การเรียง อิติ ศัพท์
อิติ ศัพท์ แปลได้หลายนัย เช่น “ว่า, คือ, ด้วยประการฉะนี้ ฯลฯ มีวิธีเรียงต่างกันออกไปตามคำแปล เช่น
๑. ที่แปลว่า “ด้วยประการฉะนี้, ด้วยอาการอย่างนี้” ให้เรียง ไว้ต้นประโยค มีคติคล้ายกับ เอวํ เป็นการสรุปเนื้อความที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่นิยมใช้ เอวํ มากกว่า อิติ เช่น
: อิติ อปฺปาทปปจฺจยตฺเถน มโน ปุพฺพงฺคโม เอเตสนฺติ มโน ปุพฺพงฺคมา ฯ (๑/๒๑)
: อิติห เตน ขเณน เตน มุหุตฺเตน ยาว พฺรหฺมโลกา สทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉิ ฯ
๒. ที่แปลว่า “คือ” เป็นไปตามสำนวนไทย ใช้ในกรณีที่มีเลข นอกเลขใน โดยเลขนอกได้บอกจำนวนเต็มไว้ ส่วนศัพท์เลขในภายใน อิติ บอกจำนวนย่อยไว้ เป็นการขยายความเลขนอกอีกทีหนึ่ง อิติ ศัพท์ ที่ใช้ในกรณีอย่างนี้ นิยมแปลว่า คือ เช่น
: ดูก่อนภิกษุ ธุระมี ๒ ประการเท่านั้น คือ ศันถธุระ วิปัสสนาธุระ
: คนฺถธุรํ วิปสฺสนาธุรนฺติ เทฺวเยว ธุรานิ ภิกฺขุ ฯ (๑/๗)
๓. ที่แปลว่า “ว่า” ทำหน้าที่ขยายบทนาม เช่น อตฺโถ ตอนแก้อรรถหรือขยายบทกิริยาที่ประกอบด้วยธาตุเกี่ยวกับการพูด การคิด เช่น อาห อาโรเจสิ จินฺเตสิ เป็นต้น มีวิธีเรียงดังนี้
๓.๑ ประโยคเลขในหรือประโยคคำพูด เมื่อเรียงจบประโยค ข้อความแล้วต้องใส่ อิติ คุมท้ายประโยคทุกครั้ง ถ้าไม่ใส่ถือว่าผิด เช่น
: อถ นํ สตฺถา “นตฺถิ เต โกจิ อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก ญาตีติ อาห ฯ (๑/๖)
: สาธุ ภนฺเต อปฺปมตฺตา โหถาติ ฯ (๑/๘)
๓.๒ ถ้าขยายนาม เช่น อตฺโถให้เรียง อตฺโถไว้หลัง อิติ เช่น
: ตตฺถ สุภานุปสฺสินฺติ สุภํ ฯเปฯ วิหรนฺตนฺติ อตฺโถฯ (๑/๖๗)
๓.๓ ถ้าขยายอนุกิริยาหรือกิริยาระหว่าง คือ กิริยาที่ประกอบ ด้วย อนฺต มาน ตฺวา ปัจจัย ต้องเรียงกิริยาเหล่านี้ไว้หลัง อิติ ทั้งหมด จะเรียงไว้หน้าไม่ได้เด็ดขาด เช่น
: อเถกทิวสํ มหาปาโล อริยสาวเก ฯเปฯ ทิสฺวา “อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉตีติ ปุจฺฉิตฺวา ธมฺมสฺสวนายาติ สุตฺวา ฯเปฯ (๑/๕)
จะเรียงว่า
: อเถกทิวสํ มหาปาโล อริยสาวเก ฯเปฯ ปุจฺฉิตฺวา อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉติติ สุตฺวา ธมฺมสฺสวนายาติ ฯเปฯ
ไปตามลำดับเหมีอนความไทยไม่ได้ แม้เข้ากับกิริยา อนฺต มาน ปัจจัย ก็พึงเทียบเคียงนัยนี้
