วิชาบุรพภาค

เทคนิคการเขียน

 

วิชา บุรพภาค ป.ธ.๓
เทคนิคการเขียน
อุปกรณ์ที่ควรเตรียมไว้ มีดังนี้

๑. ปากกาลูกลื่น (ปากกาหมึกแห้ง) สีนํ้าเงิน ที่ใช้เขียนไปบ้างแล้ว พร้อมใช้งาน อย่างน้อย ๒ ด้าม

๒. ปากกาลูกลื่นสีแดง พร้อมใช้งาน จำนวน ๑ ด้าม

๓. ไม้บรรทัด

๔. นํ้ายาลบคำผิด (ไม่ควรใช้ยางลบหมึก เพราะจะช้าและอาจมือหนัก ลบแล้วทำให้กระดาษขาด)

๕. ปากกาลูกลื่น (ปากกาหมึกแห้ง) ที่ไม่มีหมึก เพื่อใช้ขีดตรงที่จะต้องย่อหน้า (ไม่ควรพับกระดาษ) อย่าใช้ปากกาที่มีหมึกขีดเส้นกั้นหน้า กั้นหลัง และย่อหน้า โดยเด็ดขาด

๖. กระดาษฟุ๊สแก็ป สีขาวอย่างดี (อย่าเอาอย่างบางหรือหนาจนเกินไป) อย่างน้อย ๖ แผ่น

๗. ถ้าเป็นไปได้ ก่อนเข้าห้องสอบ หรือในขณะที่รอกรรมการแจกปัญหา ให้เขียนหัวกระดาษให้เสร็จเรียบร้อย (เพราะเวลาทำข้อสอบวิชานี้มีเพียง ๑ ชั่วโมง ๑๕ นาที เท่านั้น อย่าเผลอไปคิดว่า ๔ ชั่วโมง ๑๕ นาที) โดยเขียน ดังนี้

หนังสือราชการ (จดหมาย)

 

หนังสือราชการ

หนังสือราชการ ที่ออกสนามหลวง เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย มีดังนี้

                    ๑. จดหมาย

                    ๒.คำสั่ง

                    ๓. ประกาศ

                    ๔. กฎ

                    ๕. ระเบียบ

หนังสือราชการ (คำสั่ง)

 

๒. คำสั่ง

         เรื่อง คำสั่ง นี้ เมื่อก่อนออกสอบบ่อย จากสถิติที่ออกสนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๔๕ ประกาศออกสอบมาแล้ว ๖ ครั้ง เป็นการสอบในช่วง พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๓๑ แต่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ ยังไม่ออกสอบ ดังนั้น นักเรียนควรฝึกเขียนไว้บ้าง เพื่อความไม่ประมาท

         ในการเขียนคำสั่ง จะไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนจดหมาย มีหลักการง่ายๆ ดังนี้

๑. คำสั่ง..........(ให้อยู่กลางหน้ากระดาษ โดยวัดจากขอบกระดาษ ซ้าย-ขวา)

๒. เรื่อง..(วรรค ๒ ตัวอักษร) ..........(ถ้าบรรทัดไม่พอ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ได้ แต่ต้องให้ตรงกับชื่อของเรื่อง ห้ามเลยชื่อของเรื่องเด็ดขาด) เขียนในลักษณะหาบคำสั่งไว้ และเรื่องจะต้องเขียนเยื้องไปทางซ้ายมือเสมอ

๓. พ.ศ. ให้เขียนหาบคำสั่งไว้

๔. ขีดเส้นใต้ ให้ขีดเส้นใต้ช่วงระหว่างบรรทัดของกระดาษฟุ๊สแก็ป ยาวประมาณ ๑ นิ้ว ให้หาบคำสั่ง (อย่าลืมขีด ถ้าลืมขีด จะถูกเก็บ ๒ คะแนน)

