28. บทที่ ๕ ศัพท์และความหมาย (ความหมายของศัพท์)

 

ความหมายของศัพท์

          ดังกล่าวมาบ้างแล้วว่า ศัพท์แต่ละศัพท์นั้นมีความหมายในตัว ซึ่งไม่เหมือนกัน และวิธีใช้ก็ใช้ต่างกรณีกัน ดังนั้น จึงควรจะได้ศึกษา ความหมายของศัพท์ไว้บ้าง เพื่อจะได้นำศัพท์ไปใช้ได้ถูกเรื่อง ถูกความ ที่ประสงค์ ในตอนสุดท้ายของบทนี้ จึงจักแสดงศัพท์ต่างๆ พร้อมทั้ง ความหมายให้ดูพอเป็นอุทาหรณ์ ซึ่งจะได้แสดงให้เห็นว่าใช้ในกรณีไหนด้วย ดังนี้

 

๑.

เฉโก

ฉลาดในการทำความผิด ทำชั่ว การหากินตามปกติธรรมดาโลก

 

กุสโล

ฉลาดในการตัดความชั่ว

 

โกวิโท

ฉลาดในการประพฤติธรรม ในการทำความดี

 

ปณฺฑิโต

ฉลาดในการทำด้วยปัญญา

๒.

วินา

เว้นอย่างสูง เว้นพลัดพราก คือ ขาดเสียมิได้ เช่น ผัวเว้นเมีย เว้นพระพุทธเจ้า เป็นต้น

 

ฐเปตฺวา

เว้นไว้ส่วนหนึ่งจากหลายๆ ส่วน โดยเอาไว้ส่วนหนึ่ง

 

วชฺเชตฺวา

เว้นหมดไม่มีเหลือ และเว้นเฉพาะเรื่องไม่ดี เรื่องเสียๆ

 

อญฺญตร

เว้นในกรณีพิเศษ เช่น เว้นจากฝัน เว้นที่เป็นข้อยกเว้น

๓.

นิสฺสาย

อาศัย สถานที่ ตระกูล บุคคล เครื่องอุปโภค บริโภค อาศัยเป็นอยู่

 

ปฏิจฺจ

อาศัยของไม่มีรูป เหตุการณ์ และอารมณ์

 

อุปาทาย

อาศัยกิเลส สัตว์ และบุคคล อาศัยแนบชิด

 

อาคมฺม

อาศัยสิ่งไม่มีตัวตน ในเรื่องดี เช่น อาศัยนิพพาน ความไม่ประมาท

 

อนฺวาย

อาศัย วัย ความเจริญ การสืบบพันธุ์ อาศัยแบบ เป็นไปตามธรรมชาติ

๔.

เวยฺยาวจฺจ

ความขวนขวายทางกาย ช่วยด้วยกำลังกาย

 

อุสฺสุกฺก

ความขวนขวายทั้งทางกาย ทั้งทางใจ

๕.

ภุญฺชติ

บริโภคทางปากโดยตรง

 

ปริภุญฺชติ

บริโภคด้วยการใช้สอย

๖.

เนติ อาเนติ

นำสิ่งที่มีชีวิตไป หรือนำสิ่งที่มีชีวิตมา

 

หรติ อาหรติ

นำสิ่งไม่มีชีวิตไป หรือนำมา

 

ปวิสิตฺวา

เข้าไปสู่สถานที่ เข้าไปทั้งตัว เอาตัวเข้าไป

 

สมาปชฺชิตฺวา

เข้าฌาน เข้าสมาบัติ

๘.

นิกฺขมิตฺวา

ออกจากที่อยู่อาศัย ออกมาทั้งตัว

 

เนกฺขมฺม

ออกจากกาม ออกบวช

 

วุฏฺฐาย

ออกจากฌาน ออกจากสมาบัติ

 

วุฏฺฐานํ

ออกจากครรภ์

 

นิสฺสรณํ

ออกจากทุกข์ ออกจากโลก

๙.

