หนังสือราชการ (ประกาศ)

 

๓. ประกาศ

          เรื่อง ประกาศ นี้ จากสถิติที่ออกสนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๓๐ ออกสอบมาแล้ว ๔ ครั้ง คือ พ.ศ. ๒๕๑๗, ๒๕๒๔, ๒๕๒๘ และ ๒๕๓๐ แต่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ ยังไม่ออกสอบ แต่นักเรียนก็ควรฝึกเขียนไว้บ้าง เพื่อความไม่ประมาท

          ในการเขียนประกาศ  จะเหมือนการเขียนคำสั่ง มีหลักง่ายๆ ดังนี้

๑. ประกาศ... (ให้อยู่กลางหน้ากระดาษ โดยวัดจากขอบกระดาษ ซ็าย-ขวา)

๒. เรื่อง.. (วรรค ๒ ตัวอักษร) ... (ถ้าบรรทัดไม่พอ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ได้ แต่ต้องให้ตรงกับชื่อของเรื่อง ห้ามเลยชื่อของเรื่องเด็ดขาด) เขียนในลักษณะหาบประกาศไว้ และเรื่อง จะต้องเขียนเยื้องไปทางซ้ายมือเสมอ

๓. ขีดเส้นใต้ ให้ขีดเส้นใต้ช่วงระหว่างบรรทัดของกระดาษฟุ๊สแก็ป ยาวประมาณ ๑ นิ้ว ให้หาบประกาศ (อย่าลืมขีด ถ้าลืมขีด จะถูกเก็บ ๒ คะแนน)

๔. ข้อความ โดยมากจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ด้วย... ให้ย่อหน้า ๑ นิ้ว และให้ย่อหน้าทุกครั้งที่มี

๔.๑ อาศัย…

๔.๒ ดังนั้น ... หรือ ฉะนั้น ...

๔.๓ การแยกเป็นข้อๆ เช่น ๑. ๒. ๓. ฯลฯ

๕. ประกาศ ณ วันที่ ... (ให้เขียนคำว่า ประกาศ ตรงนี้ ให้ตรงกับคำว่า ประกาศ บรรทัดแรก)

๖. ลายเซ็น (ให้เขียนตัวธรรมดา เหมือนจดหมาย) ให้เขียนอักษรตัวแรกอยู่กลางหน้ากระดาษ (หรือตรงอักษรตัว ว ของวันที่ก็ได้)

๗. ชื่อเต็ม (เขียนให้หาบลายเซ็น)

๘. ตำแหน่ง (เขียนให้หาบลายเซ็น)

 

 

อ้างอิง

บุญสืบ อินสาร ป.ธ.๙, พ.ม., ศษ.บ..  เทคนิคการเขียนวิชาบุรพภาค ประโยค ป.ธ.๓.  พิมพ์ครั้งที่ ๔. นนทบุรี : หจก.โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล,  ๒๕๕๔.

  • Author: supanat
  • Hits: 5360
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search