วิธีเรียง วา ศัพท์
วา ศัพท์ ที่แปลว่า หรือ, บ้าง มีวิธีค่อนข้างสลับซับซ้อนเหมือน จ ศัพท์ แต่เมื่อศึกษาวิธีการเรียง จ ศัพท์ได้ดีแล้ว ก็อาจเรียง วา ศัพท์ได้โดยไม่ยาก จึงสรุปวิธีเรียง วา ศัพท์ได้ว่า
๑. เมื่อควบบท หรือ ควบพากย์ นิยมเรียงเหมือน จ ศัพท์เป็นพื้น คือ เมื่อควบศัพท์ไหนให้เรียงไว้หลังศัพท์นั้น และให้เรียงไว้เป็นที่ ๒ ของทุกตอนเป็นต้นเหมือน จ ศัพท์ เช่น
๒. เมื่อ วา ศัพท์ควบตัวประธานที่เป็นเอกพจน์ ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ ขึ้นไป ไม่ต้องเปลี่ยนกิริยาเป็นพหูพจน์เหมือน จ ศัพท์ เช่น
วิธีเรียง ปิ ศัพท์
ปิ ศัพท์ วิธีเรียงเหมือนกับ จ ศัพท์ หรือ วา ศัพท์และใช้แทน ศัพท์ทั้งสองนั้นได้ มีวิธีเรียงดังนี้
๑. เมื่อแปลกับศัพท์ไหน ให้เรียงไว้หลังศัพท์นั้น เช่น
๒. ถ้าแปลว่า “ทั้ง, ด้วย, ก็ดี” มีคติเหมือน จ ศัพท์ และให้ เรียงกิริยาเป็นพหูพจน์ เช่น
๓. ถ้าแปลว่า “บ้าง” มีคติเหมือน วา ศัพท์ และไม่ต้องเปลี่ยน กิริยาเป็นพหูพจน์ เช่น
การใช้นิบาตต้นข้อความ ในประโยค ย ต
ปกติการใช้นิบาตต้นข้อความต่างชนิด เช่น หิ จ ปน อถโข มีหลักที่แน่นอนตายตัวอยู่แล้ว ไม่จำต้องกล่าวถึงโดยละเอียดอีก แต่ที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ การใช้นิบาตต้นข้อความซํ้าซ้อนกันใน ประโยคเดียวกันและในประโยค ย ต ซึ่งถือว่าเป็นประโยคเดียวกัน การใช้นิบาตอย่างนี้ถือว่าผิดความนิยมทางภาษา และดูซํ้าช้อนรุงรัง เกินความจำเป็น ขอให้ดูตัวอย่างประกอบ
กรณีที่ ๑ ใช้นิบาตต้นข้อความซํ้าซ้อนในประโยคเดียวกัน
: อถาปรภาเค ปน โส ภิกฺขุ นวํ จีวรํ ลภิตฺวา ตํ วิหารํ ปุนาคมิ ฯ
ตามตัวอย่างนี้ มีนิบาตต้นข้อความซํ้าซ้อนกันอยู่ คือ อถ กับ ปน ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะมีศัพท์อื่นคือ อปรภาเค คั่นอยู่
ในกรณีที่ใช้นิบาตต้นข้อความซํ้าซ้อนกันได้นั้นก็มีอยู่ แต่ต้อง เรียง ติดกัน ๒ ศัพท์ โดยไม่มีศัพท์อื่นคั่น ตัวอย่างเช่น
กรณีที่ ๒ การใช้นิบาตต้นข้อความในประโยค ย ต
ประโยค ย ต โดยเนื้อความเราถือกันว่าเป็นประโยคเดียวกัน เรียกว่าสังกรประโยค เพราะฉะนั้น เมื่อวางนิบาตต้นข้อความไว้ในประโยค ย แล้ว ก็ไม่นิยมวางนิบาตต้นข้อความไวในประโยค ต อีก หากวางไว้อีก ในเวลาแปลล้มประโยค หรือแปลรวบ ย ต นิบาต ต้นข้อความในประโยค ต จะติดขัด แปลไม่ได้ จำต้องทิ้งไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่มีเหตุผลที่จะทิ้งเสียโดยไม่แปล
เพราะฉะนั้น จึงไม่นิยมวางนิบาตต้นข้อความไว้ในประโยค ต ด้วยเหตุผลดังกล่าว ขอให้ดูดัวอย่างและลองแปลล้มประโยคดู จะรู้ ความติดขัดได้ชัด
ในสองประโยคนี้ ประโยคแรก วาง หิ ศัพท์ไว้หลัง ยทา เป็น ยทา หิ แล้วยังวาง จ โข ศัพท์ไว้หลัง ตทา เป็น ตทา จ โข อีก และประโยคหลังวาง หิ ศัพท์ไว้หลัง ยสฺมา เป็น ยสฺมา หิ แล้วยังวาง จ ศัพท์ไว้หลัง ตสฺมา เป็น ตสฺมา จ อีก ถือว่าวาง นิบาตไว้ในประโยค ต โดยไม่จำเป็น เพราะแม้จะไม่วางไว้ ก็สามารถ แปลได้ความ และประโยคก็สละสลวยถูกต้องตามหลักภาษาอยู่แล้ว เมื่อวางเพิ่มไว้อีกแทนที่จะดูดีหรือสละสลวยขึ้น กลับดูเป็นส่วนเกิน และรุงรังไป
ในสองกรณี ที่กล่าวมานี้นักศึกษาต้องระวัง และพิถีพิถันให้มาก จะใช้เพราะความเคยชินเพราะเผลอ หรือเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม ที เมื่อใช้ไปแล้วก็ถือว่าไม่ถูกความนิยมทั้งสิ้น
อ้างอิง
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.
ที่อยู่ : 23/2 หมู่ 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
dummy 02-831-1000 ต่อ 13710