วิหรติ

อยู่แบบมีคุณธรรมของผู้ทรงศีล เช่นพระพุทธเจ้า

พระขีณาสพ

 

วสติ อจฺฉติ

อยู่แบบชาวบ้านทั่วไป

 

ปฏิวสติ

อยู่แบบประจำ ไม่โยกย้าย อยู่แบบตั้งถิ่นฐาน อาศัย

 

นิวสติ

อยู่ประจำ แต่อาจโยกย้าย แบบพักชั่วคราว

 

อุปวสติ

อยู่แบบชั่วคราว แบบพักอาศัยไม่นาน

 

อธิวสติ

อยู่แบบสิงอยู่ เป็นการอยู่ของพวกเทวดา ภูติปีศาจต่างๆ

 

อชฺฌาวสติ

อยู่แบบครอบครองเป็นเจ้าของ

 

โหติ

อยู่ในที่ที่มิใช่ที่อยู่ของตนเช่นพระอยู่ในบ้าน และความอยู่ของวัตถุสิ่งของทั้งหมด

๑๐.

อามนฺเตติ

เรียกผู้อยู่ใกล้มองเห็นตัวกัน มักมี อิติ รับ

 

ปกฺโกสติ

เรียกผู้อยู่ไกลซึ่งยังมองไม่เห็นตัวกัน แต่เรียกได้ยิน มักไม่มี อิติ รับ

 

ปกฺโกสาเปติ

 

เรียกผู้อยู่ไกลมองไม่เห็นตัว และเรียกไม่ได้ยิน ต้องใช้คนอื่นเรียกต่อ

๑๑.

นิพฺพตฺโต

บังเกิด เกิดในกำเนิดต่างๆ เกิดเรื่องราว สุข ทุกข์

 

อุปฺปนฺโน

เกิดขึ้น เกิดในกำเนิดต่างๆเกิดเรื่องราว เกิด เหตุการณ์

 

ชาโต

เกิด คนเกิด สัตว์เกิด ความดีใจเสียใจเกิด และเกิดเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนเติม เช่น ปาโป ชาโตติ ฯ

๑๒.

อนุจฺฉวิก

“ควร” มักเรียงไว้หลังศัพท์อื่น เช่น ตทนุจฺฉวิกํ

 

อนุรูป

“ควร” มักเรียงไว้หลังศัพท์อื่น เช่น ขณานุรูปํ

 

ปฏิรูป

“ควร” มักเรียงไว้หน้าศัพท์อื่น

๑๓.

ขาทติ

กินของแข็งที่ต้องเคี้ยวด้วยฟัน กินผลไม้

และ ใช้กับการกินของสัตว์

 

ภุญฺชติ

กินธัญญชาติ คือ กินข้าวต่างๆ

 

ปิวติ

กินของเหลว ของที่ใช้ดื่ม เช่น นํ้า ยาคู

 

อนุภุญฺชติ

กินบุญ กินบาป (เสวย)

๑๔.

ชายิ

เป็นกิริยาของผู้เกิด คือ ลูก

 

วิชายิ

เป็นกิริยาของผู้ให้เกิด คือ แม่ เท่ากับคำว่า “คลอด”

 

โอรุยฺห อารุยฺห

ลงหรือขึ้นจากที่สูง เช่น บันได ภูเขา หลังสัตว์

เป็นต้น

 

อุตฺตริตฺวา โอตริตฺวา

ขึ้นหรือลงสู่ที่ตํ่า เช่น ขึ้นจากนํ้า ลงแม่นํ้า

 

ทิฏฺฐิ

เห็นดีเห็นชั่ว เห็นด้วยใจ

 

ทสฺสน

เห็นด้วยปัญญา เห็นด้วยตา เห็นด้วยการมองดู

๑๗.

ธาเรติ

กั้นร่ม ( ห่มจีวร สวมรองเท้า )

 

ปิทหติ

กั้นทำนบ ( อุทกโสตํ ปิทหติ )

 

นิวาเรติ

กั้นอันตราย ( อนฺตรายํ นิวาเรติ )

๑๘.

ทสฺเสติ

แสดงรูปธรรม แสดงสิ่งที่มองเห็นได้ แสดง แบบชี้แจง

 

เทเสติ ทีเปติ

แสดงนามธรรม แสดงอธิบาย

๑๙.

วิมติ

สงสัยสิ่งที่เคยรู้มาแล้ว แต่จำไม่ได้ชัดเจน แน่นอน

 

กงฺขา

สงสัยสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน และอยากจะรู้ สงสัยเรื่องทั่วไป

 

สํสโย

สงสัยเรื่องทั่วไป

๒๐.

ทฺวิ

ใช้กับสิ่งที่มีทั่วไป

 

อุภ อุภย

ใช้กับสิ่งที่มีเป็นคู่อยู่แล้วโดยธรรมชาติ

๒๑.

กลาป

หางที่เป็นกำ เป็นพุ่ม ไม่มีเนื้อ เช่น หางม้า หางไก่

 

องฺคุฏฺฐ

หางเนื้อ มีกระดูก เช่น หางวัว หางควาย

๒๒.

