13.บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์

บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์

         เรื่องไวยากรณ์และเรื่องสัมพันธ์ เป็นเรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่ง ในการเรียงภาษามคธ เป็นการแสดงภูมิปัญญาขั้นพื้นฐานว่าแน่นเพียง ใดและสูงแค่ไหน อาจจะให้ผ่านขั้นนั้นๆ ได้หรือไม่ เพราะไวยากรณ์ และสัมพันธ์เป็นหลักเบื้องต้นที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ ใช้ให้ ถูกต้องอยู่แล้ว

         การประกอบศัพท์ทุกศัพท์ ก่อนที่จะนําไปใช้ต้องให้ถูกหลัก ไวยากรณ์ ไม่ใช่จับเอาศัพท์เดิมที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งมาประกอบเป็นรูป ประโยคเลย เหมือนการแสดงละคร ก่อนที่ผู้แสดงจะออกมาแสดงนอก ฉาก จะต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยบริบูรณ์เสียก่อน มิใช่ปล่อยออกมาแสดงแบบล่อนจ้อน ไม่มีเครื่องทรงอะไรเลย และศัพท์นั้นจะต้อง ประกอบไวยากรณ์ให้ถูกกฎเกณฑ์ด้วย เช่น ถ้าเป็นศัพท์นาม ก็ต้อง ประกอบด้วยเครื่องปรุงของนาม คือ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ครบ ถ้า เป็นกิริยาอาขยาด ก็ต้องประกอบด้วยเครื่องปรุงของอาขยาด คือ วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย ครบทั้ง ๘ ประการ

         พูดอีกทีก็คือว่า ต้องให้ศัพท์นั้นๆ ผ่านโรงงานเข้าเครื่องปรุงเสีย ก่อน จึงค่อยนำออกมาใช้นั่นเอง และเข้าโรงงานไหนมาก็ต้องให้ถูกแบบ แผนของโรงงานนั้น เช่น โรงงานนาม โรงงานอาขยาต ก็ให้ถูกกฎเกณฑ์ ดังกล่าวมาแล้ว

         แม้เรื่องสัมพันธ์ก็สำคัญไม่น้อย ศัพท์ที่ถูกปรุงได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ดีแล้ว แต่นำไปวางในประโยคผิดที่ ทำให้ผิดหลักสัมพันธ์ ไป หรือวางถูกที่เหมีอนกัน แต่ผิดไวยากรณ์เสียอีก ทำให้สัมพันธ์เข้า กันไม่ได้ เช่นนี้ถือว่าผิดทั้งนั้น รวมความว่าทั้งไวยากรณ์และสัมพันธ์ ต้องให้เป็นไปถูกต้องคู่กันไปเสมอ

         ต่อไปนี้จะได้แสดงกฎเกณฑ์การใช้ไวยากรณ์และสัมพันธ์ที่ ปรากฏว่า นักศึกษาชอบใช้ผิดและทำให้เสียคะแนนบ่อยๆ บางครั้งถูกปรับถึงตก เพราะผิดไวยากรณ์และสัมพันธ์ในที่ไม่ควรผิดก็มี ซึ่งพอสรุปแยกกล่าวเป็นหัวข้อๆ ได้ดังนี้

๑. เรื่องลิงค์                    ๕. เรื่องวาจก
๒. เรื่องวจนะ                   ๖. เรื่องปัจจัย
๓. เรื่องวิภัตติ                  ๗. เรื่องสัมพันธ์
๔. เรื่องกาล                    ๘. เรื่องการเขียน

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


45613552
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
4836
40295
45131
45235495
272604
1019588
45613552

Your IP: 66.249.71.101
2024-10-07 03:12
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search