8.บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค (น ศัพท์, จ ศัพท์)

 

วิธีเรียง น ศัพท์

        ๑. เมื่อปฏิเสธกิริยาอาขยาตให้คงรูปไว้ ไม่นิยมแปลงเป็น หรือเป็น อน ถ้าแปลงถือว่าเป็นผิดร้ายแรง เช่น

  • : ปรโลกํ คจฺฉนฺตํ ปุตฺตธีตโร วา โภคา วา นานุคจฺฉนฺติ ฯ (ไม่ใช่ อนานุคจฺฉนฺติ) (๑/๖)
  • : สรีรํปิ อตฺตนา สทฺธึ น คจฺฉติ ฯ (ไม่ใช่ อคจฺฉติ) (๑/๖)

         ๒. เมื่อปฏิเสธกับกิริยาตูนาทิปัจจัย เช่น ตฺวา ปัจจัย เป็นต้น และปฏิเสธ อนฺต มาน ปัจจัย นิยมแปลงเป็น อ หรือเป็น อน เช่น

  • : โภ โคตม ตุมฺหากํ ทานํ อทตฺวา ปูชํ อกตฺวา  ธมฺมํ  อสฺสุตฺวา...  (๑/๓๑)
  • : โส ตสลา อนาจิกฺขิตฺวา ว อคมาสิ ฯ
  • : อุปาสโก ธมฺมสฺสวนนฺตรายํ อนิจฺฉนฺโต อาคเมถ อาคเมถาติ อาห ฯ (๑/๑๒๑)

        ๓. เมื่อปฏิเสธกิริยากิตก์ที่คุมพากย์ได้ คือ อนิย ตพฺพ ต ปัจจัย จะแปลงหรือคงไว้ก็ได้ เช่น

  • : ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ
  • : อุฏฺฐาย เต ปจฺจุคฺคมนํ กตนฺติฯ กตํ ภนฺเตติ ฯ (๑/๓๖)

        ๔. เมื่อปฏิเสธศัพท์นามหรือศัพท์คุณ นิยมแปลงเป็น อ หรือ อน เช่น อพฺราหมฺโณ อภาโว อนริโย อกาตุํ เป็นต้น

  • : อโนกาโสติ อุฏฺฐายาสนา ปกฺกนฺตา ตาตาติ ฯ (๑/๑๒๒)

        ๕. เมื่อปฏิเสธกิริยาตัวใด ให้เรียงไว้หน้ากิริยาตัวนั้น เช่น

  • : คจฺฉนฺตา จ ฯเปฯ ตุจฺฉหตฺถา น คตปุพฺพา ฯ (๑/๔)
  • : น สกฺกา โส อคารมชฺเฌ ปูเรตุํ ฯ (๑/๖)
  • : อหํ ตุมฺหากํ เอวํ นิปนฺนภาวํ น ชานามิ ฯ (๑/๓๘)

      ๖. เมื่อปฏิเสธทั้งประโยค นิยมเรียงไว้ต้นประโยค เช่น

  • : นาหํ คนุถธุรํ ปูเรตุํ สกฺขิสฺสามิ ฯ (๑/๗)
  • : มยฺหํ ปุตฺโต โพธึ อปฺปตฺวา กาลํ กโรติ ฯ (๑/๑๐๘)
  • :  ภิกฺขเว โส อิเม สตฺต ทิวเส สูกเร มาเรติ ฯ (๑/๑๑๙)

       ๗. เมื่อปฏิเสธกิริยาตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป น ตัวแรกนิยมสนธิกับ เอว ศัพท์เป็น เนว เช่น

  • : อมฺม ตยา กตํ สสฺสํ เนว อจฺโจทเกน นสฺสติ, อโนทเกน นสฺสติ ฯ (๑/๔๘)
  • : อญฺเญ ภิกฺขู เตหิ สทฺธึ เนว เอกโต นิสิทนฺติ น ติฏฺฐนฺติ ฯ (๑/๔๙)
  • : สเจ อิมํ  สาฏกํ ทสฺสามิ, เนว พฺราหฺมณิยา มยฺหํ ปารุปนํ ภวิสฺสติ ฯ (๔/๑)

        ๘. เมื่อมาคู่กับกิริยาอาขยาตที่ขึ้นต้นด้วย “สระ” หรือที่มีอักษร “อ” นำหน้า เช่น อกาสิ อโหสิ อาคจฺฉติ เป็นต้น นิยมสนธิกับ กิริยานั้นเลย หรือเมื่อมาคู่กับกิริยากิตก์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ หากไม่แปลง เป็น อน ก็นิยมสนธิเข้าด้วยกัน เช่น