๕. ข้อความ โดยมากจะขึ้นต้นด้วยคำว่า อาศัยอำนาจ..... ให้ย่อหน้า ๑ นิ้ว และให้ย่อหน้าทุกครั้งที่มี

๕.๑ การแยกเป็นข้อๆ เช่น ข้อ ๑  ข้อ ๒  ฯลฯ

๕.๒ การแยกเป็น (๑) (๒) ฯลฯ ของแต่ละข้อใหญ่ โดยที่ให้เขียน (๑) เป็นต้น ให้อยู่ตรงกับวรรคของข้อใหญ่ และถ้าข้อความของ (๑) ไม่หมด ก็ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ และวงเล็บอื่นๆ ก็เหมือนกัน

๕.๓ การแยกเป็น (ก) (ข) ฯลฯ ของแต่ละ (๑) (๒) ฯลฯ โดยที่ให้เขียน (ก) เป็นต้น ให้อยู่ตรงกับวรรคของ (๑) และถ้าข้อความของ (ก) ไม่หมด ก็ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ แต่ต้องให้ตรงกับวรรคของ (ก) และวงเล็บอื่นๆ ก็เหมือนกัน

หมายเหตุ. ให้ดูแบบฟอร์มและตัวอย่างประกอบ จะได้ไม่งง และหายงง

๖. สั่ง ณ วันที่ ...............(ให้เขียนคำว่า สั่ง ตรงนี้ ให้ตรงกับคำว่า คำสั่ง บรรทัดแรก)

๗. ลายเซ็น (ให้เขียนตัวธรรมดา เหมือนจดหมาย) ให้เขียนอักษรตัวแรกอยู่กลางหน้ากระดาษ หรือตรงกับอักษรตัว ว ของวันที่ก็ได้)

๘. ชื่อเต็ม (เขียนให้หาบลายเซ็น)

๙. ตำแหน่ง (เขียนให้หาบลายเซ็น)

หนังสือราชการ (ประกาศ)

 

๓. ประกาศ

          เรื่อง ประกาศ นี้ จากสถิติที่ออกสนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๓๐ ออกสอบมาแล้ว ๔ ครั้ง คือ พ.ศ. ๒๕๑๗, ๒๕๒๔, ๒๕๒๘ และ ๒๕๓๐ แต่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ ยังไม่ออกสอบ แต่นักเรียนก็ควรฝึกเขียนไว้บ้าง เพื่อความไม่ประมาท

          ในการเขียนประกาศ  จะเหมือนการเขียนคำสั่ง มีหลักง่ายๆ ดังนี้

๑. ประกาศ... (ให้อยู่กลางหน้ากระดาษ โดยวัดจากขอบกระดาษ ซ็าย-ขวา)

๒. เรื่อง.. (วรรค ๒ ตัวอักษร) ... (ถ้าบรรทัดไม่พอ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ได้ แต่ต้องให้ตรงกับชื่อของเรื่อง ห้ามเลยชื่อของเรื่องเด็ดขาด) เขียนในลักษณะหาบประกาศไว้ และเรื่อง จะต้องเขียนเยื้องไปทางซ้ายมือเสมอ

๓. ขีดเส้นใต้ ให้ขีดเส้นใต้ช่วงระหว่างบรรทัดของกระดาษฟุ๊สแก็ป ยาวประมาณ ๑ นิ้ว ให้หาบประกาศ (อย่าลืมขีด ถ้าลืมขีด จะถูกเก็บ ๒ คะแนน)

๔. ข้อความ โดยมากจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ด้วย... ให้ย่อหน้า ๑ นิ้ว และให้ย่อหน้าทุกครั้งที่มี

๔.๑ อาศัย…

๔.๒ ดังนั้น ... หรือ ฉะนั้น ...

