุํ ปัจจัย        
๓ บทอนภิหิตกตฺตา  นิยมเรียงไว้หน้า ตุํ  ปัจจัย    
๔ บทประธาน ในประโยคกัมมวาจก นิยมเรียงไว้หน้า สกฺกา            
๕ สกฺกา  ถ้ามีกิริยาว่ามีว่าเป็น คุมพากย์อยู่ก็ทำหน้าที่เป็น วิกติกตฺตา  เข้ากับกิริยานั้น        
๖ สกฺกา ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคได้บ้าง           

๑๕ วิธีเรียงประโยคอนาทร

   ( นามกับกิริยา มีรูปเป็น  ฉัฏฐีวิภัตติ แปล่ว่าเมื่อ )
๑ มุ่งจะกล่าวถึงเนื้อความตอนต้นกับตอนปลายให้สัมพันธ์กันโดยไม่ขาดตอน นิยมเรียงไว้ต้นประโยค หน้าประธาน            
๒ ถ้าเป็นเนื้อความแทรกเข้ามาลอยๆ แทรกเข้ามาตอนไหน ให้เรียงไว้ตอนนั้น    

๑๖ วิธีเรียงประโยคลักขณะ    

   ( นามกับกิริยา มีรูปเป็นสัตตมีวิภัตติ แปลว่าครั้นเมื่อ )
๑ มุ่งจะกล่าวถึงเนื้อความตอนต้นกับตอนปลายให้สัมพันธ์กันโดยไม่ขาดตอน นิยมเรียงไว้ต้นประโยค หน้าประธาน            
๒ ถ้าเป็นเนื้อความแทรกเข้ามาลอยๆ แทรกเข้ามาตอนไหน ให้เรียงไว้ตอนนั้น    

๑๗ วิธีเรียงนิบาต

    (แยกออกเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ)
๑ นิบาตที่เรียงไว้ต้นประโยคได้  ได้แก่  นิบาตพวก สเจยทินนุอโห  ยาว  ตาว  ยถาเอวํหนฺทอถอถโข  อถวา  อปฺเปวนามเสยฺยถากิญฺจาปิ เป็นต้น            
๒ นิบาตที่เรียงไว้ต้นประโยคไม่ได้ ได้แก่นิบาตพวก  หิ  จ  ปน  กิรขลุสุทํ  นุ  เจ  โข ว  วา  ปิ  ตุ  เป็นต้น  
   ( จะเรียงไว้ต้นประโยคไม่ได้เด็ดขาด  ถือเป็นความผิดร้ายแรง ส่วนมากก็เรียงไว้เป็นตัวที่ ๒ )

    เพิ่มเติม

   การเรียงนิบาต มีข้อควรสังเกตุและระวังไม่ให้ผิดความนิยม คือ
๑ ปิ อปิ  ว  เอว  อิว  เหล่านี้  ให้เขียนติดกับบทที่ตนกำกับอยู่  และถ้าสนธิได้  ก็นิยมสนธิ        
๒ หิ  จ  ปน  เมื่อวางไว้หลังบทหน้า ที่ซึ่งลงท้ายด้วย  อํ  ( นิคคหิต ) นิยมสนธิกับบทนั้น  ไม่นิยมเรียงไว้โดดๆ            

                
    วิธีเรียง  น  ศัพท์

๑ เมื่อปฏิเสธกิริยาอาขยาต  ให้คงรูปไว้  ไม่นิยมแปลงเป็น  อ  หรือ  อน ถ้าแปลงถือว่า  เป็นผิดร้ายแรง
๒ เมื่อปฏิเสธกับกิริยา  ตูนาทิปัจจัย  เช่น  ตฺวา ปัจจัย  เป็นต้น  และปฏิเสธ  อนฺต  มาน  ปัจจัย   นิยมแปลงเป็น  อ  หรือเป็น  อน        
๓ เมื่อปฏิเสธกิริยากิตก์  ที่คุมพากย์ได้  คือ  อนียตพฺพ  ต  ปัจจัย  จะแปลงหรือคงไว้ก็ได้    
๔ เมื่อปฏิเสธศัพท์นาม หรือ ศัพท์คุณนิยมแปลงเป็น  อ  หรือ  อน            
๕ เมื่อปฏิเสธกิริยาตัวใด  ให้เรียงไว้หน้ากิริยาตัวนั้น     
๖ เมื่อปฏิเสธทั้งประโยค  นิยมเรียงไว้ต้นประโยค
๗ เมื่อปฏิเสธกิริยาตั้งแต่  ๒ ตัว ขึ้นไป  น  ตัวแรก นิยมสนธิกับ เอว ศัพท์  เป็น เนว        
๘ เมื่อมาคู่กับกิริยาอาขยาต  ที่ขึ้นต้นด้วย สระ  หรือที่มีอักษร  อ  นำหน้า  เช่น  อกาสิ  อโหสิอาคจฺฉติ  เป็นต้น  นิยมสนธิกับกิริยานั้นเลย  หรือ  เมื่อมาคู่กับกิริยากิตก์  ที่ขึ้นต้นด้วยสระ   หากไม่แปลงเป็น  อน  ก็นิยมสนธิเข้าด้วยกัน            