๓.๔ ถ้าขยายกิริยาคุมพากย์ จะเรียงกิริยานั้นไว้หน้าหรือ หลัง อิติ ก็ได้ แต่มีข้อสังเกตอยู่ว่า ในประโยคที่มีข้อความเลขในสั้นๆ นิยมเรียงกิริยาไว้หลัง ในประโยคที่มีข้อความเลขในยาว นิยมเรียง กิริยาไว้ข้างหน้า อิติ เพื่อให้สังเกตกิริยาได้ง่าย เช่น
: ตํ สุตฺวา มหาปาโล กุฏมฺพิโก จินฺเตสิ “ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุตฺตธีตโร วา โภคา วา นานุคจฺฉนฺติ ฯเปฯ ปพฺพชิสฺสามีติ ฯ (๑/๖)
: อถ นํ สตฺถา “นตฺถิ เต โกจิ อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก ญาตีติ อาห ฯ (๑/๖)
อนึ่ง ขอให้สังเกตว่าศัพท์นาม หรือศัพท์กิริยาที่ทำหน้าที่คุม อิติ นี้แม้จะมีคำแปลในภาษาไทย บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องใส่เข้ามาใน เวลาแต่งเป็นมคธ แต่เวลาแปลจะต้องใส่เข้ามาเอง เรื่องนี้ผู้ศึกษาต้องสังเกตให้ดี
เพราะฉะนั้นเวลาเรียงขอให้ดูความในประโยค หากไม่ใส่นามหรือ กิริยาเข้ามาคุม ผู้แปลก็พอมองออกว่าต้องใส่ศัพท์ใดเข้ามา เช่น ใส่ จินฺตเนน วจเนน ปุจฺฉิ อาห เป็นต้น เช่นนี้'จะไม่ใส่ก็ไม่ผิด แม้ใน แบบจะม่ใส่ไว้ก็ตาม หรีอในแบบเขาไม่มี เราไปเพิ่มเข้ามาก็ไม่ถือว่าผิด
แต่บางกรณีใส่ไปก็ทำให้ประโยครุงรัง เช่น ในประโยคโต้ตอบ สนทนากัน เป็นต้น ซึ่งไม่นิยมใส่กิริยาคุม อิติ ที่ท่านใส,ไว้โดยมากเป็นประโยคที่ท่านต้องการเน้นกิริยานั้นว่าเป็นคำพูด หรือความคิดเป็นต้น เช่น
: โส กิร “ตถาคโต พุทธสุขุมาโล ขตฺติยสุขุมาโล ‘พหุปกาโร เม คหปตีติ (จินฺตเนน) มยฺหํ ธมฺมํ เทเสนฺโต กิลเมยฺยาติ (จินฺเตตฺวา) สตฺถริ อธิมตฺตสิเนเหน ปญฺหํ น ปุจฺฉติ ฯ (๑/๕)
: โส สาธูติ สมฺปฏิจฺฉิตฺวา ฯเปฯ ปฏิปชฺชาหิ นนฺติ (อาห) ฯ ตุมฺเห ปน สามีติ (ปุจฺฉิ) ฯ อหํ สตฺถุ สนฺติเก ปพฺพชิสฺสามีติ (อาห) ฯ (๑/๖)
คำที่อยู่ในวงเล็บนั้น ไม่มีในแบบ แต่ใส่เข้ามาในเวลาแปล ถ้า เราใส่เข้ามาตามวงเล็บเองก็ไม่จัดเป็นผิด แต่ก็ทำให้รุงรังโดยใช่เหตุ เพราะไม่ใส่ก็อาจแปลและจับใจความได้ แต่ในการเว้นไม่ใส่นามหรือ กิริยาหลัง อิติ นี้ หาทำได้ในทุกกรณีไม่
ในกรณีที่ประโยคเลขในมาซ้อนกันหลายๆ ประโยค และเป็นความย่อทั้งหมด หากไม่ใส่กิริยาคุมไว้บ้าง จะทำให้ไม่สละสลวย ขอให้ดูตัวอย่าง เช่น