๔.๓ การแยกเป็นข้อๆ เช่น ๑. ๒. ๓. ฯลฯ

๕. ประกาศ ณ วันที่ ... (ให้เขียนคำว่า ประกาศ ตรงนี้ ให้ตรงกับคำว่า ประกาศ บรรทัดแรก)

๖. ลายเซ็น (ให้เขียนตัวธรรมดา เหมือนจดหมาย) ให้เขียนอักษรตัวแรกอยู่กลางหน้ากระดาษ (หรือตรงอักษรตัว ว ของวันที่ก็ได้)

๗. ชื่อเต็ม (เขียนให้หาบลายเซ็น)

๘. ตำแหน่ง (เขียนให้หาบลายเซ็น)

หนังสือราชการ (กฎ)

 

๔. กฎ

          เรื่อง กฎ นี้ จากสถิติที่ออกสนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๔๘ ออกสอบครั้งเดียว คือ ออกสอบ พ.ศ. ๒๕๒๗ ตั้งแต่นั้นมา ยังไม่ออกสอบ แต่นักเรียนก็ควรฝึกเขียน

          ในการเขียนกฎ  จะเหมือนการเขียนคำสั่ง มีหลักง่ายๆ ดังนี้

๑. กฎ... (ให้อยู่กลางหน้ากระดาษ โดยวัดจากขอบกระดาษ ซ้าย-ขวา)

๒. ฉบับที่ ........ แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. .....) ... ถ้ามี (ให้เขียนหาบกฎ)

๓. ว่าด้วย........ (ให้เขียนหาบกฎ)

๔. ขีดเส้นใต้ ให้ขีดเส้นใต้ช่วงระหว่างบรรทัดของกระดาษฟุ๊สแก็ป ยาวประมาณ ๑ นิ้ว ให้หาบกฎ (อย่าลืมขีด ถ้าลืมขีด จะถูกเก็บ ๒ คะแนน)

๕. ข้อความ โดยมากจะขึ้นต้นด้วยคำว่า อาศัยอำนาจ... ให้ย่อหน้า ๑ นิ้ว และให้ย่อหน้าทุกครั้งที่มี

๕.๑ การแยกเป็นข้อๆ เช่น ข้อ ๑  ข้อ ๒  ฯลฯ

๕.๒ การแยกเป็น (๑) (๒) ฯลฯ ของแต่ละข้อใหญ่ โดยที่ให้เขียน (๑) เป็นต้น ให้อยู่ตรงกับวรรคของข้อใหญ่ และถ้าข้อความของ (๑) ไม่หมด ก็ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ แต่ต้องให้ตรงกับวรรคของ (๑) และวงเล็บอื่นๆ ก็เหมือนกัน ตรงนี้ จะต่างจากคำสั่ง

.๓ ในกรณีที่...... (ถ้ามี)

         หมายเหตุ. ให้ดูแบบฟอร์มและตัวอย่างประกอบ จะได้ไม่งง

๖. ตราไว้ ณ วันที่ ... (ให้เขียนคำว่า ตรา ตรงนี้ ให้ตรงกับคำว่า กฎ บรรทัดแรก)

๗. ลายเซ็น (ให้เขียนตัวธรรมดา เหมือนจดหมาย) ให้เขียนอักษรตัวแรกอยู่กลางหน้ากระดาษ (หรือตรงอักษรตัว ว ของวันที่ก็ได้)

๘. ชื่อเต็ม (เขียนให้หาบลายเซ็น)

๙. ตำแหน่ง (เขียนให้หาบลายเซ็น)

หนังสือราชการ (ระเบียบ)

 

๕. ระเบียบ

       เรื่อง ระเบียบ นี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๕๒ ออกสอบเพียงครั้งเดียว คือ ออกสอบเมื่อเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ เรื่องการออกนอกบริเวณวัด จึงคิดกันว่าสนามยุคปัจจุบันไม่ออกสอบ แต่ถ้าศึกษาไว้บ้าง ก็จะเป็นการดี เพราะจริงๆ แล้ว มีวิธีเขียนและแบบฟอร์มเหมือนกับประกาศ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

© Copyright pariyat.com 2025. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search