    วิธีเรียง  จ  ศัพท์

๑ เมื่อควบบท  นิยมเรียงไว้หลังบทที่ควบทุกตัวไป  หรือจะเรียงไว้เฉพาะบทสุดท้ายก็ได้        
๒ เมื่อควบบทที่เป็นประธานเอกพจน์หลายบท  ในประโยค  ชึ่งมี กิริยาคุมพากย์  กิริยาระหว่างและวิกติกตฺตา  ร่วมกัน  มีอำนาจให้กิริยาเหล่านั้น  และวิกติกัตตานั้น เป็นพหูพจน์ได้   ( แต่ในกรณีอย่างนี้  ถ้าใช้กิริยากิตก์ เป็นกิริยาคุมพากย์  นิยมคงรูปกิริยานั้น เป็นเอกพจน์ และให้ลิงค์อนุวัตรตามบทประธานที่อยู่ใกล้ชิดกิริยาที่สุด )            
๓ เมื่อควบบทที่มีบทขยายหลายๆศัพท์ก็ดี  ควบพากย์ก็ดี  มีวิธีเรียงได้หลายแบบ  ดังนี้        
    ก เรียงไว้เป็นตัวที่ ๒ ของทุกตอนไป        
    ข เรียงไว้เป็นตัวที่ ๒ เฉพาะในตอนสุดท้าย    
    ค เรียงไว้ท้ายสุด  ของทุกตอน        
    ง เรียงไว้ท้ายสุดของตอนต้น  และเป็นที่ ๒ ของตอนสุดท้าย            
    ( การนับศัพท์ในประโยค ให้กันตัวประธานออกนอกวงเสียก่อน )            
๔ เมื่อมี จ ศัพท์ ควบหลายตัว  จ  ศัพท์ตัวแรกนิยมสนธิกับ เอว  เป็น  เจว  เหมือน  น ศัพท์    
๕ เมื่อ จ ศัพท์ มีหน้าที่ควบตัวประธานที่เป็นเอกพจน์ตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป  นิยมประกอบกิริยาเป็น พหูพจน์    
๖ เมื่อ  จ  ศัพท์ ควบกับศัพท์ที่ลงท้ายด้วย  อํ  ( นิคคหิต ) นิยมสนธิกับศัพท์นั้น

    วิธีเรียง  วา  ศัพท์

๑ เมื่อควบบทหรือควบพากย์  นิยมเรียงเหมือน  จ  ศัพท์  เป็นพื้น  คือ  เมื่อควบศัพท์ไหนให้เรียงไว้หลังศัพท์นั้น  และให้เรียงไว้เป็นตัวที่ ๒ ของทุกตอน  เหมือน  จ  ศัพท์    
๒ เมื่อ  วา  ศัพท์ ควบตัวประธานที่เป็นเอกพจน์  ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป  ไม่ต้องเปลี่ยนกิริยาเป็นพหูพจน์เหมือน  จ  ศัพท์    

    วิธีเรียง  ปิ  ศัพท์

   ( เหมือน จ ศัพท์ หรือ วา ศัพท์ และใช้แทนศัพท์ทั้งสองนั้นได้  )
๑ เมื่อแปลกับศัพท์ไหน  ให้เรียงไว้หลังศัพท์นั้น
๒ ถ้าแปลว่า  ทั้ง  ,  ด้วย  ,  ก็ดี  มีคติเหมือน  จ  ศัพท์  และให้เรียงกิริยาเป็นพหูพจน์        
๓ ถ้าแปลว่า  บ้าง  มีคติเหมือน  วา  ศัพท์  และไม่ต้องเปลี่ยนกิริยาเป็นพหูพจน์                

    
    วิธีเรียง  สทฺธึ  และ  สห

๑ ศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยาย  สทฺธึ  เรียงไว้หน้า
๒ ศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยาย  สห  ให้เรียงไว้หลัง    
๓ ศัพท์ที่นิยมใช้กับ  สทฺธึ  ต้องเป็นศัพท์รูปธรรม  ( เป็นสิ่งมีชีวิต  มีรูปร่างปรากฏ )    
   ศัพท์ที่นิยมใช้กับ  สห  ต้องเป็นศัพท์นามธรรม  ( เป็นสิ่งไม่มีชีวิติ ไม่มีรูปร่างปรากฏ )        