อคฺค

ปลายที่อยู่ข้างบน ยอด

 

อนฺต โกฏิ

ปลายที่อยู่ด้าน ซ้าย ขวา

 

มตฺถก ปริโยสาน

ปลายที่อยู่ล่าง ปลายสุด

 

ปริยนฺต

ปลายรอบๆ ขอบวง

 

สิข สิขร

ปลายแหลม ยอดแหลม

๒๓.

อาห

กล่าวเรื่องสั้นๆ ไม่กี่ตอน กล่าวโต้ตอบกัน และมี อิติ รับ

 

กเถสิ

กล่าวเรื่องที่ยาว เป็นเรื่องราว

 

ภณติ

กล่าวสวด (สรภัญญะ)

 

ปฐติ

กล่าวสวดเป็นแบบแผน

 

ภาสติ

กล่าวแบบผู้ใหญ่

 

วทติ

กล่าวฝ่ายเดียว

๒๔.

อรหํ

ใช้กับพระพุทธเจ้า เท่านั้น

 

อรหา

ใช้กับพระสาวก หรือพระอรหันต์ในลัทธิอื่น

๒๕.

อลงฺการ อาภรณ

เครื่องประดับทั่วไป

 

ปิลนฺธน

เครื่องประดับเฉพาะอย่างๆ

๒๖.

เวเสน

ใช้สำหรับคนแปลงเพศเป็นนั่นเป็นนี่ เท่ากับ คำว่า ปลอมตัว

 

วณฺเณน

ใช้สำหรับเทวดาแปลงเพศเป็นนั่นเป็นนี่

๒๗.

เฉตฺวา

ตัดกิเลสต่างๆ และตัดลิ่งของ เช่น ต้นไม้

 

ฉินฺทิตฺวา

ตัดลิ่งของ ตัดต้นไม้ ไม่ใช้สำหรับตัดกิเลส

๒๙.

ปฏิวึส

ส่วนสิ่งของ

 

ภาค

ส่วนแห่งธรรม ส่วนความดี ส่วนบุญ

 

ปเทส

ส่วนที่เป็นผืน เช่น แผ่นดิน

 

โกฏฺฐาส

ส่วนแห่งบุญ

๓๐.

นิคฺคณฺหาติ

ข่มคนหรือสัตว์

 

วิกฺขมฺภติ

ข่มกิเลส ข่มปีติ

๓๑.

นิวาเรติ

ห้ามคน ห้ามสัตว์ แบบใช้มือโบกห้าม

 

นิเธเสติ

ห้ามใจตัวเอง ห้ามความชั่ว

 

ปฏิกฺขิปิ

ห้ามหรือคัดค้านผู้อื่น

๓๒.

อุสฺสาเปติ

ยกของให้สูงขึ้น ยกธง

 

อาโรเปติ

ยกคน (อุ้ม)

๓๓.

อุยฺโยเชสิ

ส่งไปอย่างมีเกียรติ ส่งคนมีเกียรติ ตามส่ง

 

เปเสสิ

ส่งไปอย่างสามัญธรรมดา

 

ปหิณิ

ส่งของหรือส่งข่าว

 

อนุคจฺฉติ

ตามไปส่ง

๓๔.

อาจิกฺขิ

บอกเรื่องเล็กๆ บอกเฉพาะคน

 

อาโเจสิ

บอกเรื่องสำคัญ บอกเรื่องราว บอกแก่คนหมู่มาก

๓๕.

สยติ

นอนแบบผู้ใหญ่ นอนในบ้าน นอนกลางคืน

 

นิปชฺชติ

นอนในที่ไม่ใช่ที่นอน นอนแบบไม่สบาย กลิ้งไปกลิ้งมา นอนแบบไม่ค่อยหลับ นอนแบบของสัตว์ สัตว์นอน

๓๖.

นิทฺทายิ

หลับกลางวัน หลับนอกเวลานอน

 

สุปติ

หลับกลางคืน หลับสนิท หลับฝัน

๓๗.

คีว

สำคอทั้งหมด

 

คล

รูคอหอยที่อาหารเข้าไป

 

ขนฺธ

ก้านคอ

๓๘.