  • : น อโหสิ เป็น นาโหสิ
  • : น อาคจฺฉติ เป็น นาคจฺฉติ
  • : น อาปุจฺฉิตํ เป็น นาปุจฺฉิตํ

 

การเรียง  น  ศัพท์ปฏิเสธในประโยค มีข้อควรสังเกตอยู่ ๒ ประการ ซึ่งเป็นข้อสังเกตพิเศษ คือ

        ๑. เรียง น ที่ปฏิเสธทั้งประโยคไว้ต้นประโยค ในกรณีใด ข้อนี้ มีข้อที่พอสังเกตได้ คือ ประโยคที่ต้องการเน้นความปฏิเสธเด็ดขาด และปฏิเสธทุกศัพท์ในประโยค ทั้งนามและกิริยา อย่างนี้จึงวาง น ไว้ ต้นประโยค ดังตัวอย่างประโยคว่า

  • : น มยฺหํ ปุตฺโต โพธึ อปฺปตฺวา กาลํ กโรติ ฯ (๑/๑0๘)

        ในประโยคนี้ น ศัพท์ อาจปฏิเสธได้ทุกศัพท์ เช่น

  • บุตรของผู้มิใช่เรา ไม่บรรลุโพธิญาณ  ทำกาละไป
  • ผู้มิใช่บุตรของเรา ไม่บรรลุโพธิญาณ  ทำกาละไป
  • บุตรของเรา จะไม่บรรลุสิงที่มิใช่โพธิญาณ  ทำกาละไป
  • บุตรของเรา  ไม่บรรลุโพธิญาณ  ทำกาละไป  หามิได้
  • บุตรของเรา ไม่บรรลุโพธิญาณ ย่อมไม่ทำกาละ  ไป ฯ

        จะเห็นได้ว่า เนื้อความก็ออกมาในรูปเดียวกันทั้งหมด แม้ประโยคอื่นก็พึงเทียบเคียงโดยนัยนี้

        ๒. น ที่ปฏิเสธมาคู่กัน ๒ ตัว ตัวแรกสนธิกับ เอว เป็น เนว นั้น นิยมเรียงตัวประธานที่เข้ากับกิริยาทั้งสองไว้ก่อนแล้วจึงวาง เนว ศัพท์แรกลงไปหาไม่แล้วประโยคหลังจะลอย หาตัวประธานไม่ได้ เพราะ เนว คลุมประโยคไว้ทั้งหมดแล้ว เช่นตัวอย่าง

  • : อมฺม  ตยา  กตํ สสฺสํ  เนว อจฺโจทเกน นสฺสติ, น อโนทเกน นสฺสติ ฯ (๑/๔๘)

        ถ้าเรียงใหม่ว่า อมฺม เนว ตยา กตํ สสฺสํ อจฺโจทเกน นสฺสติ, อโนทเกน นสฺสติ ฯ ความก็จะกลายเป็นว่า ข้าวกล้าที่เธอปลูก แล้วย่อมไม่เสียเพราะนามาก ประโยคหลังเลยทำให้ดูเหมือนขาดประธาน แม้จะพอเดาออกก็ตาม พึงดูประโยคต่อไปนี้เทียบเคียง

  • : อญฺเญ  ภิกฺขู เตหิ สทฺธึ เนว เอกโต นิสีทนฺติ ติฏฺฐนฺติ ฯ (๑/๔๙)

        ส่วนตัวอย่างสุดท้ายว่า เนว พฺราหฺมณิยา น มยฺหํ ปารุปนํ ภวิสฺสติฯ (๕/๑) ท่านเรียงตัวประธานและกิริยาไว้ท้าย แต่ก็มีคติเหมือนเรียงไว้ต้น จะเรียงเสียใหม่ว่า

  • : ปารูปนํ เนว พฺราหฺมณิยา ภวิสฺสติ, น มยฺหํ ฯ หรือ
  • : ปารูปนํ เนว พฺราหฺมณิยา, น มยฺหํ ภวิสฺสติ ฯ ดังนี้ก็ไม่ผิด

        ข้อสังเกต ๒ ประการนี้ ขอนักศึกษาได้ใคร่ครวญดูในปกรณ์ทั้ง หลายเทียบเคียง เพื่อความเปรื่องปราชญ์แห่งปัญญา

 

 