    วิธีเรียง  ปฏฺฐาย  กับ  ยาว

๑ ศัพท์ที่ขยาย  ปฏฺฐาย  นิยมเรียงไว้หน้า ปฏฺฐาย และประกอบด้วย โต ปัจจัย            
๒ ศัพท์ที่ขยาย ยาว  นิยมเรียงไว้หลัง  ยาว และนิยมมีรูปเป็น ปัญจมีวิภัตติ  ที่ลงท้ายด้วย อา        
๓ ถ้า ปฏฺฐาย  กับ  ยาว  มาคู่กัน  ในประโยคเดียวกัน  และมีบทขยายด้วยกันทั้งคู่แปลเป็นสำนวนไทยว่า  ตั้งแต่  ,  จนถึง ,  จำเดิมแต่...   จนกระทั่งถึง นิยมเรียง  ท่อน ปฏฺฐาย  ไว้ข้างหน้า  เรียงท่อน  ยาว  ไว้ข้างหลัง  ส่วนบทขยาย  ก็เรียง   ตามวิธีดังกล่าวข้างต้น            
๔ ยาว  ที่มาคู่กับ  ตาว  เป็น  ยาว - ตาว  ทำหน้าที่เชื่อมประโยคแปลว่า  จน  ,  จนกว่า  ,  จนถึง  ,  ตราบเท่าที่  ,  จนกระทั่ง  ,  ตลอดเวลาที่     ให้เรียงอย่างปกติ  คือเรียง  ยาว  ตาว  ไว้ต้นประโยค   จะเรียงประโยค  ยาว  ไว้ต้น  หรือ  หลังก็ได้  แล้วแต่ความ        

    วิธีเรียง  อิติ  ศัพท์

   ( แปลว่า ว่า , คือ , ด้วยประการฉะนี้ )
๑ ที่แปลว่า  ด้วยประการฉะนี้ , ด้วยอาการอย่างนี้  ให้เรียงไว้ต้นประโยค            
๒ ที่แปลว่า คือ  เป็นไปตามสำนวนไทย  ใช้ในกรณีที่มีเลขนอกเลขในโดยเลขนอกบอกจำนวนเต็มไว้  ส่วนเลขในภายในอิติ  บอกจำนวนย่อยไว้    
๓ ที่แปลว่า  ว่า  มีวิธีเรียงดังนี้            
      ประโยคเลขในหรือประโยคคำพูด  เมื่อเรียงจบประโยคข้อความแล้ว  ต้องใส่  อิติ  คุมท้ายประโยคทุกครั้ง  ถ้าไม่มีถือว่าผิด            
      ถ้าขยายนามเช่น  อตฺโถ  ให้เรียง อตฺโถ  ไว้หลัง    
     ถ้าขยาย  อนุกิริยา  หรือ  กิริยาในระหว่าง  ( อนฺต มาน  ตฺวา ปัจจัย ) ต้องเรียง   กิริยาเหล่านั้น ไว้หลัง  อิติ  ทั้งหมด จะเรียงไว้หน้าไม่ได้เด็ดขาด            
     ถ้าขยาย  กิริยาคุมพากย์  จะเรียงกิริยานั้น ไว้หน้าหรือหลัง อิติ  ก็ได้   แต่มีข้อสังเกตุอยู่ว่า  ในประโยคที่มีข้อความเลขในสั้นๆ นิยมเรียงกิริยาไว้หลัง ในประโยคที่มีข้อความเลขในยาวๆ นิยมเรียงกิริยาไว้ข้างหน้า อิติ

๑๘ วิธีเรียงปัจจัยในอัพยยศัพท์

ปัจจัย ในอัพยยศัพท์  คือ  โต  ตฺรตฺถ  ห  ธ  ธิ  หึ  หํหิญฺจนํ  ว ที่ใช้ประกอบกับ  นามนามบ้าง  สรรพนามบ้าง  ได้รูปเป็น  ตโต  กุโต  เป็นต้น  เมื่อเรียงเข้าประโยค  นิยมใช้โดดๆ  มีรูปเป็นวิเสสนะ ไม่ต้องใส่นามที่ตนขยายมากำกับ แต่เวลาแปล ผู้แปลต้องโยคนามเอง               
    จำง่ายๆ            
    ใช้ปัจจัยในอัพยยศัพท์  ไม่ต้องมีนามกำกับ    ใช้สรรพนามต้องมีนามกำกับ    

  • Author: admin
  • Hits: 12830
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search