อาทีนโว

โทษความเสียหายในตัว โทษเศร้าหมอง

 

อวณฺณํ

โทษที่น่าติเตียน ไม่น่าสรรเสริญ

 

วชฺชํ

โทษที่ควรงดเว้น โทษทางพระวินัย

 

ขลิตํ

โทษที่เกิดจากความพลั้งเผลอ

 

อปราโธ

โทษอันเป็นความผิดทางกาย วาจา ใจ

 

อจฺจโย

โทษที่ล่วงเกิน

 

โทส

โทษอันเป็นกิเลส ความผิดเสียหาย

๓๙.

ภูมิ

ดินที่อยู่ด้านบน พื้นดิน หน้าดิน

 

ปฐวี

ดินที่อยู่ลึก ดินชั้นล่าง ดินที่เป็นธาตุ

๔๐.

อาโป

นํ้าที่เป็นธาตุเดิม

 

อุทกํ อุทํ ทกํ

นํ้าใช้ทั่วไป

 

ปานียํ

นํ้าดื่ม

 

ปริโภชนียํ

นํ้าใช้ นาที่คั้นจากผลไม้แล้วผสมกับลิงอื่น

๔๑.

วาโย

ลมที่เป็นธาตุเดิม

 

วาโต

ลมธรรมดา ลมที่พัดไปมา

 

อสฺสาสปสฺสาส

ลมหายใจเข้าออก

๔๒.

เตโช

ไฟอันเป็นธาตุเดิม

 

อคฺคิ

ไฟที่มีแสงสว่าง ไฟกิเลส

 

ปาวโก

ไฟป่า ไฟไหม้บ้านเรือน ไฟเกิดจากผลบาป

๔๓.

อุปฺปติตฺวา

เหาะไปเลย ไม่หวนกลับลงมาอีก

 

อพฺภุคฺคณฺตฺวา

เหาะขึ้นไปแล้วกลับลงมาอีก

๔๔.

โอตาเรตฺวา

วางของที่แบกหามมาลงไว้

 

ฐเปตฺวา

วางของที่ถือมาลง วางของเล็กๆ ไว้

๔๕.

โอโลเกติ

มองดูด้ายตาเนื้อ

 

โวโลเกติ

มองดูด้วยตาปัญญาหรือดูด้วยญาณ

๔๖.

อุทร

ท้องใส่ข้าว ท้องด้านนอก

 

กุจฺฉิ

ท้องใส่ลูก ท้องด้านใน

๔๗.

ถญฺญ

นมผู้หญิงที่มีนํ้านมเลี้ยงลูกได้ (เต้านม)

 

ถน

นมที่ไม่มีนํ้านม นมผู้ชาย

๔๘.

อรญฺญ

ป่าเล็กๆ ป่าที่มีคนอาศัยอยู่ได้

 

วน

ป่าใหญ่ ไม่มีผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่

๔๙.

จกฺขุ

ตาส่วนใน ประสาทตา

 

อกฺขิ

ตาส่วนนอก ลูกตา

๕๐.

จกฺขุทุพฺพล

คนตามืด ตามัว

 

อนฺธจกฺขุ

คนตาบอด

๕๑.

หิริ

อายใจตัวเอง

 

ลชฺชา

อายคนอื่น

๕๒.

สตฺถา

ใช้กับพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว

 

สตฺถาโร

ใช้กับศาสดาในศาสนาอื่น

๕๓.

พนฺธิตฺวา

ผูกอย่างหลวมๆ ผูกพอเป็นพิธี

 

เวเฐตฺวา

ผูกอย่างแน่นหนา ผูกมิดชิด

๕๔.

อุปฺปนฺโน

เกิดแล้ว ไม่แน่ใจว่ายังอยู่หรือไม่

 

อุปฺปนฺโน โหติ

เกิดแล้ว แน่ใจว่ายังเป็นไปอยู่

 

อุปฺปชฺชิ

เกิดแล้ว แน่ใจว่าผ่านไปแล้ว

๕๕.

ปุฏฺโฐ

เป็นกิริยาของปัญหาที่ถูกถาม

 

ปุจฺฉิโต

เป็นกิริยาของคนที่ถูกถาม

๕๖.

ยาจติ

ขอทั่วไป

 

ภิกฺขติ

ขอแบบพระ ขอแบบแสดงอาการว่าต้องการ

 

วาเรติ

ขอพร ขอลูกสาว

 

วิญฺญาเปติ

ออกปากขอ

๕๗.

ปฏิยาเทติ

ตกแต่งไทยธรรม

 

มณฺเฑติ ปิลนฺธติ

ตกแต่งร่างกาย

๕๘.