วิธีเรียง จ ศัพท์

        จ ศัพท์ ที่ท์าหน้าที่ควบบทหรือควบพากย์นั้น มีวิธีการเรียงสลับ ซับซ้อนและยุ่งยากที่สุดศัพท์หนึ่ง การวางศัพท์นี้ลงในประโยคต้อง พิถีพิถันและให้ถูกต้องชัดเจนที่สุด หากว่าวางผิดที่หรือวางคลุมเครือแล้ว จะทำให้เนื้อความเปลี่ยนไปได้ นักศึกษาจึงควรทำความเข้าใจในการ เรียงศัพท์นี้ ด้วยการสังเกตดูที่ท่านใช้อยู่ทั่วๆ ไป

        รวมทั้งสังเกตข้อพิเศษยกเว้น อันต่างจากกฎเกณฑ์ด้วย ก็จะทำให้เข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างถูกต้อง ถ่องแท้ และเรียงได้ถูกต้องในเมื่อจะต้องแต่งประโยคบาลีเอง

 

วิธีเรียง จ ศัพท์ พอประมวลได้ ดังนี้

        ๑. เมื่อควบบท นิยมวางไว้หลังบทที่ตนควบทุกตัวไป หรือจะเรียงไว้เฉพาะบทสุดท้ายก็ได้ เช่น

  • : ตสฺมึ สมเย สตฺถา ฯเปฯ วิหรติ, มหาชนํ สคฺคมคฺเค โมกฺขมคฺเค ปติฏฺฐาปยมาโน ฯ (๑/๔)
  • : อหํ พุทธธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ฯ
  • : ตโต ภทฺทิโย สกฺยราชา อนุรุทฺโธ อานนฺโท ภคุ กิมฺพิโล เทวทตฺโต จาติ อิเม ฉ ขตฺติยา... (๑/๑๒๗)

        ๒. เมื่อควบบทที่เป็นประธานเอกพจน์หลายบทในประโยค ซึ่งมีกิริยาคุมพากย์ กิริยาระหว่าง และวิกติกัตตาร่วมกัน มีอำนาจให้กิริยาเหล่านั้นและวิกติกัตตานั้น เป็นพหูพจน์ได้ เช่น

  • : เถโร จ อุปาสโก จ อาคตา  โหนฺติ
  • : ตทาปิ เสฏฺฐี จ ภริยา จ ธีตา จ ตถา ปลายิตฺวา ฯเปฯ ปตฺเถนฺตา โกสมฺพี ปฏิปชฺชึสุ ฯ (๒/๒๗)

        แต่ในกรณีอย่างนี้ ถ้าใช้กิริยากิตก์เป็นกิริยาคุมพากย์ นิยมคงรูปกิริยานั้นเป็นเอกพจน์ไว้และให้มีลิงค์อนุวัตรตามบทประธานที่อยู่ ใกล้ชิดกิริยาที่สุด เช่น

  • : มยาปิสฺส อชฺช ปาโต ว ทนฺตกฏฺฐญฺจ มุโขทกญฺจ  ทินฺนํ
  • : ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ มาโน มกฺโข  จ โอหิโต ฯ {๕/๑๐๖)

        ๓. เมื่อควบบทที่มีบทขยายหลายๆ ศัพท์ก็ดี ควบพากย์ก็ดี มีวิธีเรียงได้หลายแบบ ดังนี้

๓.๑ เรียงไว้เป็นที่ ๒ ของทุกตอนไป เช่น

: โส, ปกติยา  จ คนฺตุกาโม, ตญฺจ โสตุกาโม, อโหสิ ฯ

: โส, เคเห จ สพฺพกมฺมานิ กโรติ, อตฺตโน จ มาตรํ ปฏิชคฺคติ ฯ

๓.๒ เรียงไว้เป็นที่ ๒ เฉพาะในตอนสุดท้าย เช่น

: โส, ปกติยา คนฺตุกาโม ตญฺจ ธมมํ โสตุกาโม, อโหสิ ฯ

: โส, เคเห สพฺพกมฺมานิ กโรติ, อตฺตโน จ มาตรํ ปฏิชคฺคติ ฯ

๓.๓ เรียงไว้ท้ายสุดของทุกตอน เช่น

: โส, ปกติยา คนฺตุกาโม จ, ตํ ธมฺมํ โสตุกาโม จ, อโหสิ ฯ

: โส, เคเห สพฺพกมฺมานิ กโรติ จ, อตฺตโน มาตรํ ปฏิชคฺคติ จ ฯ

๓.๔ เรียงไว้ท้ายสุดของตอนต้น และเป็นที่ ๒ ของตอนท้าย เช่น

: โส, ปกติยา คนฺตุกาโม จ, ตญฺจ ธมฺมํ โสตุกาโม, อโหสิ ฯ

: โส, เคเห สพฺพกมฺมานิ กโรติ จ, อตฺตโน จ มาตรํ ปฏิชคฺคติ ฯ

        การนับศัพท์ในประโยค เหล่านี้ ให้กันตัวประธานออกนอกวง เสีย ก่อน เพราะตัวประธานทำหน้าที่สัมพันธ์เข้ากับทุกๆ ตอน หากนับเข้าพวกโดยเฉพาะในตอนหน้าด้วย จะทำให้ประโยคหลังลอย คือ ขาดประธาน เช่นตัวอย่างต่อไปนี้ ซึ่งเรียง จ ศัพท์ไว้เป็นที่ ๒ ของทุกตอน