: อเถกทิวสํ มหาปาโล อริยสาวเก คนฺธมาลาทิหตฺเถ วิหารํ คจฺฉนฺเต ทิสฺวา “อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉตีติ ปุจฺจิตฺวา ‘ธมฺมสฺสวนายาติ สุตฺวา ‘อหํปิ คมิสฺสามีติ, คนฺตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา ปริสปริยนุเต นิสีทิ ฯ (๑/๕)
เรียงใหม่ว่า
: อเถกทิวสํ มหาปาโล ฯเปฯ ทิสวา “อยํ มหาชโน กุหึ คจฺฉตีติ ธมฺมสฺสวนายาติ “อหํปิ คมิสฺสามีติ คนฺตฺวา ฯเปฯ
ขอให้สังเกตว่า ประโยคที่เรียงใหม่ แม้จะไม่ผิด แต่ก็มองดูห้วนๆ ไม่สละสลวยเลย เพราะฉะนั้นในระหว่าง อิติ สองศัพท์ ควรจะมีกิริยา คั่นกลางอยู่
การเรียงปัจจัยในอัพยยศัพท์
ปัจจัยในอัพยยศัพท์ คือ โต ตฺร ตฺถ ห ธ ธิ หึ หํ หิญฺจนํ ว ที่ใช้ประกอบกับนามนามบ้าง สัพพนามบ้าง ได้รูปเป็น ตโต กุโต ตตฺร อิธ กหํ เป็นต้น เมื่อนำไปเรียงเข้าประโยค นิยมใช้โดดๆ มีรูป เป็นวิเสสนะซึ่งไม่ต้องใส่นามเจ้าของที่ตนขยายเข้ามากำกับ แต่เวลาแปลผู้แปลต้องโยกศัพท์นามเจ้าของเอาเอง เช่น
: พระธรรมเทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน
: อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตาติ ฯ
จะเรียงว่า อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ฐาเน ภาสิตาติ ฯ ไม่ได้
: ท่านมาจากที่ไหน
: กุโต อาคโตสีติ ฯ
จะเรียงว่า กุโต ฐานโต อาคโตสีติ ฯ ไม่ได้
ถ้าจะใส่นามเจ้าของเข้าไว้ด้วย ต้องไม่ใช้ปัจจัยเหล่านี้ ต้องใช้ สัพพนามตรงๆ และถ้าใช้สัพพนามต้องใส่นามเจ้าของกำกับด้วย ถ้าไม่ใส่ก็ถือว่าผิดความนิยมอีก เช่น
: อยํ ธมฺมเทสนา กิสฺมึ ฐาเน ภาสิตาติ ฯ (ใช้ได้)
: อยํ ธมฺมเทสนา กิสฺมึ ภาสิตาติ ฯ (ไม่ถูก)
: สามเณโร ตสฺมึ สทฺเท นิมิตฺตํ คเหตฺวา ยฏฺฐิโกฏึ วิสฺสชฺเชตฺวา ฯเปฯ (ใช้ได้)
: สามเณโร ตสฺมึ นิมิตฺตํ คเหตฺวา ยฏฺฐิโกฏึ วิสฺสชฺเชตฺวา ฯเปฯ (ไม่ถูก)
แม้ศัพท์อื่นก็นัยเดียวกันนี้ จึงควรระวัง จำสูตรง่ายๆ ว่า
“ใช้ปัจจัยในอัพยยศัพท์ ไม่ต้องมีนามกำกับ
ใช้สรรพนาม ต้องมีนามกำกับ”
ทั้งนี้ มียกเว้น เช่น ในวิชาฉันท์ ภาษามคธ ซึ่งถูกบังคับคณะ ให้ต้องใส่นามกำกับ และในปกรณ์ต่างๆ ก็มีหลงอยู่บ้าง แต่ถือเป็น แบบไม่ได้ เพราะมีไม่ทั่วไป เช่น
: ภนฺเต อิธ โลเก เอวํ โสจิตฺวา ปุน คนฺตฺวา โสจนฏฺฐาเน นิพฺพตฺโตติ วุตุเต ฯเปฯ (๑/๑๑๙)
อ้างอิง
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710