ฐเปตฺวา ฐเปติ

ตั้งของไว้ วางของไว้ ตั้งตนไว้

 

ปติฏฺฐเปติ

ยัง...ให้ตั้งไว้

 

ปติฏฺฐาเปติ

ตั้งมั่น ตั้งอยู่เอง

 

ฐตฺวา อฏฺฐาสิ

ยืนอยู่ ดำรงอยู่

๕๙.

อภิรูหติ อารูหติ

ขึ้นขี่พาหนะ หรือสัตว์ หรือขึ้นสู่...

 

อุตฺตรติ

ขึ้นจากนา

 

อุคฺคจฺฉติ

ลอยขึ้นไป

๖๐.

โอโลเกติ

มองดู เพราะยังไม่เห็น

 

ปสฺสติ

เห็น เพราะมองดูแล้ว

๖๑.

นิกุชฺชติ ปฏิกุชฺชติ

ครอบครอง เอาฝาครอบ

 

ปฏิปชฺชติ

ครอบครองทรัพย์สมปัติ

 

ปริคฺคณฺหาติ

ครอบครองสถานที่ สิงครอบอยู่

 

ปริยาทาติ

ครอบงำจิตใจ

 

อภิภวติ

ครอบงำกิเลส ข่มกิเลสไว้

๖๒.

วสฺสติ ปวสฺสติ

ฝนตก

 

ภสฺสติ

ของตก

 

อตฺถงฺคเมติ

พระอาทิตย์ตก

 

ปตติ

ของตก

 

ปปตติ

ตกลงไป

 

ปฏิชานาติ

ตกลงยอมรับ

๖๓.

ปหรติ

ตีคน ตีสัตว์ เตะ ถีบ

 

อาโกเฏติ

ตีกลอง

 

อคฺฆาเปติ

ตีราคา

๖๔.

คณฺหาติ

รับของทั่วไป

 

ปริคณฺหาติ

รับประเคน รับแบบมีพิธี

 

อธิวาเสติ

รับนิมนต์

 

สมฺปฏิจฺฉติ

รับปาก รับรอง รับแข็งแรง

 

ปฏิสุณาติ

รับคำ

 

สเมติ

รับกัน เหมาะกัน

 

สมาทิยติ

รับศีล รับด้วยใจ

๖๕.

ภรติ โปเสติ

เลี้ยงดู เลี้ยงคน สัตว์

 

ปริวิสติ

เลี้ยงพระเลี้ยงแขก เลี้ยง แบบรับรองเต็มที่

 

สนฺตปฺเปติ

เลี้ยงจนอิ่มหนำ

 

วฑฺเฒติ

เลี้ยงให้เจริญเติบโต

๖๖.

ทสฺเสติ

แสดงรูปธรรม

 

เทเสติ

แสดงนามธรรม

 

ทีเปติ

แสดงอธิบายให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

 

นิทฺทิสติ

แสดงออก แสดงไข

 

วิตฺถาเรสิ

แสดงให้พิสดาร

 

อปทิสติ

แสดงอ้าง

๖๗.

ฆฏฺเฏติ

เสียดสี กระทบ

 

ฆํสติ

สี กระทบ

 

นิมฺมถติ

สีไฟ

๖๘.

นิทฺธโน

คนยากจน คนไร้ทรัพย์

 

ทลิทฺโท

คนเข็ญใจ คนไร้ที่พึ่ง

 

ทุคฺคโต

คนตกยาก คนลำบาก

๖๙.

ขุทฺทก

น้อย ด้วยขนาด

 

อปฺป

น้อย ด้วยจำนวน

 

จูฬ อณุ

น้อย ด้วยรูปร่าง

๗๐.

อนุกฺกเมน

โดยลำดับก่อนหลัง

 

อนุปุพฺเพน

โดยลำดับขนาด สถานที่ และเวลา

 

ปฏิปาฏิยา

โดยลำดับบุคคล สถานที่ เวลา

๗๑.

มรติ มโต มริตพฺพํ

เขาตายเอง

 

มาเรติ มาริโต มาเรตพโพ

เขาฆ่าคนตาย หรือคนถูกเขาฆ่าตาย

 

มาราเปติ มาราปิโต มาราเปตพฺโพ

เขาใช้ให้ผู้อื่นฆ่าคนตาย หรือเขาถูกใช้ให้ฆ่าคนตาย

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


45613030
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
4314
40295
44609
45235495
272082
1019588
45613030

Your IP: 35.171.164.77
2024-10-07 02:55
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search