: โส จ เคเห สพฺพกมฺมานิ กโรติ, อตฺตโน จ มาตรํ ปฏิชคฺคติ ฯ (๑/๔๒)

        ทั้งนี้รวมทั้งบทหลายๆ บท ซึ่งมีบทขยาย เช่น สามีสัมพันธะ อย่างเดียวกัน ต้องวางบทขยายนั้นไว้ข้างหน้าสุดของบทแรก ถ้าวาง ไว้หน้าบทหลังตามคำแปลในพากย์ไทย จะทำให้ความไม่ชัดเจน เช่น

ความไทย : มือ เท้า ตา หู จมูก และปากของเด็กนั้น มิได้ อยู่ในที่ปกติ

เป็น          : ตสฺส หตฺถปาทา จ อกฺขีนิ จ กณฺณา จ นาสา จ มุขญฺจ น ยถาฏฺฐาเน อเหสุํ ฯ (๓/๑๒๑)

ไม่ใช่        : หตฺถปาทา จ อกฺขีนิ จ กณฺณา จ นาสา จ ตสฺส มุขญฺจ น ยถาฏฺฐาเน อ เหสุํ ฯ

        ๔. เมื่อมี จ ศัพท์ควบหลายตัว จ ศัพท์ตัวแรกนิยมสนธิกับ เอว เป็น เจว เหมือน น ศัพท์ เช่น

  • : ฉินนคฺคานิ เจว ติณานิ ขาทามิ , โอภคฺโคภคฺคญฺจ เม สาขาภงฺคํ ขาทนฺติ ฯ (๑/๔๓)
  • : ภนฺเต ภควา พุทธสุขุมาโล เจว ขตฺติยสุขุมาโล จ ฯ (๑/๔๙)

        ๕. เมื่อ จ ศัพท์มีหน้าที่ควบตัวประธานที่เป็นเอกพจน์ตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป นิยมประกอบกิริยาเป็นพหูพจน์ เช่น

  • : โกฏฺฐาคาริโก จ อายุตฺตโก จ เอกโต หุตฺวา ติณฺณํ ภาติกานํ โกฏฺฐาคาเรหิ วาเรน วาเรน วฏฺฏํ คเหตฺวา ทานํ เทนฺติ ฯ (๑/๙๓)
  • : คาถาปริโยสาเน พฺราหฺมโณ จ พฺราหฺมณี จ อนาคามิผเล ปติฏฺฐหึสุ ฯ (๒/๔๑)

        แต่ถ้าประธานนั้นๆ มีเนื้อความบ่งว่าต่างแยกกันทำ หรือแยกกันเป็น แม้จะใช้กิริยาร่วมกัน ก็ไม่ต้องเปลี่ยนกิริยาเป็นพหูพจน์ คงให้มีรูปเป็นเอกพจน์ตามเติม เช่น

  • : วิภายมานาย ปน รตฺติยา วลาหกวิคโม จ อรุณุคฺคมนญฺจ ตสฺสา คพฺภวุฏฺฐานญฺจ เอกกฺขเณเยว อโหสิ ฯ (๒/๔)

        ๖. เมื่อ จ ศัพท์ควบกับศัพท์ที่ลงท้ายด้วย 0 (นิคคหิต) นิยม สนธิกับศัพท์นั้น เช่น

  • : อเถกา สุสานโคปิกา กาลี นาม ฉวฑาหิกา เถรสฺส ฐิตฏฺฐานญฺจ นิสีทนฏฺฐานญฺจ จงฺกมนฏฺฐานญฺจ ทิสฺวา... ฯเปฯ (๑/๖๒)

 

อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต). คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด, ๒๕๔๔.





 


45611361
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2645
40295
42940
45235495
270413
1019588
45611361

Your IP: 35.171.164.77
2024-10-07 01:52
© Copyright pariyat.com 2024. by กองทะเบียนและสารสนเทศ

Search